สภาฯ 257 เสียง ผ่านร่าง พ.ร.บ.งบฯ 63 ด้วยการโหวตรอบใหม่ วาระ 2-3 ไร้ “ฝ่ายค้าน” ร่วมสังฆกรรม องค์ประชุมปริ่มน้ำจนต้องย้อนโหวตใหม่ หวั่นเป็นเรื่องอีก "ชวน" การันตี ทันกรอบเวลา 105 วัน “วุฒิสภา” นัดพิจารณาต่อวันนี้
วานนี้ (13 ก.พ.) นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานการประชุมสภาฯ เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 เป็นรายมาตรา ในวาระที่ 2 และให้ความเห็นชอบใน วาระที่ 3 ทั้งนี้ ก่อนเปิดการประชุม วิปฝ่ายค้านได้มีการประชุมร่วมกัน และมีมติออกมา 3 ข้อ ได้แก่ 1. ลงชื่อเข้าร่วมประชุม 2. ระหว่างประชุมสภาฯ ฝ่ายค้านจะไม่อยู่ร่วมในห้องประชุม ยกเว้น ส.ส.ที่ได้รับมอบหมายให้อภิปรายก่อนเข้าวาระ และ 3. ให้ ส.ส.เก็บบัตรลงคะแนน ห้ามทิ้งไว้ที่เครื่องลงคะแนน และ 4.การลงมติเป็นรายมาตรา ส.ส.ฝายค้านจะไม่แสดงตนเป็นองค์ประชุม และไม่ลงมติ
ต่อมาเมื่อมีการเปิดประชุมสภาฯ อย่างเป็นทางการ นายชวน ได้เปิดโอกาสให้ ส.ส.ได้อภิปรายหารือกับประธานสภาฯ ก่อนเข้าสู่การพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ นายบุญสิงห์ วรินทร์รักษ์ ส.ส.กทม. พรรคพลังประชารัฐ ได้สอบถามนายชวน ว่า หากโซนที่นั่งของส.ส.รัฐบาลไม่เพียงพอ ส.ส.รัฐบาล จะสามารถไปนั่งในโซนของฝ่ายค้าน เพื่อใช้เครื่องลงคะแนนได้หรือไม่
ทั้งนี้ นายชวน กล่าวว่าเป็นเรื่องที่ไม่สมควรจะทำแบบนั้น เพราะอาจถูกกล่าวหาได้ว่า มีการเสียบบัตรแทนกัน อย่างไรก็ตาม จะเผื่อเวลาให้กับส.ส.ในการใช้เครื่องลงคะแนนในการพิจารณาแต่ละมาตราต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าจำนวน ส.ส.ที่มีอยู่ในสภาฯขณะนี้ 498 คน ที่ต้องมีองค์ประชุมตั้งแต่ 249 เสียงขึ้นไป
“ชวน” การันตีไม่ติดกรอบ 105 วัน
จากนั้น นายชวน ได้ดำเนินการประชุม เพื่อพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ เป็นรายมาตรา โดยกล่าวถึงที่มาของการประชุมครั้งนี้ว่า เป็นผลมาจาก มีการเสียบบัตรแทนกันของ ส.ส. จนทำให้ส.ส.รัฐบาล และฝ่ายค้าน เข้าชื่อเพื่อส่งให้ประธานสภาฯ ส่งไปให้ศาลรธน. พิจารณา ซึ่งศาลฯได้มีคำวินิจฉัยออกมาแล้วว่า กระบวนการพิจารณาไม่ชอบด้วยรธน. เฉพาะการลงมติใน วาระที่ 2 และวาระที่ 3 ของสภาผู้แทนฯ และวุฒิสภา แต่กำหนดคำบังคับให้สภาฯ ดำเนินการใหม่ ในวาระที่ 2 และ 3
" ส่วนเรื่องกรอบเวลา 105 วัน ที่สภาฯ ต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จ และสิ้นสุดไปตั้งแต่เดือนม.ค.แล้วนั้น ขอชี้แจงว่า ประเด็น 105 วัน สภาฯได้ดำเนินการครบถ้วนแล้ว ตั้งแต่ 11 ม.ค.63 แต่การประชุมวันนี้ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่อง105 วัน เพราะเป็นกระบวนการใหม่ ที่เกิดมาจากคำวินิจฉัยของศาล" นายชวน กล่าว
มาตรา 1 องค์ประชุมครบหวุดหวิด
จากนั้นเริ่มพิจารณารายมาตรา โดยมี กมธ.เสียงข้างน้อย คือ นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญากุล และนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ใช้สิทธิอภิปรายสงวนคำแปรญัตติเป็นระยะๆ โดยเมื่อเช็กองค์ประชุมเพื่อลงมติมาตรา 1 ปรากฏว่า มีส.ส.ฝ่ายรัฐบาลแสดงตนเป็นองค์ประชุม 250 เสียง ถือว่าเกินองค์ประชุมมาอย่างฉิวเฉียดเพียง 1 เสียง ก่อนที่ประชุมจะลงมติเห็นชอบมาตรา 1 ด้วยคะแนน 245 ต่อ 0 งดออกเสียง 6
ขณะที่ มาตรา 2 ไปจนถึง มาตรา 31 บรรยากาศการประชุมยังเป็นไปได้ด้วยดี แต่ละมาตราใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที ก็สามารถลงมติผ่านความเห็นชอบไปได้อย่างราบรื่น โดยในมาตราหลังๆ นายเรืองไกร ได้ถอนการสงวนความเห็นขออภิปรายไว้ และไม่มี กมธ.หรือ ส.ส.คนใดติดใจขออภิปราย แต่ละมาตรา มี ส.ส.รัฐบาลแสดงตนเป็นองค์ประชุมอยู่ระหว่าง 250-254 เสียง มีเสียงให้ความเห็นชอบอยู่ระหว่าง 244-245 เสียง และงดออกเสียงอยู่ระหว่าง 5-6 เสียง โดยไม่มีเสียงไม่เห็นชอบ
กระทั่งเวลา 12.50 น. หลังจากที่ประชุมมีการลงมติมาจนถึงมาตรา 31 นายชวน ได้สั่งพักการประชุม 30 นาที โดยระบุว่ามี ส.ส.เข้าคิวเข้าห้องสุขาจำนวนมาก
วุ่นมาตรา 6 องค์ประชุมหาย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สาเหตุหลักที่ทำให้นายชวน ต้องสั่งพักการประชุม เนื่องจากมีปัญหาระหว่างการโหวต มาตรา 6 ที่จำนวนคะแนนเสียง 237 เสียง ต่อ 0 งดออกเสียง 7 เสียง ซึ่งน้อยกว่าจำนวนองค์ประชุม คือ 244 เสียง ทำให้ นายวีระกร คำประกอบ ส.ส.นครสวรรค์ พรรคพลังประชารัฐ ลุกขึ้นท้วงติงโดยเกรงว่าจะมีปัญหาตามมาอีก แต่นายชวน ได้ชี้แจงว่า องค์ประชุมมีการเช็กก่อนที่จะมีการลงมติแล้ว เมื่อองค์ประชุมครบเราจึงลงมติ โดยถือเสียงข้างมาก ดังนั้นไม่มีปัญหาอะไร อย่างไรก็ตาม แม้นายชวน จะวินิจฉัยไปแล้ว แต่ที่ประชุมยังคงกังวลว่า จะนำไปสู่ปัญหาการยื่นตีความในอนาคตได้ ดังนั้น จึงให้วิปรัฐบาลไปหารือเพื่อหาทางออก
จนเมื่อ เวลา 14.15 น. ได้มีการเปิดประชุมอีกครั้ง โดยนายชวน ชี้แจงว่า สมาชิกได้มีการถกเถียงกันว่า เรานับตอนแสดงองค์ที่เป็นตัววัดแล้ว หรือนับจำนวนลงคะแนน ซึ่งเป็นความเห็นที่แตกต่างกันอยู่ แต่มีสมาชิกกังวลมากพิเศษคือ จะล่าช้ามีการยื่นศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยอีก จึงอยากขอความเห็นในที่ประชุม ก่อนที่จะได้ข้อสรุปให้ลงมติใหม่ตั้งแต่ มาตรา 1 เพื่อป้องกันการเกิดปัญหา
หวั่นมีปัญหาเริ่มโหวตมาตรา 1 ใหม่
ต่อมาเวลา 15.00 น. ที่ประชุมได้เริ่มลงมติใหม่ ตั้งแต่ มาตรา 1 โดยนายเรืองไกร ได้ขอถอนคำแปรญญัติที่ตนลงไว้ทั้งหมด ตั้งแต่ มาตรา 1 ถึง มาตรา 31 ทำให้สมาชิกพากันปรบมือด้วยความพอใจ
จากนั้น สมาชิกทยอยลงมติใหม่อีกครั้ง ในวาระ 2 ตั้งแต่มาตราแรก จนถึงมาตรา 55 โดยไม่มีสมาชิกอภิปราย ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงกว่า เสร็จแล้ว ที่ประชุมได้มีการลงมติในวาระ 3 ด้วยคะแนน 257 เสียง ต่อ 1 งดออกเสียง 3 จากผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด 261 พร้อมลงมติเห็นด้วย กับข้อสังเกตของ กมธ.วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ
จากนั้น นายอนุทิน ชาญวีรกุล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข ซึ่งทำหน้าที่ตัวแทนรัฐบาล เนื่องจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ไปเป็นประธานในพิธี พระราชทานเพลิงศพผู้เสียชีวิตจากการเหตุการณ์กราดยิง ที่ จ.นครราชสีมาโดยนายอนุทิน กล่าวว่า
"ในนามของรัฐบาล ผมขอขอบคุณประธานสภาผู้แทนราษฎร ส.ส.ทุกท่าน และกรรมาธิการวิสามัญงบประมาณ ที่ได้ให้ความร่วมมือสนับสนุนให้ ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ผ่านสภาผู้แทนราษฎรไปได้ด้วยดี" นายอนุทิน ระบุ
จากนั้น นายชวน สั่งปิดประชุม เมื่อเวลา 16.30 น.
อนค.แหกมติโหวตค้านวาระ 3
สำหรับการแสดงตนเป็นองค์ประชุมนั้น มีส.ส.ของพรรคร่วมรัฐบาล แสดงตนเป็นองค์ประชุมอย่างพร้อมเพรียง ส่วนคะแนน งดออกเสียง ที่มีผู้งดออกเสียงในแต่ละมาตรา อยู่ที่ประมาณ 7-8 คนนั้น พบว่า เป็นของ ส.ส.พรรคเศรษฐกิจใหม่ 5 คน ที่ประกาศตัวแยกการทำงานจากการเป็นพรรคร่วมฝ่ายค้าน และขอทำงานอิสระ ได้แก่ นายนิยม วิวรรธนดิฐกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ , นายภาสกร เงินเจริญกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ , นายมนูญ สิวาภิรมย์รัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ, นางมารศรี ขจรเรืองโรจน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ, นายสุภดิช อากาศฤกษ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ส่วนคะแนนงดออกเสียงอีก 3 เสียงคือ นายชวน หลีกภัย ประธานสภาฯ, นายสุชาติ ตันเจริญ และนายศุภชัย โพธิ์สุ รองประธานสภาฯ
สำหรับรายชื่อส.ส.1 เสียง ที่โหวตไม่เห็นชอบ ในวาระ3 ร่าง พ.ร.บงบประมาณฯ 63 คือ นายนิรามาน สุไลมาน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่ ซึ่งถือว่าเป็นฝืนมติวิปฝ่ายค้าน ที่ไม่เข้าร่วมพิจารณา และลงมติในครั้งนี้ ซึ่งเรื่องนี้ นายนิรามาน ชี้แจงว่า ต้องการสร้างสีสันเท่านั้น ไม่ได้เป็นงูเห่าหรือคิดย้ายไปไหน
“วุฒิสภา”นัดด่วนโหวตต่อวันนี้
วันเดียวกันนี้ นายนัฑ ผาสุข เลขาธิการวุฒิสภา ได้ทำหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ สว 0007/(ว18) ลงวันที่ 13 ก.พ.63 ถึงสมาชิกวุฒิสภา เพื่อนัดประชุมเพื่อพิจารณาเรื่องด่วน ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 ที่รัฐสภา เกียกกาย ในวันที่ 14 ก.พ.นี้ เวลา 14.00 น. หลังจากสภาผู้แทนราษฎร ได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ 2-3 แล้ว
วานนี้ (13 ก.พ.) นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานการประชุมสภาฯ เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 เป็นรายมาตรา ในวาระที่ 2 และให้ความเห็นชอบใน วาระที่ 3 ทั้งนี้ ก่อนเปิดการประชุม วิปฝ่ายค้านได้มีการประชุมร่วมกัน และมีมติออกมา 3 ข้อ ได้แก่ 1. ลงชื่อเข้าร่วมประชุม 2. ระหว่างประชุมสภาฯ ฝ่ายค้านจะไม่อยู่ร่วมในห้องประชุม ยกเว้น ส.ส.ที่ได้รับมอบหมายให้อภิปรายก่อนเข้าวาระ และ 3. ให้ ส.ส.เก็บบัตรลงคะแนน ห้ามทิ้งไว้ที่เครื่องลงคะแนน และ 4.การลงมติเป็นรายมาตรา ส.ส.ฝายค้านจะไม่แสดงตนเป็นองค์ประชุม และไม่ลงมติ
ต่อมาเมื่อมีการเปิดประชุมสภาฯ อย่างเป็นทางการ นายชวน ได้เปิดโอกาสให้ ส.ส.ได้อภิปรายหารือกับประธานสภาฯ ก่อนเข้าสู่การพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ นายบุญสิงห์ วรินทร์รักษ์ ส.ส.กทม. พรรคพลังประชารัฐ ได้สอบถามนายชวน ว่า หากโซนที่นั่งของส.ส.รัฐบาลไม่เพียงพอ ส.ส.รัฐบาล จะสามารถไปนั่งในโซนของฝ่ายค้าน เพื่อใช้เครื่องลงคะแนนได้หรือไม่
ทั้งนี้ นายชวน กล่าวว่าเป็นเรื่องที่ไม่สมควรจะทำแบบนั้น เพราะอาจถูกกล่าวหาได้ว่า มีการเสียบบัตรแทนกัน อย่างไรก็ตาม จะเผื่อเวลาให้กับส.ส.ในการใช้เครื่องลงคะแนนในการพิจารณาแต่ละมาตราต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าจำนวน ส.ส.ที่มีอยู่ในสภาฯขณะนี้ 498 คน ที่ต้องมีองค์ประชุมตั้งแต่ 249 เสียงขึ้นไป
“ชวน” การันตีไม่ติดกรอบ 105 วัน
จากนั้น นายชวน ได้ดำเนินการประชุม เพื่อพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ เป็นรายมาตรา โดยกล่าวถึงที่มาของการประชุมครั้งนี้ว่า เป็นผลมาจาก มีการเสียบบัตรแทนกันของ ส.ส. จนทำให้ส.ส.รัฐบาล และฝ่ายค้าน เข้าชื่อเพื่อส่งให้ประธานสภาฯ ส่งไปให้ศาลรธน. พิจารณา ซึ่งศาลฯได้มีคำวินิจฉัยออกมาแล้วว่า กระบวนการพิจารณาไม่ชอบด้วยรธน. เฉพาะการลงมติใน วาระที่ 2 และวาระที่ 3 ของสภาผู้แทนฯ และวุฒิสภา แต่กำหนดคำบังคับให้สภาฯ ดำเนินการใหม่ ในวาระที่ 2 และ 3
" ส่วนเรื่องกรอบเวลา 105 วัน ที่สภาฯ ต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จ และสิ้นสุดไปตั้งแต่เดือนม.ค.แล้วนั้น ขอชี้แจงว่า ประเด็น 105 วัน สภาฯได้ดำเนินการครบถ้วนแล้ว ตั้งแต่ 11 ม.ค.63 แต่การประชุมวันนี้ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่อง105 วัน เพราะเป็นกระบวนการใหม่ ที่เกิดมาจากคำวินิจฉัยของศาล" นายชวน กล่าว
มาตรา 1 องค์ประชุมครบหวุดหวิด
จากนั้นเริ่มพิจารณารายมาตรา โดยมี กมธ.เสียงข้างน้อย คือ นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญากุล และนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ใช้สิทธิอภิปรายสงวนคำแปรญัตติเป็นระยะๆ โดยเมื่อเช็กองค์ประชุมเพื่อลงมติมาตรา 1 ปรากฏว่า มีส.ส.ฝ่ายรัฐบาลแสดงตนเป็นองค์ประชุม 250 เสียง ถือว่าเกินองค์ประชุมมาอย่างฉิวเฉียดเพียง 1 เสียง ก่อนที่ประชุมจะลงมติเห็นชอบมาตรา 1 ด้วยคะแนน 245 ต่อ 0 งดออกเสียง 6
ขณะที่ มาตรา 2 ไปจนถึง มาตรา 31 บรรยากาศการประชุมยังเป็นไปได้ด้วยดี แต่ละมาตราใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที ก็สามารถลงมติผ่านความเห็นชอบไปได้อย่างราบรื่น โดยในมาตราหลังๆ นายเรืองไกร ได้ถอนการสงวนความเห็นขออภิปรายไว้ และไม่มี กมธ.หรือ ส.ส.คนใดติดใจขออภิปราย แต่ละมาตรา มี ส.ส.รัฐบาลแสดงตนเป็นองค์ประชุมอยู่ระหว่าง 250-254 เสียง มีเสียงให้ความเห็นชอบอยู่ระหว่าง 244-245 เสียง และงดออกเสียงอยู่ระหว่าง 5-6 เสียง โดยไม่มีเสียงไม่เห็นชอบ
กระทั่งเวลา 12.50 น. หลังจากที่ประชุมมีการลงมติมาจนถึงมาตรา 31 นายชวน ได้สั่งพักการประชุม 30 นาที โดยระบุว่ามี ส.ส.เข้าคิวเข้าห้องสุขาจำนวนมาก
วุ่นมาตรา 6 องค์ประชุมหาย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สาเหตุหลักที่ทำให้นายชวน ต้องสั่งพักการประชุม เนื่องจากมีปัญหาระหว่างการโหวต มาตรา 6 ที่จำนวนคะแนนเสียง 237 เสียง ต่อ 0 งดออกเสียง 7 เสียง ซึ่งน้อยกว่าจำนวนองค์ประชุม คือ 244 เสียง ทำให้ นายวีระกร คำประกอบ ส.ส.นครสวรรค์ พรรคพลังประชารัฐ ลุกขึ้นท้วงติงโดยเกรงว่าจะมีปัญหาตามมาอีก แต่นายชวน ได้ชี้แจงว่า องค์ประชุมมีการเช็กก่อนที่จะมีการลงมติแล้ว เมื่อองค์ประชุมครบเราจึงลงมติ โดยถือเสียงข้างมาก ดังนั้นไม่มีปัญหาอะไร อย่างไรก็ตาม แม้นายชวน จะวินิจฉัยไปแล้ว แต่ที่ประชุมยังคงกังวลว่า จะนำไปสู่ปัญหาการยื่นตีความในอนาคตได้ ดังนั้น จึงให้วิปรัฐบาลไปหารือเพื่อหาทางออก
จนเมื่อ เวลา 14.15 น. ได้มีการเปิดประชุมอีกครั้ง โดยนายชวน ชี้แจงว่า สมาชิกได้มีการถกเถียงกันว่า เรานับตอนแสดงองค์ที่เป็นตัววัดแล้ว หรือนับจำนวนลงคะแนน ซึ่งเป็นความเห็นที่แตกต่างกันอยู่ แต่มีสมาชิกกังวลมากพิเศษคือ จะล่าช้ามีการยื่นศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยอีก จึงอยากขอความเห็นในที่ประชุม ก่อนที่จะได้ข้อสรุปให้ลงมติใหม่ตั้งแต่ มาตรา 1 เพื่อป้องกันการเกิดปัญหา
หวั่นมีปัญหาเริ่มโหวตมาตรา 1 ใหม่
ต่อมาเวลา 15.00 น. ที่ประชุมได้เริ่มลงมติใหม่ ตั้งแต่ มาตรา 1 โดยนายเรืองไกร ได้ขอถอนคำแปรญญัติที่ตนลงไว้ทั้งหมด ตั้งแต่ มาตรา 1 ถึง มาตรา 31 ทำให้สมาชิกพากันปรบมือด้วยความพอใจ
จากนั้น สมาชิกทยอยลงมติใหม่อีกครั้ง ในวาระ 2 ตั้งแต่มาตราแรก จนถึงมาตรา 55 โดยไม่มีสมาชิกอภิปราย ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงกว่า เสร็จแล้ว ที่ประชุมได้มีการลงมติในวาระ 3 ด้วยคะแนน 257 เสียง ต่อ 1 งดออกเสียง 3 จากผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด 261 พร้อมลงมติเห็นด้วย กับข้อสังเกตของ กมธ.วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ
จากนั้น นายอนุทิน ชาญวีรกุล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข ซึ่งทำหน้าที่ตัวแทนรัฐบาล เนื่องจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ไปเป็นประธานในพิธี พระราชทานเพลิงศพผู้เสียชีวิตจากการเหตุการณ์กราดยิง ที่ จ.นครราชสีมาโดยนายอนุทิน กล่าวว่า
"ในนามของรัฐบาล ผมขอขอบคุณประธานสภาผู้แทนราษฎร ส.ส.ทุกท่าน และกรรมาธิการวิสามัญงบประมาณ ที่ได้ให้ความร่วมมือสนับสนุนให้ ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ผ่านสภาผู้แทนราษฎรไปได้ด้วยดี" นายอนุทิน ระบุ
จากนั้น นายชวน สั่งปิดประชุม เมื่อเวลา 16.30 น.
อนค.แหกมติโหวตค้านวาระ 3
สำหรับการแสดงตนเป็นองค์ประชุมนั้น มีส.ส.ของพรรคร่วมรัฐบาล แสดงตนเป็นองค์ประชุมอย่างพร้อมเพรียง ส่วนคะแนน งดออกเสียง ที่มีผู้งดออกเสียงในแต่ละมาตรา อยู่ที่ประมาณ 7-8 คนนั้น พบว่า เป็นของ ส.ส.พรรคเศรษฐกิจใหม่ 5 คน ที่ประกาศตัวแยกการทำงานจากการเป็นพรรคร่วมฝ่ายค้าน และขอทำงานอิสระ ได้แก่ นายนิยม วิวรรธนดิฐกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ , นายภาสกร เงินเจริญกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ , นายมนูญ สิวาภิรมย์รัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ, นางมารศรี ขจรเรืองโรจน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ, นายสุภดิช อากาศฤกษ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ส่วนคะแนนงดออกเสียงอีก 3 เสียงคือ นายชวน หลีกภัย ประธานสภาฯ, นายสุชาติ ตันเจริญ และนายศุภชัย โพธิ์สุ รองประธานสภาฯ
สำหรับรายชื่อส.ส.1 เสียง ที่โหวตไม่เห็นชอบ ในวาระ3 ร่าง พ.ร.บงบประมาณฯ 63 คือ นายนิรามาน สุไลมาน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่ ซึ่งถือว่าเป็นฝืนมติวิปฝ่ายค้าน ที่ไม่เข้าร่วมพิจารณา และลงมติในครั้งนี้ ซึ่งเรื่องนี้ นายนิรามาน ชี้แจงว่า ต้องการสร้างสีสันเท่านั้น ไม่ได้เป็นงูเห่าหรือคิดย้ายไปไหน
“วุฒิสภา”นัดด่วนโหวตต่อวันนี้
วันเดียวกันนี้ นายนัฑ ผาสุข เลขาธิการวุฒิสภา ได้ทำหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ สว 0007/(ว18) ลงวันที่ 13 ก.พ.63 ถึงสมาชิกวุฒิสภา เพื่อนัดประชุมเพื่อพิจารณาเรื่องด่วน ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 ที่รัฐสภา เกียกกาย ในวันที่ 14 ก.พ.นี้ เวลา 14.00 น. หลังจากสภาผู้แทนราษฎร ได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ 2-3 แล้ว