วานนี้ (11ก.พ.) มีการประชุมวุฒิสภา โดยนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา เป็นประธานที่ประชุม เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่ง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ หลังจากกมธ. สามัญเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติ ความประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลผู้ได้รรับการเสนอชื่อฯ ที่มี พล.อ.อู้ด เบื้องบน ส.ว.เป็นประธานกมธ.ฯ พิจารณาแล้วเสร็จ
สำหรับผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อทั้ง 5 คน ประกอบด้วย นายอุดม สิทธิวิรัชธรรม ประธานแผนกคดีคำสั่งคำร้องและขออนุญาตในศาลฎีกา , นายวิรุฬห์ แสงเทียน ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา , นายจิรนิติ หะวานนท์ ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา , นายชั่งทอง โอภาสศิริวิทย์ ตุลาการศาลปกครองสูงสุด และ นายนภดล เทพพิทักษ์ อดีตเอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์ สปป.ลาว
ทั้งนี้ ในการพิจารณาคัดเลือกได้มีการประชุมลับ เพื่อพิจารณารายงานของกมธ. ก่อนที่จะให้สมาชิกทำการลงคะแนนลับ โดยผลการลงคะแนน ปรากฏว่า นายอุดม ได้รับความเห็นชอบ 216 เสียงไม่เห็นชอบ 3 เสียง นายวิรุฬห์ เห็นชอบ 216 เสียงไม่เห็นชอบ 3 เสียง นายจิรนิติ เห็นชอบ 217 เสียงไม่เห็นชอบ 2 เสียง และ นายนภดล เห็นชอบ 203 เสียงไม่เห็นชอบ 12 เสียง ไม่ออกเสียง 4 เสียง เท่ากับทั้ง 4 คน ดังกล่าว ได้รับคะแนนเกินกึ่งหนึ่งของสมาชิกวุฒิสภาเท่าที่มีอยู่ทั้งหมด จึงได้รับเลือกให้เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
ส่วนนายชั่งทอง ได้รับความเห็นชอบ 52 เสียง ไม่เห็นชอบ 139 เสียง ไม่ออกเสียง 28 เสียง ถือว่าไม่ได้รับความเห็นชอบให้เป็นตุลาการศาลรธน.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ส่วนเหตุผลที่ นายชั่งทอง ไม่ได้รับความเห็นชอบให้เป็นตุลาการศาลรธน. เนื่องจาก ส.ว.ส่วนใหญ่มองว่า รธน. มาตรา 200 กำหนดคุณสมบัติตุลาการศาลรธน. ที่มาจากสายศาลปกครองสูงสุด ว่า ต้องดำรงตำแหน่งตุลาการศาลปค.สูงสุด ไม่น้อยกว่า 5 ปี แต่นายชั่งทอง เป็น ตุลาการศาลปค.สูงสุด ไม่ถึง 5 ปี แต่ที่ผ่านการคัดเลือกมาได้ เนื่องจากที่ประชุมศาลปค.สูงสุดได้ทำหนังสือถึง คณะกรรมการสรรหาฯ ให้พิจารณาลดเวลาดำรงตำแหน่งตุลาการศาลปค.สูงสุด เหลือต่ำกว่า 5 ปี ในการไปดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรธน. เพราะถ้าใช้เงื่อนไขเดิมจะไม่มีตุลา
การศาลปค.สูงสุดคนใดได้รับการคัดเลือกเป็นตุลาการศาลรธน. อีกทั้งวรรคท้ายของรธน. มาตรา 200 ระบุว่า ในกรณีจําเป็นให้คณะกรรมการสรรหา จะประกาศลดระยะเวลาลดลงจาก 5 ปีได้ แต่จะเหลือน้อยกว่า 2 ปีมิได้ ในที่สุด คณะกรรมการสรรหาฯ มีมติลดเวลาการดำรงตำแหน่งตุลาการศาลปค.สูงสุด เหลือไม่น้อยกว่า 3 ปี ทำให้นายชั่งทอง มีคุณสมบัติได้รับคัดเลือกไปดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรธน. เพราะเป็นตุลาการศาลปค.สูงสุดมา 3 ปีกว่า
อย่างไรก็ตาม ส.ว.หลายคนมองว่า การลดเวลาดำรงตำแหน่งลงมาเหลือ 3 ปี ของคณะกรรมการสรรหาฯ เป็นการลดสเปกตุลาการศาลรธน. ที่ควรเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์สูงมาทำหน้าที่สำคัญ ไม่ควรลดหย่อนกฎเกณฑ์ใดๆ ลงมา เพราะตัวแทนศาลฎีกา และผู้ทรงคุณวุฒิสาขาอื่นๆ ต่างดำรงตำแหน่งมากกว่า 5 ปี จึงไม่ควรที่ตุลาการศาลปค.สูงสุด จะลดเวลาดำรงตำแหน่งลงมา
นายสมชาย แสวงการ ส.ว. ฐานะกมธ. กิจการวุฒิสภา กล่าวว่า กรณีนี้ ส.ว. ต้องแจ้งผลการลงมติไปยังที่ประชุมใหญ่ศาลปค.สูงสุด ให้รับทราบว่า นายชั่งทอง ไม่ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมส.ว. จากนั้นหน่วยงานต้องสรรหาคนใหม่ให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน ส่วน 4 คนที่ได้รับความเห็นชอบ ต้องลาออกจากตำแหน่งที่สังกัดในปัจจุบัน ภายใน 15 วัน จากนั้น สำนักงานเลขาธิการศาลรธน. จะนัดประชุม 4 ตุลาการศาลรธน. ที่ดำรงตำแหน่งปัจจุบัน และยังไม่พ้นวาระ ร่วมกับ 4 ว่าที่ตุลาการศาลรธน. เพื่อเลือกประธานศาลรธน. จากนั้นประธานวุฒิสภา จะนำรายชื่อ ประธานศาลรธน.คนใหม่ และ 4 ว่าที่ตุลาการศาลรธน. ขึ้นทูลเกล้าฯ ต่อไป ส่วนตุลาการศาลรธน. 5 คนที่ต้องพ้นวาระนั้น ส่วนตัวมองว่าสามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่า 4 ตุลาการศาลรธน. ใหม่ จะได้รับการโปรดเกล้าฯ
สำหรับผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อทั้ง 5 คน ประกอบด้วย นายอุดม สิทธิวิรัชธรรม ประธานแผนกคดีคำสั่งคำร้องและขออนุญาตในศาลฎีกา , นายวิรุฬห์ แสงเทียน ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา , นายจิรนิติ หะวานนท์ ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา , นายชั่งทอง โอภาสศิริวิทย์ ตุลาการศาลปกครองสูงสุด และ นายนภดล เทพพิทักษ์ อดีตเอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์ สปป.ลาว
ทั้งนี้ ในการพิจารณาคัดเลือกได้มีการประชุมลับ เพื่อพิจารณารายงานของกมธ. ก่อนที่จะให้สมาชิกทำการลงคะแนนลับ โดยผลการลงคะแนน ปรากฏว่า นายอุดม ได้รับความเห็นชอบ 216 เสียงไม่เห็นชอบ 3 เสียง นายวิรุฬห์ เห็นชอบ 216 เสียงไม่เห็นชอบ 3 เสียง นายจิรนิติ เห็นชอบ 217 เสียงไม่เห็นชอบ 2 เสียง และ นายนภดล เห็นชอบ 203 เสียงไม่เห็นชอบ 12 เสียง ไม่ออกเสียง 4 เสียง เท่ากับทั้ง 4 คน ดังกล่าว ได้รับคะแนนเกินกึ่งหนึ่งของสมาชิกวุฒิสภาเท่าที่มีอยู่ทั้งหมด จึงได้รับเลือกให้เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
ส่วนนายชั่งทอง ได้รับความเห็นชอบ 52 เสียง ไม่เห็นชอบ 139 เสียง ไม่ออกเสียง 28 เสียง ถือว่าไม่ได้รับความเห็นชอบให้เป็นตุลาการศาลรธน.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ส่วนเหตุผลที่ นายชั่งทอง ไม่ได้รับความเห็นชอบให้เป็นตุลาการศาลรธน. เนื่องจาก ส.ว.ส่วนใหญ่มองว่า รธน. มาตรา 200 กำหนดคุณสมบัติตุลาการศาลรธน. ที่มาจากสายศาลปกครองสูงสุด ว่า ต้องดำรงตำแหน่งตุลาการศาลปค.สูงสุด ไม่น้อยกว่า 5 ปี แต่นายชั่งทอง เป็น ตุลาการศาลปค.สูงสุด ไม่ถึง 5 ปี แต่ที่ผ่านการคัดเลือกมาได้ เนื่องจากที่ประชุมศาลปค.สูงสุดได้ทำหนังสือถึง คณะกรรมการสรรหาฯ ให้พิจารณาลดเวลาดำรงตำแหน่งตุลาการศาลปค.สูงสุด เหลือต่ำกว่า 5 ปี ในการไปดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรธน. เพราะถ้าใช้เงื่อนไขเดิมจะไม่มีตุลา
การศาลปค.สูงสุดคนใดได้รับการคัดเลือกเป็นตุลาการศาลรธน. อีกทั้งวรรคท้ายของรธน. มาตรา 200 ระบุว่า ในกรณีจําเป็นให้คณะกรรมการสรรหา จะประกาศลดระยะเวลาลดลงจาก 5 ปีได้ แต่จะเหลือน้อยกว่า 2 ปีมิได้ ในที่สุด คณะกรรมการสรรหาฯ มีมติลดเวลาการดำรงตำแหน่งตุลาการศาลปค.สูงสุด เหลือไม่น้อยกว่า 3 ปี ทำให้นายชั่งทอง มีคุณสมบัติได้รับคัดเลือกไปดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรธน. เพราะเป็นตุลาการศาลปค.สูงสุดมา 3 ปีกว่า
อย่างไรก็ตาม ส.ว.หลายคนมองว่า การลดเวลาดำรงตำแหน่งลงมาเหลือ 3 ปี ของคณะกรรมการสรรหาฯ เป็นการลดสเปกตุลาการศาลรธน. ที่ควรเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์สูงมาทำหน้าที่สำคัญ ไม่ควรลดหย่อนกฎเกณฑ์ใดๆ ลงมา เพราะตัวแทนศาลฎีกา และผู้ทรงคุณวุฒิสาขาอื่นๆ ต่างดำรงตำแหน่งมากกว่า 5 ปี จึงไม่ควรที่ตุลาการศาลปค.สูงสุด จะลดเวลาดำรงตำแหน่งลงมา
นายสมชาย แสวงการ ส.ว. ฐานะกมธ. กิจการวุฒิสภา กล่าวว่า กรณีนี้ ส.ว. ต้องแจ้งผลการลงมติไปยังที่ประชุมใหญ่ศาลปค.สูงสุด ให้รับทราบว่า นายชั่งทอง ไม่ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมส.ว. จากนั้นหน่วยงานต้องสรรหาคนใหม่ให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน ส่วน 4 คนที่ได้รับความเห็นชอบ ต้องลาออกจากตำแหน่งที่สังกัดในปัจจุบัน ภายใน 15 วัน จากนั้น สำนักงานเลขาธิการศาลรธน. จะนัดประชุม 4 ตุลาการศาลรธน. ที่ดำรงตำแหน่งปัจจุบัน และยังไม่พ้นวาระ ร่วมกับ 4 ว่าที่ตุลาการศาลรธน. เพื่อเลือกประธานศาลรธน. จากนั้นประธานวุฒิสภา จะนำรายชื่อ ประธานศาลรธน.คนใหม่ และ 4 ว่าที่ตุลาการศาลรธน. ขึ้นทูลเกล้าฯ ต่อไป ส่วนตุลาการศาลรธน. 5 คนที่ต้องพ้นวาระนั้น ส่วนตัวมองว่าสามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่า 4 ตุลาการศาลรธน. ใหม่ จะได้รับการโปรดเกล้าฯ