ผู้จัดการรายวัน 360 - กนง.มีมติเอกฉันท์ปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% จาก 1.25 %เหลือ 1 % ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ หวังพยุงเศรษฐกิจ เสริมสภาพคล่องและการปรับโครงสร้างหนี้ให้ภาคธุรกิจและครัวเรือน หว่งค่าบาทยังผัวผวนต่อเนื่อง ต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกลิชิด "กสิกรไทย" เด้งรับนำร่องลดดอกเบี้ย MRR ลง 0.25% มีผล 6 ก.พ.นี้ ส่วนค่าเงินบาทอ่อนค่าลงทันที ขณะที่ "กกร." ปรับลดจีดีพีปี 63 จากเดิมโต 2.5-3% เหลือ 2-2.5% หลายปัจจัยเสี่ยงทั้งใน นอกรุมเร้าทั้งไวรัสโคโรนา การเบิกจ่ายงบล่าช้า ภัยแล้งรุนแรง แต่ยังคงเป้าส่งออกที่ติดลบ 2%-0%
นายทิตนันทิ์ มัลลิกะมาส ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปทฺ) และเลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เปิดเผยว่า กนง.มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25 % ต่อปี จาก? 1.25 % เป็น 1.00 % ต่อปี โดยให้มีผลทันที เนื่องจาก กนง. ประเมินเศรษฐกิจในปี 2563 มีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าประมาณการเดิมและต่ำกว่าระดับศักยภาพมากขึ้นมาก จากการระบาดของไวรัสโคโรนา ความล่าช้าของ พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปี และภัยแล้ง อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มต่ำกว่าขอบล่างของกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อตลอดช่วงประมาณการ เสถียรภาพระบบการเงินเปราะบางเพิ่มขึ้นจากแนวโน้ม การชะลอตัวของเศรษฐกิจ
ในสถานการณ์เช่นนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องประสานมาตรการทั้งทางการเงินและการคลัง คณะกรรมการฯ จึงเห็นว่านโยบายการเงินที่ผ่อนคลายเพิ่มขึ้นจะช่วยลดผลกระทบจากปัจจัยลบที่เกิดขึ้น รวมทั้งสนับสนุนสภาพคล่องและการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้กับภาคธุรกิจและครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบรุนแรงจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งจะต้องเร่งดำเนินการให้เกิดผลชัดเจนขึ้น จึงเห็นควรให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งนี้
นอกจากนี้ การบริโภคภาคเอกชนยังได้รับแรงกดดันจากรายได้ครัวเรือนที่มีแนวโน้มชะลอลงมากขึ้นทั้งครัวเรือนในภาคบริการ เกษตร และอุตสาหกรรม รวมถึงหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ให้ติดตามผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนา ความล่าช้าของการเบิกจ่ายงบประมาณ และภาวะภัยแล้งที่อาจรุนแรงกว่าที่ประเมินไว้ รวมทั้งสภาวะ การกีดกันทางการค้าและความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง
ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปี 2563 และปี 2564 มีแนวโน้มต่ำกว่าขอบล่างของกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อตลอดช่วงประมาณการ ตามอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ชะลอลงตามแรงกดดันด้านอุปสงค์ที่อยู่ในระดับต่ำ รวมถึงราคาพลังงานต่ำกว่าคาดเนื่องจากความต้องการใช้น้ำมันมีแนวโน้มลดลงจากการระบาดของไวรัสโคโรนา แม้อัตราเงินเฟ้อหมวดอาหารสดจะปรับเพิ่มขึ้นบ้างจากภัยแล้ง
กสิกรไทยนำร่องลดMRR 0.25%
นายปรีดี ดาวฉาย กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย(KBANK) เปิดเผยว่า ธนาคารกสิกรไทยนำร่องปรับลดอัตราดอกเบี้ย MRR สำหรับลูกค้าบุคคล และลูกค้าผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ลง 0.25% จากเดิม 6.87% เป็น 6.62% เพื่อตอบสนองทิศทางดอกเบี้ยนโยบายในการสนับสนุนและส่งเสริมภาวะเศรษฐกิจในช่วงที่มีความเปราะบางจากทั้งปัจจัยภายนอกและภายในประเทศโดยเฉพาะในกลุ่มลูกค้าผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และลูกค้าบุคคล
สำหรับในส่วนของอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ธนาคารไม่ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์บุคคลธรรมดา แต่มีการปรับลดเฉพาะอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์นิติบุคคลลง 0.10% - 0.12% และเงินฝากประจำลง 0.05%-0.25% โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2563 เป็นต้นไป
กกร.ผวาไวรัสโคโรนาหั่นจีดีพีปีนี้โต 2-2.5%
นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยภายหลังทำหน้าที่เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน(กกร.)ที่ประกอบด้วยส.อ.ท. สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทยว่า กกร. ได้ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2563 ลงจากเดือนม.ค.ที่ได้ประเมินว่าจีดีพีจะขยายตัว 2.5-3% เหลือ 2-2.5% แต่ยังคงกรอบประมาณการอัตราการเติบโตของการส่งออกและเงินเฟ้อไว้ตามเดิมคือ ส่งออกติดลบ 2% ถึง 0% อัตราเงินเฟ้ออยู่ในช่วง 0.8-1.5 % ทั้งนี้เนื่องจากมีปัจจัยลบทั้งในและต่างประเทศโดยเฉพาะการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาซึ่งจะเสี่ยงต่อทิศทางเศรษฐกิจของจีนในปี 2563 ให้ชะลอตัวกว่าที่คาดไว้
"ไม่เพียงเศรษฐกิจจีนที่จะชะลอตัวแต่การแพร่เชื้อไวรัสโคโรนายังกระทบต่อการท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวข้องของไทยเพราะ ตลาดนักท่องเที่ยวจีนมีสัดส่วนด้านจำนวนและรายได้คิดเป็น 28% ของตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติเที่ยวไทยทั้งหมดซึ่งภายใต้สมมติฐานการระบาดของเชื้อโวรัสโคโรนาในกรอบ 3-6 เดือนรายได้ท่องเทียวคาดว่าจะหายไปราว 108,000-220,000 ล้านบาท ครอบคลุมธุรกิจในห่วงโซ่ทั้งโรงแรมและที่พัก ร้านอาหาร ค้าปลีก และขนส่ง ขณะที่ผลกระทบอาจทำให้การส่งออกลดลงด้วย ซึ่งยังคงต้องติดตามสถานการณ์และประเมินผลกระทบอย่างใกล้ชิดต่อไป"นายสุพันธุ์กล่าว
ปัจจัยในประเทศได้แก่ ความล่าช้าของการมีผลบังคับใช้ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2563 ที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นและการลงทุน และภัยแล้งที่รุนแรง ซึ่งเป็นแรงฉุดกำลังซื้อของครัวเรือนโดยเฉพาะกลุ่มฐานราก รวมทั้งปัญหาค่าฝุ่นละอองเกินมาตรฐานหรือ PM2.5 ที่อาจมีผลต่อคุณภาพชีวิตและการทำกิจกรรมกลางแจ้งของประชาชนภาพรวมเหล่านี้จะกระทบเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนส่งออกและเงินเฟ้อจะต้องติดตามการออกมาตรการของรัฐในการช่วยเหลือภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบต่อไป
สำหรับข้อเสนอของกกร.ต่อภาครัฐ ขอตั้งคณะกรรมการ กกร. ร่วมกับกรมบัญชีกลาง เพื่อปรับปรุงระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างให้เหมาะสม และการจัดซื้อ Local Content รวมทั้ง ช่วยเหลือให้ SME ในการเข้าประมูลภาครัฐ ขอยกเว้นการจ่ายประกันสังคมของลูกจ้างและผู้ประกอบการ SME เป็นระยะเวลา 6 เดือน ขอให้คืน VAT ให้เร็วขึ้น ไม่เกิน 30 วัน ลดค่าไฟฟ้า 5% จากยอดเรียกเก็บให้กับผู้ใช้ไฟฟ้า เป็นระยะเวลา 6 เดือน ภาคเอกชนจะประชาสัมพันธ์เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายและท่องเที่ยวในประเทศ โดยสนับสนุนให้ ร้านค้า โรงแรม และบริษัทในเครือข่าย จัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย เป็นต้น
คาดกนง.หั่นดอกเบี้ยอีกรอบกลางปี
นายพิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ หัวหน้านักเศรษฐกิจ และหัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์เศรษฐกิจและการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน)กล่าวว่า กนง.ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25%ตามคาด จากแนวโน้มเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงมากจาก 3 ปัจจัยหลักๆ ได้แก่ ผลกระทบจากการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาที่จะส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยว และซัพพลายเชนในบางสินค้าของไทย รวมถึงร่างพรบ.งบประมาณรายจ่ายที่มีความล่าช้า และปัญหาภัยแล้ง ขณะที่นโยบายการคลังไม่สามารถออกมาบรรเทาผลกระทบได้ เนื่องจากมีปัญหาพรบ.งบประมาณล่าช้า
ทั้งนี้ สิ่งที่จะต้องจับตามองต่อไปคือการระบาดของไวรัสโคโรนาจะยาวนานขนาดไหน และจำนวนนักท่องเที่ยวลดลง ส่วนกรณีของงบประมาณรายจ่ายที่ล่าช้านั้น ซึ่งหากนับตามปีงบประมาณแล้วก็จะมีความล่าช้ามา 4 เดือนแล้วซึ่งทำให้งบลงทุนที่ควรจะออกมาแล้วหายไป 20% หรือคิดเป็นวงเงิน 260,000 ล้านบาท และหากเลื่อนออกมาอีก 2 เดือนจึงจะใช้งบประมาณได้ ก็จะเหลือเวลาเพียง 6 เดือนที่จะใช้งบประมาณโดยที่อาจจะเร่งเบิกจ่ายได้ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วยมากนัก
"เราหวังว่าปัญหาไวรัสโคโรนา กับงบประมาณที่ล่าช้าจะเป็นปัญหาระยะสั้น เพราะนโยบายการเงินที่ใช้ก็ถือได้ว่ามีจำกัด และจะได้ผลมากน้อยเพียงใดก็ยังต้องติดตาม ซึ่งหากสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้นก็คาดว่ากนง.จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในช่วงกลางปีในอัตรา 0.25% ขณะที่มาตรการทางการคลังมีช่องให้ทำอีกมากเนื่องจากอัตราส่วนหนี้รัฐต่อจีดีพียังไม่สูง ยังสามารถเพิ่มการขาดดุลงบประมาณได้อีก จึงควรที่จะออกพรบ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีได้"
ด้านเงินบาทวานนี้เปิดตลาดที่ระดับ 31.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ และปิดตลาดที่ระดับ 30.92 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้ ในระหว่างวันเงินบาทมีความผันผวนตามปัจจัยหลักที่ตลาดติดตามได้แก่ ผลการประชุมกนง. โดยเงินบาทแข็งค่าสุดของวันที่ 30.85 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ และอ่อนค่าสุดที่ 31.27 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ
ขณะที่ตลาดหุ้นไทยกลับมาคึกคัก ยืนอยู่เหนือแดนบวกอีกครั้ง โดยมีระดับสูงสุดที่ 1,534.93 จุด ต่ำสุดที่ 1,516.55 จุด ก่อนจะปิดการซื้อขายที่ 1,534.14 ปรับเพิ่มขึ้น 14.76 จุด หรือ 0.97% มูลค่าการซื้อขายที่ 67,458.22 ล้านบาท
นายทิตนันทิ์ มัลลิกะมาส ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปทฺ) และเลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เปิดเผยว่า กนง.มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25 % ต่อปี จาก? 1.25 % เป็น 1.00 % ต่อปี โดยให้มีผลทันที เนื่องจาก กนง. ประเมินเศรษฐกิจในปี 2563 มีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าประมาณการเดิมและต่ำกว่าระดับศักยภาพมากขึ้นมาก จากการระบาดของไวรัสโคโรนา ความล่าช้าของ พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปี และภัยแล้ง อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มต่ำกว่าขอบล่างของกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อตลอดช่วงประมาณการ เสถียรภาพระบบการเงินเปราะบางเพิ่มขึ้นจากแนวโน้ม การชะลอตัวของเศรษฐกิจ
ในสถานการณ์เช่นนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องประสานมาตรการทั้งทางการเงินและการคลัง คณะกรรมการฯ จึงเห็นว่านโยบายการเงินที่ผ่อนคลายเพิ่มขึ้นจะช่วยลดผลกระทบจากปัจจัยลบที่เกิดขึ้น รวมทั้งสนับสนุนสภาพคล่องและการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้กับภาคธุรกิจและครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบรุนแรงจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งจะต้องเร่งดำเนินการให้เกิดผลชัดเจนขึ้น จึงเห็นควรให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งนี้
นอกจากนี้ การบริโภคภาคเอกชนยังได้รับแรงกดดันจากรายได้ครัวเรือนที่มีแนวโน้มชะลอลงมากขึ้นทั้งครัวเรือนในภาคบริการ เกษตร และอุตสาหกรรม รวมถึงหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ให้ติดตามผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนา ความล่าช้าของการเบิกจ่ายงบประมาณ และภาวะภัยแล้งที่อาจรุนแรงกว่าที่ประเมินไว้ รวมทั้งสภาวะ การกีดกันทางการค้าและความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง
ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปี 2563 และปี 2564 มีแนวโน้มต่ำกว่าขอบล่างของกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อตลอดช่วงประมาณการ ตามอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ชะลอลงตามแรงกดดันด้านอุปสงค์ที่อยู่ในระดับต่ำ รวมถึงราคาพลังงานต่ำกว่าคาดเนื่องจากความต้องการใช้น้ำมันมีแนวโน้มลดลงจากการระบาดของไวรัสโคโรนา แม้อัตราเงินเฟ้อหมวดอาหารสดจะปรับเพิ่มขึ้นบ้างจากภัยแล้ง
กสิกรไทยนำร่องลดMRR 0.25%
นายปรีดี ดาวฉาย กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย(KBANK) เปิดเผยว่า ธนาคารกสิกรไทยนำร่องปรับลดอัตราดอกเบี้ย MRR สำหรับลูกค้าบุคคล และลูกค้าผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ลง 0.25% จากเดิม 6.87% เป็น 6.62% เพื่อตอบสนองทิศทางดอกเบี้ยนโยบายในการสนับสนุนและส่งเสริมภาวะเศรษฐกิจในช่วงที่มีความเปราะบางจากทั้งปัจจัยภายนอกและภายในประเทศโดยเฉพาะในกลุ่มลูกค้าผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และลูกค้าบุคคล
สำหรับในส่วนของอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ธนาคารไม่ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์บุคคลธรรมดา แต่มีการปรับลดเฉพาะอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์นิติบุคคลลง 0.10% - 0.12% และเงินฝากประจำลง 0.05%-0.25% โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2563 เป็นต้นไป
กกร.ผวาไวรัสโคโรนาหั่นจีดีพีปีนี้โต 2-2.5%
นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยภายหลังทำหน้าที่เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน(กกร.)ที่ประกอบด้วยส.อ.ท. สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทยว่า กกร. ได้ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2563 ลงจากเดือนม.ค.ที่ได้ประเมินว่าจีดีพีจะขยายตัว 2.5-3% เหลือ 2-2.5% แต่ยังคงกรอบประมาณการอัตราการเติบโตของการส่งออกและเงินเฟ้อไว้ตามเดิมคือ ส่งออกติดลบ 2% ถึง 0% อัตราเงินเฟ้ออยู่ในช่วง 0.8-1.5 % ทั้งนี้เนื่องจากมีปัจจัยลบทั้งในและต่างประเทศโดยเฉพาะการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาซึ่งจะเสี่ยงต่อทิศทางเศรษฐกิจของจีนในปี 2563 ให้ชะลอตัวกว่าที่คาดไว้
"ไม่เพียงเศรษฐกิจจีนที่จะชะลอตัวแต่การแพร่เชื้อไวรัสโคโรนายังกระทบต่อการท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวข้องของไทยเพราะ ตลาดนักท่องเที่ยวจีนมีสัดส่วนด้านจำนวนและรายได้คิดเป็น 28% ของตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติเที่ยวไทยทั้งหมดซึ่งภายใต้สมมติฐานการระบาดของเชื้อโวรัสโคโรนาในกรอบ 3-6 เดือนรายได้ท่องเทียวคาดว่าจะหายไปราว 108,000-220,000 ล้านบาท ครอบคลุมธุรกิจในห่วงโซ่ทั้งโรงแรมและที่พัก ร้านอาหาร ค้าปลีก และขนส่ง ขณะที่ผลกระทบอาจทำให้การส่งออกลดลงด้วย ซึ่งยังคงต้องติดตามสถานการณ์และประเมินผลกระทบอย่างใกล้ชิดต่อไป"นายสุพันธุ์กล่าว
ปัจจัยในประเทศได้แก่ ความล่าช้าของการมีผลบังคับใช้ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2563 ที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นและการลงทุน และภัยแล้งที่รุนแรง ซึ่งเป็นแรงฉุดกำลังซื้อของครัวเรือนโดยเฉพาะกลุ่มฐานราก รวมทั้งปัญหาค่าฝุ่นละอองเกินมาตรฐานหรือ PM2.5 ที่อาจมีผลต่อคุณภาพชีวิตและการทำกิจกรรมกลางแจ้งของประชาชนภาพรวมเหล่านี้จะกระทบเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนส่งออกและเงินเฟ้อจะต้องติดตามการออกมาตรการของรัฐในการช่วยเหลือภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบต่อไป
สำหรับข้อเสนอของกกร.ต่อภาครัฐ ขอตั้งคณะกรรมการ กกร. ร่วมกับกรมบัญชีกลาง เพื่อปรับปรุงระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างให้เหมาะสม และการจัดซื้อ Local Content รวมทั้ง ช่วยเหลือให้ SME ในการเข้าประมูลภาครัฐ ขอยกเว้นการจ่ายประกันสังคมของลูกจ้างและผู้ประกอบการ SME เป็นระยะเวลา 6 เดือน ขอให้คืน VAT ให้เร็วขึ้น ไม่เกิน 30 วัน ลดค่าไฟฟ้า 5% จากยอดเรียกเก็บให้กับผู้ใช้ไฟฟ้า เป็นระยะเวลา 6 เดือน ภาคเอกชนจะประชาสัมพันธ์เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายและท่องเที่ยวในประเทศ โดยสนับสนุนให้ ร้านค้า โรงแรม และบริษัทในเครือข่าย จัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย เป็นต้น
คาดกนง.หั่นดอกเบี้ยอีกรอบกลางปี
นายพิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ หัวหน้านักเศรษฐกิจ และหัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์เศรษฐกิจและการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน)กล่าวว่า กนง.ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25%ตามคาด จากแนวโน้มเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงมากจาก 3 ปัจจัยหลักๆ ได้แก่ ผลกระทบจากการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาที่จะส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยว และซัพพลายเชนในบางสินค้าของไทย รวมถึงร่างพรบ.งบประมาณรายจ่ายที่มีความล่าช้า และปัญหาภัยแล้ง ขณะที่นโยบายการคลังไม่สามารถออกมาบรรเทาผลกระทบได้ เนื่องจากมีปัญหาพรบ.งบประมาณล่าช้า
ทั้งนี้ สิ่งที่จะต้องจับตามองต่อไปคือการระบาดของไวรัสโคโรนาจะยาวนานขนาดไหน และจำนวนนักท่องเที่ยวลดลง ส่วนกรณีของงบประมาณรายจ่ายที่ล่าช้านั้น ซึ่งหากนับตามปีงบประมาณแล้วก็จะมีความล่าช้ามา 4 เดือนแล้วซึ่งทำให้งบลงทุนที่ควรจะออกมาแล้วหายไป 20% หรือคิดเป็นวงเงิน 260,000 ล้านบาท และหากเลื่อนออกมาอีก 2 เดือนจึงจะใช้งบประมาณได้ ก็จะเหลือเวลาเพียง 6 เดือนที่จะใช้งบประมาณโดยที่อาจจะเร่งเบิกจ่ายได้ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วยมากนัก
"เราหวังว่าปัญหาไวรัสโคโรนา กับงบประมาณที่ล่าช้าจะเป็นปัญหาระยะสั้น เพราะนโยบายการเงินที่ใช้ก็ถือได้ว่ามีจำกัด และจะได้ผลมากน้อยเพียงใดก็ยังต้องติดตาม ซึ่งหากสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้นก็คาดว่ากนง.จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในช่วงกลางปีในอัตรา 0.25% ขณะที่มาตรการทางการคลังมีช่องให้ทำอีกมากเนื่องจากอัตราส่วนหนี้รัฐต่อจีดีพียังไม่สูง ยังสามารถเพิ่มการขาดดุลงบประมาณได้อีก จึงควรที่จะออกพรบ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีได้"
ด้านเงินบาทวานนี้เปิดตลาดที่ระดับ 31.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ และปิดตลาดที่ระดับ 30.92 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้ ในระหว่างวันเงินบาทมีความผันผวนตามปัจจัยหลักที่ตลาดติดตามได้แก่ ผลการประชุมกนง. โดยเงินบาทแข็งค่าสุดของวันที่ 30.85 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ และอ่อนค่าสุดที่ 31.27 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ
ขณะที่ตลาดหุ้นไทยกลับมาคึกคัก ยืนอยู่เหนือแดนบวกอีกครั้ง โดยมีระดับสูงสุดที่ 1,534.93 จุด ต่ำสุดที่ 1,516.55 จุด ก่อนจะปิดการซื้อขายที่ 1,534.14 ปรับเพิ่มขึ้น 14.76 จุด หรือ 0.97% มูลค่าการซื้อขายที่ 67,458.22 ล้านบาท