ผู้จัดการรายวัน360- ศาลรธน.รับวินิจฉัย ปมเสียบบัตรแทนกัน ทำร่าง พ.ร.บ.งบฯ 63 โมฆะหรือไม่ สั่งเลขาฯ สภา-3ส.ส. ชี้แจงภายใน 4 ก.พ.นี้ "วิษณุ" เผยรัฐบาลเตรียมทางออกไว้แล้ว การันตีงบฯประจำ-งบฯลงทุนผูกพันไม่สะดุด "ถาวร"เจอคลิปแฉเสียบบัตรสองใบ เจ้าตัวอ้างที่เสียบไม่พอ บัตรเพื่อนคาอยู่ เลยดึงออก "พรเพชร"ล้อมคอก ป้องกัน ส.ว.เสียบบัตรแทนกัน ย้ำต้องรับผิดชอบ "บัตรแห่งอำนาจฝ่ายนิติฯ" ของตนเอง และต้องชักออกทุกครั้งที่ไม่อยู่ในห้องประชุม
วานนี้ ( 29 ม.ค.) ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติรับคำร้องที่ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ส่งความเห็นของ นายวิรัช รัตนเศรษฐ ส.ส.บัญชีรายชื่อและคณะจำนวน 109 คน นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส.เชียงใหม่ และคณะจำนวน 84 คน ขอให้ศาลฯวินิจฉัยตามรธน. มาตรา 198 วรรคหนึ่ง (1) ว่า ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2563 ตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติรธน. หรือไม่ไว้พิจารณาวินิจฉัย เนื่องจากต้องด้วยหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขตามรธน. มาตรา 148 วรรคหนึ่ง (1) ประกอบ พ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรธน. พ.ศ. 2561 มาตรา 7 (1) และให้รวมการพิจารณาคำร้องทั้งสองเข้าด้วยกัน พร้อมแจ้งให้ผู้ร้องทราบ และให้ผู้เกี่ยวข้องได้แก่ นายสรศักดิ์ เพียรเวช เลขาธิการสภาฯ นายฉลอง เทอดวีระพงศ์ ส.ส.พัทลุง พรรคภูมิใจไทย น.ส.ภริม พูลเจริญ ส.ส.สุมทรปราการ พรรคพลังประชารัฐ และ นายสมบูรณ์ ชารัมย์ ส.ส.บุรีรัมย์ พรรคภูมิใจไทย ยื่นคำชี้แจงเป็นหนังสือ พร้อมข้อมูลที่เกี่ยวข้องต่อศาลฯ ภายในวันที่ 4 ก.พ.นี้
ส่วนที่ประธานสภาฯ ส่งคำร้องของ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส ส.ส.บัญชีรายชื่อ และคณะจำนวน 77 คน ขอให้ส่งศาลฯวินิจฉัยในประเด็นเดียวกันนั้น เมื่อตรวจสอบคำร้องและเอกสารประกอบคำร้อง เห็นว่ามีลายมือชื่อของผู้เสนอความเห็น ซ้ำกับที่นายสมพงษ์ เสนอจำนวน 30 คน จึงทำให้จำนวน ส.ส.ที่เข้าชื่อเสนอความเห็นตามคำร้องนี้ มีจำนวนไม่ถึง 1ใน 10 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา คือ 75 คน จึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขตามรธน. มาตรา 148 วรรคหนึ่ง (1 ) ประกอบ พ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรธน. ปี 61 มาตรา 7 จึง มีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย
ด้านนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณี ศาลรธน. รับพิจารณาวินิจฉัย งบฯ 63 โมฆะ หรือไม่ จากกรณีเสียบบัตรแทนกันว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้เตรียมการทางออกในเรื่องนี้ไว้แล้ว ส่วนจะเป็นอย่างไร ตนไม่ควรพูด และไม่ได้ประเมินว่าศาลฯจะใช้เวลาในการพิจารณาเท่าใด แต่เราคิดให้ยาวไว้ก่อน เข้าใจว่าสัปดาห์หน้าสำนักงบประมาณจะเสนอมาตรการเตรียมการรองรับบางอย่างเข้ามา
อย่างไรก็ตาม ตนได้ให้แนวทางกับสำนักงบฯ และรายงานนายกฯไปแล้วว่า ถ้าศาลฯรับเรื่อง ระหว่างการพิจารณาจะนานเท่าไรก็ตาม รัฐบาลต้องใช้เวลาดังกล่าวให้เป็นประโยชน์ในการเตรียมการ ซึ่งทางออกมาตรการรองรับเราคิดไว้หลายทาง ซึ่งมากกว่า 3 ทาง แต่ไม่สมควรบอก และไม่ว่าอย่างไร งบประจำของข้าราชการสามารถใช้ได้ เพราะรธน. มาตรา 141 ระบุ หากงบฯ ปีใหม่ออกไม่ทัน ให้ใช้งบฯ ของปีเก่าไปพลางก่อน โดยสำนักงบประมาณ จะมีหน้าที่ควบคุมวินัยการเงินการคลัง
ส่วนงบฯลงทุนอะไร ที่ผูกพันอยู่ก็สามารถดำเนินการได้ เข้าใจว่า งบฯลงทุนมีอยู่ 3 แสนกว่าล้านบาท ซึ่งมีส่วนที่ผูกพันที่อยู่บ้าง ก็สามารถทำได้ แต่จะหามาตรการไม่ให้กระทบกับเอกชน และผู้ประกอบการ โดยนำสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันมาคำนึงด้วย เพราะงบฯ ของรัฐ จะมีส่วนในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ถ้าจะกระทบก็กระทบงบลงทุนของโครงการใหม่เท่านั้น ซึ่งเราจะหามาตรการในส่วนของงบโครงการใหม่จะทำอย่างไร
เมื่อถามว่า การกู้เงินจะเป็นทางออกหนึ่ง หรือไม่นายวิษณุ กล่าวว่า ตนตอบไม่ได้ กระทรวงการคลัง และสำนักงบฯ จะเป็นผู้พิจารณา ซึ่งคนที่เคยเป็นรัฐบาลจะรู้ว่ามีวิธีการอยู่ และทางออกกรณีงบฯล่าช้าตามปกติ เป็นเรื่องหนึ่ง แต่ทางออกกรณีงบฯล่าช้าด้วยกรณีพิเศษ เป็นอีกเรื่องหนึ่ง เพราะงบฯ เคยออกมาช้าหลายครั้งแล้ว สิ่งที่รัฐบาลต้องระวังมีอย่างเดียวคือ เรื่องวินัยการเงินการคลัง และที่พูดมาทั้งหมด คือทางแก้เรื่องงบประมาณ ตนไม่เคยพูดว่า การเสียบบัตรไม่ใช่ปัญหาร้ายแรง อย่างไรก็ตาม ต้องไม่ละเลยเรื่องการตรวจสอบหาผู้กระทำผิดในเรื่องนี้ ด้วย
"ถาวร"แจงคลิปเสียบบัตรสองใบ
วันเดียวกันนี้ มีการเผยแพร่สกู๊ปเรื่องปัญหาเสียบบัตรแทนกันของส.ส.ของสถานีโทรทัศน์แห่งหนึ่ง โดยช่วงหนึ่งของสกู๊ป มีภาพของนายถาวร เสนเนียม รมช.คมนาคม และ ส.ส.ปชป. ในลักษณะใช้มือขวาดึงบัตรใบหนึ่งออกจากช่องเสียบบัตรลงคะแนน และใช้มือซ้ายเสียบบัตรลงคะแนนอีกใบเข้าไปในช่องเสียบบัตร คล้ายๆ กับเป็นการเสียบบัตรลงคะแนนมากกว่าหนึ่งใบ ทำให้ถูกตั้งข้อสงสัยว่าเป็นการเสียบบัตรลงคะแนนแทนกันหรือไม่
ต่อมา นายถาวร ชี้แจงเรื่องนี้ว่า ตนไม่ได้เสียบบัตรแทนกัน แต่เป็นเพราะห้องประชุม มีเพียง 250 ที่นั่ง ทำให้จุดเสียบบัตรไม่เพียงพอต่อจำนวนส.ส.โดยที่นั่งดังกล่าว เป็นที่ประจำของ นายประกอบ รัตนพันธุ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช แต่บังเอิญช่วงที่มีการลงมติ นายประกอบ ไม่ได้อยู่ที่นั่ง แต่มีบัตรเสียบคาไว้ ตนจึงดึงบัตรของนายประกอบออก และเสียบบัตรของตนเพื่อลงมติ จังหวะนั้น นายประกอบได้เดินเข้ามาพอดี
นายถาวร ยืนยันว่า ตนไม่ได้เสียบบัตรแทนกัน หากใครเอาข้อมูลนี้ไปขยายผล ก็จะกลายเป็นการหมิ่นประมาท และหากมีการนำไปเผยแพร่ในระบบคอมพิวเตอร์ ก็ถือว่าผิดพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มีโทษจำคุกถึง 5 ปี ดังนั้น ตนไม่กังวล
เมื่อถามว่า จะไปแจ้งความดำเนินคดีกับคนที่ปล่อยข่าวหรือ นายถาวร กล่าวว่า ไม่ใช่เช่นนั้น แต่หากมีคนตั้งใจใส่ร้าย ตนจะพิจารณาเป็นรายๆไป เมื่อถามว่า กรณีนี้เหมือนจะเป็นการเอาคืน ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ หรือไม่ นายถาวร กล่าวว่า ตนคงสันนิษฐานไม่ได้ แต่ผู้นำเสนอเรื่องดังกล่าวเป็นสื่อของรัฐ คิดว่าเขาคงทำตามหน้าที่
วุฒิสภาคุมเข้มเสียบบัตรแทนกัน
นายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษกวิปวุฒิฯ แถลงว่าที่ประชุมได้หารือปัญหา ส.ส. เสียบบัตรลงคะแนนแทนกัน ในการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.งบฯ 63 จนเป็นเหตุให้มีการยื่นต่อศาลรธน.วินิจฉัยว่าร่างดังกล่าวชอบด้วยรธน. หรือไม่ โดยนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา ในฐานะประธานวิปวุฒิฯ เห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญในการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรนิติบัญญัติ จึงควรจะต้องกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันมิให้เกิดกรณีการใช้บัตรลงคะแนนโดยไม่ชอบ ในการประชุมของวุฒิสภา
ทั้งนี้ ที่ประชุมพิจารณาแล้ว เห็นว่าการออกเสียงลงคะแนนของ ส.ว. ถือเป็นเครื่องมือในการแสดงออกซึ่งเจตจำนงของส.ว.แต่ละท่านตามที่รธน. หรือกฎหมายบัญญัติให้มีการลงมติในเรื่องใดๆ หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็น "บัตรแห่งอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติ" ดังนั้น จึงขอให้สมาชิกทุกท่าน เป็นผู้รับผิดชอบบัตรของตนเอง และควรนำบัตรออกเสียงลงคะแนนของตนเอง ออกจากเครื่องลงคะแนนทุกครั้ง ที่ออกจากห้องประชุม เพื่อป้องกันการใช้บัตรลงคะแนนโดยมิชอบ ทั้งนี้ ประธานวุฒิสภาจะชี้แจงย้ำให้ ส.ว.ทุกท่านทราบอีกครั้ง ในการประชุมวุฒิสภา วันจันทร์ที่ 3 ก.พ.นี้
นอกจากนี้ ในกรณีที่ส.ว. ทำบัตรหาย ก่อนที่จะขอให้วุฒิสภา ออกบัตรใหม่ให้ จะต้องไปลงบันทึกประจำวัน ที่สถานีตำรวจเพื่อเป็นหลักฐานมาแสดงก่อน เพื่อเป็นหลักประกันความมั่นใจว่า การทำงานของวุฒิสภา เป็นไปด้วยความซื่อสัตย์ ทั้งนี้ ยืนยันว่า เหตุการณ์เสียบบัตรแทนกัน ไม่เคยเกิดขึ้นในวุฒิสภา มาก่อน
ปชป.แฉอีกภท.เสียบบัตรแทนกัน
น.ส.สุพัชรี ธรรมเพชร อดีต ส.ส.พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะตัวแทนประชาชน แถลงข่าวนำหลักฐานเปิดเผยถึงการเสียบบัตรแทนกันของส.ส.พัทลุง เขต 1 พรรคภูมิใจไทยว่า ส.ส.คนดังกล่าวไม่ได้อยู่ในห้องประชุมสภา ในวันที่ 10 ม.ค.63 ขณะพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ 2563 โดยตนได้ไปตรวจสอบพบว่าส.ส.คนดังกล่าว มีไฟล์ทบิน ช่วงเวลา 20.50 - 22.15 น. ของสายการบินนกแอร์ ซึ่งเดินทางจากสนามบินดอนเมือง กรุงเทพฯ ไปยังสนามบินหาดใหญ่ จ.สงขลา จึงขอให้สภาฯ ตรวจสอบการทำหน้าที่ เพราะส.ส.ทำงานอยู่บนภาษีของประชาชน
เมื่อถามว่า การออกมาครั้งนี้จะยิ่งทำให้รอยร้าวระหว่างพรรคประชาธิปัตย์กับภูมิใจไทย ยิ่งร้าวขึ้นหรือไม่ น.ส.สุพัชรี กล่าวว่า ตนไม่ได้มาในนามพรรค แต่มาในนามส่วนตัว ตามที่ประชาชนร้องเรียนมา
ทั้งนี้ มีรายงานว่าบุคคลที่กล่าวอ้างถึงคือ นายภูมิศิษฏ์ คงมี ส.ส.พัทลุง เขต 1 พรรคภูมิใจไทย
วานนี้ ( 29 ม.ค.) ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติรับคำร้องที่ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ส่งความเห็นของ นายวิรัช รัตนเศรษฐ ส.ส.บัญชีรายชื่อและคณะจำนวน 109 คน นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส.เชียงใหม่ และคณะจำนวน 84 คน ขอให้ศาลฯวินิจฉัยตามรธน. มาตรา 198 วรรคหนึ่ง (1) ว่า ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2563 ตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติรธน. หรือไม่ไว้พิจารณาวินิจฉัย เนื่องจากต้องด้วยหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขตามรธน. มาตรา 148 วรรคหนึ่ง (1) ประกอบ พ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรธน. พ.ศ. 2561 มาตรา 7 (1) และให้รวมการพิจารณาคำร้องทั้งสองเข้าด้วยกัน พร้อมแจ้งให้ผู้ร้องทราบ และให้ผู้เกี่ยวข้องได้แก่ นายสรศักดิ์ เพียรเวช เลขาธิการสภาฯ นายฉลอง เทอดวีระพงศ์ ส.ส.พัทลุง พรรคภูมิใจไทย น.ส.ภริม พูลเจริญ ส.ส.สุมทรปราการ พรรคพลังประชารัฐ และ นายสมบูรณ์ ชารัมย์ ส.ส.บุรีรัมย์ พรรคภูมิใจไทย ยื่นคำชี้แจงเป็นหนังสือ พร้อมข้อมูลที่เกี่ยวข้องต่อศาลฯ ภายในวันที่ 4 ก.พ.นี้
ส่วนที่ประธานสภาฯ ส่งคำร้องของ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส ส.ส.บัญชีรายชื่อ และคณะจำนวน 77 คน ขอให้ส่งศาลฯวินิจฉัยในประเด็นเดียวกันนั้น เมื่อตรวจสอบคำร้องและเอกสารประกอบคำร้อง เห็นว่ามีลายมือชื่อของผู้เสนอความเห็น ซ้ำกับที่นายสมพงษ์ เสนอจำนวน 30 คน จึงทำให้จำนวน ส.ส.ที่เข้าชื่อเสนอความเห็นตามคำร้องนี้ มีจำนวนไม่ถึง 1ใน 10 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา คือ 75 คน จึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขตามรธน. มาตรา 148 วรรคหนึ่ง (1 ) ประกอบ พ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรธน. ปี 61 มาตรา 7 จึง มีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย
ด้านนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณี ศาลรธน. รับพิจารณาวินิจฉัย งบฯ 63 โมฆะ หรือไม่ จากกรณีเสียบบัตรแทนกันว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้เตรียมการทางออกในเรื่องนี้ไว้แล้ว ส่วนจะเป็นอย่างไร ตนไม่ควรพูด และไม่ได้ประเมินว่าศาลฯจะใช้เวลาในการพิจารณาเท่าใด แต่เราคิดให้ยาวไว้ก่อน เข้าใจว่าสัปดาห์หน้าสำนักงบประมาณจะเสนอมาตรการเตรียมการรองรับบางอย่างเข้ามา
อย่างไรก็ตาม ตนได้ให้แนวทางกับสำนักงบฯ และรายงานนายกฯไปแล้วว่า ถ้าศาลฯรับเรื่อง ระหว่างการพิจารณาจะนานเท่าไรก็ตาม รัฐบาลต้องใช้เวลาดังกล่าวให้เป็นประโยชน์ในการเตรียมการ ซึ่งทางออกมาตรการรองรับเราคิดไว้หลายทาง ซึ่งมากกว่า 3 ทาง แต่ไม่สมควรบอก และไม่ว่าอย่างไร งบประจำของข้าราชการสามารถใช้ได้ เพราะรธน. มาตรา 141 ระบุ หากงบฯ ปีใหม่ออกไม่ทัน ให้ใช้งบฯ ของปีเก่าไปพลางก่อน โดยสำนักงบประมาณ จะมีหน้าที่ควบคุมวินัยการเงินการคลัง
ส่วนงบฯลงทุนอะไร ที่ผูกพันอยู่ก็สามารถดำเนินการได้ เข้าใจว่า งบฯลงทุนมีอยู่ 3 แสนกว่าล้านบาท ซึ่งมีส่วนที่ผูกพันที่อยู่บ้าง ก็สามารถทำได้ แต่จะหามาตรการไม่ให้กระทบกับเอกชน และผู้ประกอบการ โดยนำสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันมาคำนึงด้วย เพราะงบฯ ของรัฐ จะมีส่วนในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ถ้าจะกระทบก็กระทบงบลงทุนของโครงการใหม่เท่านั้น ซึ่งเราจะหามาตรการในส่วนของงบโครงการใหม่จะทำอย่างไร
เมื่อถามว่า การกู้เงินจะเป็นทางออกหนึ่ง หรือไม่นายวิษณุ กล่าวว่า ตนตอบไม่ได้ กระทรวงการคลัง และสำนักงบฯ จะเป็นผู้พิจารณา ซึ่งคนที่เคยเป็นรัฐบาลจะรู้ว่ามีวิธีการอยู่ และทางออกกรณีงบฯล่าช้าตามปกติ เป็นเรื่องหนึ่ง แต่ทางออกกรณีงบฯล่าช้าด้วยกรณีพิเศษ เป็นอีกเรื่องหนึ่ง เพราะงบฯ เคยออกมาช้าหลายครั้งแล้ว สิ่งที่รัฐบาลต้องระวังมีอย่างเดียวคือ เรื่องวินัยการเงินการคลัง และที่พูดมาทั้งหมด คือทางแก้เรื่องงบประมาณ ตนไม่เคยพูดว่า การเสียบบัตรไม่ใช่ปัญหาร้ายแรง อย่างไรก็ตาม ต้องไม่ละเลยเรื่องการตรวจสอบหาผู้กระทำผิดในเรื่องนี้ ด้วย
"ถาวร"แจงคลิปเสียบบัตรสองใบ
วันเดียวกันนี้ มีการเผยแพร่สกู๊ปเรื่องปัญหาเสียบบัตรแทนกันของส.ส.ของสถานีโทรทัศน์แห่งหนึ่ง โดยช่วงหนึ่งของสกู๊ป มีภาพของนายถาวร เสนเนียม รมช.คมนาคม และ ส.ส.ปชป. ในลักษณะใช้มือขวาดึงบัตรใบหนึ่งออกจากช่องเสียบบัตรลงคะแนน และใช้มือซ้ายเสียบบัตรลงคะแนนอีกใบเข้าไปในช่องเสียบบัตร คล้ายๆ กับเป็นการเสียบบัตรลงคะแนนมากกว่าหนึ่งใบ ทำให้ถูกตั้งข้อสงสัยว่าเป็นการเสียบบัตรลงคะแนนแทนกันหรือไม่
ต่อมา นายถาวร ชี้แจงเรื่องนี้ว่า ตนไม่ได้เสียบบัตรแทนกัน แต่เป็นเพราะห้องประชุม มีเพียง 250 ที่นั่ง ทำให้จุดเสียบบัตรไม่เพียงพอต่อจำนวนส.ส.โดยที่นั่งดังกล่าว เป็นที่ประจำของ นายประกอบ รัตนพันธุ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช แต่บังเอิญช่วงที่มีการลงมติ นายประกอบ ไม่ได้อยู่ที่นั่ง แต่มีบัตรเสียบคาไว้ ตนจึงดึงบัตรของนายประกอบออก และเสียบบัตรของตนเพื่อลงมติ จังหวะนั้น นายประกอบได้เดินเข้ามาพอดี
นายถาวร ยืนยันว่า ตนไม่ได้เสียบบัตรแทนกัน หากใครเอาข้อมูลนี้ไปขยายผล ก็จะกลายเป็นการหมิ่นประมาท และหากมีการนำไปเผยแพร่ในระบบคอมพิวเตอร์ ก็ถือว่าผิดพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มีโทษจำคุกถึง 5 ปี ดังนั้น ตนไม่กังวล
เมื่อถามว่า จะไปแจ้งความดำเนินคดีกับคนที่ปล่อยข่าวหรือ นายถาวร กล่าวว่า ไม่ใช่เช่นนั้น แต่หากมีคนตั้งใจใส่ร้าย ตนจะพิจารณาเป็นรายๆไป เมื่อถามว่า กรณีนี้เหมือนจะเป็นการเอาคืน ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ หรือไม่ นายถาวร กล่าวว่า ตนคงสันนิษฐานไม่ได้ แต่ผู้นำเสนอเรื่องดังกล่าวเป็นสื่อของรัฐ คิดว่าเขาคงทำตามหน้าที่
วุฒิสภาคุมเข้มเสียบบัตรแทนกัน
นายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษกวิปวุฒิฯ แถลงว่าที่ประชุมได้หารือปัญหา ส.ส. เสียบบัตรลงคะแนนแทนกัน ในการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.งบฯ 63 จนเป็นเหตุให้มีการยื่นต่อศาลรธน.วินิจฉัยว่าร่างดังกล่าวชอบด้วยรธน. หรือไม่ โดยนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา ในฐานะประธานวิปวุฒิฯ เห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญในการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรนิติบัญญัติ จึงควรจะต้องกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันมิให้เกิดกรณีการใช้บัตรลงคะแนนโดยไม่ชอบ ในการประชุมของวุฒิสภา
ทั้งนี้ ที่ประชุมพิจารณาแล้ว เห็นว่าการออกเสียงลงคะแนนของ ส.ว. ถือเป็นเครื่องมือในการแสดงออกซึ่งเจตจำนงของส.ว.แต่ละท่านตามที่รธน. หรือกฎหมายบัญญัติให้มีการลงมติในเรื่องใดๆ หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็น "บัตรแห่งอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติ" ดังนั้น จึงขอให้สมาชิกทุกท่าน เป็นผู้รับผิดชอบบัตรของตนเอง และควรนำบัตรออกเสียงลงคะแนนของตนเอง ออกจากเครื่องลงคะแนนทุกครั้ง ที่ออกจากห้องประชุม เพื่อป้องกันการใช้บัตรลงคะแนนโดยมิชอบ ทั้งนี้ ประธานวุฒิสภาจะชี้แจงย้ำให้ ส.ว.ทุกท่านทราบอีกครั้ง ในการประชุมวุฒิสภา วันจันทร์ที่ 3 ก.พ.นี้
นอกจากนี้ ในกรณีที่ส.ว. ทำบัตรหาย ก่อนที่จะขอให้วุฒิสภา ออกบัตรใหม่ให้ จะต้องไปลงบันทึกประจำวัน ที่สถานีตำรวจเพื่อเป็นหลักฐานมาแสดงก่อน เพื่อเป็นหลักประกันความมั่นใจว่า การทำงานของวุฒิสภา เป็นไปด้วยความซื่อสัตย์ ทั้งนี้ ยืนยันว่า เหตุการณ์เสียบบัตรแทนกัน ไม่เคยเกิดขึ้นในวุฒิสภา มาก่อน
ปชป.แฉอีกภท.เสียบบัตรแทนกัน
น.ส.สุพัชรี ธรรมเพชร อดีต ส.ส.พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะตัวแทนประชาชน แถลงข่าวนำหลักฐานเปิดเผยถึงการเสียบบัตรแทนกันของส.ส.พัทลุง เขต 1 พรรคภูมิใจไทยว่า ส.ส.คนดังกล่าวไม่ได้อยู่ในห้องประชุมสภา ในวันที่ 10 ม.ค.63 ขณะพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ 2563 โดยตนได้ไปตรวจสอบพบว่าส.ส.คนดังกล่าว มีไฟล์ทบิน ช่วงเวลา 20.50 - 22.15 น. ของสายการบินนกแอร์ ซึ่งเดินทางจากสนามบินดอนเมือง กรุงเทพฯ ไปยังสนามบินหาดใหญ่ จ.สงขลา จึงขอให้สภาฯ ตรวจสอบการทำหน้าที่ เพราะส.ส.ทำงานอยู่บนภาษีของประชาชน
เมื่อถามว่า การออกมาครั้งนี้จะยิ่งทำให้รอยร้าวระหว่างพรรคประชาธิปัตย์กับภูมิใจไทย ยิ่งร้าวขึ้นหรือไม่ น.ส.สุพัชรี กล่าวว่า ตนไม่ได้มาในนามพรรค แต่มาในนามส่วนตัว ตามที่ประชาชนร้องเรียนมา
ทั้งนี้ มีรายงานว่าบุคคลที่กล่าวอ้างถึงคือ นายภูมิศิษฏ์ คงมี ส.ส.พัทลุง เขต 1 พรรคภูมิใจไทย