ผู้จัดการรายวัน 360 - คลังปรับลดประมาณการณ์จีดีพี ปี 63 จากเดิมขยายตัว 3.3% เหลือ 2.8% ส่งออกโต 1% พร้อมคาดหวังการลงทุนภาคเอกชนเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจร่วมกับการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ ย้ำเม็ดเงินลงทุนของรัฐบาลไหลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจแน่ แม้การใช้งบปี 63 อาจต้องล่าช้าออกไปถึง มี.ค. นี้ พร้อมประเมินการระบาดไวรัสโคโรนาทำให้ยอดนักลงทุนต่างชาติวูบกว่า 4 แสนราย
นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโมษกกระทรวงการคลัง แถลงถึงผลประมาณการเศรษฐกิจตลอดปี 63 และปี 62 ว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 63 จะขยายในอัตราที่เร่งขึ้นเมื่อเทียบกับปี 62 โดยจะอยู่ที่ 2.8% แต่ลดลงจากที่ สศค. เคยคาดไว้เมื่อเดือน ต.ค. 62 ว่าจะเติบโตได้ที่ระดับ 3.3% ทั้งนี้ เป็นผลมาจากปัจจัยบวกของการลงทุนในภาคเอกชนที่มีแนวโน้มขยายตัวขึ้น และมาตรการสนับสนุนและกระตุ้นการลงทุนภาคเอกชนที่คณะรัฐมนตรีเพิ่งให้การอนุมัติไปเมื่อวันที่ 28 ม.ค. 63 ซึ่งคาดว่ามาตรการดังกล่าวนี้จะทำใหมีเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบได้ราว 1.1 แสนล้าน และจะมีส่วนช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ 0.5%
ขณะเดียวกัน ในปี 63 ยังจะได้เห็นเม็ดเงินที่มาจากการลงทุนในโครงการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของรัฐบาลทั้งในรูปแบบรัฐลงทุนเองและรูปแบบการร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน (พีพีพี) ไหลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ นอกจากนี้ สศค. ยังมองว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 63 น่าจะดีขึ้น ส่วนอัตรการเจริญเติบโตของภาคส่งออกจะเป็นบวกเล็กน้อย และมูลค่าการส่งออกจะขยายตัวได้ราว 1% ด้านเงินเฟ้อในปี 63 คาดว่า น่าจะอยู่ที่ 0.8% โดยเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปี 62 ตามการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ
อย่างไรก็ตาม แม้ภาพรวมทางเศรษฐกิจในปี 63 จะดูดีกว่าปี 62 แต่ก็ยังมีปัจจัยที่ยังคงต้องเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด เช่น ปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา ที่คาดว่าจะส่งผลกระทบถึงจำนวนนักท่องเที่ยวจากทุกประเทศที่เดินทางเข้าไทยในปีนี้หายไปประมาณ 4 แสนราย ทั้งนี้ สศค. คาดการณ์ว่าปัญหาไวรัสโคโรนาจะจบสิ้นได้ใน 3 เดือน
ส่วนปัญหาในการผลักดันร่าง พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 นั้น ในเบื้องต้นได้คาดการณ์ว่าจะมีความล่าช้าจากสิ้นเดือน ม.ค. 63 ไปเป็นสิ้นเดือน มี.ค. 63 หรือล่าช้าจากกำหนดเดิม 2 เดือน รวมทั้งยังต้องเฝ้าติดตามความคืบหน้าในการเจรจาการค้าเพื่อลดกำแพงภาษีนำเข้าสินค้าระหว่างจีน-สหรัฐฯ การถอนตัวออกจากสหภาพยุโรป (EU) ของสหราชอาณาจักร (Brexit) การดำเนินนโยบายของประเทศที่พัฒนาแล้ว รวมถึงการลงทุนในภาคเอกชนที่รัฐบาลคาดหวังว่าในปี 63 จะเป็นแรงส่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญร่วมกับการลงทุนของรัฐบาลในโครงการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ด้วย
สำหรับการประมาณการณ์ตัวเลขเศรษฐกิจในปี 2562 ที่ผ่านมานั้น สศค. คาดว่า ยังคงขยายตัวต่อเนื่องที่ระดับ 2.5% จากเดิมที่เคยคาดการณ์จะขยายตัวที่ 2.5% ทั้งนี้ เป็นการขยายตัวในทิศทางที่ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับปี 61 ซึ่งเคยเติบโตได้ถึง 4.1% จากจากอุปสงค์ในต่างประเทศที่ชะลอตัวลงตามผลการทำสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ ซึ่งทำให้มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 62 หดตัวลงที่ระดับ -2.7% จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจะมีทั้งสิ้น 39.8 ล้านคน หรือเพิ่มขึ้น 4.2% เมื่อเทียบกับปี 61 โดยได้รับแรงสนับสนุนจากมาตรการขยายระยะเวลายกเลิกค่าธรรมเนียมการตรวจลงตรา ณ ด่านตรวจคนเข้าเมือง (VOA)
นายลวรณ ยังกล่าวเพิ่มเติมถึงผลคาดการณ์การขยายตัวด้านการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนตลอดทั้งปี 62 ว่า จะขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากปัจจัยสนับสนุนของรัฐบาลผ่านการดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังของปี 62 โดยเฉพาะโครงการชิมช้อปใช้ได้มีส่วนช่วยรักษาอัตราการขยายตัวของการบริโภคภายในประเทศให้อยู่ในระดับที่น่าพอใจ ขณะเดียวกันยังมีการคาดหมายถึงอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ที่ 0.7% ซึ่งปรับตัวลดลงจากปี 61 ตามการลงลงของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก
นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโมษกกระทรวงการคลัง แถลงถึงผลประมาณการเศรษฐกิจตลอดปี 63 และปี 62 ว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 63 จะขยายในอัตราที่เร่งขึ้นเมื่อเทียบกับปี 62 โดยจะอยู่ที่ 2.8% แต่ลดลงจากที่ สศค. เคยคาดไว้เมื่อเดือน ต.ค. 62 ว่าจะเติบโตได้ที่ระดับ 3.3% ทั้งนี้ เป็นผลมาจากปัจจัยบวกของการลงทุนในภาคเอกชนที่มีแนวโน้มขยายตัวขึ้น และมาตรการสนับสนุนและกระตุ้นการลงทุนภาคเอกชนที่คณะรัฐมนตรีเพิ่งให้การอนุมัติไปเมื่อวันที่ 28 ม.ค. 63 ซึ่งคาดว่ามาตรการดังกล่าวนี้จะทำใหมีเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบได้ราว 1.1 แสนล้าน และจะมีส่วนช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ 0.5%
ขณะเดียวกัน ในปี 63 ยังจะได้เห็นเม็ดเงินที่มาจากการลงทุนในโครงการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของรัฐบาลทั้งในรูปแบบรัฐลงทุนเองและรูปแบบการร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน (พีพีพี) ไหลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ นอกจากนี้ สศค. ยังมองว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 63 น่าจะดีขึ้น ส่วนอัตรการเจริญเติบโตของภาคส่งออกจะเป็นบวกเล็กน้อย และมูลค่าการส่งออกจะขยายตัวได้ราว 1% ด้านเงินเฟ้อในปี 63 คาดว่า น่าจะอยู่ที่ 0.8% โดยเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปี 62 ตามการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ
อย่างไรก็ตาม แม้ภาพรวมทางเศรษฐกิจในปี 63 จะดูดีกว่าปี 62 แต่ก็ยังมีปัจจัยที่ยังคงต้องเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด เช่น ปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา ที่คาดว่าจะส่งผลกระทบถึงจำนวนนักท่องเที่ยวจากทุกประเทศที่เดินทางเข้าไทยในปีนี้หายไปประมาณ 4 แสนราย ทั้งนี้ สศค. คาดการณ์ว่าปัญหาไวรัสโคโรนาจะจบสิ้นได้ใน 3 เดือน
ส่วนปัญหาในการผลักดันร่าง พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 นั้น ในเบื้องต้นได้คาดการณ์ว่าจะมีความล่าช้าจากสิ้นเดือน ม.ค. 63 ไปเป็นสิ้นเดือน มี.ค. 63 หรือล่าช้าจากกำหนดเดิม 2 เดือน รวมทั้งยังต้องเฝ้าติดตามความคืบหน้าในการเจรจาการค้าเพื่อลดกำแพงภาษีนำเข้าสินค้าระหว่างจีน-สหรัฐฯ การถอนตัวออกจากสหภาพยุโรป (EU) ของสหราชอาณาจักร (Brexit) การดำเนินนโยบายของประเทศที่พัฒนาแล้ว รวมถึงการลงทุนในภาคเอกชนที่รัฐบาลคาดหวังว่าในปี 63 จะเป็นแรงส่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญร่วมกับการลงทุนของรัฐบาลในโครงการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ด้วย
สำหรับการประมาณการณ์ตัวเลขเศรษฐกิจในปี 2562 ที่ผ่านมานั้น สศค. คาดว่า ยังคงขยายตัวต่อเนื่องที่ระดับ 2.5% จากเดิมที่เคยคาดการณ์จะขยายตัวที่ 2.5% ทั้งนี้ เป็นการขยายตัวในทิศทางที่ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับปี 61 ซึ่งเคยเติบโตได้ถึง 4.1% จากจากอุปสงค์ในต่างประเทศที่ชะลอตัวลงตามผลการทำสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ ซึ่งทำให้มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 62 หดตัวลงที่ระดับ -2.7% จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจะมีทั้งสิ้น 39.8 ล้านคน หรือเพิ่มขึ้น 4.2% เมื่อเทียบกับปี 61 โดยได้รับแรงสนับสนุนจากมาตรการขยายระยะเวลายกเลิกค่าธรรมเนียมการตรวจลงตรา ณ ด่านตรวจคนเข้าเมือง (VOA)
นายลวรณ ยังกล่าวเพิ่มเติมถึงผลคาดการณ์การขยายตัวด้านการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนตลอดทั้งปี 62 ว่า จะขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากปัจจัยสนับสนุนของรัฐบาลผ่านการดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังของปี 62 โดยเฉพาะโครงการชิมช้อปใช้ได้มีส่วนช่วยรักษาอัตราการขยายตัวของการบริโภคภายในประเทศให้อยู่ในระดับที่น่าพอใจ ขณะเดียวกันยังมีการคาดหมายถึงอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ที่ 0.7% ซึ่งปรับตัวลดลงจากปี 61 ตามการลงลงของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก