xs
xsm
sm
md
lg

อีวี โรดแมป เส้นทางออกจากเมืองในฝุ่น

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



"ฝั่งขวาเจ้าพระยา"
"โชกุน"

สถานการณ์ ฝุ่น PM 2.5 ปีนี้รุนแรงกว่าปีที่แล้ว รุนแรงเพราะว่า ไม่มีเจ้าภาพ ผู้รับผิดชอบโดยตรง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำเท่าที่ทำได้ตามขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบของตัวเอง รอเวลาที่ลมจะมา อากาศถ่ายเทหมุนเวียน พัดฝุ่นออกไป ปีหน้าค่อยว่ากันใหม่

สาเหตุของฝุ่น PM 2.5 หลักๆ มาจากการจราจรที่ติดขัด รถจอดนิ่งบนท้องถนน ปล่อยไอเสียจากน้ำมันดีเซล มีทั้งฝุ่น ทั้งก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์กับการเผา พอๆ กัน สำหรับกรุงเทพฯ ฝุ่น PM 2.5 น่าจะเป็นสาเหตุอันดับแรกๆ

วิธีแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน ไม่ต้องพึ่งธรรมชาติ รอให้ลมมาพัดเอาฝุ่นออกไป ก็คือ เอารถไฟฟ้ามาใช้บนท้องถนนแทนรถปัจจุบันที่ใช้น้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล ดูเหมือนพูดง่ายแต่ทำยาก แต่เป็นทางเดียวที่จะแก้ปัญหา PM 2.5 ได้ ถ้าไม่เริ่มก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย เคยเสนอเเนวทางการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยเมื่อปีที่แล้ว โดยระบุว่า

จากข้อมูลของกรมขนส่งทางบก ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2562 สถิติการจดทะเบียนใหม่ของรถยนต์ไฟฟ้าเเบบปลั๊กอินไฮบริด (PHEV) เเละไฮบริด (HEV) ในครึ่งปีเเรก (2562) มีจำนวนมากถึง 15,366 คัน ซึ่งคิดเป็นกว่า 75 เปอร์เซ็นต์ของยอดจดทะเบียนปี 2561 ทั้งปีที่มีจำนวนทั้งสิ้น 20,344 คัน ในส่วนของการจดทะเบียนใหม่ประเภทยานยนต์เเบบเเบตเตอรี่ (BEV) ในครึ่งปีเเรก (2562) มีจำนวน 420 คัน ซึ่งสูงกว่ายอดจดทะเบียนใหม่ของปี 2561 ทั้งปีที่มีอยู่ราวๆ 325 คัน เเละมีสถานีอัดประจุไฟฟ้าสาธารณะประมาณ 340 เเห่งทั่วประเทศ

จำนวนยานยนต์ไฟฟ้าที่จดทะเบียนใหม่ในช่วงครึ่งปี 2562 ถือว่าเติบโตต่อนข้างมาก

สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT) เล็งเห็นถึงสถานการณ์การใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในปัจจุบันเเละอนาคต จึงได้มีการร่างข้อเสนอเเนวทางการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าประกอบไปด้วย 8 ข้อหลักที่มุ่งหวังให้ภาครัฐนำข้อเสนอเหล่านี้มาปรับใช้ในการดำเนินนโยบายบริหารประเทศ โดยข้อเสนอเเนวทางการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย รวมทั้งหมด 8 ข้อหลัก ได้เเก่

1. การจัดทำเเผนที่นำทางเรื่องยานยนต์ไฟฟ้าเเบบบูรณาการ (EV Roadmap) อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งทางสมาคมเน้นว่าต้องมีการกำหนดเป้าหมายของจำนวนยานยนต์ไฟฟ้าเเละสถานีอัดประจุไฟฟ้าอย่างเหมาะสม พร้อมสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศตลอดห่วงโซ่อุปทาน นอกจากนี้ทางสมาคมยังได้เสนอให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการบูรณาการนโยบายโดยมีนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานเพื่อการบูรณาการที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

2. ทางสมาคมเเนะให้รัฐพิจารณาปรับปรุงข้อกฎหมายต่างๆ อาทิ ให้รถสามล้อไฟฟ้าเเละรถรับจ้างไฟฟ้าสามารถจดทะเบียนได้อย่างเสรี รวมไปถึงการส่งเสริมการใช้รถสามล้อไฟฟ้าในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

เนื่องจากสถานการณ์ในปัจจุบันมีการควบคุมจานวนการจดทะเบียนรถสามล้อรับจ้าง และสามล้อส่วนบุคคลในประเทศไทย ส่งผลให้การใช้รถสามล้อไฟฟ้าไม่เป็นที่แพร่หลายเนื่องจากมีต้นทุนสูง และขั้นตอนของการจดทะเบียนค่อนข้างซับซ้อนและมีข้อจากัด อีกทั้งทางสมาคมยังเสนอให้มีการเเยกการจดทะเบียนยานยนต์ไฟฟ้าระหว่างประเภทปลั๊กอินไฮบริด (PHEV) เเละไฮบริด (HEV)

3. การส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าซึ่งภาครัฐควรออกมาตรการดังต่อไปนี้

3.1 ส่งเสริมให้ประชาชนซื้อยานยนต์ไฟฟ้าได้ในราคาที่เหมาะสม เช่น การลดภาษีส่วนบุคคลสำหรับผู้ซื้อรถยนต์ไฟฟ้า

3.2 เพิ่มแรงจูงใจสำหรับผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้า อาทิ การออกมาตรการเพิ่มหัวจ่ายประจุไฟฟ้าตามที่จอดสาธารณะเเละเพิ่มสิทธิในการวิ่งรถยนต์ในช่องทางพิเศษ

3.3 หน่วยงานรัฐควรเป็นผู้นำด้านการใช้รถยนต์ไฟฟ้าก่อน ด้วยการจัดซื้อรถยนต์ไฟฟ้าเเบบเเบตเตอรี่ตามมติ ครม.

3.4 ขยายการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในรถโดยสารสาธารณะได้เเก่ ขสมก. รถตุ๊กๆ รถเเท็กซี่ ควรเปลี่ยนเป็นรถยนต์ไฟฟ้าทั้งหมด

3.5 สนับสนุนให้มีการเเยกประเภทป้ายทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าเเบบเฉพาะ โดยการใช้สีเเละสัญลักษณ์บนป้ายทะเบียนที่สามารถมองเห็นเเละเเยกเเยะได้ สำหรับป้ายที่เป็นประเภทไฟฟ้า 100 เปอร์เซ็นต์ (BEV) เเละประเภทปลั๊กอินไฮบริด (PHEV) เพื่อสร้างการรับรู้ของประชาชน เเละการมีส่วนร่วมของผู้ขับขี่ในการช่วยลดมลพิษเเละรักษาสิ่งเเวดล้อม

4. ควรมีการส่งเสริมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าทั้งในรูปเเบบรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าเเละรถสามล้อไฟฟ้า

5. ส่งเสริมศักยภาพของผู้ประกอบการไทยในด้านการพัฒนาเทคโนโลยีเเละการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า โดยควรจัดให้มีการสนับสนุนการสร้างงานวิจัยเเละพัฒนาเพื่อยกระดับผู้ประกอบการ เเละการพัฒนาเเพลตฟอร์มเเบบเปิดสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า (EV Open Platform) เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถนำเเพลตฟอร์มมาต่อยอดได้

6. การจัดทำมาตรฐานยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งควรมีการออกมาตรฐานยานยนต์ที่ครอบคลุม รวมไปถึงการจัดให้มีหน่วยงานทดสอบเเละรับรองมาตรฐานของยานยนต์ไฟฟ้าเเละเเบตเตอรี่ไฟฟ้าที่เสื่อมสภาพเเล้ว โดยใช้เเนวทางตามมาตรฐานสากล

7. ควรมีการเตรียมความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับยานยนต์ไฟฟ้า อย่างเช่น การสนับสนุนให้มีสถานีอัดประจุไฟฟ้าเเบบ Quick Charge ตามสถานที่ต่างๆ8. ส่งเสริมให้มีการพัฒนาบุคลากรด้านยานยนต์ไฟฟ้า เช่น ให้มีการอบรมเเละการจัดทำหลักสูตรวิชาชีพในสถาบันการศึกษา


กำลังโหลดความคิดเห็น