ค่าฝุ่นละออง PM2.5 เกินค่ามาตรฐาน จำนวน 33 เขตพื้นที่ ย่านถนนสามเสน เขตพระนคร หนักสุด ดัชนีคุณภาพอากาศสถานีตรวจวัดของกรุงเทพฯ พบคุณภาพอากาศโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง - เริ่มมีผลกระทบต่อร่างกาย และบางพื้นที่มีผลกระทบต่อร่างกาย แนะลดการทำกิจกรรมกลางแจ้งและสวมใส่หน้ากากอนามัย “สนธิรัตน์" ลุยแก้ฝุ่นพิษ ประสานงานภาครัฐ-นักวิชาการ-เอกชน ร่วมมือทำเพื่อลูกหลาน กรมควบคุมโรค เผย4 ปัจจัย ทำป่วยจากฝุ่นพิษ
วานนี้ (19 ม.ค.) กรมควบคุมมลพิษ รายงานข้อมูลคุณภาพอากาศ ประจำวันที่ 19 ม.ค.63 เวลา 07.00 น. ดังนี้
ผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยกรมควบคุมมลพิษร่วมกับกรุงเทพมหานคร จำนวน 54 สถานี ตรวจวัดค่าได้ 44 –93มคก./ลบ.ม. (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม) โดยปริมาณฝุ่นละอองในภาพรวม มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกพื้นที่ เมื่อเทียบกับเช้าวันที่ 18 ม.ค. โดยพบพื้นที่ที่มีปริมาณฝุ่นละอองอยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ 46 พื้นที่ และพบพื้นที่ที่มีปริมาณฝุ่นละอองมีผลกระทบต่อสุขภาพ 1 พื้นที่ (พื้นที่สีแดง) ได้แก่ ริมถนนสามเสน เขตพระนคร ประชาชนในพื้นที่ดังกล่าว ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น และติดตามสถานการณ์ฝุ่นละอองอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ คพ. ขอความร่วมมือประชาชนงดการเผาในที่โล่ง งดใช้รถควันดำอย่างเด็ดขาด และลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล เปลี่ยนมาใช้ระบบขนส่งมวลชน
ทั้งนี้ คพ.ยังคงรายงานสถานการณ์ และแจ้งประสานข้อมูลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการควบคุม กำกับ ดูแล ภารกิจตามมาตรการ "ภายใต้แผนปฏิบัติการ ขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ " อย่างเร่งด่วน เพื่อบรรเทาสถานการณ์ฝุ่นละอองให้กลับสู่ปกติ
"สนธิรัตน์"ประสานงาน ลุยแก้ฝุ่นพิษ
นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พลังงาน และเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ กล่าวถึงกรณีแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 ว่า พรรคพลังประชารัฐ กำลังแก้ไขปัญหาในระยะสั้น 2 เดือนนี้ โดยร่วมมือกับทีมนักวิชาการ และหาทางแก้ปัญหาในระยะกลางและระยะยาวต่อไป รวมทั้งการป้องกันปัญหาในช่วงปีหน้าอย่างไร โดยจะดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ยืนยันว่า พรรคพลังประชารัฐ มีความเป็นห่วงประชาชน และขอให้ช่วยกันทำเพื่อลูกหลาน ทำให้มลพิษมีปัญหาต่อสุขภาพน้อยที่สุด
อย่างไรก็ตาม ฝุ่นพิษเป็นปัญหาทั่วโลกมาแล้ว สำหรับประเทศไทย ในช่วง 2 ปีนี้ ค่อนข้างแรง เราต้องร่วมมือกับรัฐบาล ภาควิชาการ ภาคเอกชน เพื่อให้ศูนย์ประสานงานด้านฝุ่น PM2.5ที่จะตั้งขึ้นเป็นส่วนประสานงาน เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัย
ด้าน น.ส.ภาดาท์ วรภกานนท์ ส.ส.กทม. พรรคพลังประชารัฐ กล่าวว่า เป็นคณะทำงานของพรรคพลังประชารัฐ เรื่องการผลักดันนโยบายสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด และถึงเวลาแล้วที่จะต้องออกมากับเพื่อน แก้ไขปัญหาฝุ่นที่เป็นปัญหาหนัก จึงมีการตั้งศูนย์ประสานงาน ด้านฝุ่น PM2.5 ขึ้น โดยจะมีการเปิดศูนย์อย่างเป็นทางการในสัปดาห์นี้ โดยนายสนธิรัตน์ได้มอบหมายให้ตนเป็นผู้อำนวยการศูนย์ดังกล่าว เพื่อช่วยกันคิดหาทางสู้กับปัญหาฝุ่นและผลักดันนโยบายแก้ไขได้จริง พร้อมกับจะประสานงานกับภาควิชาการ จัดหาองค์ความรู้มอบแก่ประชาชน รวมถึงเทคโนโลยีจะสามารถให้ประชาชนช่วยเหลือตัวเองในเบื้องต้นได้ อาทิ ปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่จะจับฝุ่น PM2.5ได้แล้ว โดยเป็นละอองน้ำประมาณ 15 ไมครอน ซึ่งในสัปดาห์หน้า จะมาสอนวิธีประกอบอุปกรณ์เพื่อให้ประชาชนนำไปใช้ได้ทันที
นอกจากนี้ ยังมีการพูดถึงมอส ซึ่งเป็นพืชชนิดหนึ่งที่สามารถกรองดักฝุ่นในอากาศได้เป็นอย่างดี เทียบเท่ากับต้นไม้เป็น 100 ต้น ซึ่งในสัปดาห์หน้าจะได้มาให้รายละเอียดกันอีกครั้ง
นพ.ขจรศักดิ์ แก้วจรัส รองอธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวถึง ผลกระทบต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นกับประชาชนจขึ้นอยู่กับหลายองค์ประกอบ ได้แก่ 1. ตำแหน่งที่อยู่อาศัย หรือตำแหน่งที่ทำกิจกรรม 2. ช่วงเวลาและระยะเวลาที่สัมผัส 3. ชนิดของกิจกรรมที่ทำในพื้นที่ที่มีค่า PM 2.5 สูง เช่น ออกกำลังกายกลางแจ้ง ทำงานกลางแจ้ง จะมีความเสี่ยงที่จะได้รับ PM 2.5 มากกว่า กลุ่มคนที่ออกกำลังกายในที่ร่ม หรือทำงานในอาคาร 4. ปัจจัยเฉพาะบุคคล โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ กลุ่มเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคหืด ภูมิแพ้ หากได้รับมลพิษจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก เข้าสู่ร่างกาย อาจทำให้เกิดการเจ็บป่วยหรือมีผลกระทบต่อสุขภาพที่รุนแรงมากกว่าประชาชนทั่วไป
ทั้งนี้ หากมีคนในครอบครัวที่ป่วยด้วย 4 กลุ่มโรคสำคัญ ขอให้สังเกตอาการ ดังนี้ 1. กลุ่มโรคหัวใจ และหลอดเลือด เช่น เหนื่อยง่าย หัวใจเต้นเร็ว 2. กลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น คัดจมูก น้ำมูกไหล แสบจมูกและลำคอ 3. กลุ่มโรคผิวหนังอักเสบ เช่น อาการคันตามร่างกาย มีผื่นแดงตามร่างกาย และ 4. กลุ่มโรคตาอักเสบ เช่น อาการแสบหรือคันตา น้ำตาไหล และตาแดง หากสงสัยหรือมีอาการผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว และควรสวมหน้ากากป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็กเมื่อออกจากบ้าน
วานนี้ (19 ม.ค.) กรมควบคุมมลพิษ รายงานข้อมูลคุณภาพอากาศ ประจำวันที่ 19 ม.ค.63 เวลา 07.00 น. ดังนี้
ผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยกรมควบคุมมลพิษร่วมกับกรุงเทพมหานคร จำนวน 54 สถานี ตรวจวัดค่าได้ 44 –93มคก./ลบ.ม. (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม) โดยปริมาณฝุ่นละอองในภาพรวม มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกพื้นที่ เมื่อเทียบกับเช้าวันที่ 18 ม.ค. โดยพบพื้นที่ที่มีปริมาณฝุ่นละอองอยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ 46 พื้นที่ และพบพื้นที่ที่มีปริมาณฝุ่นละอองมีผลกระทบต่อสุขภาพ 1 พื้นที่ (พื้นที่สีแดง) ได้แก่ ริมถนนสามเสน เขตพระนคร ประชาชนในพื้นที่ดังกล่าว ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น และติดตามสถานการณ์ฝุ่นละอองอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ คพ. ขอความร่วมมือประชาชนงดการเผาในที่โล่ง งดใช้รถควันดำอย่างเด็ดขาด และลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล เปลี่ยนมาใช้ระบบขนส่งมวลชน
ทั้งนี้ คพ.ยังคงรายงานสถานการณ์ และแจ้งประสานข้อมูลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการควบคุม กำกับ ดูแล ภารกิจตามมาตรการ "ภายใต้แผนปฏิบัติการ ขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ " อย่างเร่งด่วน เพื่อบรรเทาสถานการณ์ฝุ่นละอองให้กลับสู่ปกติ
"สนธิรัตน์"ประสานงาน ลุยแก้ฝุ่นพิษ
นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พลังงาน และเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ กล่าวถึงกรณีแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 ว่า พรรคพลังประชารัฐ กำลังแก้ไขปัญหาในระยะสั้น 2 เดือนนี้ โดยร่วมมือกับทีมนักวิชาการ และหาทางแก้ปัญหาในระยะกลางและระยะยาวต่อไป รวมทั้งการป้องกันปัญหาในช่วงปีหน้าอย่างไร โดยจะดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ยืนยันว่า พรรคพลังประชารัฐ มีความเป็นห่วงประชาชน และขอให้ช่วยกันทำเพื่อลูกหลาน ทำให้มลพิษมีปัญหาต่อสุขภาพน้อยที่สุด
อย่างไรก็ตาม ฝุ่นพิษเป็นปัญหาทั่วโลกมาแล้ว สำหรับประเทศไทย ในช่วง 2 ปีนี้ ค่อนข้างแรง เราต้องร่วมมือกับรัฐบาล ภาควิชาการ ภาคเอกชน เพื่อให้ศูนย์ประสานงานด้านฝุ่น PM2.5ที่จะตั้งขึ้นเป็นส่วนประสานงาน เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัย
ด้าน น.ส.ภาดาท์ วรภกานนท์ ส.ส.กทม. พรรคพลังประชารัฐ กล่าวว่า เป็นคณะทำงานของพรรคพลังประชารัฐ เรื่องการผลักดันนโยบายสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด และถึงเวลาแล้วที่จะต้องออกมากับเพื่อน แก้ไขปัญหาฝุ่นที่เป็นปัญหาหนัก จึงมีการตั้งศูนย์ประสานงาน ด้านฝุ่น PM2.5 ขึ้น โดยจะมีการเปิดศูนย์อย่างเป็นทางการในสัปดาห์นี้ โดยนายสนธิรัตน์ได้มอบหมายให้ตนเป็นผู้อำนวยการศูนย์ดังกล่าว เพื่อช่วยกันคิดหาทางสู้กับปัญหาฝุ่นและผลักดันนโยบายแก้ไขได้จริง พร้อมกับจะประสานงานกับภาควิชาการ จัดหาองค์ความรู้มอบแก่ประชาชน รวมถึงเทคโนโลยีจะสามารถให้ประชาชนช่วยเหลือตัวเองในเบื้องต้นได้ อาทิ ปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่จะจับฝุ่น PM2.5ได้แล้ว โดยเป็นละอองน้ำประมาณ 15 ไมครอน ซึ่งในสัปดาห์หน้า จะมาสอนวิธีประกอบอุปกรณ์เพื่อให้ประชาชนนำไปใช้ได้ทันที
นอกจากนี้ ยังมีการพูดถึงมอส ซึ่งเป็นพืชชนิดหนึ่งที่สามารถกรองดักฝุ่นในอากาศได้เป็นอย่างดี เทียบเท่ากับต้นไม้เป็น 100 ต้น ซึ่งในสัปดาห์หน้าจะได้มาให้รายละเอียดกันอีกครั้ง
นพ.ขจรศักดิ์ แก้วจรัส รองอธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวถึง ผลกระทบต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นกับประชาชนจขึ้นอยู่กับหลายองค์ประกอบ ได้แก่ 1. ตำแหน่งที่อยู่อาศัย หรือตำแหน่งที่ทำกิจกรรม 2. ช่วงเวลาและระยะเวลาที่สัมผัส 3. ชนิดของกิจกรรมที่ทำในพื้นที่ที่มีค่า PM 2.5 สูง เช่น ออกกำลังกายกลางแจ้ง ทำงานกลางแจ้ง จะมีความเสี่ยงที่จะได้รับ PM 2.5 มากกว่า กลุ่มคนที่ออกกำลังกายในที่ร่ม หรือทำงานในอาคาร 4. ปัจจัยเฉพาะบุคคล โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ กลุ่มเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคหืด ภูมิแพ้ หากได้รับมลพิษจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก เข้าสู่ร่างกาย อาจทำให้เกิดการเจ็บป่วยหรือมีผลกระทบต่อสุขภาพที่รุนแรงมากกว่าประชาชนทั่วไป
ทั้งนี้ หากมีคนในครอบครัวที่ป่วยด้วย 4 กลุ่มโรคสำคัญ ขอให้สังเกตอาการ ดังนี้ 1. กลุ่มโรคหัวใจ และหลอดเลือด เช่น เหนื่อยง่าย หัวใจเต้นเร็ว 2. กลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น คัดจมูก น้ำมูกไหล แสบจมูกและลำคอ 3. กลุ่มโรคผิวหนังอักเสบ เช่น อาการคันตามร่างกาย มีผื่นแดงตามร่างกาย และ 4. กลุ่มโรคตาอักเสบ เช่น อาการแสบหรือคันตา น้ำตาไหล และตาแดง หากสงสัยหรือมีอาการผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว และควรสวมหน้ากากป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็กเมื่อออกจากบ้าน