ผู้จัดการรายวัน360 - "บิ๊กตู่"เกาะติดสถานการณ์อิหร่าน-สหรัฐฯ รับส่งผลกระทบราคาน้ำมันในประเทศ ยันคนไทยต้องปลอดภัย สั่งฝ่ายความมั่นคงเฝ้าระวังทุกสถานทูต-สถานที่สำคัญ “สมคิด”ไม่กังวล ยันเศรษฐกิจไทยแข็งแกร่ง รองรับปัญหาปัจจัยต่างประเทศได้ “สนธิรัตน์” ระดมสมองรับมือความขัดแย้งสหรัฐ-อิหร่าน จ่อดึงเงินกองทุนน้ำมันฯพยุงราคาน้ำมันในประเทศ ตลาดหุ้นไทย ดิ่งหนัก ร่วงกว่า 26 จุด ราคาทองพุ่งทำสถิติสูงสุดในรอบ 6 ปี ขณะที่นักค้าเงินหวังลดแรงกดที่ทำให้ค่าเงินบาทแข็ง
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม กล่าวถึงการรับมือสถานการณ์ตึงเครียดในตะวันออกกลาง ระหว่างอิหร่านกับสหรัฐอเมริกา ว่า ติดตามสถานการณ์อยู่ โดยฝ่ายความมั่นคงและกระทรวงการต่างประเทศ เพราะหลายอย่างส่งผลต่อภูมิภาคของเราด้วย แม้จะเป็นประเทศที่อยู่ไกลก็มีผลกระทบทางการค้าและเศรษฐกิจ โดยเฉพาะความเชื่อมั่นต่างๆ
"สิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ ราคาพลังงานที่อาจจะสูงขึ้น ก็จะเกิดผลกระทบกับราคาพลังงานภายในประเทศ ทุกคนต้องคิดด้วยเหตุด้วยผล คิดเองเออเองทั้งหมดไม่ได้ และรัฐบาลจะปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้ แต่ขึ้นอยู่ว่าจะแก้ปัญหาได้มากน้อยเพียงใดตามกติกาและกฎหมายที่มีอยู่ เราจะแก้ไปแบบตามใจไม่ได้ เพราะมีความละเอียดอ่อน และสถานการณ์เช่นนี้ก็เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ในปัจจุบัน ซึ่งทุกประเทศก็เป็นห่วงในเรื่องนี้ ไม่อยากให้เกิดขึ้น"
ส่วนประเด็นที่ต้องแจ้งเตือนคนไทยให้อพยพแล้วหรือไม่ นั้น พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า เป็นมาตรการเฉพาะอยู่แล้ว ซึ่งเป็นระเบียบปฏิบัติประจำ ตนได้ย้ำกระทรวงการต่างประเทศไปแล้วว่าไม่ต้องให้สั่ง โดยทุกสถานทูต กงศุล ต้องเตรียมแผนอพยพประชาชนไปในพื้นที่ปลอดภัยในขั้นต้นก่อน จากนั้นก็เป็นเรื่องของการส่งกลับ ซึ่งอาจจะใช้สายการบินพาณิชย์ แบบเช่าเหมาลำ หรือเครื่องบินของกองทัพอากาศ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับการขึ้นลงของสนามบินที่จะอนุญาตด้วย สิ่งสำคัญที่สุดคือ ขอให้คนไทยของเราปลอดภัย รวมถึงขอให้แจ้งญาติพี่น้องว่าปลอดภัย จะได้ไม่เป็นห่วง ตนขอฝากเอกอัครราชทูต และกงศุลต่างๆ ช่วยดูแลคนไทยให้มากที่สุด
ขณะที่ในประเทศไทย ได้สั่งการให้ฝ่ายความมั่นคง ดูแลสถานทูต ตลอดจนสถานที่สำคัญต่างๆ ขณะเดียวกัน ได้มีการเสริมกำลังในสถานทูตต่างๆ โดยเฉพาะบางสถานทูตที่สำคัญ
"สมคิด" มั่นใจไม่กระทบ-ยันศก.ไทยแกร่ง
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เพื่อรองรับปัญหาความรุนแรงสหรัฐ-อิหร่าน อาจกระทบต่อผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ซึ่งในการประชุม ครม. วันนี้ (7 ม.ค.) จะพิจารณามาตรการแพ็กเกจช่วยเหลือเอสเอ็มอีและรายย่อย หากสถานการณ์ไม่ตึงเครียดมากเกินไป นับว่าเป็นสิ่งที่ดี แต่หากรุนแรงมาก มองว่าพื้นฐานเศรษฐกิจของไทยรับรองปัญหาดังกล่าวได้ เพราะขณะนี้มีความมั่นคงมาก ทั้งทุนสำรองระหว่างประเทศ และโครงสร้างพื้นฐานด้านต่าง ๆ จึงคาดว่าไทยจะผ่านพ้นไปได้ เพราะจากประสบการณ์วิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 ไทยยังผ่านมาได้แล้ว
"พื้นฐานเศรษฐกิจไทยเข้มแข็ง จึงเป็นจุดที่ต่างชาติยังสนใจเข้ามาลงทุนและเป็นโอกาสสำคัญอีกด้านหนึ่งของไทย เมื่อเงินทุนไหลเข้าย่อมทำให้เงินบาทแข็งค่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จึงติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด ในส่วนผลกระทบต่อราคาน้ำมัน แม้จะกระทบต้นทุนน้ำมันบ้าง แต่ไม่อยากให้ตระหนกมากนัก กระทรวงพลังงานติดตามอย่างใกล้ชิด ส่วนปัญหาโรคปอดอักเสบระบาดในจีน มองว่าระบบสาธารณสุขของจีนจะควบคุมปัญหาได้ จึงไม่น่ากังวลมากเกินไป" นายสมคิด กล่าว
จ่อดึงเงินกองทุนฯอุ้มน้ำมันในประเทศ
นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า กระทรวงพลังงานได้ประชุมหารือกับผู้บริหารระดับสูง เพื่อติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งเร่งหามาตรการรองรับ จากการประเมินเบื้องต้น สถานการณ์ดังกล่าวยังไม่ส่งผลต่อสต๊อกน้ำมันสำรองของประเทศ ซึ่งใช้ได้ 50 วัน แบ่งเป็นปริมาณสำรองน้ำมันดิบประมาณ 2,988 ล้านลิตร ปริมาณสำรองน้ำมันดิบที่อยู่ระหว่างขนส่งอีก 1,144 ล้านลิตรและน้ำมันสำเร็จรูป 1,468 ล้านลิตร ส่วนปริมาณสำรองก๊าซปิโตรเลียมเหลว( LPG) ทั้งหมดประมาณ 101 ล้านกิโลกรัม สำรองได้ 17 วันสำหรับใช้ในภาคครัวเรือน
ทั้งนี้ จากเหตุการณ์โจมตีโรงกลั่นน้ำมันและเรือขนส่งน้ำมันซาอุดีอาระเบียในเดือนตุลาคม 2562 ทาง กระทรวงพลังงานและ บมจ.ปตท.ได้วางแผนร่วมกันในการลดความเสี่ยง จากการซื้อน้ำมันจากตะวันออกกลาง ผ่านช่องแคบฮอร์มุซ ล่าสุดปตท.ปรับแผนนำเข้าน้ำมันดิบจากตะวันออกกลางผ่านช่องแคบฮอร์มุซลดลงจากเดิมอยู่ที่ 74% ปัจจุบันเหลือ 50% โดยนำเข้าน้ำมันดิบส่วนหนึ่งมาจากสหรัฐฯ และแอฟริกา
นายสนธิรัตน์ กล่าวว่า ได้เตรียมประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง(กบน.) ในวันที่ 10 ม.ค.นี้ เพื่อเตรียมพิจารณานำเงินจากกองทุนน้ำมันเข้ามาช่วยรักษาเสถียรภาพราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศจากปัจจุบันราคาน้ำมันดิบอยู่ที่ 69 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล แต่หากราคาน้ำมันดิบดูไบปรับขึ้นอยู่ที่ 80 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล จะมีการนำเงินกองทุนฯไปพยุงราคาน้ำมัน
“ขณะนี้สถานะกองทุนน้ำมันฯ อยู่ที่ประมาณ 3.7 หมื่นล้านบาท ซึ่งกระทรวงพลังงานยังคงมาตรการชดเชยราคาน้ำมัน1 บาทต่อลิตร ตั้งแต่วันที่ 26 ธ.ค.2562 ถึง 10 ม.ค.2563 หลังจากนั้นที่ประชุม กบน.จะตัดสินใจว่าจะใช้มาตรการใดเข้ามารองรับสถานการณ์ดังกล่าว”นายสนธิรัตน์ กล่าว
ปัจจุบันไทยผลิตน้ำมันดิบได้ประมาณ 1.3 แสนบาร์เรลต่อวัน โดยกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติจะขอความร่วมมือในการงดส่งออกน้ำมันดิบซึ่งจะได้ปริมาณน้ำมันดิบเพิ่มมากขึ้นประมาณ 2.5 หมื่นบาร์เรลต่อวัน และหากมีเหตุฉุกเฉิน สามารถเพิ่มการผลิตภายในประเทศให้มากขึ้นอีก 3.6 หมื่นบาร์เรลต่อวัน โดยขอความร่วมมือกับโรงกลั่นน้ำมันในการกลั่นน้ำมันดิบในประเทศทั้งหมด
ตลาดหุ้นไทยร่วงหนัก 26.47 จุด
ด้านบรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทย วานนี้ (6 ม.ค.) นักลงทุนเทขายหุ้นออกมาตั้งแต่เปิดซื้อขายช่วงแช้า กดดันให้ดัชนีเคลื่อนไหวอยู่ในแดนลบตลอดทั้งวัน โดยเฉพาะในช่วงบ่ายที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยได้ลดลงกว่า 20 จุด แตะระดับต่ำสุดที่ 1,565.93 จุด สูงสุดที่ 1,585.56 จุด ก่อนจะปิดการซื้อขายที่ 1,568.50 จุด ลดลง 26.47 จุด หรือคิดเป็น 1.66% มูลค่าการซื้อขายรวม 71,208.83 ล้านบาท
ทั้งนี้ มีเพียงหุ้นกลุ่มพลังงานที่ได้รับอานิสงค์จากราคาน้ำที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มปตท. เท่านั้น ที่มีราคาปรับตัวสูงกว่าราคาปิดครั้งก่อน และเป็นหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุด 3 อันดับแรก คือ PTT ปิดที่ 47 บาท บวก 0.50 บาท มูลค่าการซื้อขาย 4,289.09 ล้านบาท GPSC ปิดที่ 87.75 บาท บวก 2.25 บาท มูลค่า 3,501.54 ล้านบาท และ PTTEP ปิดที่ 133.50 บาท บวก 3.50 บาท มูลค่า 3,401.41 ล้านบาท
ราคาทองพุ่งทำสถิติสูงสุดในรอบ 6 ปี
นางสาวฐิภา นววัฒนทรัพย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส กล่าวว่า ราคาทองคำในตลาดโลกปรับตัวทำสถิติสูงสุดในรอบ 6 ปี ที่ 1,588 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ จากสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ-อิหร่าน ส่งผลให้ราคาทองคำในประเทศปรับขึ้นถึง 350 บาท โดยราคาทองแท่งขายออกที่ 22,500 บาท ทองรูปพรรณขายออกที่ 23,000 บาท ซึ่งคาดว่าภายในสัปดาห์นี้มีโอกาสที่จะเห็นราคาทองคำปรับขึ้นไปถึง 1,600 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ถ้าสถานการณ์การตอบโต้ระหว่าง 2 ชาติยังยืดเยื้อ คาดว่าอาจจะลากยาวไปถึงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาในเดือนพฤศจิกายน 2563 ประกอบกับมีกระแสข่าวจีนจะเลื่อนการลงนามการค้าเฟสแรกกับสหรัฐอเมริกา จากเดิมกำหนดไว้วันที่ 15 มกราคมนี้ ทำให้นักลงทุนยิ่งกังวล และมองทองคำเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยจึงมีแรงซื้อเข้ามามากใกล้ช่วงเทศกาลตรุษจีน ซึ่งเป็นเทศกาลที่คนนิยมซื้อทองคำ ส่งผลให้มีความต้องการซื้อทองคำมากกว่าปกติ
จับตาสงครามฯ-หวังแรงกดดันบาทอ่อนลด
นักบริหารเงินจากธนาคารพาณิชย์ กล่าวว่า ค่าเงินบาทปิดตลาดที่ 30.14บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯทรงตัวใกล้เคียงจากเปิดตลาดที่ 30.15 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ในระหว่างวันค่าเงินบาทแข็งค่าสุดที่ระดับ 30.13 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ และอ่อนค่าสุดที่ระดับ 30.16 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยตลาดรอดูปัจจัยที่ชัดเจนกรณีสหรัฐกับอิหร่าน รวมถึงตัวเลข ISM ภาคผลิตของสหรัฐฯ
ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ และอิหร่านที่ยกระดับสูงขึ้น ยังเป็นประเด็นที่ต้องติดตามและมีทีท่าว่าจะไม่ยุติลงง่ายๆ ซึ่งผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อเศรษฐกิจไทย ยังขึ้นอยู่กับระดับราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น และระยะเวลาที่ราคาน้ำมันทรงตัวในระดับสูง โดยการประเมินในเบื้องต้น หากราคาน้ำมันดิบดูไบยืนที่ระดับ 80 ดอลลาร์ฯ ต่อบาร์เรล เป็นเวลา 6 เดือน คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อเงินเฟ้อในประเทศเพิ่มขึ้นอีก 0.75% จากกรณีฐาน กล่าวคือ เงินเฟ้อทั่วไปจะขยับขึ้นมาเป็น 1.15%-1.65% ในขณะที่จะมีผลต่อ GDP ราว -0.08%
นอกจากนี้ แรงกดดันต่อค่าเงินบาทที่แข็งค่าอาจจะลดทอนลง ผ่านการลดลงของเกินดุลการค้าที่ลดลงจากการนำเข้าที่สูงขึ้น ส่งผลให้การดำเนินนโยบายการเงินเผชิญข้อจำกัดมากขึ้น ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ประกอบกับการเผชิญสถานการณ์ภัยแล้งในช่วงครึ่งแรกของปี 2563 ดังนั้น บทบาทหลักในการประคองภาวะเศรษฐกิจในจังหวะที่เผชิญโจทย์ท้าทายรอบด้านจะอยู่ที่การดำเนินนโยบายการคลังเป็นหลัก
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม กล่าวถึงการรับมือสถานการณ์ตึงเครียดในตะวันออกกลาง ระหว่างอิหร่านกับสหรัฐอเมริกา ว่า ติดตามสถานการณ์อยู่ โดยฝ่ายความมั่นคงและกระทรวงการต่างประเทศ เพราะหลายอย่างส่งผลต่อภูมิภาคของเราด้วย แม้จะเป็นประเทศที่อยู่ไกลก็มีผลกระทบทางการค้าและเศรษฐกิจ โดยเฉพาะความเชื่อมั่นต่างๆ
"สิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ ราคาพลังงานที่อาจจะสูงขึ้น ก็จะเกิดผลกระทบกับราคาพลังงานภายในประเทศ ทุกคนต้องคิดด้วยเหตุด้วยผล คิดเองเออเองทั้งหมดไม่ได้ และรัฐบาลจะปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้ แต่ขึ้นอยู่ว่าจะแก้ปัญหาได้มากน้อยเพียงใดตามกติกาและกฎหมายที่มีอยู่ เราจะแก้ไปแบบตามใจไม่ได้ เพราะมีความละเอียดอ่อน และสถานการณ์เช่นนี้ก็เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ในปัจจุบัน ซึ่งทุกประเทศก็เป็นห่วงในเรื่องนี้ ไม่อยากให้เกิดขึ้น"
ส่วนประเด็นที่ต้องแจ้งเตือนคนไทยให้อพยพแล้วหรือไม่ นั้น พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า เป็นมาตรการเฉพาะอยู่แล้ว ซึ่งเป็นระเบียบปฏิบัติประจำ ตนได้ย้ำกระทรวงการต่างประเทศไปแล้วว่าไม่ต้องให้สั่ง โดยทุกสถานทูต กงศุล ต้องเตรียมแผนอพยพประชาชนไปในพื้นที่ปลอดภัยในขั้นต้นก่อน จากนั้นก็เป็นเรื่องของการส่งกลับ ซึ่งอาจจะใช้สายการบินพาณิชย์ แบบเช่าเหมาลำ หรือเครื่องบินของกองทัพอากาศ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับการขึ้นลงของสนามบินที่จะอนุญาตด้วย สิ่งสำคัญที่สุดคือ ขอให้คนไทยของเราปลอดภัย รวมถึงขอให้แจ้งญาติพี่น้องว่าปลอดภัย จะได้ไม่เป็นห่วง ตนขอฝากเอกอัครราชทูต และกงศุลต่างๆ ช่วยดูแลคนไทยให้มากที่สุด
ขณะที่ในประเทศไทย ได้สั่งการให้ฝ่ายความมั่นคง ดูแลสถานทูต ตลอดจนสถานที่สำคัญต่างๆ ขณะเดียวกัน ได้มีการเสริมกำลังในสถานทูตต่างๆ โดยเฉพาะบางสถานทูตที่สำคัญ
"สมคิด" มั่นใจไม่กระทบ-ยันศก.ไทยแกร่ง
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เพื่อรองรับปัญหาความรุนแรงสหรัฐ-อิหร่าน อาจกระทบต่อผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ซึ่งในการประชุม ครม. วันนี้ (7 ม.ค.) จะพิจารณามาตรการแพ็กเกจช่วยเหลือเอสเอ็มอีและรายย่อย หากสถานการณ์ไม่ตึงเครียดมากเกินไป นับว่าเป็นสิ่งที่ดี แต่หากรุนแรงมาก มองว่าพื้นฐานเศรษฐกิจของไทยรับรองปัญหาดังกล่าวได้ เพราะขณะนี้มีความมั่นคงมาก ทั้งทุนสำรองระหว่างประเทศ และโครงสร้างพื้นฐานด้านต่าง ๆ จึงคาดว่าไทยจะผ่านพ้นไปได้ เพราะจากประสบการณ์วิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 ไทยยังผ่านมาได้แล้ว
"พื้นฐานเศรษฐกิจไทยเข้มแข็ง จึงเป็นจุดที่ต่างชาติยังสนใจเข้ามาลงทุนและเป็นโอกาสสำคัญอีกด้านหนึ่งของไทย เมื่อเงินทุนไหลเข้าย่อมทำให้เงินบาทแข็งค่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จึงติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด ในส่วนผลกระทบต่อราคาน้ำมัน แม้จะกระทบต้นทุนน้ำมันบ้าง แต่ไม่อยากให้ตระหนกมากนัก กระทรวงพลังงานติดตามอย่างใกล้ชิด ส่วนปัญหาโรคปอดอักเสบระบาดในจีน มองว่าระบบสาธารณสุขของจีนจะควบคุมปัญหาได้ จึงไม่น่ากังวลมากเกินไป" นายสมคิด กล่าว
จ่อดึงเงินกองทุนฯอุ้มน้ำมันในประเทศ
นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า กระทรวงพลังงานได้ประชุมหารือกับผู้บริหารระดับสูง เพื่อติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งเร่งหามาตรการรองรับ จากการประเมินเบื้องต้น สถานการณ์ดังกล่าวยังไม่ส่งผลต่อสต๊อกน้ำมันสำรองของประเทศ ซึ่งใช้ได้ 50 วัน แบ่งเป็นปริมาณสำรองน้ำมันดิบประมาณ 2,988 ล้านลิตร ปริมาณสำรองน้ำมันดิบที่อยู่ระหว่างขนส่งอีก 1,144 ล้านลิตรและน้ำมันสำเร็จรูป 1,468 ล้านลิตร ส่วนปริมาณสำรองก๊าซปิโตรเลียมเหลว( LPG) ทั้งหมดประมาณ 101 ล้านกิโลกรัม สำรองได้ 17 วันสำหรับใช้ในภาคครัวเรือน
ทั้งนี้ จากเหตุการณ์โจมตีโรงกลั่นน้ำมันและเรือขนส่งน้ำมันซาอุดีอาระเบียในเดือนตุลาคม 2562 ทาง กระทรวงพลังงานและ บมจ.ปตท.ได้วางแผนร่วมกันในการลดความเสี่ยง จากการซื้อน้ำมันจากตะวันออกกลาง ผ่านช่องแคบฮอร์มุซ ล่าสุดปตท.ปรับแผนนำเข้าน้ำมันดิบจากตะวันออกกลางผ่านช่องแคบฮอร์มุซลดลงจากเดิมอยู่ที่ 74% ปัจจุบันเหลือ 50% โดยนำเข้าน้ำมันดิบส่วนหนึ่งมาจากสหรัฐฯ และแอฟริกา
นายสนธิรัตน์ กล่าวว่า ได้เตรียมประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง(กบน.) ในวันที่ 10 ม.ค.นี้ เพื่อเตรียมพิจารณานำเงินจากกองทุนน้ำมันเข้ามาช่วยรักษาเสถียรภาพราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศจากปัจจุบันราคาน้ำมันดิบอยู่ที่ 69 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล แต่หากราคาน้ำมันดิบดูไบปรับขึ้นอยู่ที่ 80 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล จะมีการนำเงินกองทุนฯไปพยุงราคาน้ำมัน
“ขณะนี้สถานะกองทุนน้ำมันฯ อยู่ที่ประมาณ 3.7 หมื่นล้านบาท ซึ่งกระทรวงพลังงานยังคงมาตรการชดเชยราคาน้ำมัน1 บาทต่อลิตร ตั้งแต่วันที่ 26 ธ.ค.2562 ถึง 10 ม.ค.2563 หลังจากนั้นที่ประชุม กบน.จะตัดสินใจว่าจะใช้มาตรการใดเข้ามารองรับสถานการณ์ดังกล่าว”นายสนธิรัตน์ กล่าว
ปัจจุบันไทยผลิตน้ำมันดิบได้ประมาณ 1.3 แสนบาร์เรลต่อวัน โดยกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติจะขอความร่วมมือในการงดส่งออกน้ำมันดิบซึ่งจะได้ปริมาณน้ำมันดิบเพิ่มมากขึ้นประมาณ 2.5 หมื่นบาร์เรลต่อวัน และหากมีเหตุฉุกเฉิน สามารถเพิ่มการผลิตภายในประเทศให้มากขึ้นอีก 3.6 หมื่นบาร์เรลต่อวัน โดยขอความร่วมมือกับโรงกลั่นน้ำมันในการกลั่นน้ำมันดิบในประเทศทั้งหมด
ตลาดหุ้นไทยร่วงหนัก 26.47 จุด
ด้านบรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทย วานนี้ (6 ม.ค.) นักลงทุนเทขายหุ้นออกมาตั้งแต่เปิดซื้อขายช่วงแช้า กดดันให้ดัชนีเคลื่อนไหวอยู่ในแดนลบตลอดทั้งวัน โดยเฉพาะในช่วงบ่ายที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยได้ลดลงกว่า 20 จุด แตะระดับต่ำสุดที่ 1,565.93 จุด สูงสุดที่ 1,585.56 จุด ก่อนจะปิดการซื้อขายที่ 1,568.50 จุด ลดลง 26.47 จุด หรือคิดเป็น 1.66% มูลค่าการซื้อขายรวม 71,208.83 ล้านบาท
ทั้งนี้ มีเพียงหุ้นกลุ่มพลังงานที่ได้รับอานิสงค์จากราคาน้ำที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มปตท. เท่านั้น ที่มีราคาปรับตัวสูงกว่าราคาปิดครั้งก่อน และเป็นหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุด 3 อันดับแรก คือ PTT ปิดที่ 47 บาท บวก 0.50 บาท มูลค่าการซื้อขาย 4,289.09 ล้านบาท GPSC ปิดที่ 87.75 บาท บวก 2.25 บาท มูลค่า 3,501.54 ล้านบาท และ PTTEP ปิดที่ 133.50 บาท บวก 3.50 บาท มูลค่า 3,401.41 ล้านบาท
ราคาทองพุ่งทำสถิติสูงสุดในรอบ 6 ปี
นางสาวฐิภา นววัฒนทรัพย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส กล่าวว่า ราคาทองคำในตลาดโลกปรับตัวทำสถิติสูงสุดในรอบ 6 ปี ที่ 1,588 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ จากสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ-อิหร่าน ส่งผลให้ราคาทองคำในประเทศปรับขึ้นถึง 350 บาท โดยราคาทองแท่งขายออกที่ 22,500 บาท ทองรูปพรรณขายออกที่ 23,000 บาท ซึ่งคาดว่าภายในสัปดาห์นี้มีโอกาสที่จะเห็นราคาทองคำปรับขึ้นไปถึง 1,600 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ถ้าสถานการณ์การตอบโต้ระหว่าง 2 ชาติยังยืดเยื้อ คาดว่าอาจจะลากยาวไปถึงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาในเดือนพฤศจิกายน 2563 ประกอบกับมีกระแสข่าวจีนจะเลื่อนการลงนามการค้าเฟสแรกกับสหรัฐอเมริกา จากเดิมกำหนดไว้วันที่ 15 มกราคมนี้ ทำให้นักลงทุนยิ่งกังวล และมองทองคำเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยจึงมีแรงซื้อเข้ามามากใกล้ช่วงเทศกาลตรุษจีน ซึ่งเป็นเทศกาลที่คนนิยมซื้อทองคำ ส่งผลให้มีความต้องการซื้อทองคำมากกว่าปกติ
จับตาสงครามฯ-หวังแรงกดดันบาทอ่อนลด
นักบริหารเงินจากธนาคารพาณิชย์ กล่าวว่า ค่าเงินบาทปิดตลาดที่ 30.14บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯทรงตัวใกล้เคียงจากเปิดตลาดที่ 30.15 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ในระหว่างวันค่าเงินบาทแข็งค่าสุดที่ระดับ 30.13 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ และอ่อนค่าสุดที่ระดับ 30.16 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยตลาดรอดูปัจจัยที่ชัดเจนกรณีสหรัฐกับอิหร่าน รวมถึงตัวเลข ISM ภาคผลิตของสหรัฐฯ
ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ และอิหร่านที่ยกระดับสูงขึ้น ยังเป็นประเด็นที่ต้องติดตามและมีทีท่าว่าจะไม่ยุติลงง่ายๆ ซึ่งผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อเศรษฐกิจไทย ยังขึ้นอยู่กับระดับราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น และระยะเวลาที่ราคาน้ำมันทรงตัวในระดับสูง โดยการประเมินในเบื้องต้น หากราคาน้ำมันดิบดูไบยืนที่ระดับ 80 ดอลลาร์ฯ ต่อบาร์เรล เป็นเวลา 6 เดือน คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อเงินเฟ้อในประเทศเพิ่มขึ้นอีก 0.75% จากกรณีฐาน กล่าวคือ เงินเฟ้อทั่วไปจะขยับขึ้นมาเป็น 1.15%-1.65% ในขณะที่จะมีผลต่อ GDP ราว -0.08%
นอกจากนี้ แรงกดดันต่อค่าเงินบาทที่แข็งค่าอาจจะลดทอนลง ผ่านการลดลงของเกินดุลการค้าที่ลดลงจากการนำเข้าที่สูงขึ้น ส่งผลให้การดำเนินนโยบายการเงินเผชิญข้อจำกัดมากขึ้น ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ประกอบกับการเผชิญสถานการณ์ภัยแล้งในช่วงครึ่งแรกของปี 2563 ดังนั้น บทบาทหลักในการประคองภาวะเศรษฐกิจในจังหวะที่เผชิญโจทย์ท้าทายรอบด้านจะอยู่ที่การดำเนินนโยบายการคลังเป็นหลัก