ผู้จัดการรายวัน 360 - "บิ๊กตู่" ไม่ปลื้มการแก้ปัญหาอุบัติเหตุช่วงปีใหม่ ขอเปลี่ยนชื่อ 7 วันอันตราย เป็น 7 วันแห่งความสุข ชี้ไม่สร้างสรรค์ กำชับลดการสูญเสีย ช่วงเทศกาลทั้งปี ขณะที่โค้งสุดท้าย 6 วันปีใหม่ เกิดอุบัติเหตุรวม 3,076 ครั้ง ดับ 317 ราย บาดเจ็บ 3,160 คน ด้านกรมคุมประพฤติเผยคดีเมาแล้วขับรวม 8,894 คดี เพิ่มขึ้นถึง 2,771 คดี หรือ 45.26% เตรียมส่งผู้กระทำผิดซ้ำคดีเมาแล้วขับ ส่งเข้าค่ายปรับพฤติกรรม
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม กล่าวถึงปัญหาอุบัติเหตุช่วงเทศกาลปีใหม่ว่า แม้ว่าจากการรายงานยอดการสูญเสีย จะน้อยลง แต่ก็ไม่สบายใจ เพราะยังมีผู้เสียชีวิตกว่าร้อยคน หวังว่าในช่วงต่อไป เช่น เทศกาลสงกรานต์ จะทำอย่างไรที่จะลดผู้เสียชีวิตลงได้
สำหรับชื่อ 7วันอันตราย ฟังแล้วไม่สร้างสรรค์ อยากให้เปลี่ยนเป็น 7วันเทศกาลแห่งความสุข ได้หรือไม่ เพื่อให้นึกถึงความสุขและความปลอดภัย เพราะมีผลกระทบทั้งตนเอง ลูกหลาน และค่ารักษาพยาบาล จึงมีความจำเป็นต้องสร้างแรงจูงใจประเภทนี้ พร้อมกันนี้ ได้ให้แนวคิดเรื่องการทำถนนหนทาง หรือการขยายช่องทางจราจรให้มากขึ้น หากมีความเป็นไปได้สามารถสร้างให้เส้นทางใดเสร็จก่อนก็ให้ดำเนินการทันทีรวมถึงการปลูกสร้าง ขอให้อยู่ห่างไกลจากถนนหลักป้องกันปัญหาในอนาคตหากมีการขยายถนนออกไป
นายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.) เปิดเผยถึง ผลการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2563 ประจำวันที่ 1 ม.ค. 63 ซึ่งเป็นวันที่ 6 ของช่วง 7 วันอันตรายปีใหม่ ว่า เกิดอุบัติเหตุ 547 ครั้ง ผู้เสียชีวิต 55 ราย ผู้บาดเจ็บ 577 คน สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ดื่มแล้วขับ ร้อยละ 39.31 ขับรถเร็ว ร้อยละ 28.34 จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ สงขลา 32 ครั้ง จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ ราชบุรี และอุดรธานี จังหวัดละ 4 ราย จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสูงสุด ได้แก่ สงขลา 35 คน
ส่วนยอดสะสมช่วง 6 วัน (27 ธ.ค. 62 - 1 ม.ค.63) เกิดอุบัติเหตุรวม 3,076 ครั้ง ผู้เสียชีวิต 317 ราย ผู้บาดเจ็บ 3,160 คน จังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิต 7 จังหวัด ได้แก่ ตราด พะเยา ภูเก็ต แม่ฮ่องสอน ยะลา ลำพูน และสตูล จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุด สงขลา 95 ครั้ง จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด กรุงเทพฯ 14 ราย จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุด สงขลา100 คน
นายวิตถวัลย์ สุนทรขจิต อธิบดีกรมคุมประพฤติ กล่าวว่า สถิติคดีที่เข้าสู่กระบวนการคุมความประพฤติทั่วประเทศ สะสมรวม 6 วัน มีจำนวนทั้งสิ้น 9,049 คดี จำแนกเป็น คดีขับรถขณะเมาสุรา 8,894 คดี คิดเป็นร้อยละ 98.29 , คดีขับเสพ 140 คดี คิดเป็นร้อยละ 1.55 , คดีขับซิ่ง แข่งรถ 1 คดี คิดเป็นร้อยละ 0.01 และ คดีขับรถประมาท 14 คดี คิดเป็นร้อยละ 0.15 เมื่อเปรียบเทียบสถิติคดีที่เข้าสู่กระบวนการคุมประพฤติช่วงเทศกาลปีใหม่ 62 และ ปี 63 พบว่า คดีขับรถขณะเมาสุรา ปี 62 มีจำนวน 6,123 คดี กับปี 63 มีจำนวน 8,894 คดี เพิ่มขึ้นถึง 2,771 คดี คิดเป็นร้อยละ 45.26
นายวิตถวัลย์ เผยต่อว่า กรมคุมประพฤติจะทำการตรวจสอบประวัติผู้กระทำผิดทุกราย หากพบกระทำผิดซ้ำในฐานความผิดขับรถขณะเมาสุรา กรมคุมประพฤติจะดำเนินมาตรการเข้มโดยส่งเข้าค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่อเนื่อง 3 วัน และให้ทำงานบริการสังคม เพื่อกระตุ้นจิตสำนึกแก่ผู้ถูกคุมความประพฤติไม่ให้หวนกลับไปกระทำผิดซ้ำอีก
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม กล่าวถึงปัญหาอุบัติเหตุช่วงเทศกาลปีใหม่ว่า แม้ว่าจากการรายงานยอดการสูญเสีย จะน้อยลง แต่ก็ไม่สบายใจ เพราะยังมีผู้เสียชีวิตกว่าร้อยคน หวังว่าในช่วงต่อไป เช่น เทศกาลสงกรานต์ จะทำอย่างไรที่จะลดผู้เสียชีวิตลงได้
สำหรับชื่อ 7วันอันตราย ฟังแล้วไม่สร้างสรรค์ อยากให้เปลี่ยนเป็น 7วันเทศกาลแห่งความสุข ได้หรือไม่ เพื่อให้นึกถึงความสุขและความปลอดภัย เพราะมีผลกระทบทั้งตนเอง ลูกหลาน และค่ารักษาพยาบาล จึงมีความจำเป็นต้องสร้างแรงจูงใจประเภทนี้ พร้อมกันนี้ ได้ให้แนวคิดเรื่องการทำถนนหนทาง หรือการขยายช่องทางจราจรให้มากขึ้น หากมีความเป็นไปได้สามารถสร้างให้เส้นทางใดเสร็จก่อนก็ให้ดำเนินการทันทีรวมถึงการปลูกสร้าง ขอให้อยู่ห่างไกลจากถนนหลักป้องกันปัญหาในอนาคตหากมีการขยายถนนออกไป
นายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.) เปิดเผยถึง ผลการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2563 ประจำวันที่ 1 ม.ค. 63 ซึ่งเป็นวันที่ 6 ของช่วง 7 วันอันตรายปีใหม่ ว่า เกิดอุบัติเหตุ 547 ครั้ง ผู้เสียชีวิต 55 ราย ผู้บาดเจ็บ 577 คน สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ดื่มแล้วขับ ร้อยละ 39.31 ขับรถเร็ว ร้อยละ 28.34 จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ สงขลา 32 ครั้ง จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ ราชบุรี และอุดรธานี จังหวัดละ 4 ราย จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสูงสุด ได้แก่ สงขลา 35 คน
ส่วนยอดสะสมช่วง 6 วัน (27 ธ.ค. 62 - 1 ม.ค.63) เกิดอุบัติเหตุรวม 3,076 ครั้ง ผู้เสียชีวิต 317 ราย ผู้บาดเจ็บ 3,160 คน จังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิต 7 จังหวัด ได้แก่ ตราด พะเยา ภูเก็ต แม่ฮ่องสอน ยะลา ลำพูน และสตูล จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุด สงขลา 95 ครั้ง จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด กรุงเทพฯ 14 ราย จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุด สงขลา100 คน
นายวิตถวัลย์ สุนทรขจิต อธิบดีกรมคุมประพฤติ กล่าวว่า สถิติคดีที่เข้าสู่กระบวนการคุมความประพฤติทั่วประเทศ สะสมรวม 6 วัน มีจำนวนทั้งสิ้น 9,049 คดี จำแนกเป็น คดีขับรถขณะเมาสุรา 8,894 คดี คิดเป็นร้อยละ 98.29 , คดีขับเสพ 140 คดี คิดเป็นร้อยละ 1.55 , คดีขับซิ่ง แข่งรถ 1 คดี คิดเป็นร้อยละ 0.01 และ คดีขับรถประมาท 14 คดี คิดเป็นร้อยละ 0.15 เมื่อเปรียบเทียบสถิติคดีที่เข้าสู่กระบวนการคุมประพฤติช่วงเทศกาลปีใหม่ 62 และ ปี 63 พบว่า คดีขับรถขณะเมาสุรา ปี 62 มีจำนวน 6,123 คดี กับปี 63 มีจำนวน 8,894 คดี เพิ่มขึ้นถึง 2,771 คดี คิดเป็นร้อยละ 45.26
นายวิตถวัลย์ เผยต่อว่า กรมคุมประพฤติจะทำการตรวจสอบประวัติผู้กระทำผิดทุกราย หากพบกระทำผิดซ้ำในฐานความผิดขับรถขณะเมาสุรา กรมคุมประพฤติจะดำเนินมาตรการเข้มโดยส่งเข้าค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่อเนื่อง 3 วัน และให้ทำงานบริการสังคม เพื่อกระตุ้นจิตสำนึกแก่ผู้ถูกคุมความประพฤติไม่ให้หวนกลับไปกระทำผิดซ้ำอีก