ผู้จัดการรายวัน360-หุ้นไทย ปิดตลาดซื้อขายวันสุดท้ายปี 62 ปิดที่ระดับ 1,579.84 จุด เพิ่มขึ้น 1.62 จุด หรือเพิ่ม 0.10% มูลค่าการซื้อขาย 29,564.50 ล้านบาท แต่หากเทียบปี 61 เพิ่มขึ้นแค่ 1.02% จากระดับปิด 1,563.88 จุด เผยทั้งปี ต่างชาติทิ้งหุ้นไทยกว่า 4.5 หมื่นล้านบาท นักวิเคราะห์คาดแม้จะมีแรงซื้อจาก LTF และ RMF เข้ามาบ้าง แต่ไม่มีนัยยะสำคัญ ด้านการซื้อขายเงินบาท หลุด 30 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ลงไปแตะ 29.92 บาท แข็งค่าสุดในรอบ 6 ปี
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (30 ธ.ค.) ตลาดหุ้นไทยปิดทำการซื้อขายหลักทรัพย์วันสุดท้ายของปี 2562 ที่ 1,579.84 จุด หรือเพิ่มขึ้นเพียง 1.02% หากเทียบกับดัชนีปิดตลาดซื้อขายหุ้นเมื่อปี 2561 ที่ 1,563.88 จุด โดยในปีนี้ดัชนี ปรับตัวขึ้นสูงสุดเมื่อวันที่ 1 ก.ค.2562 โดยขึ้นไปอยู่ที่ 1,740.91 จุด ขณะที่ปรับตัวลดลงต่ำสุดเมื่อวันที่ 17 ธ.ค.2562 ลงไปอยู่ที่ 1,548.65 จุด
ด้านบริษัทจดทะเบียนใหม่เข้าซื้อขายหุ้นสามัญแก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก หรือ IPO โดยแบ่งเป็นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ SET จำนวน 13 บริษัท มูลค่าระดมทุน 68,712.57 ล้านบาท และมูลค่าหลักทรัพย์กว่า 344,269.49 ล้านบาท
ขณะที่ในตลาดหุ้น mai บริษัทจดทะเบียนใหม่เข้าซื้อขายหุ้นสามัญแก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก หรือ IPO จำนวน 17 บริษัท มูลค่าระดมทุน 4,981.30 ล้านบาท และมูลค่าหลักทรัพย์กว่า 18,590.72 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาภาพรวมการซื้อขายแยกตามกลุ่มนักลงทุน ตั้งแต่ 1 ม.ค.-30 ธ.ค.2562 พบว่า สถาบันในประเทศ ซื้อสุทธิกว่า 52,006.73 ล้านบาท และบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ ซื้อสุทธิกว่า 14,873.14 ล้านบาท ขณะที่นักลงทุนต่างประเทศขายสุทธิกว่า 45,244.85 ล้านบาท และนักลงทุนทั่วไปในประเทศขายสุทธิกว่า 21,635.02 ล้านบาท
นายสุนทร ทองทิพย์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กสิกรไทย กล่าวว่า แนวโน้มการลงทุนปี 2563 อาจจะยังต้องเผชิญความเสี่ยงเชิงนโยบายของไทย หรือ policy risk อยู่ แต่อาจทยอยปรับตัวลดลง ไม่ว่าจะเป็นมาตรการ LTV ที่คาดว่าจะผ่อนคลายลง หลังประกาศใช้ครบ 1 ปี ในเดือน เม.ย. ขณะเดียวกันมองว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะมีแนวโน้มจะปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 1 ครั้ง เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
สำหรับกำไรบริษัทจดทะเบียนปี 2562 มองว่า มีความเสี่ยงเติบโตได้ต่ำกว่าที่คาดการณ์เอาไว้ โดยคาดว่า EPS ปี 2562 จะอยู่ที่ 93.00 บาท/หุ้นเท่านั้น จากเดิมคาดว่าจะอยู่ที่ 110.00 บาท/หุ้น โดยมีสาเหตุมาจากสงครามการค้าที่ส่งผลกระทบต่อกำไรของกลุ่ม global play เช่น ปิโตรเคมี ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และพลังงาน ส่วนกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น กลุ่มธนาคาร ได้รับผลกระทบจากภาวะการก่อตัวของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) และกลุ่มรับเหมาก่อสร้างได้รับผลกระทบจากการที่ผู้รับเหมาก่อสร้างในต่างประเทศเข้ามาแข่งขันมากขึ้น
นอกจากนี้ แนวโน้มกำไร บจ. ปี 2563 ประเมินว่าจะปรับตัวดีขึ้นกว่าปี 2562 โดยคาดว่า EPS จะอยู่ที่ 103.60 บาท/หุ้น เนื่องจากเริ่มเห็นสัญญาณเชิงบวกของเศรษฐกิจโลก เช่น ราคาน้ำมันดิบที่ปรับขึ้นยืนเหนือ 60 เหรียญ/บาร์เรล และการจ้างงานของสหรัฐฯ ที่เริ่มปรับตัวดีขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อกำไรของหุ้นในกลุ่ม global play
นายธนเดช รังษีธนานนท์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.อาร์เอชบี (ประเทศไทย) กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทย ยังมีแรงหนุนจากแรงซื้อของกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) เข้ามา แต่ยังไม่ถือว่ามีนัยสำคัญ เพราะมูลค่าการซื้อขายค่อนข้างเบาบาง จากการที่เข้าสู่ช่วงวันหยุดยาวเทศกาลปีใหม่ ซึ่งนักลงทุนต่างหยุดพักกันลงทุนไปมากแล้ว ส่วนตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียวันนี้ส่วนใหญ่เคลื่อนไหวในแดนบวก
ทั้งนี้ ประเมินตลาดหุ้นไทยในช่วงเปิดทำการหลังเทศกาลปีใหม่ มองว่า ดัชนีเคลื่อนไหวในลักษณะแกว่งตัว และการซื้อขายยังไม่คึกคักมากนักในช่วง 2 วันที่เปิดทำการหลังเทศกาลปีใหม่ โดยมองว่ายังมีปัจจัยหนุนจากทิศทางของราคาน้ำมันที่ปรับขึ้น จะช่วยผลักดันหุ้นกลุ่มพลังงาน และคาดการณ์การลงนามข้อตกลงทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนในเฟสแรก ยังเป็นปัจจัยที่ต้องติดตามในช่วงเดือน ม.ค.2563 พร้อมทั้งติดตามการทยอยประกาศผลการดำเนินงานปี 2562 ของบริษัทจดทะเบียนที่จะเริ่มทยอยออกมาบ้าง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (30 ธ.ค.) ค่าเงินบาทที่ซื้อขายในตลาดแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ เปิดตลาดที่ 30.16 บาทต่อเหรียญสหรัฐ และได้แข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง โดยแตะระดับ 29.92 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ถือเป็นการแข็งค่ามากที่สุดในรอบ 6 ปี โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ค่าเงินบาทที่แข็งค่า เนื่องจากการเทขายสกุลเงินเหรียญสหรัฐ เนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ อ่อนแอกว่าที่คาด และมองว่ากรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทจะอยู่ในกรอบแคบๆ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (30 ธ.ค.) ตลาดหุ้นไทยปิดทำการซื้อขายหลักทรัพย์วันสุดท้ายของปี 2562 ที่ 1,579.84 จุด หรือเพิ่มขึ้นเพียง 1.02% หากเทียบกับดัชนีปิดตลาดซื้อขายหุ้นเมื่อปี 2561 ที่ 1,563.88 จุด โดยในปีนี้ดัชนี ปรับตัวขึ้นสูงสุดเมื่อวันที่ 1 ก.ค.2562 โดยขึ้นไปอยู่ที่ 1,740.91 จุด ขณะที่ปรับตัวลดลงต่ำสุดเมื่อวันที่ 17 ธ.ค.2562 ลงไปอยู่ที่ 1,548.65 จุด
ด้านบริษัทจดทะเบียนใหม่เข้าซื้อขายหุ้นสามัญแก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก หรือ IPO โดยแบ่งเป็นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ SET จำนวน 13 บริษัท มูลค่าระดมทุน 68,712.57 ล้านบาท และมูลค่าหลักทรัพย์กว่า 344,269.49 ล้านบาท
ขณะที่ในตลาดหุ้น mai บริษัทจดทะเบียนใหม่เข้าซื้อขายหุ้นสามัญแก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก หรือ IPO จำนวน 17 บริษัท มูลค่าระดมทุน 4,981.30 ล้านบาท และมูลค่าหลักทรัพย์กว่า 18,590.72 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาภาพรวมการซื้อขายแยกตามกลุ่มนักลงทุน ตั้งแต่ 1 ม.ค.-30 ธ.ค.2562 พบว่า สถาบันในประเทศ ซื้อสุทธิกว่า 52,006.73 ล้านบาท และบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ ซื้อสุทธิกว่า 14,873.14 ล้านบาท ขณะที่นักลงทุนต่างประเทศขายสุทธิกว่า 45,244.85 ล้านบาท และนักลงทุนทั่วไปในประเทศขายสุทธิกว่า 21,635.02 ล้านบาท
นายสุนทร ทองทิพย์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กสิกรไทย กล่าวว่า แนวโน้มการลงทุนปี 2563 อาจจะยังต้องเผชิญความเสี่ยงเชิงนโยบายของไทย หรือ policy risk อยู่ แต่อาจทยอยปรับตัวลดลง ไม่ว่าจะเป็นมาตรการ LTV ที่คาดว่าจะผ่อนคลายลง หลังประกาศใช้ครบ 1 ปี ในเดือน เม.ย. ขณะเดียวกันมองว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะมีแนวโน้มจะปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 1 ครั้ง เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
สำหรับกำไรบริษัทจดทะเบียนปี 2562 มองว่า มีความเสี่ยงเติบโตได้ต่ำกว่าที่คาดการณ์เอาไว้ โดยคาดว่า EPS ปี 2562 จะอยู่ที่ 93.00 บาท/หุ้นเท่านั้น จากเดิมคาดว่าจะอยู่ที่ 110.00 บาท/หุ้น โดยมีสาเหตุมาจากสงครามการค้าที่ส่งผลกระทบต่อกำไรของกลุ่ม global play เช่น ปิโตรเคมี ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และพลังงาน ส่วนกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น กลุ่มธนาคาร ได้รับผลกระทบจากภาวะการก่อตัวของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) และกลุ่มรับเหมาก่อสร้างได้รับผลกระทบจากการที่ผู้รับเหมาก่อสร้างในต่างประเทศเข้ามาแข่งขันมากขึ้น
นอกจากนี้ แนวโน้มกำไร บจ. ปี 2563 ประเมินว่าจะปรับตัวดีขึ้นกว่าปี 2562 โดยคาดว่า EPS จะอยู่ที่ 103.60 บาท/หุ้น เนื่องจากเริ่มเห็นสัญญาณเชิงบวกของเศรษฐกิจโลก เช่น ราคาน้ำมันดิบที่ปรับขึ้นยืนเหนือ 60 เหรียญ/บาร์เรล และการจ้างงานของสหรัฐฯ ที่เริ่มปรับตัวดีขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อกำไรของหุ้นในกลุ่ม global play
นายธนเดช รังษีธนานนท์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.อาร์เอชบี (ประเทศไทย) กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทย ยังมีแรงหนุนจากแรงซื้อของกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) เข้ามา แต่ยังไม่ถือว่ามีนัยสำคัญ เพราะมูลค่าการซื้อขายค่อนข้างเบาบาง จากการที่เข้าสู่ช่วงวันหยุดยาวเทศกาลปีใหม่ ซึ่งนักลงทุนต่างหยุดพักกันลงทุนไปมากแล้ว ส่วนตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียวันนี้ส่วนใหญ่เคลื่อนไหวในแดนบวก
ทั้งนี้ ประเมินตลาดหุ้นไทยในช่วงเปิดทำการหลังเทศกาลปีใหม่ มองว่า ดัชนีเคลื่อนไหวในลักษณะแกว่งตัว และการซื้อขายยังไม่คึกคักมากนักในช่วง 2 วันที่เปิดทำการหลังเทศกาลปีใหม่ โดยมองว่ายังมีปัจจัยหนุนจากทิศทางของราคาน้ำมันที่ปรับขึ้น จะช่วยผลักดันหุ้นกลุ่มพลังงาน และคาดการณ์การลงนามข้อตกลงทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนในเฟสแรก ยังเป็นปัจจัยที่ต้องติดตามในช่วงเดือน ม.ค.2563 พร้อมทั้งติดตามการทยอยประกาศผลการดำเนินงานปี 2562 ของบริษัทจดทะเบียนที่จะเริ่มทยอยออกมาบ้าง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (30 ธ.ค.) ค่าเงินบาทที่ซื้อขายในตลาดแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ เปิดตลาดที่ 30.16 บาทต่อเหรียญสหรัฐ และได้แข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง โดยแตะระดับ 29.92 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ถือเป็นการแข็งค่ามากที่สุดในรอบ 6 ปี โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ค่าเงินบาทที่แข็งค่า เนื่องจากการเทขายสกุลเงินเหรียญสหรัฐ เนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ อ่อนแอกว่าที่คาด และมองว่ากรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทจะอยู่ในกรอบแคบๆ