วานนี้ (26 ธ.ค.) เวลา 10.00 น. ที่ศาลปกครอง ถนนแจ้งวัฒนะ ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาในคดีนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ หลักสูตรพยาบาลศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยคริสเตียน ประจำปีการศึกษา 2560 ยื่นฟ้องมหาวิทยาลัยคริสเตียน ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 อธิการบดีมหาวิทยาลัยคริสเตียน ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 และสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เดิม) ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 รวม 19 คดี ว่า เปิดรับนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตร์บัณฑิต ประจำปีการศึกษา 2560 ทั้งที่คณะกรรมการสภาการพยาบาลมีมติให้คณะพยาบาลศาสตร์ของมหาวิทยาลัยคริสเตียน งดรับนักศึกษาในปีการศึกษา 2560 เนื่องจากหลักสูตรยังไม่ผ่านการรับรองจากสภาการพยาบาลมาเปิดรับสมัครนักศึกษา ทำให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเสียหาย
ศาลปกครองกลาง พิเคราะห์แล้วเห็นว่า คณะกรรมการสภาการพยาบาลในการประชุมครั้งที่ 5/2560 เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2560 มีมติให้มหาวิทยาลัยงดรับนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตร์บัณฑิต และหลักสูตรพยาบาลศาสตร์บัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) เป็นเวลา 1 ปีการศึกษา คือ ปีการศึกษา 2560 เนื่องจากคณะพยาบาลศาสตร์ มีอัตราส่วนอาจารย์พยาบาลประจำหลักสูตรต่อนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่า (Full Time Equivalence Student : FTES) ในอัตราส่วนเกินเกณฑ์ที่กำหนดมาก และสภาการพยาบาลมีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ สภ.พ.01 /05/670 ลงวันที่ 20 มิถุนายน 2560 จึงชอบที่จะงดการรับนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ในหลักสูตรดังกล่าว และดำเนินการสรรหาอาจารย์พยาบาลประจำหลักสูตรให้มีอัตราส่วนตามที่กฎหมายกำหนด แต่ผู้ถูกฟ้องคดีไม่ดำเนินการ และกลับทำการเปิดรับสมัครนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ประจำปีการศึกษา 2560 ทั้งในระบบรับตรงและระบบคัดเลือกผ่านระบบกลาง (Admissions) อันเป็นการจงใจไม่ปฏิบัติตามมติของคณะกรรมการสภาการพยาบาล และย่อมเล็งเห็นได้ว่าจะส่งผลให้นักศึกษาในหลักสูตรพยาบาลศาสตร์บัณฑิต ประจำปีการศึกษา 2560 หากสำเร็จการศึกษาไปแล้ว จะไม่สามารถขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ได้ตามความประสงค์อันแท้จริงในการสมัครเข้ารับการศึกษา การกระทำของมหาวิทยาลัยคริสเตียน และอธิการบดี จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดี
ส่วนสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไม่ได้มีอำนาจหน้าที่ในการอนุมัติหรือให้ความเห็นชอบหลักสูตรการศึกษาวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ของมหาวิทยาลัยดังกล่าว และไม่มีอำนาจหน้าที่ในการอนุมัติการรับนักศึกษา จึงไม่ได้ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
ศาลปกครองกลางพิพากษาให้มหาวิทยาลัยคริสเตียน ชดใช้ค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียนเรียน ค่าใช้จ่ายอื่นในการเข้าศึกษาในหลักสูตร และค่าเสียหายจากการทำงานล่าช้าในอัตราเดือนละ 5,000 บาท เป็นเวลา 12 เดือน และยกฟ้องอธิการบดี และสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ขณะที่ 1 ในนักศึกษาที่เป็นผู้ฟ้องคดี กล่าวว่า ดีใจที่ชนะคดี แต่จะยื่นอุทธรณ์ เนื่องจากเห็นว่า ค่าชดเชยที่ได้รับยังไม่เป็นธรรม เพราะเรื่องดังกล่าวส่งผลให้ต้องกลับไปเรียนใหม่กับรุ่นน้อง เสียเวลากับการเรียนไป 1 ปี.
ศาลปกครองกลาง พิเคราะห์แล้วเห็นว่า คณะกรรมการสภาการพยาบาลในการประชุมครั้งที่ 5/2560 เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2560 มีมติให้มหาวิทยาลัยงดรับนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตร์บัณฑิต และหลักสูตรพยาบาลศาสตร์บัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) เป็นเวลา 1 ปีการศึกษา คือ ปีการศึกษา 2560 เนื่องจากคณะพยาบาลศาสตร์ มีอัตราส่วนอาจารย์พยาบาลประจำหลักสูตรต่อนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่า (Full Time Equivalence Student : FTES) ในอัตราส่วนเกินเกณฑ์ที่กำหนดมาก และสภาการพยาบาลมีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ สภ.พ.01 /05/670 ลงวันที่ 20 มิถุนายน 2560 จึงชอบที่จะงดการรับนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ในหลักสูตรดังกล่าว และดำเนินการสรรหาอาจารย์พยาบาลประจำหลักสูตรให้มีอัตราส่วนตามที่กฎหมายกำหนด แต่ผู้ถูกฟ้องคดีไม่ดำเนินการ และกลับทำการเปิดรับสมัครนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ประจำปีการศึกษา 2560 ทั้งในระบบรับตรงและระบบคัดเลือกผ่านระบบกลาง (Admissions) อันเป็นการจงใจไม่ปฏิบัติตามมติของคณะกรรมการสภาการพยาบาล และย่อมเล็งเห็นได้ว่าจะส่งผลให้นักศึกษาในหลักสูตรพยาบาลศาสตร์บัณฑิต ประจำปีการศึกษา 2560 หากสำเร็จการศึกษาไปแล้ว จะไม่สามารถขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ได้ตามความประสงค์อันแท้จริงในการสมัครเข้ารับการศึกษา การกระทำของมหาวิทยาลัยคริสเตียน และอธิการบดี จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดี
ส่วนสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไม่ได้มีอำนาจหน้าที่ในการอนุมัติหรือให้ความเห็นชอบหลักสูตรการศึกษาวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ของมหาวิทยาลัยดังกล่าว และไม่มีอำนาจหน้าที่ในการอนุมัติการรับนักศึกษา จึงไม่ได้ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
ศาลปกครองกลางพิพากษาให้มหาวิทยาลัยคริสเตียน ชดใช้ค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียนเรียน ค่าใช้จ่ายอื่นในการเข้าศึกษาในหลักสูตร และค่าเสียหายจากการทำงานล่าช้าในอัตราเดือนละ 5,000 บาท เป็นเวลา 12 เดือน และยกฟ้องอธิการบดี และสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ขณะที่ 1 ในนักศึกษาที่เป็นผู้ฟ้องคดี กล่าวว่า ดีใจที่ชนะคดี แต่จะยื่นอุทธรณ์ เนื่องจากเห็นว่า ค่าชดเชยที่ได้รับยังไม่เป็นธรรม เพราะเรื่องดังกล่าวส่งผลให้ต้องกลับไปเรียนใหม่กับรุ่นน้อง เสียเวลากับการเรียนไป 1 ปี.