ผู้จัดการรายวัน 360 - รองนายกรัฐมนตรี มอบการบ้านปีใหม่ สศช.ปรับบทบาทเสนอโครงการลงทุนสำคัญ ขับเคลื่อนการลงทุนในเขตอีอีซีเชื่อมโยงท้องถิ่น ยกระดับเศรษฐกิจฐานราก ดูแลสังคมผู้สูงอายุ ดูแลบัตรสวัสดิการประชารัฐ ด้าน รมว.คลัง เตรียมชงครม. ตั้งคณะทำงานดูแลเสถียรภาพ-นโยบายบายเศรษฐกิจ ในต้นปี 63
วานนี้ (25 ธ.ค.) นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายแก่ผู้บริหารสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ให้เร่งพัฒนาเรื่องความเหลื่อมล้ำ หลังจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ปรับเป้าหมายการทำงาน จึงต้องการให้ สศช.ช่วยคิดเป็นแพ็กเกจ หากเกษตรกรรุ่นใหม่สนใจลงทุน ต้องดูแลครบวงจร ส่งเสริมอย่างจริงจังในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากอย่างครบวงจร ผลักดันเป็นแผนพัฒนาในปี 2563 ส่งเสริม ธ.ก.ส.ดูแลเศรษฐกิจชุมชนให้เข้มแข็ง สองคล้องกับนโยบายรัฐบาล
นายสมคิด กล่าวว่า การพัฒนาเขตอีอีซีไม่มีล้มอย่างแน่นอน เพราะขั้นตอนทุกอย่างเดินหน้าไปตามกฎหมาย หลังปีใหม่ต้องการให้ สศช. ผลักดันการพัฒนาเขตอีอีซี การดูแลชุมชน สังคม เพื่อให้ภาคเกษตรแปรรูปในท้องถิ่นเชื่อมโยงกับภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งการผลักดันโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก-ตะวันตก (EWC) เพื่อเชื่อมโยงโครงการขนาดใหญ่ในแต่ละภูมิภาค จากนั้นนำแผนการพัฒนาเศรษฐกิจรายภาค แจ้งให้นักลงทุนต่างชาติได้รับทราบ เพื่อรับรู้แนวทางพัฒนาในแต่ละภาคของไทย
นอกจากนี้มีการส่งเสริมดูแลผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ให้ สศช.ร่วมหารือ เพื่อหลุดจากภาระหนี้ เข้มแข็ง มีสภาพคล่อง เพราะรัฐบาลกำลังพิจารณาออกมาตรการดูแลเอสเอ็มอี โดยเตรียมเสนอคณะรัฐมนตรีวันที่ 7 มกราคมนี้ และต้องการผลักดันส่งเสริมการท่องเที่ยว การช่วยเหลือคนตัวเล็กภาคบริการ เพราะเป็นการท่องเที่ยวบวกกับอุตสาหกรรม จะช่วยรองรับการว่างงานในอนาคต
ขณะเดียวกัน ยังแนะนำให้ สศช.เสนอโครงการลงทุนสำคัญด้วยตนเองหากเป็นโครงการสำคัญ ไม่ต้องรอให้หน่วยงานเสนอขึ้นมาฝ่ายเดียว รวมทั้งการเรียกประชุม กรอ.ภูมิภาค เพื่อผลักดันโครงการสำคัญในภูมิภาค เพื่อรับฟังปัญหาจากภาคเอกชนและท้องถิ่น และติดตามความคืบหน้าแผนลงทุน เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนสำคัญ เมื่อศึกษาแผนลงทุนสำคัญจะได้เสนอในที่ประชุม กรอ. ภูมิภาค เพื่อขับเคลื่อนแผนงานสำคัญให้ประสบความสำเร็จ นับเป็นอีกช่องทางในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภูมิภาค
“สถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน สศช.ต้องเป็นแกนหลักในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ รวมทั้งโครงการ”ชิมช้อปใช้” นับเป็นโครงการที่มีความสำคัญ การให้บริการผ่านโครงการชิมช้อปใช้ นับว่าเป็นประโยชน์อย่างมาก และต้องการให้ปรับรูปแบบการแถลงตัวเลขจีดีพีของ 3 หน่วยงาน กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) สศช. เพื่อเน้นมาให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการลงทุนภาครัฐในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก เพราะน่าจะได้ประโยชน์มากกว่า จึงควรปฏิรูปการสื่อสารข้อมูลผ่านสื่อ รับรูปแผนการพัฒนาที่เป็นประโยชน์”รองนายกรัฐมนตรีกล่าว
คลังชง ครม. ตั้ง 2 ทีมดูแลศก.ต้นปี 63
นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ต้นปี 63 กระทรวงการคลังจะเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาแต่งตั้งคณะทำงานใหม่อีก 2 คณะคือ คณะทำงานที่ดูแลเรื่องเสถียรภาพ และคณะทำงานที่ดูแลด้านนโยบาย ซึ่งจะมีหน้าที่ในการให้ข้อมูลการดูแลเศรษฐกิจในภาพรวม แต่อำนาจในการบริหารและการดำเนินนโยบายนั้นจะยังเป็นหน้าที่ของหน่วยงานหลักในแต่ละองค์กร โดยคณะทำงานทั้ง 2 ชุดจะทำหน้าที่ร่วมกันอย่างใกล้ชิด เพื่อผลักดันให้เศรษฐกิจไทยเดินหน้าต่อไปได้ ส่วนตัวแทนในคณะทำงานดังกล่าวนั้นจะ ประกอบไปด้วยตัวแทนที่มาจากหน่วยงานต่างๆ
ส่วนการแก้ไขปัญหาค่าเงินบาทนั้น นายอุตตม กล่าวว่า เป็นหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ซึ่งคลังไม่ได้เข้าไปก้าวก่ายแต่อย่างใด แต่ยอมรับว่าเสถียรภาพของค่าเงินบาทถือเป็นปัจจัยหนึ่งในระบบเศรษฐกิจ จึงจำเป็นต้องหารือร่วมกัน
สำหรับกรณีที่พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พูดถึงค่าเงินบาทนั้น เป็นเรื่องของนายกฯ ที่มีบัญชาให้กระทรวงการคลัง ธปท. และ สศช. จะต้องร่วมกันทำงานภายใต้กรอบนโยบายใหญ่อย่างใกล้ชิด ดังนั้น จึงเป็นที่มาของกระทรวงการคลังในการจัดตั้งคณะทำงานทั้ง 2 ชุดดังกล่าวด้วย
วานนี้ (25 ธ.ค.) นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายแก่ผู้บริหารสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ให้เร่งพัฒนาเรื่องความเหลื่อมล้ำ หลังจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ปรับเป้าหมายการทำงาน จึงต้องการให้ สศช.ช่วยคิดเป็นแพ็กเกจ หากเกษตรกรรุ่นใหม่สนใจลงทุน ต้องดูแลครบวงจร ส่งเสริมอย่างจริงจังในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากอย่างครบวงจร ผลักดันเป็นแผนพัฒนาในปี 2563 ส่งเสริม ธ.ก.ส.ดูแลเศรษฐกิจชุมชนให้เข้มแข็ง สองคล้องกับนโยบายรัฐบาล
นายสมคิด กล่าวว่า การพัฒนาเขตอีอีซีไม่มีล้มอย่างแน่นอน เพราะขั้นตอนทุกอย่างเดินหน้าไปตามกฎหมาย หลังปีใหม่ต้องการให้ สศช. ผลักดันการพัฒนาเขตอีอีซี การดูแลชุมชน สังคม เพื่อให้ภาคเกษตรแปรรูปในท้องถิ่นเชื่อมโยงกับภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งการผลักดันโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก-ตะวันตก (EWC) เพื่อเชื่อมโยงโครงการขนาดใหญ่ในแต่ละภูมิภาค จากนั้นนำแผนการพัฒนาเศรษฐกิจรายภาค แจ้งให้นักลงทุนต่างชาติได้รับทราบ เพื่อรับรู้แนวทางพัฒนาในแต่ละภาคของไทย
นอกจากนี้มีการส่งเสริมดูแลผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ให้ สศช.ร่วมหารือ เพื่อหลุดจากภาระหนี้ เข้มแข็ง มีสภาพคล่อง เพราะรัฐบาลกำลังพิจารณาออกมาตรการดูแลเอสเอ็มอี โดยเตรียมเสนอคณะรัฐมนตรีวันที่ 7 มกราคมนี้ และต้องการผลักดันส่งเสริมการท่องเที่ยว การช่วยเหลือคนตัวเล็กภาคบริการ เพราะเป็นการท่องเที่ยวบวกกับอุตสาหกรรม จะช่วยรองรับการว่างงานในอนาคต
ขณะเดียวกัน ยังแนะนำให้ สศช.เสนอโครงการลงทุนสำคัญด้วยตนเองหากเป็นโครงการสำคัญ ไม่ต้องรอให้หน่วยงานเสนอขึ้นมาฝ่ายเดียว รวมทั้งการเรียกประชุม กรอ.ภูมิภาค เพื่อผลักดันโครงการสำคัญในภูมิภาค เพื่อรับฟังปัญหาจากภาคเอกชนและท้องถิ่น และติดตามความคืบหน้าแผนลงทุน เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนสำคัญ เมื่อศึกษาแผนลงทุนสำคัญจะได้เสนอในที่ประชุม กรอ. ภูมิภาค เพื่อขับเคลื่อนแผนงานสำคัญให้ประสบความสำเร็จ นับเป็นอีกช่องทางในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภูมิภาค
“สถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน สศช.ต้องเป็นแกนหลักในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ รวมทั้งโครงการ”ชิมช้อปใช้” นับเป็นโครงการที่มีความสำคัญ การให้บริการผ่านโครงการชิมช้อปใช้ นับว่าเป็นประโยชน์อย่างมาก และต้องการให้ปรับรูปแบบการแถลงตัวเลขจีดีพีของ 3 หน่วยงาน กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) สศช. เพื่อเน้นมาให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการลงทุนภาครัฐในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก เพราะน่าจะได้ประโยชน์มากกว่า จึงควรปฏิรูปการสื่อสารข้อมูลผ่านสื่อ รับรูปแผนการพัฒนาที่เป็นประโยชน์”รองนายกรัฐมนตรีกล่าว
คลังชง ครม. ตั้ง 2 ทีมดูแลศก.ต้นปี 63
นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ต้นปี 63 กระทรวงการคลังจะเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาแต่งตั้งคณะทำงานใหม่อีก 2 คณะคือ คณะทำงานที่ดูแลเรื่องเสถียรภาพ และคณะทำงานที่ดูแลด้านนโยบาย ซึ่งจะมีหน้าที่ในการให้ข้อมูลการดูแลเศรษฐกิจในภาพรวม แต่อำนาจในการบริหารและการดำเนินนโยบายนั้นจะยังเป็นหน้าที่ของหน่วยงานหลักในแต่ละองค์กร โดยคณะทำงานทั้ง 2 ชุดจะทำหน้าที่ร่วมกันอย่างใกล้ชิด เพื่อผลักดันให้เศรษฐกิจไทยเดินหน้าต่อไปได้ ส่วนตัวแทนในคณะทำงานดังกล่าวนั้นจะ ประกอบไปด้วยตัวแทนที่มาจากหน่วยงานต่างๆ
ส่วนการแก้ไขปัญหาค่าเงินบาทนั้น นายอุตตม กล่าวว่า เป็นหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ซึ่งคลังไม่ได้เข้าไปก้าวก่ายแต่อย่างใด แต่ยอมรับว่าเสถียรภาพของค่าเงินบาทถือเป็นปัจจัยหนึ่งในระบบเศรษฐกิจ จึงจำเป็นต้องหารือร่วมกัน
สำหรับกรณีที่พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พูดถึงค่าเงินบาทนั้น เป็นเรื่องของนายกฯ ที่มีบัญชาให้กระทรวงการคลัง ธปท. และ สศช. จะต้องร่วมกันทำงานภายใต้กรอบนโยบายใหญ่อย่างใกล้ชิด ดังนั้น จึงเป็นที่มาของกระทรวงการคลังในการจัดตั้งคณะทำงานทั้ง 2 ชุดดังกล่าวด้วย