ผู้จัดการรายวัน360 – กรมท่าอากาศยาน กางแผนลงทุนสนามบินนครปฐมด้วยงบลงทุนกว่า 2.5 หมื่นล้านบาท ฟังเสียงเอกชนร่วมทุน PPP "ถาวร" ยันเที่ยวบินพาณิชย์ล้น ต้องเพิ่มสนามบินโซนตะวันตก เพื่อแบ่งเบาความแออัดการจราจรทางอากาศและการขยายตัวทางธุรกิจ-ท่องเที่ยว พร้อมกำชับเยียวยาเวนคืนประชาชนเต็มที่ คาดประมูล 64 ก่อนเปิดใช้ 69 อายุสัมปทาน 30 ปี รองรับผู้โดยสารได้กว่า 30 ล้านคน ด้าน "อนุทิน- ศักดิ์สยาม" นัดจ่ายค่าเวนคืนมอเตอร์เวย์ บางใหญ่-กาญจนบุรี ล็อตสอง 18 ธ.ค.นี้ คาดโครงการเสร็จรองรับเศรษฐกิจนับแสนล้าน
นายถาวร เสนเนียม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธาน ในการเปิดการสัมมนาเพื่อทดสอบความสนใจของภาคเอกชน ( Market Sounding ) โครงการท่าอากาศยานนครปฐม ว่า ปัจจุบันแนวโน้มปริมาณผู้โดยสารและเที่ยวบินเชิงพาณิชย์ของไทยเติบโตอย่างต่อเนื่อง รวมถึงมีเครื่องบินส่วนตัวและเช่าหมาลำ กว่า 2,000 เที่ยว/ปี ดังนั้น กรมท่าอากาศยาน (ทย.) จึงได้ดำเนินโครงการจัดตั้งสนามบินนครปฐม เพื่อแบ่งเบาความแออัดการจราจรทางอากาศและรองรับการขยายตัวทางธุรกิจและท่องเที่ยว
โดยเบื้องต้นพบว่า พื้นที่ด้านตะวันตก ที่บริเวณอ.บางเลน และอ.นครชัยศรี จังหวัดนครปฐม มีความเหมาะสม เดินทางจากกรุงเทพฯเพียง 1 ชั่วโมง อยู่ห่างจากโครงการมอเตอร์เวย์สายบางใหญ่-กาญจนบุรี ประมาณ 5.3 กม. และรถไฟทางคู่ ทั้งนี้ ทย.จะสรุปผลในเดือนก.พ.63 และเสนอต่อกระทรวงคมนาคม เสนอต่อคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (คณะกรรมการ PPP) และคณะรัฐมนตรีต่อไป โดยคาดว่าจะเปิดประมูลในปี 2564 ใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 3 ปี เปิดให้บริการในปี 2569 มีอายุสัมปทาน 30 ปี รองรับผู้โดยสารได้กว่า 30 ล้านคน และมีจำนวนเที่ยวบินเชิงธุรกิจประมาณ 11,770 เที่ยวบินในปี 2589
ส่วนกรณี ประชาชนในพื้นที่คัดค้านโครงการ นายถาวรกล่าวว่า จากการศึกษาในเรื่องพื้นที่รับน้ำไม่มีปัญหา แต่ยอมรับว่า การเวนคืนพื้นที่เกษตรกรรม มีผลกระทบด้านจิตใจ ของประชาชนในพื้นที่ ซึ่งจะต้องมีมาตรการเยียวยาที่คุ้มค่าต่อผลกระทบทางจิตใจ และหาที่ทำกินให้เหมาะสม
ส่วนจะมีการขยับจุดหรือไม่นั้น ต้องอยู่ที่การศึกษา ทั้งนี้ กรณีที่ชาวบ้านเสนอใช้ พื้นที่กำแพงแสน ซึ่งเป็นของ กองทัพอากาศนั้น ยังข้อติดขัด
สำหรับโครงการดังกล่าวจะมีมูลค่าลงทุน 25,194 ล้านบาท โครงการมีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ17% มีผลตอบแทนทางการเงิน 11% โดยรูปแบบการลงทุน PPP เบื้องต้น มี3กรณีได้แก่ 1. รัฐลงทุนค่าที่ดิน 3,461.52 ล้านบาท เอกชนลงทุนค่าก่อสร้างทั้งหมด 21,733.84 ล้านบาท โดยเอกชนจัดสรรรายได้ให้ภาครัฐ 5% มีระยะเวลาคืนทุน 18.67 ปี
2. รัฐลงทุนค่าที่ดินและงานระบบโครงสร้างพื้นฐาน (ยกเว้นลานจอดเครื่องบิน) วงเงิน 16,277.15 ล้านบาท เอกชนลงทุนอาคารที่พักผู้โดยสาร อาคารปฎิบัติการภาคพื้นดิน ลานจอดเครื่องบินทั้งหมด วงเงิน 8,918.21 ล้านบาท เอกชนจัดสรรรายได้ให้ภาครัฐ 50 % ระยะเวลาคืนทุน 20.25 ปี
3. รัฐลงทุนค่าที่ดินและงานระบบโครงสร้างพื้นฐาน งานอาคารที่พักผู้โดยสาร ลานจอดเครื่องบินพาณิชย์ วงเงิน 17,021.66 ล้านบาท เอกชนลงทุนอาคารผู้โดยสาร อาคารปฎิบัติการภาคพื้นดิน ลานจอดเครื่องบินธุรกิจ วงเงิน 8,173.70 ล้านบาท เอกชนจัดสรรรายได้ให้ภาครัฐ 52 % ระยะเวลาคืนทุน 20.17 ปี
นัดจ่ายค่าเวนคืนมอเตอร์เวย์บางใหญ่ 18 ธ.ค.นี้
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า วันนี้ (18 ธ.ค.) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข จะเดินทางไปตรวจเยี่ยมและเป็นประธานมอบค่าเวนคืนที่ดิน มอเตอร์เวย สายบางใหญ่-กาญจนบุรี บริเวณตอนที่ 20 ต.ตะคร้ำเอน อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี โดยประชาชนที่จะได้รับค่าเวนคืนทั้งหมด ประกอบไปด้วย จ.กาญจนบุรี มี 689 ราย และ จ.ราชบุรี มี 123 ราย
" ในอนาคตหากโครงการนี้เชื่อมต่อกับโครงการท่าเรือทวาย ในสหภาพเมียนมาไปที่ท่าเรือมาบตาพุด และท่าเรือแหลมฉบัง คาดว่าจะทำให้มีมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ ปีๆ หนึ่ง ไม่ต่ำกว่าแสนล้าน และทำให้จีดีพี โตได้ประมาณ 1% เป็นอย่างน้อย"
นายถาวร เสนเนียม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธาน ในการเปิดการสัมมนาเพื่อทดสอบความสนใจของภาคเอกชน ( Market Sounding ) โครงการท่าอากาศยานนครปฐม ว่า ปัจจุบันแนวโน้มปริมาณผู้โดยสารและเที่ยวบินเชิงพาณิชย์ของไทยเติบโตอย่างต่อเนื่อง รวมถึงมีเครื่องบินส่วนตัวและเช่าหมาลำ กว่า 2,000 เที่ยว/ปี ดังนั้น กรมท่าอากาศยาน (ทย.) จึงได้ดำเนินโครงการจัดตั้งสนามบินนครปฐม เพื่อแบ่งเบาความแออัดการจราจรทางอากาศและรองรับการขยายตัวทางธุรกิจและท่องเที่ยว
โดยเบื้องต้นพบว่า พื้นที่ด้านตะวันตก ที่บริเวณอ.บางเลน และอ.นครชัยศรี จังหวัดนครปฐม มีความเหมาะสม เดินทางจากกรุงเทพฯเพียง 1 ชั่วโมง อยู่ห่างจากโครงการมอเตอร์เวย์สายบางใหญ่-กาญจนบุรี ประมาณ 5.3 กม. และรถไฟทางคู่ ทั้งนี้ ทย.จะสรุปผลในเดือนก.พ.63 และเสนอต่อกระทรวงคมนาคม เสนอต่อคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (คณะกรรมการ PPP) และคณะรัฐมนตรีต่อไป โดยคาดว่าจะเปิดประมูลในปี 2564 ใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 3 ปี เปิดให้บริการในปี 2569 มีอายุสัมปทาน 30 ปี รองรับผู้โดยสารได้กว่า 30 ล้านคน และมีจำนวนเที่ยวบินเชิงธุรกิจประมาณ 11,770 เที่ยวบินในปี 2589
ส่วนกรณี ประชาชนในพื้นที่คัดค้านโครงการ นายถาวรกล่าวว่า จากการศึกษาในเรื่องพื้นที่รับน้ำไม่มีปัญหา แต่ยอมรับว่า การเวนคืนพื้นที่เกษตรกรรม มีผลกระทบด้านจิตใจ ของประชาชนในพื้นที่ ซึ่งจะต้องมีมาตรการเยียวยาที่คุ้มค่าต่อผลกระทบทางจิตใจ และหาที่ทำกินให้เหมาะสม
ส่วนจะมีการขยับจุดหรือไม่นั้น ต้องอยู่ที่การศึกษา ทั้งนี้ กรณีที่ชาวบ้านเสนอใช้ พื้นที่กำแพงแสน ซึ่งเป็นของ กองทัพอากาศนั้น ยังข้อติดขัด
สำหรับโครงการดังกล่าวจะมีมูลค่าลงทุน 25,194 ล้านบาท โครงการมีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ17% มีผลตอบแทนทางการเงิน 11% โดยรูปแบบการลงทุน PPP เบื้องต้น มี3กรณีได้แก่ 1. รัฐลงทุนค่าที่ดิน 3,461.52 ล้านบาท เอกชนลงทุนค่าก่อสร้างทั้งหมด 21,733.84 ล้านบาท โดยเอกชนจัดสรรรายได้ให้ภาครัฐ 5% มีระยะเวลาคืนทุน 18.67 ปี
2. รัฐลงทุนค่าที่ดินและงานระบบโครงสร้างพื้นฐาน (ยกเว้นลานจอดเครื่องบิน) วงเงิน 16,277.15 ล้านบาท เอกชนลงทุนอาคารที่พักผู้โดยสาร อาคารปฎิบัติการภาคพื้นดิน ลานจอดเครื่องบินทั้งหมด วงเงิน 8,918.21 ล้านบาท เอกชนจัดสรรรายได้ให้ภาครัฐ 50 % ระยะเวลาคืนทุน 20.25 ปี
3. รัฐลงทุนค่าที่ดินและงานระบบโครงสร้างพื้นฐาน งานอาคารที่พักผู้โดยสาร ลานจอดเครื่องบินพาณิชย์ วงเงิน 17,021.66 ล้านบาท เอกชนลงทุนอาคารผู้โดยสาร อาคารปฎิบัติการภาคพื้นดิน ลานจอดเครื่องบินธุรกิจ วงเงิน 8,173.70 ล้านบาท เอกชนจัดสรรรายได้ให้ภาครัฐ 52 % ระยะเวลาคืนทุน 20.17 ปี
นัดจ่ายค่าเวนคืนมอเตอร์เวย์บางใหญ่ 18 ธ.ค.นี้
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า วันนี้ (18 ธ.ค.) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข จะเดินทางไปตรวจเยี่ยมและเป็นประธานมอบค่าเวนคืนที่ดิน มอเตอร์เวย สายบางใหญ่-กาญจนบุรี บริเวณตอนที่ 20 ต.ตะคร้ำเอน อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี โดยประชาชนที่จะได้รับค่าเวนคืนทั้งหมด ประกอบไปด้วย จ.กาญจนบุรี มี 689 ราย และ จ.ราชบุรี มี 123 ราย
" ในอนาคตหากโครงการนี้เชื่อมต่อกับโครงการท่าเรือทวาย ในสหภาพเมียนมาไปที่ท่าเรือมาบตาพุด และท่าเรือแหลมฉบัง คาดว่าจะทำให้มีมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ ปีๆ หนึ่ง ไม่ต่ำกว่าแสนล้าน และทำให้จีดีพี โตได้ประมาณ 1% เป็นอย่างน้อย"