กระทรวงพลังงานเดินหน้าปรับปรุงแผน "พีดีพี 2018" ครั้งที่ 1 หวังประกาศใช้ภายในไม่เกินกลางปี 63 รับนโยบายโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก ประกอบกับโซลาร์ภาคประชาชน นำร่องปีแรกพลาดเป้า และโรงไฟฟ้าชีวมวลประชารัฐ 3 จังหวัดชายแดนใต้ล่าช้า แต่ภาพรวมยังคงเป้าหมายการส่งเสริมพลังงานทดแทนรวม 18,696 เมกะวัตต์ ในปี 80 ไว้คงเดิม
แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงพลังงานอยู่ระหว่างการปรับปรุงแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ.2561-80 ครั้งที่ 1 (PDP- 2018 rev 1) เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยเบื้องต้นจากการขอความเห็นจากหลายฝ่าย ทั้งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ฯลฯ ส่วนใหญ่มีทิศทางในการคงเป้าหมายแผนการรับซื้อไฟฟ้า จากพลังงานทดแทน (RE)ไว้เท่าเดิมที่ 18,696 เมกะวัตต์ แต่จะมีการปรับเป้าหมายรายเชื้อเพลิงใหม่โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จเพื่อประกาศใช้แผนที่ปรับปรุงได้ ไม่เกินกลางปี 63
"สาเหตุหลักๆ ที่ต้องทำการปรับปรุงแผน พีดีพี 2018 ใหม่คือ การที่โครงการโซลาร์ภาคประชาชนปี 62 ที่กำหนดรับซื้อนำร่อง ปีแรก 100 เมกะวัตต์ ไม่เป็นไปตามแผน โรงไฟฟ้าชีวมวลประชารัฐ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ล่าช้าไปจากแผนเดิม ขณะเดียวกันเป้าหมายการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ ไม่ได้แยกให้ชัดเจนระหว่างน้ำเสีย/ของเสีย กับพืชพลังงาน และที่สำคัญต้องรองรับนโยบายโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานรากของ นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พลังงาน ที่จะนำเสนอเกณฑ์ต่างๆ เข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) วันที่ 16 ธ.ค.นี้" แหล่งข่าว กล่าว
ทั้งนี้ จะต้องนำสัดส่วนของโรงไฟฟ้าชุมชนมาปรับแผนใหม่ อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นมีการนำเสนอความเห็นเพื่อประกอบการทบทวน ด้วยการปรับเป้าหมายการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ที่กำหนด ไว้ 10,000 เมกะวัตต์ สิ้นสุดปี 2580 ซึ่งบางหน่วยงานเสนอให้ปรับโซลาร์ฯลงมาเหลือประมาณ 9,000 เมกะวัตต์ เพราะโซลาร์ภาคประชาชน ที่กำหนดเป้า 10 ปี (ปี 62-71) 1,000 เมกะวัตต์ ทยอยรับซื้อปีละ 100 เมกะวัตต์ นำร่องปี 62 ปีแรกที่มีผู้ทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้ารวมเพียงกว่า 1,500 กิโลวัตต์เ(Kw)เท่านั้น แต่ส่วนใหญ่ก็เห็นว่าควรจะดำเนินโครงการโซลาร์ ภาคประชาชนต่อไป แต่จะมีการปรับรูปแบบใหม่ให้ดำเนินงานง่ายและรวดเร็วขึ้นโดยไม่มีการเพิ่มอัตราการรับซื้อที่กำหนดไว้ที่ 1.68 บาทต่อหน่วย ระยะเวลา 10 ปี เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังมีการเสนอปรับรูปรูปแบบโรงไฟฟ้าชีวมวลประชารัฐ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของโรงไฟฟ้าชุมชนแทน เพิ่มเป้าหมายการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ (Biogass)จากพืชพลังงาน จากแผนเดิม 363 เมกะวัตต์ ในปี 2580 เป็น 1,000 เมกะวัตต์ เพื่อสนับสนุนนโยบายโรงไฟฟ้าชุมชนเป็นต้น
นายยงยุทธ จันทรโรทัย อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กล่าวว่า โครงการโซลาร์ภาคประชาชนปัจจุบันยังไม่มีการเปลียนแปลงใดๆ แต่ยอมรับว่ามีผู้เข้าร่วมน้อยจึงต้องรอนโยบายจาก นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พลังงาน เป็นหลัก จากนั้นจะนำมาปรับปรุงแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP 2015) ให้เป็น AEDP 2018 ให้สอดรับกับนโยบายที่เกิดขึ้น
นายเสมอใจ ศุขสุเมฆ ประธานกรรมการกำกับกิจการพลังงงาน (กกพ.) กล่าวว่า กกพ.ได้รายงานข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโซลาร์ภาคประชาชนให้กับกระทรวงพลังงาน แต่จะเดินหน้าต่อไปหรือไม่ อยู่ที่การตัดสินใจระดับนโยบายเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม การยื่นข้อเสนอโซลาร์ภาคประชาชนที่ต่ำกว่าเป้าหมาย ปี 62 ที่กำหนดไว้ 100 เมกะวัตต์ จากการพิจารณาข้อเท็จจริงครัวเรือนที่จะติดตั้งหากใช้ไฟฟ้า เพียงเดือนละ 2,000-3,000 บาทการลงทุนติดตั้งระดับ 2 แสนบาท ก็จะไม่คุ้มค่ากับการขายไฟระยะเวลา10 ปี
แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงพลังงานอยู่ระหว่างการปรับปรุงแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ.2561-80 ครั้งที่ 1 (PDP- 2018 rev 1) เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยเบื้องต้นจากการขอความเห็นจากหลายฝ่าย ทั้งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ฯลฯ ส่วนใหญ่มีทิศทางในการคงเป้าหมายแผนการรับซื้อไฟฟ้า จากพลังงานทดแทน (RE)ไว้เท่าเดิมที่ 18,696 เมกะวัตต์ แต่จะมีการปรับเป้าหมายรายเชื้อเพลิงใหม่โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จเพื่อประกาศใช้แผนที่ปรับปรุงได้ ไม่เกินกลางปี 63
"สาเหตุหลักๆ ที่ต้องทำการปรับปรุงแผน พีดีพี 2018 ใหม่คือ การที่โครงการโซลาร์ภาคประชาชนปี 62 ที่กำหนดรับซื้อนำร่อง ปีแรก 100 เมกะวัตต์ ไม่เป็นไปตามแผน โรงไฟฟ้าชีวมวลประชารัฐ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ล่าช้าไปจากแผนเดิม ขณะเดียวกันเป้าหมายการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ ไม่ได้แยกให้ชัดเจนระหว่างน้ำเสีย/ของเสีย กับพืชพลังงาน และที่สำคัญต้องรองรับนโยบายโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานรากของ นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พลังงาน ที่จะนำเสนอเกณฑ์ต่างๆ เข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) วันที่ 16 ธ.ค.นี้" แหล่งข่าว กล่าว
ทั้งนี้ จะต้องนำสัดส่วนของโรงไฟฟ้าชุมชนมาปรับแผนใหม่ อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นมีการนำเสนอความเห็นเพื่อประกอบการทบทวน ด้วยการปรับเป้าหมายการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ที่กำหนด ไว้ 10,000 เมกะวัตต์ สิ้นสุดปี 2580 ซึ่งบางหน่วยงานเสนอให้ปรับโซลาร์ฯลงมาเหลือประมาณ 9,000 เมกะวัตต์ เพราะโซลาร์ภาคประชาชน ที่กำหนดเป้า 10 ปี (ปี 62-71) 1,000 เมกะวัตต์ ทยอยรับซื้อปีละ 100 เมกะวัตต์ นำร่องปี 62 ปีแรกที่มีผู้ทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้ารวมเพียงกว่า 1,500 กิโลวัตต์เ(Kw)เท่านั้น แต่ส่วนใหญ่ก็เห็นว่าควรจะดำเนินโครงการโซลาร์ ภาคประชาชนต่อไป แต่จะมีการปรับรูปแบบใหม่ให้ดำเนินงานง่ายและรวดเร็วขึ้นโดยไม่มีการเพิ่มอัตราการรับซื้อที่กำหนดไว้ที่ 1.68 บาทต่อหน่วย ระยะเวลา 10 ปี เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังมีการเสนอปรับรูปรูปแบบโรงไฟฟ้าชีวมวลประชารัฐ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของโรงไฟฟ้าชุมชนแทน เพิ่มเป้าหมายการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ (Biogass)จากพืชพลังงาน จากแผนเดิม 363 เมกะวัตต์ ในปี 2580 เป็น 1,000 เมกะวัตต์ เพื่อสนับสนุนนโยบายโรงไฟฟ้าชุมชนเป็นต้น
นายยงยุทธ จันทรโรทัย อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กล่าวว่า โครงการโซลาร์ภาคประชาชนปัจจุบันยังไม่มีการเปลียนแปลงใดๆ แต่ยอมรับว่ามีผู้เข้าร่วมน้อยจึงต้องรอนโยบายจาก นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พลังงาน เป็นหลัก จากนั้นจะนำมาปรับปรุงแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP 2015) ให้เป็น AEDP 2018 ให้สอดรับกับนโยบายที่เกิดขึ้น
นายเสมอใจ ศุขสุเมฆ ประธานกรรมการกำกับกิจการพลังงงาน (กกพ.) กล่าวว่า กกพ.ได้รายงานข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโซลาร์ภาคประชาชนให้กับกระทรวงพลังงาน แต่จะเดินหน้าต่อไปหรือไม่ อยู่ที่การตัดสินใจระดับนโยบายเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม การยื่นข้อเสนอโซลาร์ภาคประชาชนที่ต่ำกว่าเป้าหมาย ปี 62 ที่กำหนดไว้ 100 เมกะวัตต์ จากการพิจารณาข้อเท็จจริงครัวเรือนที่จะติดตั้งหากใช้ไฟฟ้า เพียงเดือนละ 2,000-3,000 บาทการลงทุนติดตั้งระดับ 2 แสนบาท ก็จะไม่คุ้มค่ากับการขายไฟระยะเวลา10 ปี