ผู้จัดการรายวัน360- “สนธิรัตน์” ยอมรับการปรับโครงสร้างราคาพลังงานทั้งน้ำมันและก๊าซฯที่เดิมจะมอบเป็นของขวัญปีใหม่นั้นคงจะไม่ทันเหตุต้องรับฟังความเห็นรอบด้าน แต่จะมีข่าวดีเรื่องโรงไฟฟ้าชุมชนบูมลงทุนกว่า 1.5 แสนล้านบาทที่เตรียมเสนอกพช. 16 ธ.ค.นี้ หลังกบง.เคาะเบื้องต้น พร้อมดันไทยเป็นฮับแอลเอ็นจีกระตุ้นศก.ระยะยาว 1.6 แสนล้านบาท
นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยภายหลังเป็นประธานประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.)เมื่อวันที่ 4 ธ.ค. ได้เห็นชอบแผนส่งเสริมโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานราก แต่ยังไม่ขอเปิดเผยรายละเอียด ใดๆ จากที่เคยระบุก่อนหน้านี้ว่าจะมีกำลังผลิตรวม 1,000 เมกะวัตต์ โดยจะเป็นโครงการที่เอกชนร่วมทุนกับชุมชน ซึ่งจะมีเงินลงทุนราว 1.5 แสนล้านบาท เพราะต้องนำ ผลอนุมัติ จาก กบง.ไปเสนอต่อ ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ซึ่งมีนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในวันที่ 16 ธันวาคมนี้ ส่วนของขวัญปีใหม่ที่เดิมตั้งใจให้มีทั้งการปรับโครงสร้างราคาพลังงานทั้งน้ำมันและก๊าซฯนั้น ในเรื่องนี้ ยอมรับว่าดำเนินการไม่ทันเพราะต้องฟังความเห็นรอบด้านให้มากที่สุด
ขณะเดียวกัน ยังพิจารณาเรื่องการแข่งขันที่เป็นธรรมด้านพลังงาน โดยกบง.ได้เห็นชอบแก้ปัญหาสัญญาระหว่าง บมจ.ปตท. และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย( กฟผ.) หรือ Global DCQ ซึ่งสัญญาระยะยาวสิ้นสุดลงตั้งแต่ปี 2558 หลังจากนั้น ทั้งสองหน่วยงานได้ทำสัญญาเป็นแบบปีต่อปี ซึ่งได้มีข้อตกลงกันแล้ว และจะมีการลงนามร่วมกันในเดือนธันวาคมนี้ โดยคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.)ได้ร่วมพิจารณาร่างสัญญา ทั้งนี้Global DCQ เป็นสัญญาเพื่อใช้กับโรงไฟฟ้าของ กฟผ. เพื่อให้เกิดความมั่นคงด้านเชื้อเพลิงก๊าซฯ และมีความยืดหยุ่นในการจัดหาเชื้อเพลิงก๊าซฯ ซึ่งมีปริมาณซื้อขายราว 1,000-1,200 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน
นอกจากนี้ กบง.ได้รับทราบแนวทางการผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางการซื้อ-ขายก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ของภูมิภาค (Regional LNG Hub) คาดว่าจะเริ่มทดสอบกิจกรรมการให้บริการต่างๆ ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2563 ก่อนจะเริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์อย่างเต็มรูปแบบประมาณปลายปี 2563 หรือต้นปี 2564 เป็นต้นไป
สำหรับผลที่ได้รับจากการพัฒนา Regional LNG Hub จะทำให้ประเทศไทยเพิ่มความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการ LNG เพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน เพิ่มการใช้ประโยชน์โครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่เดิม ซึ่งผลของการพัฒนาเป็น Hub ดังกล่าวจะเกิดผลประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของไทยโดยรวมประมาณ 165,000 ล้านบาทในช่วง 10 ปี (ปี 2563-2573) และมีผลต่ออัตราการจ้างงานเฉลี่ยในประเทศเพิ่มขึ้นเท่ากับ 16,000 คนต่อปี อีกทั้งยังช่วยลดภาระการส่งผ่านอัตราค่าบริการไปยังค่าไฟฟ้าด้วย
นอกจากนี้ กบง. ยังได้รับทราบแนวทางการคำนวณราคาไบโอดีเซล (B100) เพื่อใช้ผสมเป็นดีเซลหมุนเร็ว โดยยังคงให้ใช้หลักเกณฑ์การกำหนดราคาไบโอดีเซลที่มีอยู่ปัจจุบันไปก่อน และมอบให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ติดตามผลการใช้ B10 เป็นน้ำมันดีเซลหมุนเร็วเกรดพื้นฐานและศึกษาผลกระทบต่างๆ เร่งศึกษาหลักเกณฑ์การคำนวณราคาไบโอดีเซลใหม่ที่เหมาะสม และนำมาเสนอ กบง. เพื่อประกอบการศึกษาผลทบทวนหลักเกณฑ์การคำนวณราคา B100 ต่อไป
นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยภายหลังเป็นประธานประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.)เมื่อวันที่ 4 ธ.ค. ได้เห็นชอบแผนส่งเสริมโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานราก แต่ยังไม่ขอเปิดเผยรายละเอียด ใดๆ จากที่เคยระบุก่อนหน้านี้ว่าจะมีกำลังผลิตรวม 1,000 เมกะวัตต์ โดยจะเป็นโครงการที่เอกชนร่วมทุนกับชุมชน ซึ่งจะมีเงินลงทุนราว 1.5 แสนล้านบาท เพราะต้องนำ ผลอนุมัติ จาก กบง.ไปเสนอต่อ ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ซึ่งมีนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในวันที่ 16 ธันวาคมนี้ ส่วนของขวัญปีใหม่ที่เดิมตั้งใจให้มีทั้งการปรับโครงสร้างราคาพลังงานทั้งน้ำมันและก๊าซฯนั้น ในเรื่องนี้ ยอมรับว่าดำเนินการไม่ทันเพราะต้องฟังความเห็นรอบด้านให้มากที่สุด
ขณะเดียวกัน ยังพิจารณาเรื่องการแข่งขันที่เป็นธรรมด้านพลังงาน โดยกบง.ได้เห็นชอบแก้ปัญหาสัญญาระหว่าง บมจ.ปตท. และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย( กฟผ.) หรือ Global DCQ ซึ่งสัญญาระยะยาวสิ้นสุดลงตั้งแต่ปี 2558 หลังจากนั้น ทั้งสองหน่วยงานได้ทำสัญญาเป็นแบบปีต่อปี ซึ่งได้มีข้อตกลงกันแล้ว และจะมีการลงนามร่วมกันในเดือนธันวาคมนี้ โดยคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.)ได้ร่วมพิจารณาร่างสัญญา ทั้งนี้Global DCQ เป็นสัญญาเพื่อใช้กับโรงไฟฟ้าของ กฟผ. เพื่อให้เกิดความมั่นคงด้านเชื้อเพลิงก๊าซฯ และมีความยืดหยุ่นในการจัดหาเชื้อเพลิงก๊าซฯ ซึ่งมีปริมาณซื้อขายราว 1,000-1,200 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน
นอกจากนี้ กบง.ได้รับทราบแนวทางการผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางการซื้อ-ขายก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ของภูมิภาค (Regional LNG Hub) คาดว่าจะเริ่มทดสอบกิจกรรมการให้บริการต่างๆ ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2563 ก่อนจะเริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์อย่างเต็มรูปแบบประมาณปลายปี 2563 หรือต้นปี 2564 เป็นต้นไป
สำหรับผลที่ได้รับจากการพัฒนา Regional LNG Hub จะทำให้ประเทศไทยเพิ่มความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการ LNG เพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน เพิ่มการใช้ประโยชน์โครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่เดิม ซึ่งผลของการพัฒนาเป็น Hub ดังกล่าวจะเกิดผลประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของไทยโดยรวมประมาณ 165,000 ล้านบาทในช่วง 10 ปี (ปี 2563-2573) และมีผลต่ออัตราการจ้างงานเฉลี่ยในประเทศเพิ่มขึ้นเท่ากับ 16,000 คนต่อปี อีกทั้งยังช่วยลดภาระการส่งผ่านอัตราค่าบริการไปยังค่าไฟฟ้าด้วย
นอกจากนี้ กบง. ยังได้รับทราบแนวทางการคำนวณราคาไบโอดีเซล (B100) เพื่อใช้ผสมเป็นดีเซลหมุนเร็ว โดยยังคงให้ใช้หลักเกณฑ์การกำหนดราคาไบโอดีเซลที่มีอยู่ปัจจุบันไปก่อน และมอบให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ติดตามผลการใช้ B10 เป็นน้ำมันดีเซลหมุนเร็วเกรดพื้นฐานและศึกษาผลกระทบต่างๆ เร่งศึกษาหลักเกณฑ์การคำนวณราคาไบโอดีเซลใหม่ที่เหมาะสม และนำมาเสนอ กบง. เพื่อประกอบการศึกษาผลทบทวนหลักเกณฑ์การคำนวณราคา B100 ต่อไป