**จากที่ผ่านมาจนถึงนาทีนี้ ยังไม่ได้ยินเสียงตอบรับ หรือปฏิเสธแบบชัดเจนจาก นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และอดีตนายกรัฐมนตรี สำหรับการชิงเก้าอี้ประธานกรรมาธิการวิสามัญศึกษาแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ หลังจากมีสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์บางคนพยายามลุ้นอย่างเต็มที่
ทางหนึ่งอาจเป็นเพราะว่ายังไม่มีความมั่นใจ และป้องกันเสียฟอร์มในภายหลัง หากตัวเองต้องวืดจากเก้าอี้ดังกล่าว ขณะเดียวกัน ก็ต้องให้ความเป็นธรรมกับ นายอภิสิทธิ์ ด้วยเหมือนกันว่า ที่ผ่านมาเขาไม่ได้เป็นคนริเริ่ม หรือเสนอตัวเองเข้ามาดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการฯ ดังกล่าว หลังจากประกาศลาออกจากหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และลาออกจาก ส.ส.หลังจากนำพรรคพ่ายแพ้การเลือกตั้งแบบหมดรูป เมื่อการเลือกตั้งครั้งล่าสุดที่ผ่านมา
มีเพียงอดีตลูกน้องเก่าที่เคยมีบทบาทในพรรคในช่วงที่ "นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" เป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อย่างเช่น "นายเทพไท เสนพงศ์" ที่พยายามผลักดันอย่างเต็มที่ โดยอ้างถึงความเหมาะสมโดดเด่นของ นายอภิสิทธิ์
แต่หากพิจารณากันตามความเป็นจริง จากบรรยากาศภายในพรรคประชาธิปัตย์ที่ผ่านมา จากระดับแกนนำฝ่ายบริหารพรรคในยุคปัจจุบันก็ต้องบอกว่ายัง“เฉยๆ”กับแรงผลักดัน นายอภิสิทธิ์ เข้ามาเป็นประธานคณะกรรมาธิการฯ ถึงแม้ว่าจะมีการเสนอ และออกมาเป็นมติพรรคแล้วก็ตาม เพราะในบรรยากาศแบบนั้นคงไม่มีใครออกมาค้าน ความหมายก็คือ ต้องเลยตามเลย
อีกทั้งก็ต้องยอมรับความจริงว่าเวลานี้พรรคประชาธิปัตย์ ไม่ใช่พรรคแกนนำรัฐบาล มันก็ย่อมเป็นไปได้ยากพรรคที่พรรคอันดับหนึ่งอย่างพรรคพลังประชารัฐ จะยอมง่ายๆ ซึ่งก็เป็นความจริงที่เวลานี้มีแคนดิเดตเสนอเข้ามาแข่งขันจำนวน 2-3 รายชื่อ เช่น นายสุชาติ ตันเจริญ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 นายวิเชียร ชวลิต ส.ส.บัญชีรายชื่อ และผู้อำนวยการพรรคพลังประชารัฐ และนายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.บัญชีรายชื่อ (ล่าสุดมีรายชื่ออยู่ในโควตาหนึ่งใน 12 คนของรัฐบาลแล้ว) ซึ่งทั้ง 3 คนดังกล่าว มีโอกาสที่จะได้รับเลือกให้นั่งเก้าอี้ประธานคณะกรรมาธิการฯ ด้วย
สำหรับคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น มีจำนวนคณะกรรมาธิการจำนวน 49 คน แบ่งเป็นคณะรัฐมนตรี 12 คน พรรคร่วมรัฐบาล 18 คน พรรคร่วมฝ่ายค้าน 19 คน
** ที่ผ่านมาเมื่อพิจารณาจากท่าทีของพรรคพลังประชารัฐแล้วจะเห็นว่า ไม่เห็นด้วยกับการที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะมานั่งเก้าอี้ประธานคณะกรรมาธิการฯ โดยพวกเขามีท่าทีชัดเจนมาตั้งแต่ต้นแล้วว่า ตำแหน่งดังกล่าวนี้ควรเป็นของพรรคแกนนำรัฐบาล อีกทั้งเมื่อพิจารณาเมื่อพิจารณาจากแบ็กกราวด์ทางการเมืองแล้ว ก็ต้องถือว่า นายอภิสิทธิ์ ก็ยืนอยู่ตรงข้ามกับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มาตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว
นอกเหนือจากนี้เมื่อสำรวจความเห็น และท่าทีของบรรดาพรรคร่วมรัฐบาลอื่นๆ ก็ยังไม่มีพรรคไหนที่แสดงท่าทีหนุน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อย่างชัดเจน แม้แต่แกนนำพรรคประชาธิปัตย์เองในปัจจุบัน ไมว่าจะเป็น นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรค ที่บอกว่าแล้วแต่ที่ประชุมวิปรัฐบาลว่าจะเห็นอย่างไร หรือแม้แต่ นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ประธานส.ส.ของพรรคประชาธิปัตย์ ที่กล่าวว่าโควตาของพรรคมีอยู่ 4 คน โดยจะให้ที่ประชุมพรรคเสนอชื่อโหวตกันเข้ามา และแม้ว่าพรรคอาจเสนอชื่อ นายอภิสิทธิ์ เหมือนเดิม แต่ก็ขึ้นอยู่กับมติของวิปรัฐบาลว่าจะเห็นอย่างไร
ขณะที่ เทพไท เสนพงศ์ ซึ่งถือว่าเป็นคนผลักดัน นายอภิสิทธิ์ เข้ามา เมื่อเห็นท่าไม่ดี ก็คาดคั้นเอากับพรรคร่วมรัฐบาลว่าจะสนับสนุน นายอภิสิทธิ์ หรือไม่ พร้อมทั้งฟาดงวงฟาดงาไปว่าพรรคพลังประชารัฐ ว่าไม่จริงใจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือแสดงท่าทีแบบขอไปทีเท่านั้น เพราะไม่ได้สนับสนุนมาตั้งแต่ต้นแล้ว
อย่างไรก็ดี ความหวังของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็ต้องดับวูบลงแบบสนิท ก็คือหลังจากที่พรรคฝ่ายค้านอย่างพรรคเพื่อไทย เสนอชื่อ นายโภคิน พลกุล เข้ามาแข่งขันเป็นประธานคณะกรรมาธิการฯ หลังจากที่ก่อนหน้านี้หวังลึกๆว่า จะให้การสนับสนุนนายอภิสิทธิ์
เมื่อพิจารณาจากรูปการณ์ดังกล่าวข้างต้นทั้งหมดแล้ว โอกาสแทบเป็นศูนย์ที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะได้รับการโหวตให้ได้นั่งเก้าอี้ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญของสภาผู้แทนราษฎร เพราะพรรคร่วมรัฐบาลส่วนใหญ่โดยเฉพาะพรรคพลังประชารัฐไม่เอาด้วย อีกทั้งเมื่อพิจารณาจากศักยภาพแล้วเขาก็ยังไม่ถึงขั้นมีบารมีโดดเด่นเหนือกว่าคนอื่นอย่างเห็นได้ชัด และที่สำคัญที่ผ่านมายังมีท่าทีอยู่ตรงกันข้ามกับรัฐบาล มันถึงเป็นไปไม่ได้เลย
ดังนั้น เมื่อประเมินสถานการณ์ตามความเป็นจริงแล้ว ในที่สุดพรรคประชาธิปัตย์ ก็มีมติส่งรายชื่อกรรมาธิการ ตามโควต้าของพรรค 4 คน ประกอบด้วย นายบัญญัติ บรรทัดฐาน นายสุทัศน์ เงินหมื่น นายนิพิฎฐ์ อินทรสมบัติ และ นายเทพไท เสนพงศ์ โดยไม่มีชื่อ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ โดยทางพรรคให้เหตุผลว่า การตั้งประธานกรรมาธิการ เป็นการเลือกกันเองในคณะกรรมาธิการฯ แต่ทางพรรคมีสัดส่วนน้อยกว่า และไม่มีหลักประกันว่าเมื่อเสนอชื่อนายอภิสิทธิ์ แล้ว จะได้เป็นประธานกรรมาธิการฯ จึงไม่เสนอชื่อนายอภิสิทธิ์ ไปเป็นกรรมาธิการฯ
**เป็นอันว่า"อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" ต้องวืด! ในนาทีสุดท้าย
ทางหนึ่งอาจเป็นเพราะว่ายังไม่มีความมั่นใจ และป้องกันเสียฟอร์มในภายหลัง หากตัวเองต้องวืดจากเก้าอี้ดังกล่าว ขณะเดียวกัน ก็ต้องให้ความเป็นธรรมกับ นายอภิสิทธิ์ ด้วยเหมือนกันว่า ที่ผ่านมาเขาไม่ได้เป็นคนริเริ่ม หรือเสนอตัวเองเข้ามาดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการฯ ดังกล่าว หลังจากประกาศลาออกจากหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และลาออกจาก ส.ส.หลังจากนำพรรคพ่ายแพ้การเลือกตั้งแบบหมดรูป เมื่อการเลือกตั้งครั้งล่าสุดที่ผ่านมา
มีเพียงอดีตลูกน้องเก่าที่เคยมีบทบาทในพรรคในช่วงที่ "นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" เป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อย่างเช่น "นายเทพไท เสนพงศ์" ที่พยายามผลักดันอย่างเต็มที่ โดยอ้างถึงความเหมาะสมโดดเด่นของ นายอภิสิทธิ์
แต่หากพิจารณากันตามความเป็นจริง จากบรรยากาศภายในพรรคประชาธิปัตย์ที่ผ่านมา จากระดับแกนนำฝ่ายบริหารพรรคในยุคปัจจุบันก็ต้องบอกว่ายัง“เฉยๆ”กับแรงผลักดัน นายอภิสิทธิ์ เข้ามาเป็นประธานคณะกรรมาธิการฯ ถึงแม้ว่าจะมีการเสนอ และออกมาเป็นมติพรรคแล้วก็ตาม เพราะในบรรยากาศแบบนั้นคงไม่มีใครออกมาค้าน ความหมายก็คือ ต้องเลยตามเลย
อีกทั้งก็ต้องยอมรับความจริงว่าเวลานี้พรรคประชาธิปัตย์ ไม่ใช่พรรคแกนนำรัฐบาล มันก็ย่อมเป็นไปได้ยากพรรคที่พรรคอันดับหนึ่งอย่างพรรคพลังประชารัฐ จะยอมง่ายๆ ซึ่งก็เป็นความจริงที่เวลานี้มีแคนดิเดตเสนอเข้ามาแข่งขันจำนวน 2-3 รายชื่อ เช่น นายสุชาติ ตันเจริญ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 นายวิเชียร ชวลิต ส.ส.บัญชีรายชื่อ และผู้อำนวยการพรรคพลังประชารัฐ และนายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.บัญชีรายชื่อ (ล่าสุดมีรายชื่ออยู่ในโควตาหนึ่งใน 12 คนของรัฐบาลแล้ว) ซึ่งทั้ง 3 คนดังกล่าว มีโอกาสที่จะได้รับเลือกให้นั่งเก้าอี้ประธานคณะกรรมาธิการฯ ด้วย
สำหรับคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น มีจำนวนคณะกรรมาธิการจำนวน 49 คน แบ่งเป็นคณะรัฐมนตรี 12 คน พรรคร่วมรัฐบาล 18 คน พรรคร่วมฝ่ายค้าน 19 คน
** ที่ผ่านมาเมื่อพิจารณาจากท่าทีของพรรคพลังประชารัฐแล้วจะเห็นว่า ไม่เห็นด้วยกับการที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะมานั่งเก้าอี้ประธานคณะกรรมาธิการฯ โดยพวกเขามีท่าทีชัดเจนมาตั้งแต่ต้นแล้วว่า ตำแหน่งดังกล่าวนี้ควรเป็นของพรรคแกนนำรัฐบาล อีกทั้งเมื่อพิจารณาเมื่อพิจารณาจากแบ็กกราวด์ทางการเมืองแล้ว ก็ต้องถือว่า นายอภิสิทธิ์ ก็ยืนอยู่ตรงข้ามกับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มาตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว
นอกเหนือจากนี้เมื่อสำรวจความเห็น และท่าทีของบรรดาพรรคร่วมรัฐบาลอื่นๆ ก็ยังไม่มีพรรคไหนที่แสดงท่าทีหนุน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อย่างชัดเจน แม้แต่แกนนำพรรคประชาธิปัตย์เองในปัจจุบัน ไมว่าจะเป็น นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรค ที่บอกว่าแล้วแต่ที่ประชุมวิปรัฐบาลว่าจะเห็นอย่างไร หรือแม้แต่ นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ประธานส.ส.ของพรรคประชาธิปัตย์ ที่กล่าวว่าโควตาของพรรคมีอยู่ 4 คน โดยจะให้ที่ประชุมพรรคเสนอชื่อโหวตกันเข้ามา และแม้ว่าพรรคอาจเสนอชื่อ นายอภิสิทธิ์ เหมือนเดิม แต่ก็ขึ้นอยู่กับมติของวิปรัฐบาลว่าจะเห็นอย่างไร
ขณะที่ เทพไท เสนพงศ์ ซึ่งถือว่าเป็นคนผลักดัน นายอภิสิทธิ์ เข้ามา เมื่อเห็นท่าไม่ดี ก็คาดคั้นเอากับพรรคร่วมรัฐบาลว่าจะสนับสนุน นายอภิสิทธิ์ หรือไม่ พร้อมทั้งฟาดงวงฟาดงาไปว่าพรรคพลังประชารัฐ ว่าไม่จริงใจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือแสดงท่าทีแบบขอไปทีเท่านั้น เพราะไม่ได้สนับสนุนมาตั้งแต่ต้นแล้ว
อย่างไรก็ดี ความหวังของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็ต้องดับวูบลงแบบสนิท ก็คือหลังจากที่พรรคฝ่ายค้านอย่างพรรคเพื่อไทย เสนอชื่อ นายโภคิน พลกุล เข้ามาแข่งขันเป็นประธานคณะกรรมาธิการฯ หลังจากที่ก่อนหน้านี้หวังลึกๆว่า จะให้การสนับสนุนนายอภิสิทธิ์
เมื่อพิจารณาจากรูปการณ์ดังกล่าวข้างต้นทั้งหมดแล้ว โอกาสแทบเป็นศูนย์ที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะได้รับการโหวตให้ได้นั่งเก้าอี้ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญของสภาผู้แทนราษฎร เพราะพรรคร่วมรัฐบาลส่วนใหญ่โดยเฉพาะพรรคพลังประชารัฐไม่เอาด้วย อีกทั้งเมื่อพิจารณาจากศักยภาพแล้วเขาก็ยังไม่ถึงขั้นมีบารมีโดดเด่นเหนือกว่าคนอื่นอย่างเห็นได้ชัด และที่สำคัญที่ผ่านมายังมีท่าทีอยู่ตรงกันข้ามกับรัฐบาล มันถึงเป็นไปไม่ได้เลย
ดังนั้น เมื่อประเมินสถานการณ์ตามความเป็นจริงแล้ว ในที่สุดพรรคประชาธิปัตย์ ก็มีมติส่งรายชื่อกรรมาธิการ ตามโควต้าของพรรค 4 คน ประกอบด้วย นายบัญญัติ บรรทัดฐาน นายสุทัศน์ เงินหมื่น นายนิพิฎฐ์ อินทรสมบัติ และ นายเทพไท เสนพงศ์ โดยไม่มีชื่อ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ โดยทางพรรคให้เหตุผลว่า การตั้งประธานกรรมาธิการ เป็นการเลือกกันเองในคณะกรรมาธิการฯ แต่ทางพรรคมีสัดส่วนน้อยกว่า และไม่มีหลักประกันว่าเมื่อเสนอชื่อนายอภิสิทธิ์ แล้ว จะได้เป็นประธานกรรมาธิการฯ จึงไม่เสนอชื่อนายอภิสิทธิ์ ไปเป็นกรรมาธิการฯ
**เป็นอันว่า"อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" ต้องวืด! ในนาทีสุดท้าย