ผู้จัดการรายวัน360- “อุตตม” เผยคลังกำลังพิจารณาที่จะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่โดยจะครอบคลุมในวงกว้างคาดจะสรุปสิ้นปีนี้เพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่คนไทย พร้อมเร่งเครื่องทุกฝ่ายดึงนักลงทุนปักหมุดอีอีซีดันไทยประตูสู่เอเชีย “สุริยะ”พร้อมเร่งเครื่องการลงทุนหลังภาพอีอีซีชัดเจนมากขึ้น ด้านโฆษกรัฐบาลยัน นายกฯ ยังไม่มีแนวคิดปรับทีมเศรษฐกิจ แค่ให้กระชับรูปแบบการทำงานให้ครอบคลุมถึงฐานราก ฟุ้งเศรษฐกิจยังขยายตัว ลงทุนใหม่มูลค่าทะลุ 4.3 แสนล้าน กิจการเปิดเพิ่มมากกว่าปิด 2 เท่าตัว ตำแหน่งงานยังว่าเกือบ 80,000 อัตรา
นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและประธานอนุกรรมการบริหารการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี) เปิดเผยในงานสัมมนา”EEC NEXT : ทุนไทย-เทศ ปักหมุด EEC “จัดโดยน.ส.พ.กรุงเทพธุรกิจ ว่า ขณะนี้คลังกำลังหารือที่จะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจในประเทศต่อเนื่องเพื่อให้ไทยเดินหน้าต่อไปได้ท่ามกลางความผันผวนของเศรษฐกิจโลกโดยคาดว่าจะมาตรการจะออกได้ก่อนสิ้นปีนี้ที่อาจเป็นของขวัญให้กับประชาชนในภาพรวม
“มีความเป็นไปได้ที่จะมีมาตรการออกมาเร็วๆ นี้ และคาดว่าจะเป็นแพ็คเกจเพื่อสนับสนุนให้ได้ทุกภาคส่วนและให้มีการช่วยเหลือประชาชนในวงกว้าง ทั้งการอุปโภคบริโภค การพัฒนาแรงงาน ด้านอสังหาริมทรัพย์ และการท่องเที่ยว พยายามจะให้มาตรการจะออกมาก่อนสิ้นปีนี้และหากจะมองว่าเป็นของขวัญปีใหม่ก็คงจะได้ แต่ทั้งหมดต้องผ่านการนำเสนอในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)ก่อนส่วนจะเป็นด้านไหนบ้างคงต้องขอดูรายละเอียดก่อน "นายอุตตม กล่าว
สำหรับระยะต่อไปของการพัฒนาอีอีซีนั้น ปี 2563 เป็นปีที่กำลังจะก้าวสู่ปีที่ 4 ของการพัฒนาอีอีซีใน 3 จ.นำร่อง(ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา) ทางสำนักงานอีอีซีจะร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาทิ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) ฯลฯ จะดำเนินนโยบายเชิงรุกพบปะหรือโรดโชว์นักลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศในการดึงดูดการลงทุนโดยใช้ศักยภาพที่ไทยจะเป็นประตูสู่เอเชีย
“ขณะนี้นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศมีความสนใจที่จะลงทุนในอีอีซีชัดเจนขึ้นโดยเฉพาะอุตสาหกรรมเป้าหมาย ทั้งยานยนต์ไฟฟ้า การแพทย์สมัยใหม่ การดูแลด้านสภาพแวดล้อม รวมถึงการลงทุนศูนย์กลางทางการเงินในอีอีซี ทั้งมาจากยุโรปและญี่ปุ่น ซึ่งปัจจัยสำคัญมาจากการที่เราได้ดำเนินการพัฒนา 5 โครงสร้างพื้นฐานหลักในอีอีซีที่เริ่มลงนามกับเอกชนในการพัฒนาที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น การประกาศผังเมือง รวมถึงการพัฒนาบุคคลากร ฯลฯ “
นายอุตตม กล่าวว่า EEC NEXT หลังจาก 3 ปีที่ผ่านมา ได้ทำโครงสร้างพื้นฐาน กฏหมายที่เกี่ยวข้องชัดเจนซึ่งยังคงต้องดำเนินงานต่อเนื่องเพราะเป็นเรื่องนโยบายระยะยาวเพื่อปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไทยรองรับการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคตซึ่งจะรวมถึงการพัฒนาทักษะของคนไทยให้สอดรับด้วย อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวมีเพียงภูมิภาคเอเชียเท่านั้นที่จะเติบโตและไทยคือประตูสู่เอเชียซึ่ง อีอีซีถูกออกแบบมาไม่ใช่เชื่อมโยงในประเทศแต่ยังเชื่อมโยงกับประเทศต่างๆในภูมิภาค
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า การพัฒนาอีอีซีที่ผ่านมาแบ่งเป็น 3 เฟส โดยเฟสแรกได้เตรียมออกกฏหมายที่เกี่ยวข้อง และสร้างกลไกการขับเคลื่อนแผน เฟส 2 วางโครงสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่สำคัญที่มีความคืบหน้ามากขึ้น และเฟสที่ 3 การชักจูงการลงทุนและการพัฒนาอุตสาหกรรมซึ่งได้มุ่งเน้นอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ให้สอดรับกับเทคโนโลยีของโลกที่เปลี่ยนไปซึ่งการขับเคลื่อนอีอีซีระยะต่อไปกระทรวงอุตสาหกรรมจะต่อยอดขยายผลเพื่อให้เกิดการลงทุนจริงในพื้นที่ให้มากขึ้น
“เป้าหมายการลงทุนในอีอีซี 3 แสนล้านบาทต่อปี ยังไม่ปรับเป้าแม้เศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวก็ตาม นอกเหนือจากโครงสร้างพื้นฐาน 5 โครงการใหญ่ๆจะมีความคืบหน้าทั้งรถไฟความเร็วสูง ท่าเรือมาบตาพุดเฟส 3 และเร็วๆนี้สนามบินอู่ตะเภาก็น่าจะจบเร็วๆนี้แล้ว ก็ยังมีเรื่องการเตรียมพื้นที่รองรับการลงทุนไว้พร้อมแล้ว 6,500 ไร่และหากไม่พอก็ยังมีอีก 5,000 ไร่สำหรับภาคอุตสาหกรรม”รมว.อุตสาหกรรมกล่าว
นายณัฎฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า เป็นครั้งแรกที่กระทรวงฯจับมืออีอีซีที่ได้ทำงานร่วมกันจึงได้รับทราบถึงปัญหาของภาคเอกชนที่กังวลการขาดแคลนแรงงานทักษะสูงเพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมสมัยใหม่ ดังนั้นกระทรวงฯได้ปรับแผนงานต่างๆที่จะสร้างคนให้ตรงกับความต้องการตลาดโดยเฉพาะอาชีวะ และการเพิ่มทักษะฝีมือแรงงาน
ยัน นายกฯยังไม่มีแนวคิดปรับทีมศก.
นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณี นายกรัฐมนตรี พูดถึงเรื่องการปรับรูปแบบการทำงานของครม.เศรษฐกิจ ว่า นายกฯ ต้องการสื่อสารผ่านสื่อมวลชนว่า รัฐบาลรับทราบ และเข้าใจถึงสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันเป็นอย่างดี จึงได้มีการหารือระหว่างการประชุมครม. ถึงแนวทาง รูปแบบ วิธีการ การทำงานของรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจให้กระชับรัดกุมมากยิ่งขึ้น มุ่งให้เกิดผลทั้งเศรษฐกิจมหภาค และจุลภาค โดยเฉพาะประโยชน์แก่ผู้มีรายได้น้อย ซึ่งต้องสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนปฏิรูปประเทศ และนโยบายเร่งด่วนที่ได้แถลงต่อรัฐสภาไว้
ทั้งนี้ ยังเชื่อมั่นว่า นายกฯ ยังไม่มีแนวคิดการปรับครม. หรือทีมเศรษฐกิจ มีแต่ช่วยกันเดินหน้าขับเคลื่อนมาตรการต่างๆ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนทุกกลุ่ม อาชีพ ซึ่งจะมีมาตรการต่างๆกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาอย่างต่อเนื่อง
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ยังกล่าวด้วยว่า เปิดเผยว่า นายกฯ ได้ติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด โดยกระทรวงอุตสาหกรรม รายงานมาว่าตั้งแต่ 1 ม.ค.-12 พ.ย.62 มีการยื่นขอ "เปิดกิจการ" โรงงานใหม่ สูงถึง 2,889 โรงงาน มีการจ้างงานสูงถึง 84,033 คน และมีการจ้างงานเพิ่มจากการ“ขยายโรงงาน”อีก 84,704 คน
ขณะที่การยื่นขอ "ปิดกิจการ" โรงงานมี 1,391 โรงงาน มีการเลิกจ้างงาน 35,533 คน กล่าวคือ มีโรงงานเปิดใหม่สูงขึ้นกว่าปิดกิจการ กว่า 2 เท่าตัว และพบว่าในปีนี้ มีเงินลงทุนเพิ่มสูงถึง 4.31แสนล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 36.6% สอดคล้องกับข้อมูลกระทรวงแรงงาน ที่รายงานว่ายังมีตำแหน่งงานว่างถึง 79,000 อัตรา
สำหรับการขอใบอนุญาตประกอบกิจการ หรือ ใบรง.4 ในช่วงเดือนม.ค.-ก.ย. 62 จำนวน 3,184 โรงงาน มีการลงทุนสูงถึง 3.67 แสนล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน แบ่งเป็นการเปิดกิจการใหม่ 2,519 โรงงาน เพิ่มขึ้น 47.9% และการขยายกิจการ 665 โรงงาน เพิ่มขึ้น 32.51% สะท้อนให้เห็นว่าเศรษฐกิจของไทยยังเติบโต
ส่วนการเปิดโรงงานใหม่และขยายโรงงานในโครงการ อีอีซี ช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา มีการขอใบอนุญาตประกอบกิจการ รง.4 และขยายกิจการ 402 โรงงาน มีมูลค่าการลงทุน 8.35 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 4.29 หมื่นล้านบาทในช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายตามนโยบายของรัฐบาล ที่มีมูลค่าการลงทุนสูงสุด 5 อันดับแรกได้แก่ อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร อิเล็กทรอนิกส์ หุ่นยนต์และแขนกล ท่องเที่ยวสุขภาพ และยานยนต์ ตามลำดับ
นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและประธานอนุกรรมการบริหารการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี) เปิดเผยในงานสัมมนา”EEC NEXT : ทุนไทย-เทศ ปักหมุด EEC “จัดโดยน.ส.พ.กรุงเทพธุรกิจ ว่า ขณะนี้คลังกำลังหารือที่จะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจในประเทศต่อเนื่องเพื่อให้ไทยเดินหน้าต่อไปได้ท่ามกลางความผันผวนของเศรษฐกิจโลกโดยคาดว่าจะมาตรการจะออกได้ก่อนสิ้นปีนี้ที่อาจเป็นของขวัญให้กับประชาชนในภาพรวม
“มีความเป็นไปได้ที่จะมีมาตรการออกมาเร็วๆ นี้ และคาดว่าจะเป็นแพ็คเกจเพื่อสนับสนุนให้ได้ทุกภาคส่วนและให้มีการช่วยเหลือประชาชนในวงกว้าง ทั้งการอุปโภคบริโภค การพัฒนาแรงงาน ด้านอสังหาริมทรัพย์ และการท่องเที่ยว พยายามจะให้มาตรการจะออกมาก่อนสิ้นปีนี้และหากจะมองว่าเป็นของขวัญปีใหม่ก็คงจะได้ แต่ทั้งหมดต้องผ่านการนำเสนอในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)ก่อนส่วนจะเป็นด้านไหนบ้างคงต้องขอดูรายละเอียดก่อน "นายอุตตม กล่าว
สำหรับระยะต่อไปของการพัฒนาอีอีซีนั้น ปี 2563 เป็นปีที่กำลังจะก้าวสู่ปีที่ 4 ของการพัฒนาอีอีซีใน 3 จ.นำร่อง(ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา) ทางสำนักงานอีอีซีจะร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาทิ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) ฯลฯ จะดำเนินนโยบายเชิงรุกพบปะหรือโรดโชว์นักลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศในการดึงดูดการลงทุนโดยใช้ศักยภาพที่ไทยจะเป็นประตูสู่เอเชีย
“ขณะนี้นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศมีความสนใจที่จะลงทุนในอีอีซีชัดเจนขึ้นโดยเฉพาะอุตสาหกรรมเป้าหมาย ทั้งยานยนต์ไฟฟ้า การแพทย์สมัยใหม่ การดูแลด้านสภาพแวดล้อม รวมถึงการลงทุนศูนย์กลางทางการเงินในอีอีซี ทั้งมาจากยุโรปและญี่ปุ่น ซึ่งปัจจัยสำคัญมาจากการที่เราได้ดำเนินการพัฒนา 5 โครงสร้างพื้นฐานหลักในอีอีซีที่เริ่มลงนามกับเอกชนในการพัฒนาที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น การประกาศผังเมือง รวมถึงการพัฒนาบุคคลากร ฯลฯ “
นายอุตตม กล่าวว่า EEC NEXT หลังจาก 3 ปีที่ผ่านมา ได้ทำโครงสร้างพื้นฐาน กฏหมายที่เกี่ยวข้องชัดเจนซึ่งยังคงต้องดำเนินงานต่อเนื่องเพราะเป็นเรื่องนโยบายระยะยาวเพื่อปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไทยรองรับการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคตซึ่งจะรวมถึงการพัฒนาทักษะของคนไทยให้สอดรับด้วย อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวมีเพียงภูมิภาคเอเชียเท่านั้นที่จะเติบโตและไทยคือประตูสู่เอเชียซึ่ง อีอีซีถูกออกแบบมาไม่ใช่เชื่อมโยงในประเทศแต่ยังเชื่อมโยงกับประเทศต่างๆในภูมิภาค
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า การพัฒนาอีอีซีที่ผ่านมาแบ่งเป็น 3 เฟส โดยเฟสแรกได้เตรียมออกกฏหมายที่เกี่ยวข้อง และสร้างกลไกการขับเคลื่อนแผน เฟส 2 วางโครงสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่สำคัญที่มีความคืบหน้ามากขึ้น และเฟสที่ 3 การชักจูงการลงทุนและการพัฒนาอุตสาหกรรมซึ่งได้มุ่งเน้นอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ให้สอดรับกับเทคโนโลยีของโลกที่เปลี่ยนไปซึ่งการขับเคลื่อนอีอีซีระยะต่อไปกระทรวงอุตสาหกรรมจะต่อยอดขยายผลเพื่อให้เกิดการลงทุนจริงในพื้นที่ให้มากขึ้น
“เป้าหมายการลงทุนในอีอีซี 3 แสนล้านบาทต่อปี ยังไม่ปรับเป้าแม้เศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวก็ตาม นอกเหนือจากโครงสร้างพื้นฐาน 5 โครงการใหญ่ๆจะมีความคืบหน้าทั้งรถไฟความเร็วสูง ท่าเรือมาบตาพุดเฟส 3 และเร็วๆนี้สนามบินอู่ตะเภาก็น่าจะจบเร็วๆนี้แล้ว ก็ยังมีเรื่องการเตรียมพื้นที่รองรับการลงทุนไว้พร้อมแล้ว 6,500 ไร่และหากไม่พอก็ยังมีอีก 5,000 ไร่สำหรับภาคอุตสาหกรรม”รมว.อุตสาหกรรมกล่าว
นายณัฎฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า เป็นครั้งแรกที่กระทรวงฯจับมืออีอีซีที่ได้ทำงานร่วมกันจึงได้รับทราบถึงปัญหาของภาคเอกชนที่กังวลการขาดแคลนแรงงานทักษะสูงเพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมสมัยใหม่ ดังนั้นกระทรวงฯได้ปรับแผนงานต่างๆที่จะสร้างคนให้ตรงกับความต้องการตลาดโดยเฉพาะอาชีวะ และการเพิ่มทักษะฝีมือแรงงาน
ยัน นายกฯยังไม่มีแนวคิดปรับทีมศก.
นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณี นายกรัฐมนตรี พูดถึงเรื่องการปรับรูปแบบการทำงานของครม.เศรษฐกิจ ว่า นายกฯ ต้องการสื่อสารผ่านสื่อมวลชนว่า รัฐบาลรับทราบ และเข้าใจถึงสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันเป็นอย่างดี จึงได้มีการหารือระหว่างการประชุมครม. ถึงแนวทาง รูปแบบ วิธีการ การทำงานของรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจให้กระชับรัดกุมมากยิ่งขึ้น มุ่งให้เกิดผลทั้งเศรษฐกิจมหภาค และจุลภาค โดยเฉพาะประโยชน์แก่ผู้มีรายได้น้อย ซึ่งต้องสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนปฏิรูปประเทศ และนโยบายเร่งด่วนที่ได้แถลงต่อรัฐสภาไว้
ทั้งนี้ ยังเชื่อมั่นว่า นายกฯ ยังไม่มีแนวคิดการปรับครม. หรือทีมเศรษฐกิจ มีแต่ช่วยกันเดินหน้าขับเคลื่อนมาตรการต่างๆ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนทุกกลุ่ม อาชีพ ซึ่งจะมีมาตรการต่างๆกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาอย่างต่อเนื่อง
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ยังกล่าวด้วยว่า เปิดเผยว่า นายกฯ ได้ติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด โดยกระทรวงอุตสาหกรรม รายงานมาว่าตั้งแต่ 1 ม.ค.-12 พ.ย.62 มีการยื่นขอ "เปิดกิจการ" โรงงานใหม่ สูงถึง 2,889 โรงงาน มีการจ้างงานสูงถึง 84,033 คน และมีการจ้างงานเพิ่มจากการ“ขยายโรงงาน”อีก 84,704 คน
ขณะที่การยื่นขอ "ปิดกิจการ" โรงงานมี 1,391 โรงงาน มีการเลิกจ้างงาน 35,533 คน กล่าวคือ มีโรงงานเปิดใหม่สูงขึ้นกว่าปิดกิจการ กว่า 2 เท่าตัว และพบว่าในปีนี้ มีเงินลงทุนเพิ่มสูงถึง 4.31แสนล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 36.6% สอดคล้องกับข้อมูลกระทรวงแรงงาน ที่รายงานว่ายังมีตำแหน่งงานว่างถึง 79,000 อัตรา
สำหรับการขอใบอนุญาตประกอบกิจการ หรือ ใบรง.4 ในช่วงเดือนม.ค.-ก.ย. 62 จำนวน 3,184 โรงงาน มีการลงทุนสูงถึง 3.67 แสนล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน แบ่งเป็นการเปิดกิจการใหม่ 2,519 โรงงาน เพิ่มขึ้น 47.9% และการขยายกิจการ 665 โรงงาน เพิ่มขึ้น 32.51% สะท้อนให้เห็นว่าเศรษฐกิจของไทยยังเติบโต
ส่วนการเปิดโรงงานใหม่และขยายโรงงานในโครงการ อีอีซี ช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา มีการขอใบอนุญาตประกอบกิจการ รง.4 และขยายกิจการ 402 โรงงาน มีมูลค่าการลงทุน 8.35 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 4.29 หมื่นล้านบาทในช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายตามนโยบายของรัฐบาล ที่มีมูลค่าการลงทุนสูงสุด 5 อันดับแรกได้แก่ อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร อิเล็กทรอนิกส์ หุ่นยนต์และแขนกล ท่องเที่ยวสุขภาพ และยานยนต์ ตามลำดับ