DSI พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นำเจ้าหน้าที่ค้น 5 จุด บริษัทนำสารอันตราย “พาราควอต-ไกลโฟเซต” ผสมในผลิตภัณฑ์ชีวภาพอินทรีย์ หลอกขายให้ประชาชนผ่านเฟซบุ๊ก พบมีความผิดหลายกระทง
วานนี้ (14 พ.ย.) เวลา 09.00 น. ว่าที่ ร.ต.ธนกฤต จิตรอารีย์รัตน์ เลขานุการ รมว.ยุติธรรม พร้อมด้วย พ.ต.อ.ไพสิฐ วงศ์เมือง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ), พ.ต.ท.วรรณพงษ์ คชรักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ และเจ้าหน้าที่จากกองคดีคุ้มครองผู้บริโภคและศูนย์ปฏิบัติการคดีพิเศษเขตพื้นที่ 3 (นครราชสีมา) ดีเอสไอ บูรณาการร่วมกับกรมวิชาการเกษตร โดยมี นายสุรเดช ปัจฉิมกุล รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร เข้าตรวจค้นบริษัทและแหล่งผลิตและจำหน่ายวัตถุอันตราย จำนวน 5 จุดพร้อมกัน
ประกอบด้วย 1. บริษัท สมาร์ท ไบโอเทค คอร์ปอเรชั่น จำกัด ตั้งอยู่ที่ จ.นนทบุรี จำนวน 2 จุด (คดีพิเศษที่ 73/2562) เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายสารชีวภัณฑ์กำจัดวัชพืช ยี่ห้อ “สมาร์ทไบโอ” รวมทั้งมีผลิตภัณฑ์ชนิดอื่นๆ อีกหลายชนิด เช่น สารเสริมประสิทธิภาพกำจัดโรคพืช ยี่ห้อ“ท็อปเคลียร์” สารปรับสภาพน้ำชนิดพิเศษ ยี่ห้อ “สมาร์ท ไบโอ อะควอ” และปุ๋ย เป็นต้น และ 2.บริษัท วีไอพี คิงดอม 999 จำกัด ตั้งอยู่ที่ จ.ปทุมธานี จำนวน 1 จุด และ จ.นครราชสีมา จำนวน 2 จุด (คดีพิเศษที่ 74/2562) ผู้ผลิตและจำหน่ายสารชีวภัณฑ์กำจัดวัชพืช ยี่ห้อ “ซุปเปอร์ไลค์” รวมทั้งมีผลิตภัณฑ์ชนิดอื่นๆ อีกหลายชนิด เช่น จำหน่ายยาฆ่าแมลง ยี่ห้อ “ออแกนิค คิล” จำหน่ายปุ๋ยสินแร่นาโน บูม ชนิดเม็ด เป็นต้น
ว่าที่ ร.ต.ธนกฤต เปิดเผยว่า นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.ยุติธรรม ให้ความสำคัญเรื่องการใช้สารผลิตภัณฑ์การเกษตรที่มีวัตถุออกฤทธิ์อันตราย จึงบูรณาการร่วมกันหลายหน่วยงานเข้าตรวจค้น 5 จุดดังกล่าวพร้อมกันเพื่อตรวจยึดและอายัดสารเคมี ซึ่งบริษัทมีการโฆษณาผ่านเฟซบุ๊กว่าเป็นผลิตภัณฑ์ชีวภาพอินทรีย์ใช้กำจัดวัชพืช แต่ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวแอบใส่สารเคมีพาราควอต และไกลโฟเซต โดยเกษตรกรนำไปใช้แบบไม่รู้ ขณะที่พิษภัยของสารเคมีดังกล่าวมีผลร้ายแรงอันตรายมีผลกระทบต่อร่างกายและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเศรษฐกิจ พบว่าสารปนเปื้อนถูกนำไปใช้ในพืชผักที่คนบริโภคจึงเข้าไปสะสมในร่างกาย ส่งผลให้มีผู้เจ็บป่วย 5,000 ราย และเสียชีวิต 500 คนต่อปี
ด้าน พ.ต.ท.ไพสิฐ กล่าวเสริมว่า ได้รับเรื่องร้องว่ามีบริษัทนำสารพาราควอต และไกลโฟเซต ผสมในผลิตภัณฑ์ชีวภาพอินทรีย์ เจ้าหน้าที่จึงสืบสวนพบว่าบริษัทดังกล่าวมีรายได้จากการขายสารเคมี 2 ตัว จำนวนเงิน 10 กว่าล้านบาทต่อเดือน โดยจะนำวัตถุพยานจากทั้ง 5 จุดส่งตรวจที่สถาบันนิติวิทยาศาสตร์สอบขยายผลความผิดต่อไป
“ทางบริษัทผู้ขายได้โฆษณาว่าเป็นผลิตภัณฑ์สารชีวภาพแต่กลับมีการนำสารเคมีพาราควอต และไกลโฟเซตผสม ซึ่งเกษตรกรและผู้ประกอบการที่ซื้อสินค้าดังกล่าวไปใช้ไม่ทราบความจริงจึงทำให้ไม่มีการระมัดระวังในการสัมผัส รวมทั้งการนำสินค้าเกษตรไปจำหน่ายส่งผลอันตรายทั้งต่อผู้ใช้และผู้บริโภค จึงเป็นที่มาดีเอสไอต้องเข้าตรวจค้นและยึดสินค้า” พ.ต.ท.ไพสิฐ ระบุ
ขณะที่ นายธานินทร์ เปรมปรีดิ์ ผู้อำนวยการกองคดีคุ้มครองผู้บริโภค ดีเอสไอ เปิดเผยว่า บริษัทดังกล่าวได้มีการนำสารพาราควอตไดคลอไรด์ และไกลโฟเซต ไอโซโพรพิลแอมโมเนียม ซึ่งเป็นสารควบคุมตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย พ.ศ. 2556 บัญชี 1.1 ลำดับที่ 353 และลำดับที่ 43 ที่เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 มาผสมกับผลิตภัณฑ์ชีวภาพอินทรีย์โดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฏหมายและขายผ่านทางสื่อโซเซียลมีเดีย ทำให้ผู้ซื้อไปใช้เข้าใจผิดคิดว่าผลิตภัณฑ์ชีวภาพดังกล่าวไม่มีผลต่อสุขภาพ เป็นเหตุทำให้ผู้ซื้อได้รับอันตรายต่อสุขภาพจากการใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว
“การกระทำดังกล่าวเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 ฐานผลิต หรือมีไว้ในครอบครอง ซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 โดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ, พ.ร.บ.การสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547, พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ที่มีหรือมีมูลน่าเชื่อว่ามีมูลค่าวัตถุอันตรายตั้งแต่สิบล้านบาทขึ้นไป หรือมีจำนวนผู้เสียหายตั้งแต่หนึ่งร้อยคนขึ้นไป โดยคดีนี้จากการสืบสวนเบื้องต้นน่าเชื่อว่ามีความเสียหายมากกว่า 10 ล้านบาทขึ้นไป และมีผู้ได้รับผลกระทบจากวัตถุอันตรายดังกล่าวมากว่า 1,000 ราย นอกจากนี้ อาจเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.ปุ๋ย พ.ศ. 2518 เนื่องจากมีการผลิตปุ๋ยเพื่อการค้า โดยไม่ได้ขึ้นทะเบียนหรือไม่ได้รับอนุญาต และอาจเข้าข่ายความผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 เนื่องจากมีการนำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จ โดยประการที่จะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน” นายธานินทร์ กล่าว
วานนี้ (14 พ.ย.) เวลา 09.00 น. ว่าที่ ร.ต.ธนกฤต จิตรอารีย์รัตน์ เลขานุการ รมว.ยุติธรรม พร้อมด้วย พ.ต.อ.ไพสิฐ วงศ์เมือง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ), พ.ต.ท.วรรณพงษ์ คชรักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ และเจ้าหน้าที่จากกองคดีคุ้มครองผู้บริโภคและศูนย์ปฏิบัติการคดีพิเศษเขตพื้นที่ 3 (นครราชสีมา) ดีเอสไอ บูรณาการร่วมกับกรมวิชาการเกษตร โดยมี นายสุรเดช ปัจฉิมกุล รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร เข้าตรวจค้นบริษัทและแหล่งผลิตและจำหน่ายวัตถุอันตราย จำนวน 5 จุดพร้อมกัน
ประกอบด้วย 1. บริษัท สมาร์ท ไบโอเทค คอร์ปอเรชั่น จำกัด ตั้งอยู่ที่ จ.นนทบุรี จำนวน 2 จุด (คดีพิเศษที่ 73/2562) เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายสารชีวภัณฑ์กำจัดวัชพืช ยี่ห้อ “สมาร์ทไบโอ” รวมทั้งมีผลิตภัณฑ์ชนิดอื่นๆ อีกหลายชนิด เช่น สารเสริมประสิทธิภาพกำจัดโรคพืช ยี่ห้อ“ท็อปเคลียร์” สารปรับสภาพน้ำชนิดพิเศษ ยี่ห้อ “สมาร์ท ไบโอ อะควอ” และปุ๋ย เป็นต้น และ 2.บริษัท วีไอพี คิงดอม 999 จำกัด ตั้งอยู่ที่ จ.ปทุมธานี จำนวน 1 จุด และ จ.นครราชสีมา จำนวน 2 จุด (คดีพิเศษที่ 74/2562) ผู้ผลิตและจำหน่ายสารชีวภัณฑ์กำจัดวัชพืช ยี่ห้อ “ซุปเปอร์ไลค์” รวมทั้งมีผลิตภัณฑ์ชนิดอื่นๆ อีกหลายชนิด เช่น จำหน่ายยาฆ่าแมลง ยี่ห้อ “ออแกนิค คิล” จำหน่ายปุ๋ยสินแร่นาโน บูม ชนิดเม็ด เป็นต้น
ว่าที่ ร.ต.ธนกฤต เปิดเผยว่า นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.ยุติธรรม ให้ความสำคัญเรื่องการใช้สารผลิตภัณฑ์การเกษตรที่มีวัตถุออกฤทธิ์อันตราย จึงบูรณาการร่วมกันหลายหน่วยงานเข้าตรวจค้น 5 จุดดังกล่าวพร้อมกันเพื่อตรวจยึดและอายัดสารเคมี ซึ่งบริษัทมีการโฆษณาผ่านเฟซบุ๊กว่าเป็นผลิตภัณฑ์ชีวภาพอินทรีย์ใช้กำจัดวัชพืช แต่ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวแอบใส่สารเคมีพาราควอต และไกลโฟเซต โดยเกษตรกรนำไปใช้แบบไม่รู้ ขณะที่พิษภัยของสารเคมีดังกล่าวมีผลร้ายแรงอันตรายมีผลกระทบต่อร่างกายและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเศรษฐกิจ พบว่าสารปนเปื้อนถูกนำไปใช้ในพืชผักที่คนบริโภคจึงเข้าไปสะสมในร่างกาย ส่งผลให้มีผู้เจ็บป่วย 5,000 ราย และเสียชีวิต 500 คนต่อปี
ด้าน พ.ต.ท.ไพสิฐ กล่าวเสริมว่า ได้รับเรื่องร้องว่ามีบริษัทนำสารพาราควอต และไกลโฟเซต ผสมในผลิตภัณฑ์ชีวภาพอินทรีย์ เจ้าหน้าที่จึงสืบสวนพบว่าบริษัทดังกล่าวมีรายได้จากการขายสารเคมี 2 ตัว จำนวนเงิน 10 กว่าล้านบาทต่อเดือน โดยจะนำวัตถุพยานจากทั้ง 5 จุดส่งตรวจที่สถาบันนิติวิทยาศาสตร์สอบขยายผลความผิดต่อไป
“ทางบริษัทผู้ขายได้โฆษณาว่าเป็นผลิตภัณฑ์สารชีวภาพแต่กลับมีการนำสารเคมีพาราควอต และไกลโฟเซตผสม ซึ่งเกษตรกรและผู้ประกอบการที่ซื้อสินค้าดังกล่าวไปใช้ไม่ทราบความจริงจึงทำให้ไม่มีการระมัดระวังในการสัมผัส รวมทั้งการนำสินค้าเกษตรไปจำหน่ายส่งผลอันตรายทั้งต่อผู้ใช้และผู้บริโภค จึงเป็นที่มาดีเอสไอต้องเข้าตรวจค้นและยึดสินค้า” พ.ต.ท.ไพสิฐ ระบุ
ขณะที่ นายธานินทร์ เปรมปรีดิ์ ผู้อำนวยการกองคดีคุ้มครองผู้บริโภค ดีเอสไอ เปิดเผยว่า บริษัทดังกล่าวได้มีการนำสารพาราควอตไดคลอไรด์ และไกลโฟเซต ไอโซโพรพิลแอมโมเนียม ซึ่งเป็นสารควบคุมตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย พ.ศ. 2556 บัญชี 1.1 ลำดับที่ 353 และลำดับที่ 43 ที่เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 มาผสมกับผลิตภัณฑ์ชีวภาพอินทรีย์โดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฏหมายและขายผ่านทางสื่อโซเซียลมีเดีย ทำให้ผู้ซื้อไปใช้เข้าใจผิดคิดว่าผลิตภัณฑ์ชีวภาพดังกล่าวไม่มีผลต่อสุขภาพ เป็นเหตุทำให้ผู้ซื้อได้รับอันตรายต่อสุขภาพจากการใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว
“การกระทำดังกล่าวเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 ฐานผลิต หรือมีไว้ในครอบครอง ซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 โดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ, พ.ร.บ.การสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547, พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ที่มีหรือมีมูลน่าเชื่อว่ามีมูลค่าวัตถุอันตรายตั้งแต่สิบล้านบาทขึ้นไป หรือมีจำนวนผู้เสียหายตั้งแต่หนึ่งร้อยคนขึ้นไป โดยคดีนี้จากการสืบสวนเบื้องต้นน่าเชื่อว่ามีความเสียหายมากกว่า 10 ล้านบาทขึ้นไป และมีผู้ได้รับผลกระทบจากวัตถุอันตรายดังกล่าวมากว่า 1,000 ราย นอกจากนี้ อาจเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.ปุ๋ย พ.ศ. 2518 เนื่องจากมีการผลิตปุ๋ยเพื่อการค้า โดยไม่ได้ขึ้นทะเบียนหรือไม่ได้รับอนุญาต และอาจเข้าข่ายความผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 เนื่องจากมีการนำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จ โดยประการที่จะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน” นายธานินทร์ กล่าว