ผู้จัดการรายวัน360-"กกพ."มอบของขวัญปีใหม่ลดค่าครองชีพคนไทย เคาะตรึงค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (เอฟที) งวดม.ค.-เม.ย. 63 คงเดิมที่ -11.60 สตางค์ต่อหน่วย ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยที่เรียกเก็บอยู่ที่ 3.64 บาทต่อหน่วย เป็นการตรึง 4 งวดติดต่อกัน นับตั้งแต่งวดม.ค.-เม.ย.62 รวม 16 เดือน ส่วนงวดพ.ค.-ส.ค.63 คาดทิศทางเชื้อเพลิงยังลดลง แต่ต้องติดตามใกล้ชิด แย้มโซลาร์ภาคประชาชนมีคนยื่นแล้วกว่า 900 ราย จำนวน 4.85 เมกะวัตต์ จากเป้า 100 เมกะวัตต์ ส่วนจะเปลี่ยนเงื่อนไขรับซื้อหรือไม่ ต้องรอนโยบายชี้ขาด
น.ส.นฤภัทร อมรโฆษิต เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ในฐานะโฆษก กกพ. เปิดเผยว่า คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) มีมติให้คงอัตราค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่าเอฟที) สำหรับการเรียกเก็บจากประประชาชนงวดเดือนม.ค.-เม.ย.2563 จำนวน -11.60 สตางค์ต่อหน่วย ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.64 บาทต่อหน่วย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) คาดว่าจะใช้เงินประมาณ 6,869 ล้านบาท ในการบริหารจัดการเพื่อรักษาค่าเอฟทีให้อยู่ในระดับเดิม เพื่อดูแลค่าครองชีพประชาชนและช่วยให้เศรษฐกิจในประเทศปรับตัวดีขึ้น ซึ่งการตรึงค่าเอฟทีในระดับดังกล่าว ถือเป็นการตรึงมาตั้งแต่ต้นปี 2562รวม4งวด หรือรวมแล้ว 16เดือน
ทั้งนี้ การบริหารจัดการค่าเอฟทีงวดนี้ ได้นำเงินมาจากค่าปรับกรณีโรงไฟฟ้าไม่สามารถปฏิบัติได้ตามสัญญาและกรณีขาดส่งก๊าซธรรมชาติ จำนวน 264.97 ล้านบาท และส่วนที่เหลืออีก 6,604 ล้านบาท มาจากการกำกับฐานะการเงินให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กกพ.กำหนด ซึ่งเป็นผลมาจากการประมาณการค่าเชื้อเพลิงในงวดปัจจุบัน (ก.ย.-ธ.ค.2562) เทียบกับราคาเชื้อเพลิง ณ ปัจจุบัน ยังต่ำกว่าที่ประมาณการที่ตั้งไว้ และทำให้ยังมีเงินคงเหลือในการบริหารจัดการค่าเอฟที
สำหรับปัจจัยที่ส่งผลดีต่อค่าเอฟทีให้ปรับตัวดีขึ้นจากงวดก่อน ได้แก่ อัตราแลกเปลี่ยนเดือนก.ย.อยู่ที่ 30.60 บาทต่อเหรียญสหรัฐ หรือแข็งค่าขึ้นกว่าช่วงที่ประมาณการในงวดเดือนก.ย.-ธ.ค.2562 ซึ่งใช้อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยเดือนพ.ค.2562 ที่ 31.80 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ราคาเชื้อเพลิงการผลิตไฟคาดว่าในงวดถัดไปจะอยู่ที่ 266.69 บาทต่อล้านบีทียู ปรับตัวลดลงจากงวดที่ผ่านมา 23.70 บาทต่อล้านบีทียู ราคาถ่านหินนำเข้าเฉลี่ยโรงไฟฟ้าเอกชนลดลงจากงวดที่ผ่านมา 267.71 บาทต่อตัน ขณะที่ความต้องการพลังงานไฟฟ้าช่วงม.ค.-เม.ย.2563เท่ากับ 65,724 ล้านหน่วย ปรับเพิ่มขึ้นจากก.ย.-ธ.ค.2562 เท่ากับ 64,195 ล้านหน่วย หรือเพิ่มขึ้น 2.38% ตามสภาพความต้องการไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากเข้าสู่ฤดูร้อน
"ที่ผ่านมา เราบริหารจัดการค่าเอฟที เพื่อดูแลค่าครองชีพประชาชนเป็นสำคัญ และงวดนี้ ปัจจัยราคาก๊าซและอัตราแลกเปลี่ยนส่งผลดีให้ค่าเอฟทีในส่วนของเชื้อเพลิงลดลงได้ แต่ยังไม่สามารถตรึงระดับ -11.60 สตางค์ต่อหน่วย จึงใช้เงินที่ได้จากการบริหารจัดการมาดูแลเฉลี่ย ส่วนงวดพ.ค.-ส.ค.2563 ในส่วนของเชื้อเพลิงมีทิศทางที่น่าจะลดลงจากระดับราคาน้ำมันที่จะสะท้อนมายังราคาก๊าซฯ แต่ก็ต้องติดตามหลายปัจจัย"น.ส.นฤภัทรกล่าว
ส่วนความคืบหน้าโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar PV Rooftop) สำหรับประชาชน หรือโซลาร์ภาคประชาชน ที่ให้ครัวเรือนผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์บนหลังคาเน้นใช้เองก่อนที่เหลือสามารถเสนอขายไฟเข้าระบบได้ราคา 1.68 บาทต่อหน่วย เป็นระยะเวลา 10 ปี นำร่อง 100 เมกะวัตต์นั้น ขณะนี้มีผู้ยื่น 900 กว่ารายคิดเป็นจำนวน 4.85 เมกะวัตต์ ส่วนจะมีการปรับเปลี่ยนเงื่อนไขการรับซื้อหรือไม่นั้น คงจะต้องรอนโยบายจากภาครัฐเป็นสำคัญ
น.ส.นฤภัทร อมรโฆษิต เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ในฐานะโฆษก กกพ. เปิดเผยว่า คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) มีมติให้คงอัตราค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่าเอฟที) สำหรับการเรียกเก็บจากประประชาชนงวดเดือนม.ค.-เม.ย.2563 จำนวน -11.60 สตางค์ต่อหน่วย ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.64 บาทต่อหน่วย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) คาดว่าจะใช้เงินประมาณ 6,869 ล้านบาท ในการบริหารจัดการเพื่อรักษาค่าเอฟทีให้อยู่ในระดับเดิม เพื่อดูแลค่าครองชีพประชาชนและช่วยให้เศรษฐกิจในประเทศปรับตัวดีขึ้น ซึ่งการตรึงค่าเอฟทีในระดับดังกล่าว ถือเป็นการตรึงมาตั้งแต่ต้นปี 2562รวม4งวด หรือรวมแล้ว 16เดือน
ทั้งนี้ การบริหารจัดการค่าเอฟทีงวดนี้ ได้นำเงินมาจากค่าปรับกรณีโรงไฟฟ้าไม่สามารถปฏิบัติได้ตามสัญญาและกรณีขาดส่งก๊าซธรรมชาติ จำนวน 264.97 ล้านบาท และส่วนที่เหลืออีก 6,604 ล้านบาท มาจากการกำกับฐานะการเงินให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กกพ.กำหนด ซึ่งเป็นผลมาจากการประมาณการค่าเชื้อเพลิงในงวดปัจจุบัน (ก.ย.-ธ.ค.2562) เทียบกับราคาเชื้อเพลิง ณ ปัจจุบัน ยังต่ำกว่าที่ประมาณการที่ตั้งไว้ และทำให้ยังมีเงินคงเหลือในการบริหารจัดการค่าเอฟที
สำหรับปัจจัยที่ส่งผลดีต่อค่าเอฟทีให้ปรับตัวดีขึ้นจากงวดก่อน ได้แก่ อัตราแลกเปลี่ยนเดือนก.ย.อยู่ที่ 30.60 บาทต่อเหรียญสหรัฐ หรือแข็งค่าขึ้นกว่าช่วงที่ประมาณการในงวดเดือนก.ย.-ธ.ค.2562 ซึ่งใช้อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยเดือนพ.ค.2562 ที่ 31.80 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ราคาเชื้อเพลิงการผลิตไฟคาดว่าในงวดถัดไปจะอยู่ที่ 266.69 บาทต่อล้านบีทียู ปรับตัวลดลงจากงวดที่ผ่านมา 23.70 บาทต่อล้านบีทียู ราคาถ่านหินนำเข้าเฉลี่ยโรงไฟฟ้าเอกชนลดลงจากงวดที่ผ่านมา 267.71 บาทต่อตัน ขณะที่ความต้องการพลังงานไฟฟ้าช่วงม.ค.-เม.ย.2563เท่ากับ 65,724 ล้านหน่วย ปรับเพิ่มขึ้นจากก.ย.-ธ.ค.2562 เท่ากับ 64,195 ล้านหน่วย หรือเพิ่มขึ้น 2.38% ตามสภาพความต้องการไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากเข้าสู่ฤดูร้อน
"ที่ผ่านมา เราบริหารจัดการค่าเอฟที เพื่อดูแลค่าครองชีพประชาชนเป็นสำคัญ และงวดนี้ ปัจจัยราคาก๊าซและอัตราแลกเปลี่ยนส่งผลดีให้ค่าเอฟทีในส่วนของเชื้อเพลิงลดลงได้ แต่ยังไม่สามารถตรึงระดับ -11.60 สตางค์ต่อหน่วย จึงใช้เงินที่ได้จากการบริหารจัดการมาดูแลเฉลี่ย ส่วนงวดพ.ค.-ส.ค.2563 ในส่วนของเชื้อเพลิงมีทิศทางที่น่าจะลดลงจากระดับราคาน้ำมันที่จะสะท้อนมายังราคาก๊าซฯ แต่ก็ต้องติดตามหลายปัจจัย"น.ส.นฤภัทรกล่าว
ส่วนความคืบหน้าโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar PV Rooftop) สำหรับประชาชน หรือโซลาร์ภาคประชาชน ที่ให้ครัวเรือนผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์บนหลังคาเน้นใช้เองก่อนที่เหลือสามารถเสนอขายไฟเข้าระบบได้ราคา 1.68 บาทต่อหน่วย เป็นระยะเวลา 10 ปี นำร่อง 100 เมกะวัตต์นั้น ขณะนี้มีผู้ยื่น 900 กว่ารายคิดเป็นจำนวน 4.85 เมกะวัตต์ ส่วนจะมีการปรับเปลี่ยนเงื่อนไขการรับซื้อหรือไม่นั้น คงจะต้องรอนโยบายจากภาครัฐเป็นสำคัญ