คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านพลังงานหนุนกระทรวงพลังงาน เร่งศึกษาจัดทำแผนแม่บทพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตเคมี เฟส 4 มุ่งดันโรงกลั่นน้ำมันในประเทศ ยกระดับผลิตปิโตรเคมีพื้นฐานแนฟทา รับอนาคตก๊าซฯอ่าวไทยหมด บูมลงทุนกว่า 3 แสนล้าน รับอุตสาหกรรมเป้าหมาย อีอีซี ก.อุตฯ คาดกนอ.ได้ข้อสรุปผลศึกษาถมทะเลทันกลุ่ม เอ็กซอนฯ ที่ขีดเส้นขอคำตอบภายในไตรมาสแรกปี 63
นายพรชัย รุจิประภา ประธานคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน เปิดเผยว่า คณะกรรมการฯได้หารืออย่างใกล้ชิดกับกระทรวงพลังงาน เพื่อที่จะให้นโยบายพลังงานเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 ที่มีเป้าหมายให้ไทยหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง โดยหนึ่งในแผนงานสำคัญคือ การพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เฟส 4 ที่คณะกรรมการปฏิรูปได้นำเสนอเพื่อรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมายในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ซึ่งเบื้องต้นรับทราบว่าทางสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) อยู่ระหว่างการว่าจ้างสถาบันปิโตรเลียมศึกษาจัดทำแผนแม่บท (Master Plan)การพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เฟส 4 แล้วคาดว่าจะแล้วเสร็จกลางปี 2563
"คณะกรรมการปฏิรูปฯได้หารือกับ นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พลังงาน และนำเสนอแนวทางการปฏิรูปไปแล้ว และท่านเองก็เห็นสอดรับกับข้อเสนอของเราเพราะหลายๆ เรื่องที่เสนอเป็นการกระตุ้นให้เกิดการลงทุนเพื่อปรับโครงสร้างประเทศให้คงฐานการผลิตเดิม และเพิ่มฐานการผลิตใหม่เพื่อดูแลเศรษฐกิจระดับฐานราก และปิโตรเคมี เฟส 4 ถือเป็นหัวใจของอีอีซี ซึ่งคาดว่าจะก่อให้เกิดการลงทุนในระดับกว่า 3 แสนล้านบาทขั้นต่ำในอนาคต" นายพรชัย กล่าว
ปัจจุบันอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ถือเป็นฐานการผลิตขนาดใหญ่ของไทย ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่อีอีซีอยู่แล้ว และมีโรงกลั่นที่มีศกัยภาพที่พร้อมจะยกระดับไปสู่ปิโตรเคมี เฟส 4 เนื่องจากต้องยอมรับว่า ในอนาคตก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย ที่มีคุณสมบัติเป็นก๊าซเปียกนำมาผลิตปิโตรเคมีได้ จะทยอยหมดลงไปการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) ไม่มีคุณสมบัติในการผลิตปิโตรเคมี ไทยจำเป็นต้องมองการพัฒนาปิโตรเคมี ที่มีพื้นฐานจากแนฟทา ที่มาจากกระบวนการกลั่นน้ำมันมากขึ้น ซึ่งหากไทยมีแผนชัดเจนก็จะทำให้เกิดการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ และยังเป็นการรักษาฐานปิโตรเคมีของไทยให้เป็นศูนย์กลางในภูมิภาคนี้
"การเกิดโรงกลั่นใหม่ๆ ในภูมิภาคนี้ไม่ง่ายเพราะลงทุนสูงมาก แต่ไทยมีโรงกลั่นที่พร้อมอยู่แล้วหากมีแผนพัฒนาที่ชัดเจนเอกชนจะสามารถออกแบบขยายการผลิตและลงทุนได้ทันที ที่จะเป็นการรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายในอีอีซี ซึ่งส่วนตัวมองว่าเอกชนในไทยเองก็พร้อมลงทุนทั้งกลุ่มปตท. กลุ่มเอสโซ่" นายพรชัย กล่าว
สำหรับการปรับโครงสร้างด้านพลังงาน กรณีข้อเสนอให้รวม 3 การไฟฟ้า (การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(PEA)นั้นคงเป็นไปไม่ได้ แต่ได้มีการแก้ไขด้วยการตั้งคณะทำงานร่วมเพื่อที่จะลดความซ้ำซ้อนของแผนการลงทุน และการดำเนินงานต่างๆ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด แทน และได้มีการบูรณาการในการทำงานร่วมกับทางสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) อีกด้วย
แหล่งข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.)ได้มอบให้สถาบันปิโตรเลียมศึกษาแผนถมทะเลนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง เพื่อรองรับการขยายการลงทุนของกลุ่มเอ็กซอนโมบิล ซึ่งต้องการพื้นที่กว่า 1,000 ไร่ ที่เบื้องต้นอาจสรุปได้ภายในสิ้นปีนี้ว่าจะถมได้หรือไม่ แต่ภาพรวมการศึกษาจะแล้วเสร็จต้นปี 63 โดยขณะนี้ทางเอ็กซอนฯได้ขอให้ไทยชัดเจนในเรื่องดังกล่าวภายในไตรมาส 1 ปีหน้า หากไฟเขียวก็พร้อมที่จะเดินหน้าขยายลงทุนโรงกลั่นและปิโตรเคมีในไทย 3.3 แสนล้านบาทและเดินหน้าผลิตในปี 2570
นายพรชัย รุจิประภา ประธานคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน เปิดเผยว่า คณะกรรมการฯได้หารืออย่างใกล้ชิดกับกระทรวงพลังงาน เพื่อที่จะให้นโยบายพลังงานเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 ที่มีเป้าหมายให้ไทยหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง โดยหนึ่งในแผนงานสำคัญคือ การพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เฟส 4 ที่คณะกรรมการปฏิรูปได้นำเสนอเพื่อรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมายในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ซึ่งเบื้องต้นรับทราบว่าทางสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) อยู่ระหว่างการว่าจ้างสถาบันปิโตรเลียมศึกษาจัดทำแผนแม่บท (Master Plan)การพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เฟส 4 แล้วคาดว่าจะแล้วเสร็จกลางปี 2563
"คณะกรรมการปฏิรูปฯได้หารือกับ นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พลังงาน และนำเสนอแนวทางการปฏิรูปไปแล้ว และท่านเองก็เห็นสอดรับกับข้อเสนอของเราเพราะหลายๆ เรื่องที่เสนอเป็นการกระตุ้นให้เกิดการลงทุนเพื่อปรับโครงสร้างประเทศให้คงฐานการผลิตเดิม และเพิ่มฐานการผลิตใหม่เพื่อดูแลเศรษฐกิจระดับฐานราก และปิโตรเคมี เฟส 4 ถือเป็นหัวใจของอีอีซี ซึ่งคาดว่าจะก่อให้เกิดการลงทุนในระดับกว่า 3 แสนล้านบาทขั้นต่ำในอนาคต" นายพรชัย กล่าว
ปัจจุบันอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ถือเป็นฐานการผลิตขนาดใหญ่ของไทย ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่อีอีซีอยู่แล้ว และมีโรงกลั่นที่มีศกัยภาพที่พร้อมจะยกระดับไปสู่ปิโตรเคมี เฟส 4 เนื่องจากต้องยอมรับว่า ในอนาคตก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย ที่มีคุณสมบัติเป็นก๊าซเปียกนำมาผลิตปิโตรเคมีได้ จะทยอยหมดลงไปการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) ไม่มีคุณสมบัติในการผลิตปิโตรเคมี ไทยจำเป็นต้องมองการพัฒนาปิโตรเคมี ที่มีพื้นฐานจากแนฟทา ที่มาจากกระบวนการกลั่นน้ำมันมากขึ้น ซึ่งหากไทยมีแผนชัดเจนก็จะทำให้เกิดการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ และยังเป็นการรักษาฐานปิโตรเคมีของไทยให้เป็นศูนย์กลางในภูมิภาคนี้
"การเกิดโรงกลั่นใหม่ๆ ในภูมิภาคนี้ไม่ง่ายเพราะลงทุนสูงมาก แต่ไทยมีโรงกลั่นที่พร้อมอยู่แล้วหากมีแผนพัฒนาที่ชัดเจนเอกชนจะสามารถออกแบบขยายการผลิตและลงทุนได้ทันที ที่จะเป็นการรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายในอีอีซี ซึ่งส่วนตัวมองว่าเอกชนในไทยเองก็พร้อมลงทุนทั้งกลุ่มปตท. กลุ่มเอสโซ่" นายพรชัย กล่าว
สำหรับการปรับโครงสร้างด้านพลังงาน กรณีข้อเสนอให้รวม 3 การไฟฟ้า (การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(PEA)นั้นคงเป็นไปไม่ได้ แต่ได้มีการแก้ไขด้วยการตั้งคณะทำงานร่วมเพื่อที่จะลดความซ้ำซ้อนของแผนการลงทุน และการดำเนินงานต่างๆ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด แทน และได้มีการบูรณาการในการทำงานร่วมกับทางสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) อีกด้วย
แหล่งข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.)ได้มอบให้สถาบันปิโตรเลียมศึกษาแผนถมทะเลนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง เพื่อรองรับการขยายการลงทุนของกลุ่มเอ็กซอนโมบิล ซึ่งต้องการพื้นที่กว่า 1,000 ไร่ ที่เบื้องต้นอาจสรุปได้ภายในสิ้นปีนี้ว่าจะถมได้หรือไม่ แต่ภาพรวมการศึกษาจะแล้วเสร็จต้นปี 63 โดยขณะนี้ทางเอ็กซอนฯได้ขอให้ไทยชัดเจนในเรื่องดังกล่าวภายในไตรมาส 1 ปีหน้า หากไฟเขียวก็พร้อมที่จะเดินหน้าขยายลงทุนโรงกลั่นและปิโตรเคมีในไทย 3.3 แสนล้านบาทและเดินหน้าผลิตในปี 2570