ต้องยอมรับว่าการเป็นเจ้าภาพของไทยในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน 10 ประเทศ และการประชุมสุดยอดกับประเทศคู่เจรจาอีก 6 ประเทศ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นประเทศมหาอำนาจ หรืออย่างน้อยก็เป็นประเทศเศรษฐกิจชั้นนำ มาร่วมกันอย่างแทบจะพร้อมเพรียง ในช่วงการประชุมที่จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 2- 4 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี
แน่นอนว่าในอาเซียน 10 ชาติ มี กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ บรูไน ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และไทย ที่ในปีนี้รับตำแหน่งประธานของอาเซียนอีกด้วย ขณะที่ประเทศคู่เจรจาดังกล่าว ประกอบด้วย จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ นี่ว่ากันเฉพาะประเทศคู่เจรจาในกลุ่มความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP)รวมไปถึงการประชุมอาเซียนบวกต่างๆ ที่มีประเทศรัสเซีย และสหรัฐอเมริกา
แม้ว่าในรายละเอียดอาจจะมีเสียงวิจารณ์สหรัฐฯกันบ้าง ที่ทางประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ไม่เดินทางมาด้วยตัวเอง หรืออย่างน้อยก็น่าจะส่งระดับ รองประธานาธิบดี หรือไม่ก็ระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมาร่วม แต่นี่ดันส่งที่ปรึกษาด้านความมั่นคงที่เพิ่งได้รับแต่งตั้งเมื่อเดือนที่แล้วเป็นตัวแทนมาร่วมประชุมแทน ซึ่งก็ได้ผลทำให้บรรดาผู้นำกลุ่มประเทศอาเซียนถึง 7 ชาติ บอยคอตไม่เข้าร่วมประชุมกับตัวแทนของสหรัฐฯ ส่งแค่ระดับรัฐมนตรีไปแทนเช่นเดียวกัน เรียกว่า“เอาคืน”กันแบบสมน้ำสมเนื้อ
แต่สิ่งที่เกิดขึ้นถือว่าเป็นภาพที่“เสียหาย”ของสหรัฐฯมากกว่าที่ทำราวกับว่าไม่ให้เกียรติเพื่อน และก็อย่าได้แปลกใจที่งานนี้กลายเป็นเวทีของ จีน ที่สหรัฐฯพยายามกีดกันไปโดยปริยาย เพราะแม้กระทั่งในวง"อินโด-แปซิฟิก" ที่สหรัฐฯ เป็นคนริเริ่มขึ้นมาแท้ๆ ก็กลับไม่ให้ความสำคัญส่งเจ้าหน้าที่ระดับ “กุนซือ”มาเป็นหัวหน้าคณะ มันก็ยิ่งไม่มีความหมาย
กลายเป็นว่างานนี้สหรัฐฯเสียหาย ถูกจีนกลืนกินบทบาทจนหายเข้ากลีบเมฆไปเลย
วกกลับมาที่บทบาทของไทย ในปัจจุบันที่นำโดย "พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา" นายกรัฐมนตรี ที่ถือว่าทำหน้าที่ได้ดีเกินคาด เพราะสามารถค่อยๆ ดึงไทยกลับเข้ามามีบทบาทในภูมิภาคอาเซียนรวมไปถึงบทบาทในเวทีโลกอีกครั้ง จากเดิมที่เราเคยมีบทบาทนำมาก่อน แต่ช่วงหลังค่อยๆ ห่างหาย ถอยออกไปจนแทบจะไม่มีบทบาทใดๆ ในรอบเกือบยี่สิบปีที่ผ่านมา
หากจำกันได้ตั้งแต่ในยุคก่อนหน้านี้ต่อเนื่องมาจนถึงรัฐบาล “ป๋าเปรม”พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ที่ไทยมีบทบาทในเวทีโลกอย่างแข็งขัน โดยเฉพาะในย่านอาเซียนไทยก็จะมีบทบาทนำอยู่เสมอ หรือหากย้อนกลับไปเมื่อหลายปีก่อน ประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศที่ริเริ่มก่อตั้งกลุ่มประเทศอาเซียนขึ้นมา ที่มีสมาชิกเริ่มแรกเพียง 5 ชาติ ก่อนที่จะขยายเติบโตมาเป็น 10 ชาติในวันนี้
**ในยุครัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ช่วงแรกๆ ที่เข้ามาจากการรัฐประหารในนามคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ก็แน่นอนว่าไม่ได้รับการยอมรับจากเวทีโลก แต่หลังจากนั้นเราก็ค่อยๆ กลับมามีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วเป็นเพราะเรามีความสำคัญ ทั้งในด้านที่ตั้งทางยุทธศาสตร์ของภูมิภาค ขนาดเศรษฐกิจ มีความเป็นศูนย์กลางที่เชื่อมโยงไปได้ทุกทิศทาง เหล่านี้ทำให้บรรดามหาอำนาจต่างต้องการดึงไทยเข้ามาเป็นพวก ไม่อยากผลักไสออกไปอยู่กับอีกฝ่าย
ประกอบกับในช่วงกว่า 5 ปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ในยุครัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่สามารถสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และการเมืองได้ค่อนข้างมั่นคงอย่างต่อเนื่อง และเริ่มกลับคืนเข้าสู่เวทีโลกได้อย่างเต็มภาคภูมิได้อีกครั้ง โดยเฉพาะในช่วงหลังจากการเลือกตั้งเป็นต้นมา ที่เห็นชัดก็คือ ได้จังหวะในช่วงที่ไทยมีวาระเป็นประธานอาเซียนหมุนเวียนในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ถือว่าเราทำหน้าที่ได้ดีเยี่ยมไม่เบาทีเดียว
เห็นได้ชัดจากการเป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 35 ในปีนี้ ที่ได้รับคำชมจากทุกประเทศว่า จัดงานได้อย่างเรียบร้อย ยอดเยี่ยม ซึ่งเป็นคำชมจากบรรดาทุกประเทศที่ออกปากเป็นเสียงเดียวกัน ไม่ใช่เป็นการอวยกันเอง แต่เป็นเพราะได้มองเห็นจากภายนอกที่เราทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพได้ดี มีผลสรุปที่เป็นรูปธรรมเป็นเรื่องหลัก ก็คือ สามารถบรรลุข้อตกลงในกลุ่มความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP)กันได้ในที่ประชุมคราวนี้ แม้ว่ายังต้องมีการเจรจาขั้นสุดท้าย และตั้งเป้าหมายลงนามในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า แต่ก็ถือว่าหลักการใหญ่ๆ และการเจรจาที่ยืดเยื้อมานานหลายปีก็ลุล่วงลงได้ในการประชุมเจรจาในไทยครั้งนี้
งานนี้ถือว่าประสบความสำเร็จ เพราะเป็นเขตเศรษฐกิจใหญ่ยักษ์ที่สุดในโลก แม้ว่าในตอนท้ายทางอินเดียได้ถอนตัวออกไป เนื่องจากมีข้อกังวลบางอย่าง แต่เชื่อว่าในที่สุดแล้วยังมีโอกาสที่จะกลับมาร่วมในภายหลังได้
ดังนั้น หากพิจารณากันอย่างรอบด้านแล้วก็ต้องถือว่าการเป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอดอาเซียน และการประชุมสุดยอดอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาในหลายเวทีครั้งนี้ ถือว่าประสบความสำเร็จ ทั้งในเรื่องผลสรุปที่เป็นเนื้อเป็นหนัง อันเป็นผลจากการประสานงานอย่างดี ใช้บรรยากาศเป็นมิตรแบบไทยๆ ที่มีจุดเด่นในการต้อนรับขับสู้จนสร้างความประทับ ใจจึงสำเร็จลงได้ ก่อนที่จะส่งไม้ต่อให้เวียดนามในปีหน้า
**ขณะเดียวกันสิ่งที่ยืนยันให้เห็นถึงความสำเร็จของการประชุมในครั้งนี้หรือไม่ก็ต้องพิจารณาจากเสียงวิจารณ์ของพวกฝ่ายค้าน ในระดับแกนนำ ที่คราวนี้แทบไม่มีเสียงติติงออกมาให้ได้ยินเลย กลายเป็นการสร้างภาพลักษณ์ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้โดดเด่นขึ้นไปอีก ขณะที่ฝ่ายค้านได้แต่มองตาปริบๆ จนอกแทบระเบิดหรือเปล่าไม่รู้ !!
แน่นอนว่าในอาเซียน 10 ชาติ มี กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ บรูไน ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และไทย ที่ในปีนี้รับตำแหน่งประธานของอาเซียนอีกด้วย ขณะที่ประเทศคู่เจรจาดังกล่าว ประกอบด้วย จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ นี่ว่ากันเฉพาะประเทศคู่เจรจาในกลุ่มความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP)รวมไปถึงการประชุมอาเซียนบวกต่างๆ ที่มีประเทศรัสเซีย และสหรัฐอเมริกา
แม้ว่าในรายละเอียดอาจจะมีเสียงวิจารณ์สหรัฐฯกันบ้าง ที่ทางประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ไม่เดินทางมาด้วยตัวเอง หรืออย่างน้อยก็น่าจะส่งระดับ รองประธานาธิบดี หรือไม่ก็ระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมาร่วม แต่นี่ดันส่งที่ปรึกษาด้านความมั่นคงที่เพิ่งได้รับแต่งตั้งเมื่อเดือนที่แล้วเป็นตัวแทนมาร่วมประชุมแทน ซึ่งก็ได้ผลทำให้บรรดาผู้นำกลุ่มประเทศอาเซียนถึง 7 ชาติ บอยคอตไม่เข้าร่วมประชุมกับตัวแทนของสหรัฐฯ ส่งแค่ระดับรัฐมนตรีไปแทนเช่นเดียวกัน เรียกว่า“เอาคืน”กันแบบสมน้ำสมเนื้อ
แต่สิ่งที่เกิดขึ้นถือว่าเป็นภาพที่“เสียหาย”ของสหรัฐฯมากกว่าที่ทำราวกับว่าไม่ให้เกียรติเพื่อน และก็อย่าได้แปลกใจที่งานนี้กลายเป็นเวทีของ จีน ที่สหรัฐฯพยายามกีดกันไปโดยปริยาย เพราะแม้กระทั่งในวง"อินโด-แปซิฟิก" ที่สหรัฐฯ เป็นคนริเริ่มขึ้นมาแท้ๆ ก็กลับไม่ให้ความสำคัญส่งเจ้าหน้าที่ระดับ “กุนซือ”มาเป็นหัวหน้าคณะ มันก็ยิ่งไม่มีความหมาย
กลายเป็นว่างานนี้สหรัฐฯเสียหาย ถูกจีนกลืนกินบทบาทจนหายเข้ากลีบเมฆไปเลย
วกกลับมาที่บทบาทของไทย ในปัจจุบันที่นำโดย "พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา" นายกรัฐมนตรี ที่ถือว่าทำหน้าที่ได้ดีเกินคาด เพราะสามารถค่อยๆ ดึงไทยกลับเข้ามามีบทบาทในภูมิภาคอาเซียนรวมไปถึงบทบาทในเวทีโลกอีกครั้ง จากเดิมที่เราเคยมีบทบาทนำมาก่อน แต่ช่วงหลังค่อยๆ ห่างหาย ถอยออกไปจนแทบจะไม่มีบทบาทใดๆ ในรอบเกือบยี่สิบปีที่ผ่านมา
หากจำกันได้ตั้งแต่ในยุคก่อนหน้านี้ต่อเนื่องมาจนถึงรัฐบาล “ป๋าเปรม”พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ที่ไทยมีบทบาทในเวทีโลกอย่างแข็งขัน โดยเฉพาะในย่านอาเซียนไทยก็จะมีบทบาทนำอยู่เสมอ หรือหากย้อนกลับไปเมื่อหลายปีก่อน ประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศที่ริเริ่มก่อตั้งกลุ่มประเทศอาเซียนขึ้นมา ที่มีสมาชิกเริ่มแรกเพียง 5 ชาติ ก่อนที่จะขยายเติบโตมาเป็น 10 ชาติในวันนี้
**ในยุครัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ช่วงแรกๆ ที่เข้ามาจากการรัฐประหารในนามคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ก็แน่นอนว่าไม่ได้รับการยอมรับจากเวทีโลก แต่หลังจากนั้นเราก็ค่อยๆ กลับมามีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วเป็นเพราะเรามีความสำคัญ ทั้งในด้านที่ตั้งทางยุทธศาสตร์ของภูมิภาค ขนาดเศรษฐกิจ มีความเป็นศูนย์กลางที่เชื่อมโยงไปได้ทุกทิศทาง เหล่านี้ทำให้บรรดามหาอำนาจต่างต้องการดึงไทยเข้ามาเป็นพวก ไม่อยากผลักไสออกไปอยู่กับอีกฝ่าย
ประกอบกับในช่วงกว่า 5 ปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ในยุครัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่สามารถสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และการเมืองได้ค่อนข้างมั่นคงอย่างต่อเนื่อง และเริ่มกลับคืนเข้าสู่เวทีโลกได้อย่างเต็มภาคภูมิได้อีกครั้ง โดยเฉพาะในช่วงหลังจากการเลือกตั้งเป็นต้นมา ที่เห็นชัดก็คือ ได้จังหวะในช่วงที่ไทยมีวาระเป็นประธานอาเซียนหมุนเวียนในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ถือว่าเราทำหน้าที่ได้ดีเยี่ยมไม่เบาทีเดียว
เห็นได้ชัดจากการเป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 35 ในปีนี้ ที่ได้รับคำชมจากทุกประเทศว่า จัดงานได้อย่างเรียบร้อย ยอดเยี่ยม ซึ่งเป็นคำชมจากบรรดาทุกประเทศที่ออกปากเป็นเสียงเดียวกัน ไม่ใช่เป็นการอวยกันเอง แต่เป็นเพราะได้มองเห็นจากภายนอกที่เราทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพได้ดี มีผลสรุปที่เป็นรูปธรรมเป็นเรื่องหลัก ก็คือ สามารถบรรลุข้อตกลงในกลุ่มความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP)กันได้ในที่ประชุมคราวนี้ แม้ว่ายังต้องมีการเจรจาขั้นสุดท้าย และตั้งเป้าหมายลงนามในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า แต่ก็ถือว่าหลักการใหญ่ๆ และการเจรจาที่ยืดเยื้อมานานหลายปีก็ลุล่วงลงได้ในการประชุมเจรจาในไทยครั้งนี้
งานนี้ถือว่าประสบความสำเร็จ เพราะเป็นเขตเศรษฐกิจใหญ่ยักษ์ที่สุดในโลก แม้ว่าในตอนท้ายทางอินเดียได้ถอนตัวออกไป เนื่องจากมีข้อกังวลบางอย่าง แต่เชื่อว่าในที่สุดแล้วยังมีโอกาสที่จะกลับมาร่วมในภายหลังได้
ดังนั้น หากพิจารณากันอย่างรอบด้านแล้วก็ต้องถือว่าการเป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอดอาเซียน และการประชุมสุดยอดอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาในหลายเวทีครั้งนี้ ถือว่าประสบความสำเร็จ ทั้งในเรื่องผลสรุปที่เป็นเนื้อเป็นหนัง อันเป็นผลจากการประสานงานอย่างดี ใช้บรรยากาศเป็นมิตรแบบไทยๆ ที่มีจุดเด่นในการต้อนรับขับสู้จนสร้างความประทับ ใจจึงสำเร็จลงได้ ก่อนที่จะส่งไม้ต่อให้เวียดนามในปีหน้า
**ขณะเดียวกันสิ่งที่ยืนยันให้เห็นถึงความสำเร็จของการประชุมในครั้งนี้หรือไม่ก็ต้องพิจารณาจากเสียงวิจารณ์ของพวกฝ่ายค้าน ในระดับแกนนำ ที่คราวนี้แทบไม่มีเสียงติติงออกมาให้ได้ยินเลย กลายเป็นการสร้างภาพลักษณ์ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้โดดเด่นขึ้นไปอีก ขณะที่ฝ่ายค้านได้แต่มองตาปริบๆ จนอกแทบระเบิดหรือเปล่าไม่รู้ !!