“ปลัดพาณิชย์” ถกด่วนวอร์รูมภาครัฐ-เอกชน แก้เกมถูกตัด GSP ระบุผู้ส่งออกส่วนใหญ่กระทบน้อย เว้น “เซรามิก” โดนหนัก เสียภาษีสูงถึง 26% เตรียมสรุปรายงาน กรอ.พาณิชย์ ต้นเดือน พ.ย.นี้ วางแผนทำตลาดเพิ่มเติม ด้านผู้ส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์ รับช็อกปรับตัวไม่ทัน โอดมาตรฐานแรงงานสูงไม่ควรโดนหางเลข แนะ ก.พาณิชย์ต่อรองสหรัฐฯ ยืดสิทธิไปถึงสิ้นปีตามกำหนดเดิม
จากกรณีที่ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พาณิชย์ สั่งการให้จัดตั้งคณะทำงานติดตามผลกระทบต่อการส่งออกไทย หรือวอร์รูม ภายหลังจากประเทศสหรัฐอเมริกาตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) สินค้าไทย 500 กว่ารายการ เพื่อรับฟังผลกระทบและข้อเสนอแนะจากภาคเอกชน และนำมาจัดทำแนวทางในการแก้ปัญหา หรือลดผลกระทบจากการถูกตัดสิทธิ GSP ตามนโยบาย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ นั้น
วานนี้ (31 ต.ค.) นายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการประชุมวอร์รูมร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ของกระทรวงพาณิชย์ และภาคเอกชนในกลุ่มสินค้าที่สหรัฐฯ ตัดสิทธิ GSP ว่า ภาคเอกชนส่วนใหญ่เห็นว่าการส่งออกสินค้าในกลุ่มที่ถูกตัด GSP จะได้รับผลกระทบไม่มากนัก มีเพียงบางรายการเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบมาก เพราะต้องเสียภาษีนำเข้าในอัตราสูง เช่น กลุ่มเซรามิก ที่ต้องเสียภาษีสูงถึง 26% จากเดิมไม่ต้องเสียภาษี แต่ภาคเอกชนเห็นว่าสินค้าสามารถทำตลาดประเทศอื่นๆ ได้ เพื่อทดแทนการส่งออกไปสหรัฐฯได้
“เอกชนบอกว่าได้รับผลกระทบไม่มากนัก เพราะได้ปรับตัวด้วยการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต เพิ่มความสามารถในการแข่งขันมานานแล้ว เนื่องจากรู้ว่าไม่วันใดก็วันหนึ่ง สหรัฐฯ จะต้องตัดสิทธิ GSP สินค้าไทย” นายบุณยฤทธิ์กล่าว
นายบุณยฤทธิ์กล่าวว่า จะนำผลการประชุมวันนี้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นข้อเสนอแนะในการขยายตลาด เสนอให้คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนด้านการพาณิชย์ (กรอ.พาณิชย์) ที่มี รมว.พาณิชย์เป็นประธานในช่วงต้นเดือน พ.ย. 2562 เพื่อกำหนดเป็นแผนปฏิบัติการในการแก้ปัญหาการถูกตัดสิทธิ GSP และแผนการทำตลาดสินค้ากลุ่มที่ถูกตัดสิทธิต่อไป โดยจะทำควบคู่ไปกับแผนการเจาะตลาดเป้าหมาย 10 แห่ง ที่กระทรวงพาณิชย์กำลังดำเนินการอยู่ หากเห็นว่าสินค้ากลุ่มถูกตัด GSPรายการใดเหมาะกับการบุกตลาดใด ก็จะผลักดันการส่งออกให้มากขึ้น
กลุ่มอุตฯไฟฟ้าหวังสหรัฐฯทบทวน
ด้าน นายกฤษดา ทรัพย์ทวยชน รองประธานสมาคมอุตสาหกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และโทรคมนาคมไทย กล่าวเสริมว่า กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก เพราะจะต้องกลับมาเสียภาษีเฉลี่ยที่ 5% จากก่อนหน้านั้นไม่เสียภาษีเลย และจากการหารือกับผู้นำเข้า ส่วนมากบอกว่าหนักใจ และอาจชะลอการนำเข้าได้ ขณะเดียวกัน การที่ไทยถูกตัด GSP อาจทำให้นักลงทุนต่างชาติในสินค้ากลุ่มนี้ ที่ลงในจีนอยู่ก่อนแล้ว และมีแผนย้ายฐานการผลิตมาไทย เพื่อหนีภัยสงครามการค้า อาจชะลอการย้ายฐาน หรืออาจไปประเทศเพื่อนบ้านไทยแทน ซึ่งจะทำให้สูญเสียเงินลงทุนจากต่างประเทศ และอาจทำให้การลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ได้รับผลกระทบ
“กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ มีมาตรฐานแรงงานในระดับสูงอยู่แล้ว เพราะผู้ซื้อต้องมาตรวจโรงงาน และมาตรฐานแรงงาน จึงเสนอให้กระทรวงพาณิชย์ในการเจรจาขอคืนสิทธิกับสหรัฐฯ ให้นำเสนอว่าควรตัด GSP เฉพาะกลุ่มสินค้า แต่ไม่ควรตัดกลุ่มของเรา ที่มีมาตรฐานแรงงานสูง รวมถึงเสนอให้เจรจากับสหรัฐฯ อย่าเพิ่งตัดสิทธิเดือน เม.ย. 2563 แต่ควรให้โครงการ GSP ปัจจุบันสิ้นสุดลง หรือจบในเดือน ธ.ค. 2563 ก่อนแล้วค่อยตัด เพราะไทยเพิ่งได้รับการต่ออายุ GSP ถึงสิ้นปี 63 แล้วอยู่ๆ มาตัดกลางปี ผู้ส่งออก ผู้นำเข้าช็อกปรับตัวไม่ทัน” นายกฤษดากล่าว
จากกรณีที่ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พาณิชย์ สั่งการให้จัดตั้งคณะทำงานติดตามผลกระทบต่อการส่งออกไทย หรือวอร์รูม ภายหลังจากประเทศสหรัฐอเมริกาตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) สินค้าไทย 500 กว่ารายการ เพื่อรับฟังผลกระทบและข้อเสนอแนะจากภาคเอกชน และนำมาจัดทำแนวทางในการแก้ปัญหา หรือลดผลกระทบจากการถูกตัดสิทธิ GSP ตามนโยบาย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ นั้น
วานนี้ (31 ต.ค.) นายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการประชุมวอร์รูมร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ของกระทรวงพาณิชย์ และภาคเอกชนในกลุ่มสินค้าที่สหรัฐฯ ตัดสิทธิ GSP ว่า ภาคเอกชนส่วนใหญ่เห็นว่าการส่งออกสินค้าในกลุ่มที่ถูกตัด GSP จะได้รับผลกระทบไม่มากนัก มีเพียงบางรายการเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบมาก เพราะต้องเสียภาษีนำเข้าในอัตราสูง เช่น กลุ่มเซรามิก ที่ต้องเสียภาษีสูงถึง 26% จากเดิมไม่ต้องเสียภาษี แต่ภาคเอกชนเห็นว่าสินค้าสามารถทำตลาดประเทศอื่นๆ ได้ เพื่อทดแทนการส่งออกไปสหรัฐฯได้
“เอกชนบอกว่าได้รับผลกระทบไม่มากนัก เพราะได้ปรับตัวด้วยการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต เพิ่มความสามารถในการแข่งขันมานานแล้ว เนื่องจากรู้ว่าไม่วันใดก็วันหนึ่ง สหรัฐฯ จะต้องตัดสิทธิ GSP สินค้าไทย” นายบุณยฤทธิ์กล่าว
นายบุณยฤทธิ์กล่าวว่า จะนำผลการประชุมวันนี้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นข้อเสนอแนะในการขยายตลาด เสนอให้คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนด้านการพาณิชย์ (กรอ.พาณิชย์) ที่มี รมว.พาณิชย์เป็นประธานในช่วงต้นเดือน พ.ย. 2562 เพื่อกำหนดเป็นแผนปฏิบัติการในการแก้ปัญหาการถูกตัดสิทธิ GSP และแผนการทำตลาดสินค้ากลุ่มที่ถูกตัดสิทธิต่อไป โดยจะทำควบคู่ไปกับแผนการเจาะตลาดเป้าหมาย 10 แห่ง ที่กระทรวงพาณิชย์กำลังดำเนินการอยู่ หากเห็นว่าสินค้ากลุ่มถูกตัด GSPรายการใดเหมาะกับการบุกตลาดใด ก็จะผลักดันการส่งออกให้มากขึ้น
กลุ่มอุตฯไฟฟ้าหวังสหรัฐฯทบทวน
ด้าน นายกฤษดา ทรัพย์ทวยชน รองประธานสมาคมอุตสาหกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และโทรคมนาคมไทย กล่าวเสริมว่า กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก เพราะจะต้องกลับมาเสียภาษีเฉลี่ยที่ 5% จากก่อนหน้านั้นไม่เสียภาษีเลย และจากการหารือกับผู้นำเข้า ส่วนมากบอกว่าหนักใจ และอาจชะลอการนำเข้าได้ ขณะเดียวกัน การที่ไทยถูกตัด GSP อาจทำให้นักลงทุนต่างชาติในสินค้ากลุ่มนี้ ที่ลงในจีนอยู่ก่อนแล้ว และมีแผนย้ายฐานการผลิตมาไทย เพื่อหนีภัยสงครามการค้า อาจชะลอการย้ายฐาน หรืออาจไปประเทศเพื่อนบ้านไทยแทน ซึ่งจะทำให้สูญเสียเงินลงทุนจากต่างประเทศ และอาจทำให้การลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ได้รับผลกระทบ
“กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ มีมาตรฐานแรงงานในระดับสูงอยู่แล้ว เพราะผู้ซื้อต้องมาตรวจโรงงาน และมาตรฐานแรงงาน จึงเสนอให้กระทรวงพาณิชย์ในการเจรจาขอคืนสิทธิกับสหรัฐฯ ให้นำเสนอว่าควรตัด GSP เฉพาะกลุ่มสินค้า แต่ไม่ควรตัดกลุ่มของเรา ที่มีมาตรฐานแรงงานสูง รวมถึงเสนอให้เจรจากับสหรัฐฯ อย่าเพิ่งตัดสิทธิเดือน เม.ย. 2563 แต่ควรให้โครงการ GSP ปัจจุบันสิ้นสุดลง หรือจบในเดือน ธ.ค. 2563 ก่อนแล้วค่อยตัด เพราะไทยเพิ่งได้รับการต่ออายุ GSP ถึงสิ้นปี 63 แล้วอยู่ๆ มาตัดกลางปี ผู้ส่งออก ผู้นำเข้าช็อกปรับตัวไม่ทัน” นายกฤษดากล่าว