“อาคม” หารือ “ญี่ปุ่น” ยืนยันร่วมลงทุนในพื้นที่ EEC ทุกโครงการ พร้อมจับมือเอกชนไทยยื่นประมูล รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน , สนามบินอู่ตะเภาและแหลมฉบัง เฟส 3 “อุตตม” เผยเตรียมหารืออีอีซี 3 ส.ค.ติดตามความคืบหน้า ก่อนชงคณะใหญ่ที่ “ประยุทธ์” เป็นหัวโต๊ะ 10 ส.ค.นี้
วานนี้ (2 ส.ค.) นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังประชุมร่วมกับ Mr. Tatsuya TERAZAWA ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมด้านการต่างประเทศ (METI) ว่า ทางญี่ปุ่นได้เสนอวิสัยทัศน์ในการพัฒนาความร่วมมือ ประเทศลุ่มน้ำโขง ซึ่งจะเน้นในเรื่องการเชื่อมโยงระหว่างอุตสาหกรรมกับอุตสาหกรรม หรือแนวความคิดเรื่อง Connected Industries ซึ่งครอบคลุมถึงเรื่องบริการ นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาอุตสาหกรรมด้านสังคมและสุขภาพ และการเชื่อมโยงด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ รวมถึงการพัฒนาการขนส่งข้ามแดนและการสร้างศักยภาพด้านแรงงาน โดย ในส่วนของประเทศไทย มีการพัฒนาวางโครงข่ายโครงสร้างพื้นฐานที่เชื่อมโยงแล้ว
นอกจากนี้ ญี่ปุ่นยังยืนยันว่าสนใจที่จะเจ้าร่วมลงทุนในโครงการที่อยู่ภายใต้การพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ของไทย โดยพร้อมเข้าร่วมประมูล โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน , โครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภา (TG MRO Campus) และโครงการท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ซึ่งจะจับมือกับเอกชนไทยเข้าร่วมตามเงื่อนไข และภาคเอกชนของญี่ปุ่นสนใจเข้าลงทุน ในพื้นที่อีอีซี ตามนโยบายของรัฐบาลไทย
สำหรับโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษและท่าเรือน้ำลึกทวาย ประเทศเมียนมา ซึ่งทางญี่ปุ่นขอให้มีการประชุมร่วม3 ฝ่าย คือ ไทย เมียนมา และญี่ปุ่น ซึ่งขณะนี้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) อยู่ระหว่างประสานกับรัฐบาลเมียนมา ซึ่งคาดว่าจะ ใช้เวลาอีกระยะ ขณะที่ก่อนหน้านี้ ญี่ปุ่นได้เสนอแนวคิดให้ปรับแผนแม่บทจากการเน้นอุตสาหกรรมหนัก เป็นอุตสาหกรรมเบา และอุตสาหกรรมสนับสนุน ซึ่งฝ่ายไทย เห็นด้วย แต่ต้องรอการประชุมร่วม3 ฝ่ายก่อน
ด้าน นายอุตตม สาวนายน รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า วันที่ 3 ส.ค.นี้ จะการประชุม คณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อบริหารการพัฒนาเขตพัฒนาพิศษภาคตะวันออก (กบอ.) เตรียมพิจารณาวาระสำคัญ ก่อนเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ในวันที่ 10 ส.ค.นี้ สาระสำคัญประกอบด้วย กรอบแผนการใช้งานพื้นที่อีอีซี ตามกฎหมาย แบ่งเป็น 3 ด้านหลัก ได้แก่ การพัฒนาเมือง การพัฒนาเขตเศรษฐกิจเพื่อการลงทุน และเขตเพื่อการวิจัยและพัฒนา ซึ่งกำหนดต้องแล้วเสร็จภายใน 1 ปี ดังนั้น ในที่ประชุมจะพิจารณาแผนดังกล่าว ให้มีความเหมาะสมและชัดเจน เพื่อเสนอ กพอ. พิจารณาเห็นชอบก่อนหารือกับกรมโยธาธิการ และผังเมือง กระทรวงมหาดไทย จัดทำแผนเมืองอีอีซี ฉบับสมบูรณ์ ก่อนประกาศใช้อย่างเป็นทางการต่อไป ซึ่งภาคเอกชนทั้งไทยและต่างประเทศ ก็กำลังติดตามความคืบหน้าอย่างใกล้ชิด เพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุน
ในส่วนของการเปิดประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา) ยังเป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ โดยหลังจากเปิด ทีโออาร์แล้ว จะเปิดประมูลในรูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างรัฐกับเอกชน (พีพีพี) ภายในปีนี้ ขณะเดียวกัน จะพิจารณาความคืบหน้าโครงการพัฒนา ท่าเรือ 2 แห่ง คือ มาบตาพุด เฟส 3 และ แหลมฉบัง เฟส 3 มั่นใจว่า ไตรมาส 1/2562 จะเปิดประมูลรูปแบบ พีพีพีได้
นอกจากนี้ จะพิจารณาความคืบหน้าศูนย์ซ่อมและบำรุงอากาศยาน (เอ็มอาร์โอ) ที่บริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน) กำลังจัดเตรียมรายละเอียดร่วมทุนกับบริษัท แอร์บัส ของฝรั่งเศส ในรูปแบบพีพีพี เช่นกัน และในการประชุม กบอ. ทางสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) จะรายงานยอดคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่อีอีซี ให้ทราบถึงรายละเอียดของโครงการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย ตามนโยบายของรัฐบาล.
วานนี้ (2 ส.ค.) นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังประชุมร่วมกับ Mr. Tatsuya TERAZAWA ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมด้านการต่างประเทศ (METI) ว่า ทางญี่ปุ่นได้เสนอวิสัยทัศน์ในการพัฒนาความร่วมมือ ประเทศลุ่มน้ำโขง ซึ่งจะเน้นในเรื่องการเชื่อมโยงระหว่างอุตสาหกรรมกับอุตสาหกรรม หรือแนวความคิดเรื่อง Connected Industries ซึ่งครอบคลุมถึงเรื่องบริการ นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาอุตสาหกรรมด้านสังคมและสุขภาพ และการเชื่อมโยงด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ รวมถึงการพัฒนาการขนส่งข้ามแดนและการสร้างศักยภาพด้านแรงงาน โดย ในส่วนของประเทศไทย มีการพัฒนาวางโครงข่ายโครงสร้างพื้นฐานที่เชื่อมโยงแล้ว
นอกจากนี้ ญี่ปุ่นยังยืนยันว่าสนใจที่จะเจ้าร่วมลงทุนในโครงการที่อยู่ภายใต้การพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ของไทย โดยพร้อมเข้าร่วมประมูล โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน , โครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภา (TG MRO Campus) และโครงการท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ซึ่งจะจับมือกับเอกชนไทยเข้าร่วมตามเงื่อนไข และภาคเอกชนของญี่ปุ่นสนใจเข้าลงทุน ในพื้นที่อีอีซี ตามนโยบายของรัฐบาลไทย
สำหรับโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษและท่าเรือน้ำลึกทวาย ประเทศเมียนมา ซึ่งทางญี่ปุ่นขอให้มีการประชุมร่วม3 ฝ่าย คือ ไทย เมียนมา และญี่ปุ่น ซึ่งขณะนี้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) อยู่ระหว่างประสานกับรัฐบาลเมียนมา ซึ่งคาดว่าจะ ใช้เวลาอีกระยะ ขณะที่ก่อนหน้านี้ ญี่ปุ่นได้เสนอแนวคิดให้ปรับแผนแม่บทจากการเน้นอุตสาหกรรมหนัก เป็นอุตสาหกรรมเบา และอุตสาหกรรมสนับสนุน ซึ่งฝ่ายไทย เห็นด้วย แต่ต้องรอการประชุมร่วม3 ฝ่ายก่อน
ด้าน นายอุตตม สาวนายน รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า วันที่ 3 ส.ค.นี้ จะการประชุม คณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อบริหารการพัฒนาเขตพัฒนาพิศษภาคตะวันออก (กบอ.) เตรียมพิจารณาวาระสำคัญ ก่อนเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ในวันที่ 10 ส.ค.นี้ สาระสำคัญประกอบด้วย กรอบแผนการใช้งานพื้นที่อีอีซี ตามกฎหมาย แบ่งเป็น 3 ด้านหลัก ได้แก่ การพัฒนาเมือง การพัฒนาเขตเศรษฐกิจเพื่อการลงทุน และเขตเพื่อการวิจัยและพัฒนา ซึ่งกำหนดต้องแล้วเสร็จภายใน 1 ปี ดังนั้น ในที่ประชุมจะพิจารณาแผนดังกล่าว ให้มีความเหมาะสมและชัดเจน เพื่อเสนอ กพอ. พิจารณาเห็นชอบก่อนหารือกับกรมโยธาธิการ และผังเมือง กระทรวงมหาดไทย จัดทำแผนเมืองอีอีซี ฉบับสมบูรณ์ ก่อนประกาศใช้อย่างเป็นทางการต่อไป ซึ่งภาคเอกชนทั้งไทยและต่างประเทศ ก็กำลังติดตามความคืบหน้าอย่างใกล้ชิด เพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุน
ในส่วนของการเปิดประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา) ยังเป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ โดยหลังจากเปิด ทีโออาร์แล้ว จะเปิดประมูลในรูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างรัฐกับเอกชน (พีพีพี) ภายในปีนี้ ขณะเดียวกัน จะพิจารณาความคืบหน้าโครงการพัฒนา ท่าเรือ 2 แห่ง คือ มาบตาพุด เฟส 3 และ แหลมฉบัง เฟส 3 มั่นใจว่า ไตรมาส 1/2562 จะเปิดประมูลรูปแบบ พีพีพีได้
นอกจากนี้ จะพิจารณาความคืบหน้าศูนย์ซ่อมและบำรุงอากาศยาน (เอ็มอาร์โอ) ที่บริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน) กำลังจัดเตรียมรายละเอียดร่วมทุนกับบริษัท แอร์บัส ของฝรั่งเศส ในรูปแบบพีพีพี เช่นกัน และในการประชุม กบอ. ทางสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) จะรายงานยอดคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่อีอีซี ให้ทราบถึงรายละเอียดของโครงการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย ตามนโยบายของรัฐบาล.