ผู้จัดการรายวัน360- "บิ๊กแป๊ะ"เหินฟ้าสู่"ปารีส" ประสานอินเตอร์โพล จับ "อดีตพระพรหมเมธี" ส่วนจะได้ตัวกลับมาหรือไม่ รอลุ้นเสาร์นี้ ด้าน"ดีเอสไอ"หิ้ว "พิสิฐชัย"ไปกองปราบ รับทราบข้อหาผิด พ.ร.บ.คอมพ์ โพสต์ข้อมูลเป็นเท็จ "บิ๊กตู่"ลั่นหากพบผิดต้องลงโทษทั้งวินัย-อาญา ปัดคดีเงินทอนวัดไม่เกี่ยวการเมือง อย่าสร้างกระแสขัดแย้ง ด้านป.ป.ป. บุกสอบข้อมูล "วัดธาตุ พระอารามหลวง" ขอนแก่น พบคนของพศ.หลอกพระกวาดเงินไป 17 ล้านบาท เหลือให้ทางวัดแค่เศษเงิน ขณะที่องค์กรพุทธฯ โวยเล่นงานแต่พระ ขู่ฟ้อง 'พงศ์พร' ละเว้นหน้าที่ ไม่จัดการ ขรก.ตัวการเงินทอนวัด
วานนี้ (12 มิ.ย.) มีรายงานข่าวจาก สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่า พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผบ.ตร. ได้บินด่วน เป็นครั้งที่ 2 โดยมี พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รอง โฆษก.ตร. เป็นผู้ติดตาม เพื่อไปติดตาม อดีตพระพรหมเมธี ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสัมพันธ์วงศารามฯ ผู้ถูกกล่าวหาคดีเงินทอนวัด ที่ยังหลบหนี โดยออกเดินทางจากสนามบินสุวรรณภูมิ เมื่อคืนวันอาทิตย์ที่ 10 มิ.ย. ที่ผ่านมา โดยสายการบินไทย เที่ยวบิน TG 930 ปลายทางท่าอากาศยานนานาชาติปารีส-ชาร์ล เดอ โกล กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส คาดว่าจะไปประสานงานขอความช่วยเหลือจากตำรวจสากล ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ เมือง ลียง ประเทศฝรั่งเศส เพื่อให้ช่วยประสาน ติดตามตัว อดีตพระพรหมเมธี และหลังจากนั้น อาจจะเดินทางต่อไป นครแฟรงเฟิร์ต ประเทศเยอรมนี เพื่อเจรจาขอตัว อดีตพระพรหมเมธี ซึ่งอยู่ระหว่างการยื่นขอลี้ภัย ต่อรัฐบาลเยอรมนี กลับมาดำเนินคดีในประเทศไทย โดย พล.ต.อ.จักรทิพย์ จะเดินทางกลับประเทศไทย โดยสายการบินไทย เที่ยวบินที่ TG 931 ในวันเสาร์ที่ 16 มิ.ย.นี้
ดีเอสไอหิ้ว"พิสิฐชัย"ส่งกองปราบ
วานนี้ พ.ต.ท.กรวัชร์ ปานประภากร รองอธิบดี กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) พ.ต.ต.วรณัน ศรีล้ำ ผอ.ศูนย์บริหารคดีพิเศษ และรองโฆษก ดีเอสไอ ได้นำตัว นายพิสิฐชัย สว่างวัฒนากร พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ กองภาษีอากร ดีเอสไอ ไปยัง กองบังคับการปราบปราม (บก.ป.) เพื่อรับทราบข้อหา กระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ หลังจากที่โพสต์ข้อความในเฟชบุ๊กส่วนตัว ว่าจะมีการดำเนินคดีกับพระมหาเถระผู้ใหญ่ 4 วัน ซึ่งเป็นชั้นสมเด็จ ทางสำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) ได้เข้าแจ้งความกับพนักงานสอบสวน กองปราบปราม ฐานความผิด นำข้อมูลอันเป็นเท็จ เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ หรือ พ.ร.บ.คอมพ์
ทั้งนี้ คณะเจ้าหน้าที่ของดีเอสไอ ได้นำตัวนายพิสิฐชัย เข้าให้การกับ พล.ต.ต.ไมตรี ฉิมเฉิด ผู้บังคับการปราบ (ผบก.ป.) พร้อมพนักงานสอบสวนทันที หลังการสอบปากคำ พ.ต.ท.กรวัชร์ กล่าวว่า " เรื่องนี้เป็นความเห็นส่วนตัว ไม่ใช่เป็นการกระทำความผิดที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงาน"
"บิ๊กตู่"ลั่นถ้าผิดต้องลงโทษวินัย-อาญา
ด้านพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคสช. กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า เป็นเรื่องที่ต้องแยก ระหว่างเรื่ององค์กร กับเรื่องส่วนบุคคล เพราะทุกองค์กรก็มีทั้งคนดี และคนไม่ดีอยู่ และต้องไปสอบสวน หากมีความผิดก็ต้องลงโทษ ทั้งทางวินัย และอาญา และขออย่าสร้างกระแสให้เกิดความขัดแย้ง เกลียดชัง เพราะพุทธศาสนา และพระสงฆ์ เป็นสิ่งที่คนไทยส่วนใหญ่ กว่าร้อยละ 90 นับถืออยู่
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม กล่าวถึงการติดตามตัว อดีตพระพรหมเมธี อดีตรองเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศาราม ว่า เจ้าหน้าที่กำลังดำเนินการพูดคุยกันอยู่ ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง
ส่วนที่มีกระแสข่าวว่า พระธัมมชโย อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ไม่ได้เดินทางออกนอกประเทศ แต่ยังอยู่ในวัดนั้น พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ไม่ทราบ ต้องไปถามคนปล่อยข่าว
ปัดคดีเงินทอนวัด ไม่เกี่ยวการเมือง
นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะกำกับดูแลสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) กล่าวถึงกรณีที่มีเสียงวิจารณ์ การดำเนินการคดีเงินทอนวัด มีประเด็นทางการเมืองเกี่ยวข้องว่า การสอบสวนและการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ ทำไปตามข้อเท็จจริงที่มี ไม่มีอคติ หรือวาระซ่อนเร้น
"หลายคนได้รับข้อมูลจากโลกโซเชียล ออนไลน์ ที่มีการส่งข้อมูลกันมา ซึ่งเป็นความเท็จเสียส่วนใหญ่ โดยเฉพาะการระบุว่า มีวาระซ่อนเร้น หรือต้องการทำลายศาสนา โดยสิ่งที่รัฐบาลต้องการคือ ทำทุกอย่างให้เข้าระบบ หรืออย่างกรณีที่ ผู้อำนวยการ พศ. มีหนังสือขอบัญชีรายรับ - รายจ่าย ของวัด ซึ่งมีการปล่อยข่าวว่า รัฐบาลจะไปยึดเงิน ซึ่งไม่เป็นความจริง แต่สิ่งที่รัฐบาลต้องการคือ ทำให้บัญชีของวัด และบัญชีของพระสงฆ์ เป็นไปด้วยความชอบธรรม บางวัดที่ทำ เป็นตัวอย่างที่ดี อยากให้มาเป็นบทเรียน มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำให้ถูกต้อง ซึ่งฝ่ายความมั่นคงได้ดูแลเรื่องการเคลื่อนไหวต่อกรณีนี้อยู่แล้ว เข้าใจใจว่า เขามีข้อมูลว่าใครเป็นใคร หรือทำอะไรอยู่" นายสุวพันธุ์ กล่าว
ป.ป.ป.ขอข้อมูลจาก"วัดธาตุ"ขอนแก่น
วานนี้ (12 มิ.ย.) เจ้าหน้าที่กองบังคับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ (ป.ป.ป.) ได้เดินทางไปยัง วัดธาตุ พระอารามหลวง ริมบึงแก่นนคร จ.ขอนแก่น เพื่อขอข้อมูลจากพระผู้ใหญ่ ในฐานะที่ทางวัดตกเป็นผู้เสียหาย เพราะจากตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ พบว่างบประมาณกว่า 18 ล้านบาท ที่สำนักงานพระพุทธศาสนาโอนมาให้กับวัด มีเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกองพระพุทธศาสนาโอนเงินคืนมาเป็นของตนเอง โดยเหลือไว้ให้ทางวัดประมาณ 1 ล้านบาท
รายงานข่าวแจ้งว่า การทุจริตครั้งนี้ เจ้าอาวาส และพระสงฆ์ภายในวัด ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง แต่ผู้ที่ดำเนินการในเรื่องงบฯ คือ อดีตผู้อำนวยการกองพระพุทธศาสนา เมื่อปี 56 พฤติการณ์การกระทำผิด เจ้าหน้าที่ตรวจสอบพบว่า หลังจากที่ พศ. โอนเงินมาเข้าบัญชีของทางวัด อดีตผอ.กองพระพุทธศาสนา ในขณะนั้น จะเป็นผู้จัดการ โดยโอนเงินให้กับโรงเรียนปริยัติธรรม หรือโรงเรียนวิเวกธรรมประสิทธิ์วิทยา 3 ครั้ง ครั้งแรก 3 ล้านบาท ครั้งที่ 2 อีก 5 ล้านบาท และครั้งที่ 3 จำนวน 10 ล้าน รวมทั้งสิ้น 18 ล้านบาท
จากนั้น อดีต ผอ.กองพุทธศาสนาคนดังกล่าว ก็จะขอเงินงบประมาณคืนไปเกือบทั้งหมด เหลือไว้ให้โรงเรียนแค่ 1 ล้านบาทเท่านั้น โดยที่ทางโรงเรียนเข้าใจว่า เป็นขั้นตอนของทางราชการ ที่สามารถทำได้ จึงคืนให้ไป
การลงพื้นที่ของป.ป.ป. เพื่อสอบปากคำภายในวัดธาตุครั้งนี้ เป็นการสอบข้อเท็จจริงในฐานะพยาน โดยจะเน้นไปที่ การตรวจสอบการทุจริตของเจ้าหน้าที่กองพระพุทธศาสนาเป็นหลัก ไม่ได้มาตรวจสอบเพื่อเอาผิดพระแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม ทางเจ้าหน้าที่ ป.ป.ป.ได้สอบปากคำบุคคลในฐานะพยาน ภายในวัดไปแล้ว 3 ราย ขณะที่ผู้ถูกกล่าวหาในคดีนี้ ทางเจ้าหน้าที่จะรวบรวมหลักฐาน เสนอ ผอ.พศ. เพื่อร้องทุกข์กล่าวโทษดำเนินคดีต่อเจ้าหน้าที่ ที่ร่วมกันทุจจริต โดยจะเสนอไปที่สำนักงานป.ป.ช. คาดว่าจะต้องใช้ระยะเวลาในการรวบรวมพยานหลักฐานพอสมควร
องค์กรพุทธฯ ขู่ฟ้อง"พงศ์พร"
ด้านกลุ่มองค์กรชาวพุทธ นำโดย นายวรกร พงศ์ธนากุล ประธานเครือข่ายทนายและประชาชน ปกป้องพระพุทธศาสนา ไปยื่นหนังสือถึง พ.ต.ท.พงศ์พร พราหมณ์เสน่ห์ ผอ.พศ. โดยอาศัย พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสาร พ.ศ. 2540 ขอตรวจสอบว่า ได้มีการจัดทำหนังสือ ที่ พศ. 0001/06036 ลงวันที่ 8 มิ.ย.61 ถึง ผอ.พศ.จังหวัดทั่วประเทศ เพื่อสำรวจข้อมูลวัดที่มีการวางระบบจัดการด้านการเงินและบัญชีของวัดจริงหรือไม่ และใช้อำนาจตามกฎหมายใด เนื่องจากสิ่งที่ปรากฏเป็นข้อความในจดหมายฉบับดังกล่าว เป็นการกระทำที่อยู่เหนืออำนาจหน้าที่ พศ. โดยเฉพาะการขอข้อมูลวัด ที่มีการวางระบบเกี่ยวกับการจัดการด้านการเงินและบัญชี ซึ่งประเด็นนี้เข้าข่ายผิด มาตรา 157
นอกจากนี้ อยากมาทวงถามถึง ประเด็นที่ พศ. ยังไม่แจ้งความดำเนินคดีกับข้าราชการบางส่วน ที่เกี่ยวข้องกับการคดีทุจริตเงินทอนวัด ที่เป็นต้นเรื่องนี้ แต่กลับไปดำเนินการเอาผิดกับวัด และพระ ซึ่งถือเป็นปลายทางของคดี ซึ่งประเด็นนี้อยากทราบว่าทาง พศ. จะดำเนินการได้เมื่อใด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการยื่นหนังสือครั้งนี้ พ.ต.ท.พงศ์พร ได้มอบหมายให้ นายสิปป์บวร แก้วงาม รองโฆษก พศ. เป็นผู้มารับหนังสือแทน
วานนี้ (12 มิ.ย.) มีรายงานข่าวจาก สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่า พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผบ.ตร. ได้บินด่วน เป็นครั้งที่ 2 โดยมี พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รอง โฆษก.ตร. เป็นผู้ติดตาม เพื่อไปติดตาม อดีตพระพรหมเมธี ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสัมพันธ์วงศารามฯ ผู้ถูกกล่าวหาคดีเงินทอนวัด ที่ยังหลบหนี โดยออกเดินทางจากสนามบินสุวรรณภูมิ เมื่อคืนวันอาทิตย์ที่ 10 มิ.ย. ที่ผ่านมา โดยสายการบินไทย เที่ยวบิน TG 930 ปลายทางท่าอากาศยานนานาชาติปารีส-ชาร์ล เดอ โกล กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส คาดว่าจะไปประสานงานขอความช่วยเหลือจากตำรวจสากล ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ เมือง ลียง ประเทศฝรั่งเศส เพื่อให้ช่วยประสาน ติดตามตัว อดีตพระพรหมเมธี และหลังจากนั้น อาจจะเดินทางต่อไป นครแฟรงเฟิร์ต ประเทศเยอรมนี เพื่อเจรจาขอตัว อดีตพระพรหมเมธี ซึ่งอยู่ระหว่างการยื่นขอลี้ภัย ต่อรัฐบาลเยอรมนี กลับมาดำเนินคดีในประเทศไทย โดย พล.ต.อ.จักรทิพย์ จะเดินทางกลับประเทศไทย โดยสายการบินไทย เที่ยวบินที่ TG 931 ในวันเสาร์ที่ 16 มิ.ย.นี้
ดีเอสไอหิ้ว"พิสิฐชัย"ส่งกองปราบ
วานนี้ พ.ต.ท.กรวัชร์ ปานประภากร รองอธิบดี กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) พ.ต.ต.วรณัน ศรีล้ำ ผอ.ศูนย์บริหารคดีพิเศษ และรองโฆษก ดีเอสไอ ได้นำตัว นายพิสิฐชัย สว่างวัฒนากร พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ กองภาษีอากร ดีเอสไอ ไปยัง กองบังคับการปราบปราม (บก.ป.) เพื่อรับทราบข้อหา กระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ หลังจากที่โพสต์ข้อความในเฟชบุ๊กส่วนตัว ว่าจะมีการดำเนินคดีกับพระมหาเถระผู้ใหญ่ 4 วัน ซึ่งเป็นชั้นสมเด็จ ทางสำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) ได้เข้าแจ้งความกับพนักงานสอบสวน กองปราบปราม ฐานความผิด นำข้อมูลอันเป็นเท็จ เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ หรือ พ.ร.บ.คอมพ์
ทั้งนี้ คณะเจ้าหน้าที่ของดีเอสไอ ได้นำตัวนายพิสิฐชัย เข้าให้การกับ พล.ต.ต.ไมตรี ฉิมเฉิด ผู้บังคับการปราบ (ผบก.ป.) พร้อมพนักงานสอบสวนทันที หลังการสอบปากคำ พ.ต.ท.กรวัชร์ กล่าวว่า " เรื่องนี้เป็นความเห็นส่วนตัว ไม่ใช่เป็นการกระทำความผิดที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงาน"
"บิ๊กตู่"ลั่นถ้าผิดต้องลงโทษวินัย-อาญา
ด้านพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคสช. กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า เป็นเรื่องที่ต้องแยก ระหว่างเรื่ององค์กร กับเรื่องส่วนบุคคล เพราะทุกองค์กรก็มีทั้งคนดี และคนไม่ดีอยู่ และต้องไปสอบสวน หากมีความผิดก็ต้องลงโทษ ทั้งทางวินัย และอาญา และขออย่าสร้างกระแสให้เกิดความขัดแย้ง เกลียดชัง เพราะพุทธศาสนา และพระสงฆ์ เป็นสิ่งที่คนไทยส่วนใหญ่ กว่าร้อยละ 90 นับถืออยู่
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม กล่าวถึงการติดตามตัว อดีตพระพรหมเมธี อดีตรองเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศาราม ว่า เจ้าหน้าที่กำลังดำเนินการพูดคุยกันอยู่ ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง
ส่วนที่มีกระแสข่าวว่า พระธัมมชโย อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ไม่ได้เดินทางออกนอกประเทศ แต่ยังอยู่ในวัดนั้น พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ไม่ทราบ ต้องไปถามคนปล่อยข่าว
ปัดคดีเงินทอนวัด ไม่เกี่ยวการเมือง
นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะกำกับดูแลสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) กล่าวถึงกรณีที่มีเสียงวิจารณ์ การดำเนินการคดีเงินทอนวัด มีประเด็นทางการเมืองเกี่ยวข้องว่า การสอบสวนและการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ ทำไปตามข้อเท็จจริงที่มี ไม่มีอคติ หรือวาระซ่อนเร้น
"หลายคนได้รับข้อมูลจากโลกโซเชียล ออนไลน์ ที่มีการส่งข้อมูลกันมา ซึ่งเป็นความเท็จเสียส่วนใหญ่ โดยเฉพาะการระบุว่า มีวาระซ่อนเร้น หรือต้องการทำลายศาสนา โดยสิ่งที่รัฐบาลต้องการคือ ทำทุกอย่างให้เข้าระบบ หรืออย่างกรณีที่ ผู้อำนวยการ พศ. มีหนังสือขอบัญชีรายรับ - รายจ่าย ของวัด ซึ่งมีการปล่อยข่าวว่า รัฐบาลจะไปยึดเงิน ซึ่งไม่เป็นความจริง แต่สิ่งที่รัฐบาลต้องการคือ ทำให้บัญชีของวัด และบัญชีของพระสงฆ์ เป็นไปด้วยความชอบธรรม บางวัดที่ทำ เป็นตัวอย่างที่ดี อยากให้มาเป็นบทเรียน มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำให้ถูกต้อง ซึ่งฝ่ายความมั่นคงได้ดูแลเรื่องการเคลื่อนไหวต่อกรณีนี้อยู่แล้ว เข้าใจใจว่า เขามีข้อมูลว่าใครเป็นใคร หรือทำอะไรอยู่" นายสุวพันธุ์ กล่าว
ป.ป.ป.ขอข้อมูลจาก"วัดธาตุ"ขอนแก่น
วานนี้ (12 มิ.ย.) เจ้าหน้าที่กองบังคับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ (ป.ป.ป.) ได้เดินทางไปยัง วัดธาตุ พระอารามหลวง ริมบึงแก่นนคร จ.ขอนแก่น เพื่อขอข้อมูลจากพระผู้ใหญ่ ในฐานะที่ทางวัดตกเป็นผู้เสียหาย เพราะจากตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ พบว่างบประมาณกว่า 18 ล้านบาท ที่สำนักงานพระพุทธศาสนาโอนมาให้กับวัด มีเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกองพระพุทธศาสนาโอนเงินคืนมาเป็นของตนเอง โดยเหลือไว้ให้ทางวัดประมาณ 1 ล้านบาท
รายงานข่าวแจ้งว่า การทุจริตครั้งนี้ เจ้าอาวาส และพระสงฆ์ภายในวัด ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง แต่ผู้ที่ดำเนินการในเรื่องงบฯ คือ อดีตผู้อำนวยการกองพระพุทธศาสนา เมื่อปี 56 พฤติการณ์การกระทำผิด เจ้าหน้าที่ตรวจสอบพบว่า หลังจากที่ พศ. โอนเงินมาเข้าบัญชีของทางวัด อดีตผอ.กองพระพุทธศาสนา ในขณะนั้น จะเป็นผู้จัดการ โดยโอนเงินให้กับโรงเรียนปริยัติธรรม หรือโรงเรียนวิเวกธรรมประสิทธิ์วิทยา 3 ครั้ง ครั้งแรก 3 ล้านบาท ครั้งที่ 2 อีก 5 ล้านบาท และครั้งที่ 3 จำนวน 10 ล้าน รวมทั้งสิ้น 18 ล้านบาท
จากนั้น อดีต ผอ.กองพุทธศาสนาคนดังกล่าว ก็จะขอเงินงบประมาณคืนไปเกือบทั้งหมด เหลือไว้ให้โรงเรียนแค่ 1 ล้านบาทเท่านั้น โดยที่ทางโรงเรียนเข้าใจว่า เป็นขั้นตอนของทางราชการ ที่สามารถทำได้ จึงคืนให้ไป
การลงพื้นที่ของป.ป.ป. เพื่อสอบปากคำภายในวัดธาตุครั้งนี้ เป็นการสอบข้อเท็จจริงในฐานะพยาน โดยจะเน้นไปที่ การตรวจสอบการทุจริตของเจ้าหน้าที่กองพระพุทธศาสนาเป็นหลัก ไม่ได้มาตรวจสอบเพื่อเอาผิดพระแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม ทางเจ้าหน้าที่ ป.ป.ป.ได้สอบปากคำบุคคลในฐานะพยาน ภายในวัดไปแล้ว 3 ราย ขณะที่ผู้ถูกกล่าวหาในคดีนี้ ทางเจ้าหน้าที่จะรวบรวมหลักฐาน เสนอ ผอ.พศ. เพื่อร้องทุกข์กล่าวโทษดำเนินคดีต่อเจ้าหน้าที่ ที่ร่วมกันทุจจริต โดยจะเสนอไปที่สำนักงานป.ป.ช. คาดว่าจะต้องใช้ระยะเวลาในการรวบรวมพยานหลักฐานพอสมควร
องค์กรพุทธฯ ขู่ฟ้อง"พงศ์พร"
ด้านกลุ่มองค์กรชาวพุทธ นำโดย นายวรกร พงศ์ธนากุล ประธานเครือข่ายทนายและประชาชน ปกป้องพระพุทธศาสนา ไปยื่นหนังสือถึง พ.ต.ท.พงศ์พร พราหมณ์เสน่ห์ ผอ.พศ. โดยอาศัย พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสาร พ.ศ. 2540 ขอตรวจสอบว่า ได้มีการจัดทำหนังสือ ที่ พศ. 0001/06036 ลงวันที่ 8 มิ.ย.61 ถึง ผอ.พศ.จังหวัดทั่วประเทศ เพื่อสำรวจข้อมูลวัดที่มีการวางระบบจัดการด้านการเงินและบัญชีของวัดจริงหรือไม่ และใช้อำนาจตามกฎหมายใด เนื่องจากสิ่งที่ปรากฏเป็นข้อความในจดหมายฉบับดังกล่าว เป็นการกระทำที่อยู่เหนืออำนาจหน้าที่ พศ. โดยเฉพาะการขอข้อมูลวัด ที่มีการวางระบบเกี่ยวกับการจัดการด้านการเงินและบัญชี ซึ่งประเด็นนี้เข้าข่ายผิด มาตรา 157
นอกจากนี้ อยากมาทวงถามถึง ประเด็นที่ พศ. ยังไม่แจ้งความดำเนินคดีกับข้าราชการบางส่วน ที่เกี่ยวข้องกับการคดีทุจริตเงินทอนวัด ที่เป็นต้นเรื่องนี้ แต่กลับไปดำเนินการเอาผิดกับวัด และพระ ซึ่งถือเป็นปลายทางของคดี ซึ่งประเด็นนี้อยากทราบว่าทาง พศ. จะดำเนินการได้เมื่อใด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการยื่นหนังสือครั้งนี้ พ.ต.ท.พงศ์พร ได้มอบหมายให้ นายสิปป์บวร แก้วงาม รองโฆษก พศ. เป็นผู้มารับหนังสือแทน