อดีตโฆษกพันธมิตรฯ ระบุ คสช. มีสิทธิตั้งพรรค แต่รูปแบบวิธีการต้องสร้างความหวังให้กับประชาชน แนะดูบทเรียนการดูดส.ส. ในอดีต เป็นส่วนหนึ่งของการเมืองที่ล้มเหลว "อลงกรณ์" ชี้"พลังดูด" ต้นเหตุวงจรอุบาทว์ เตือนอย่าเดินหลงทาง “วิษณุ”ยันลงพื้นที่ไปแก้ปัญหา ไม่ใช่ไปดูด ส.ส.
นายสุริยะใส กตะศิลา รองคณบดีฯ วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต และ ผอ.สถาบันปฏิรูปประเทศไทย (สปท.) กล่าวถึงการดูด ส.ส. กลุ่มต่างๆ เพื่อตั้งพรรคการเมืองขนาดใหญ่ ว่า แม้กลายเป็นเรื่องปกติในวิถีการเมืองไทยที่ทำกันมาแทบทุกยุคสมัย เพื่อช่วงชิงอำนาจการเมือง แต่ก็ไม่ควรมองข้ามบทเรียนในอดีต ที่มักจะเป็นแค่พรรคเฉพาะกิจ อาจประสบความสำเร็จในช่วงสั้นๆ แต่ระยะยาวก็ล้มเหลว
ฉะนั้น พรรคที่จะตั้งขึ้นมาเพื่อสนับสนุน คสช. หรือพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็ต้องศึกษาบทเรียนจากในอดีต ที่สำคัญ ถ้าตั้งธงจะปฏิรูปประเทศกันหลังเลือกตั้ง หรือสานต่องานปฏิรูป ที่รัฐบาลชุดนี้คิดว่าได้วางไว้ ก็ต้องทำให้โครงสร้างของพรรค หรือการจัดขั้วอำนาจ เพื่อรองรับรัฐบาลหลังเลือกตั้งให้ความหวังกับประชาชนได้มากกว่าวิธีแบบนี้
อย่างไรก็ตาม บรรยากาศการดูด และกวาดต้อน ส.ส. สะท้อนสมการอำนาจที่ยังไม่เปลี่ยน ยังวนอยู่ในกับดักเดิม ซึ่งอาจจะส่งผลให้การเลือกตั้งไม่ได้สร้างความเชื่อมั่น ว่าประเทศจะดีขึ้นในเงื่อนไขสถานการณ์การเมืองแบบนี้ พรรคที่ คสช. สนับสนุน น่าจะมีความได้เปรียบกว่าทุกพรรค แต่การส่งสัญญาณดูด ส.ส. แบบนี้ อาจจะกระทบภาพลักษณ์ ความน่าเชื่อถือได้ เพราะประชาชนมองว่าเป็นวิธีเก่าๆ และเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาการเมืองที่ผ่านมา แต่อย่างไรก็ตาม ความคาดหวังของประชาชนต่อพรรคการเมืองโดยเฉพาะพรรคขนาดใหญ่ ที่มีโอกาสจัดตั้งรัฐบาลนั้น คงไม่มีใครอยากเห็นแต่ ภาพนักการเมืองหน้าเดิมๆ สลับหน้ากันอยู่ในกลุ่มและเครือข่ายเก่าๆ เท่านั้น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การเมืองล้มเหลว
"ถ้า คสช. คิดจะตั้งพรรค ก็ต้องยอมรับว่าเป็นสิทธิที่สามารถทำได้ตามรัฐธรรมนูญ แต่จะทำพรรคทั้งที่ก็ควรมีอะไรใหม่ๆ มาเสนอประชาชนด้วย เพราะเดิมพันในสนามเลือกตั้ง อาจไม่ง่ายอย่างที่คิดและอาจ ยากกว่าการทำรัฐประหาร" นายสุริยะใส กล่าว
ด้านนายอลงกรณ์ พลบุตร อดีต รองประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ และ อดีตรองหัวหน้าพรรคปชป. กล่าวถึง การเคลื่อนไหวจับขั้วการเมืองในขณะนี้ว่า ในอดีตมี 2 รัฐบาล ใช้โมเดลการรวมกลุ่มการเมือง และพรรคการเมืองต่างๆ จัดตั้งรัฐบาล แม้จะสำเร็จได้เป็นรัฐบาล แต่ได้สร้างระบบอุปถัมภ์ และการผูกขาด ทำให้การพัฒนาประชาธิปไตย การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมล้มเหลว เพราะฐานการเมืองต้องใช้ทุนในการเลือกตั้ง จึงมีการคอร์รัปชันตามมา การรับเงิน และหากินกับทุนใหญ่ โดยผู้นำรัฐบาลต้องปิดตาข้างหนึ่ง ทำอะไรไม่ได้ เนื่องจากต้องพึ่งพาเสียงสนับสนุนในสภา จึงเกิดระบอบประชาธิปไตยที่เป็นของกลุ่มการเมือง และกลุ่มนายทุนผูกขาด ไม่ใช่ประชาธิปไตยที่แท้จริง
ด้วยเหตุนี้ การปฏิรูปการเมืองจึงเสนอแนวทางปฏิรูปเชิงโครงสร้าง และระบบ เพื่อสร้างระบบการเมืองใหม่ สนับสนุนนักการเมืองและพรรคการเมือง ที่มีคุณภาพ มีคุณธรรม เพื่อให้เกิดระบอบประชาธิปไตยของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน ถ้าสร้างระบบการเมืองที่ดีไม่ได้ นักการเมืองจะถูกระบบกลืนกิน สูญสิ้นอุดมการณ์ ถึงกับต้องทุจริตโกงภาษีประชาชน โดยเฉพาะในระยะหลัง ในสภาผู้แทนต้องขายงบฯ ขายโครงการกินเปอร์เซนต์ จะปล่อยให้ประเทศชาติเป็นแบบนี้ และจะทำเช่นนี้อีกต่อไปหรือ
"กว่า 20 ปี ที่อยู่กับระบบการเมืองแบบนี้ ผมจึงไม่เชื่อว่าการเมืองเก่า จะสร้างระบบการเมืองใหม่ได้ในระยะยาว ลองทบทวนความผิดพลาดในอดีต ก็จะมองเห็น และเข้าใจโจทย์ใหญ่ข้อนี้ ประการสำคัญคือ ความสำเร็จของประเทศชาติ ควรเป็นเป้าหมายหลัก ไม่ใช่ความสำเร็จของผู้นำทางการเมืองบางคนบางพรรค เพียงชั่วครั้งชั่วคราว เช่น บทเรียนของ 2 รัฐบาลในอดีต เราไม่ควรเดินหลงทางอีกต่อไป" นายอลงกรณ์ กล่าว
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รักษาการ รองโฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวถึง กรณีการดึงตัวนักการเมืองเข้าร่วมงานกับรัฐบาล คสช. อย่างต่อเนื่อง ว่า จนถึงขณะนี้ยังไม่มีใครรู้แน่ชัดว่า การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นเมื่อไร แม้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. จะประกาศว่า เป็นเดือน ก.พ. 62 แต่ก็มีตัวแปร และปัจจัยแทรกซ้อนอีกมาก ดังนั้นระหว่างการรออะไรที่ไม่มีเป้าหมาย กับการรีบร้อนเข้าไปรับตำแหน่ง ถือเป็นการรับมัดจำ เพื่อให้มีหลักประกัน แม้เสี่ยงกับการขึ้นรถผิดคัน แต่เมื่อกลัวตกรถ ก็ต้องยอม
"การโชว์พลังดูด แม้จะดูเป็นการเมืองโบราณย้อนยุค แต่ใครอยากดูดใคร พรรคไหน กลุ่มใดอยากถูกดูด อยากเข้าไปหางานทำ เอาให้เต็มที่ ดูดกันให้สุดๆไปเลย ซึ่งทำให้เกิดความชัดเจนว่า แต่ละพรรคมีจุดยืนอย่างไร พรรคการเมืองจะได้แบ่งแยกกันอย่างชัดเจน ประชาชนจะตัดสินใจได้ง่ายขึ้น ระหว่างพรรคที่ต้องการสนับสนุนให้มีการสืบทอดอำนาจ กับพรรคที่ชูธงประชาธิปไตย ต่อสู้เรียกร้องเพื่อสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค สร้างโอกาสด้วยนโยบายที่นำพาประเทศชาติและประชาชนให้หลุดพ้นจากกับดักความยากจน" นายอนุสรณ์ กล่าว
ด้านนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึง กระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่า รัฐบาลลงพื้นที่ไหน ก็จะดึงนักการเมืองเจ้าพื้นที่นั้น มาเข้าร่วม ว่า ตนไม่มีความเห็นเรื่องนี้ แต่ไม่น่าจะเป็นเช่นที่เขาวิจารณ์ และไม่ใช่ว่าจะสุ่มสี่สุ่มห้า ไปที่ไหน การจะไปในพื้นที่ไหน ก็มีการกำหนดวาระไว้ล่วงหน้า วันนี้มีการมองไปถึงช่วงเดือนพ.ค. และมิ.ย. ว่าจะไปพื้นที่ใด เพื่อดูปัญหาอะไร ไม่เกี่ยวกับการไปดึง ไปดูดใคร การที่นักการเมืองตั้งข้อสังเกตนั้น ก็ตั้งกันอยู่ทุกวัน และที่กล่าวหาว่าเอาเปรียบนั้น ถามว่าจะให้รัฐบาลนั่งนิ่งๆ เฉยๆ ปิดประตูอยู่ในทำเนียบรัฐบาล ไม่ต้องทำอะไร ไม่ต้องบริหารราชการหรือ อย่างไร เพราะการลงพื้นที่ คือการบริหารราชการแผ่นดิน ถ้าไม่ทำนั่นจะถือว่าผิด
นายสุริยะใส กตะศิลา รองคณบดีฯ วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต และ ผอ.สถาบันปฏิรูปประเทศไทย (สปท.) กล่าวถึงการดูด ส.ส. กลุ่มต่างๆ เพื่อตั้งพรรคการเมืองขนาดใหญ่ ว่า แม้กลายเป็นเรื่องปกติในวิถีการเมืองไทยที่ทำกันมาแทบทุกยุคสมัย เพื่อช่วงชิงอำนาจการเมือง แต่ก็ไม่ควรมองข้ามบทเรียนในอดีต ที่มักจะเป็นแค่พรรคเฉพาะกิจ อาจประสบความสำเร็จในช่วงสั้นๆ แต่ระยะยาวก็ล้มเหลว
ฉะนั้น พรรคที่จะตั้งขึ้นมาเพื่อสนับสนุน คสช. หรือพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็ต้องศึกษาบทเรียนจากในอดีต ที่สำคัญ ถ้าตั้งธงจะปฏิรูปประเทศกันหลังเลือกตั้ง หรือสานต่องานปฏิรูป ที่รัฐบาลชุดนี้คิดว่าได้วางไว้ ก็ต้องทำให้โครงสร้างของพรรค หรือการจัดขั้วอำนาจ เพื่อรองรับรัฐบาลหลังเลือกตั้งให้ความหวังกับประชาชนได้มากกว่าวิธีแบบนี้
อย่างไรก็ตาม บรรยากาศการดูด และกวาดต้อน ส.ส. สะท้อนสมการอำนาจที่ยังไม่เปลี่ยน ยังวนอยู่ในกับดักเดิม ซึ่งอาจจะส่งผลให้การเลือกตั้งไม่ได้สร้างความเชื่อมั่น ว่าประเทศจะดีขึ้นในเงื่อนไขสถานการณ์การเมืองแบบนี้ พรรคที่ คสช. สนับสนุน น่าจะมีความได้เปรียบกว่าทุกพรรค แต่การส่งสัญญาณดูด ส.ส. แบบนี้ อาจจะกระทบภาพลักษณ์ ความน่าเชื่อถือได้ เพราะประชาชนมองว่าเป็นวิธีเก่าๆ และเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาการเมืองที่ผ่านมา แต่อย่างไรก็ตาม ความคาดหวังของประชาชนต่อพรรคการเมืองโดยเฉพาะพรรคขนาดใหญ่ ที่มีโอกาสจัดตั้งรัฐบาลนั้น คงไม่มีใครอยากเห็นแต่ ภาพนักการเมืองหน้าเดิมๆ สลับหน้ากันอยู่ในกลุ่มและเครือข่ายเก่าๆ เท่านั้น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การเมืองล้มเหลว
"ถ้า คสช. คิดจะตั้งพรรค ก็ต้องยอมรับว่าเป็นสิทธิที่สามารถทำได้ตามรัฐธรรมนูญ แต่จะทำพรรคทั้งที่ก็ควรมีอะไรใหม่ๆ มาเสนอประชาชนด้วย เพราะเดิมพันในสนามเลือกตั้ง อาจไม่ง่ายอย่างที่คิดและอาจ ยากกว่าการทำรัฐประหาร" นายสุริยะใส กล่าว
ด้านนายอลงกรณ์ พลบุตร อดีต รองประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ และ อดีตรองหัวหน้าพรรคปชป. กล่าวถึง การเคลื่อนไหวจับขั้วการเมืองในขณะนี้ว่า ในอดีตมี 2 รัฐบาล ใช้โมเดลการรวมกลุ่มการเมือง และพรรคการเมืองต่างๆ จัดตั้งรัฐบาล แม้จะสำเร็จได้เป็นรัฐบาล แต่ได้สร้างระบบอุปถัมภ์ และการผูกขาด ทำให้การพัฒนาประชาธิปไตย การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมล้มเหลว เพราะฐานการเมืองต้องใช้ทุนในการเลือกตั้ง จึงมีการคอร์รัปชันตามมา การรับเงิน และหากินกับทุนใหญ่ โดยผู้นำรัฐบาลต้องปิดตาข้างหนึ่ง ทำอะไรไม่ได้ เนื่องจากต้องพึ่งพาเสียงสนับสนุนในสภา จึงเกิดระบอบประชาธิปไตยที่เป็นของกลุ่มการเมือง และกลุ่มนายทุนผูกขาด ไม่ใช่ประชาธิปไตยที่แท้จริง
ด้วยเหตุนี้ การปฏิรูปการเมืองจึงเสนอแนวทางปฏิรูปเชิงโครงสร้าง และระบบ เพื่อสร้างระบบการเมืองใหม่ สนับสนุนนักการเมืองและพรรคการเมือง ที่มีคุณภาพ มีคุณธรรม เพื่อให้เกิดระบอบประชาธิปไตยของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน ถ้าสร้างระบบการเมืองที่ดีไม่ได้ นักการเมืองจะถูกระบบกลืนกิน สูญสิ้นอุดมการณ์ ถึงกับต้องทุจริตโกงภาษีประชาชน โดยเฉพาะในระยะหลัง ในสภาผู้แทนต้องขายงบฯ ขายโครงการกินเปอร์เซนต์ จะปล่อยให้ประเทศชาติเป็นแบบนี้ และจะทำเช่นนี้อีกต่อไปหรือ
"กว่า 20 ปี ที่อยู่กับระบบการเมืองแบบนี้ ผมจึงไม่เชื่อว่าการเมืองเก่า จะสร้างระบบการเมืองใหม่ได้ในระยะยาว ลองทบทวนความผิดพลาดในอดีต ก็จะมองเห็น และเข้าใจโจทย์ใหญ่ข้อนี้ ประการสำคัญคือ ความสำเร็จของประเทศชาติ ควรเป็นเป้าหมายหลัก ไม่ใช่ความสำเร็จของผู้นำทางการเมืองบางคนบางพรรค เพียงชั่วครั้งชั่วคราว เช่น บทเรียนของ 2 รัฐบาลในอดีต เราไม่ควรเดินหลงทางอีกต่อไป" นายอลงกรณ์ กล่าว
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รักษาการ รองโฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวถึง กรณีการดึงตัวนักการเมืองเข้าร่วมงานกับรัฐบาล คสช. อย่างต่อเนื่อง ว่า จนถึงขณะนี้ยังไม่มีใครรู้แน่ชัดว่า การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นเมื่อไร แม้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. จะประกาศว่า เป็นเดือน ก.พ. 62 แต่ก็มีตัวแปร และปัจจัยแทรกซ้อนอีกมาก ดังนั้นระหว่างการรออะไรที่ไม่มีเป้าหมาย กับการรีบร้อนเข้าไปรับตำแหน่ง ถือเป็นการรับมัดจำ เพื่อให้มีหลักประกัน แม้เสี่ยงกับการขึ้นรถผิดคัน แต่เมื่อกลัวตกรถ ก็ต้องยอม
"การโชว์พลังดูด แม้จะดูเป็นการเมืองโบราณย้อนยุค แต่ใครอยากดูดใคร พรรคไหน กลุ่มใดอยากถูกดูด อยากเข้าไปหางานทำ เอาให้เต็มที่ ดูดกันให้สุดๆไปเลย ซึ่งทำให้เกิดความชัดเจนว่า แต่ละพรรคมีจุดยืนอย่างไร พรรคการเมืองจะได้แบ่งแยกกันอย่างชัดเจน ประชาชนจะตัดสินใจได้ง่ายขึ้น ระหว่างพรรคที่ต้องการสนับสนุนให้มีการสืบทอดอำนาจ กับพรรคที่ชูธงประชาธิปไตย ต่อสู้เรียกร้องเพื่อสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค สร้างโอกาสด้วยนโยบายที่นำพาประเทศชาติและประชาชนให้หลุดพ้นจากกับดักความยากจน" นายอนุสรณ์ กล่าว
ด้านนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึง กระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่า รัฐบาลลงพื้นที่ไหน ก็จะดึงนักการเมืองเจ้าพื้นที่นั้น มาเข้าร่วม ว่า ตนไม่มีความเห็นเรื่องนี้ แต่ไม่น่าจะเป็นเช่นที่เขาวิจารณ์ และไม่ใช่ว่าจะสุ่มสี่สุ่มห้า ไปที่ไหน การจะไปในพื้นที่ไหน ก็มีการกำหนดวาระไว้ล่วงหน้า วันนี้มีการมองไปถึงช่วงเดือนพ.ค. และมิ.ย. ว่าจะไปพื้นที่ใด เพื่อดูปัญหาอะไร ไม่เกี่ยวกับการไปดึง ไปดูดใคร การที่นักการเมืองตั้งข้อสังเกตนั้น ก็ตั้งกันอยู่ทุกวัน และที่กล่าวหาว่าเอาเปรียบนั้น ถามว่าจะให้รัฐบาลนั่งนิ่งๆ เฉยๆ ปิดประตูอยู่ในทำเนียบรัฐบาล ไม่ต้องทำอะไร ไม่ต้องบริหารราชการหรือ อย่างไร เพราะการลงพื้นที่ คือการบริหารราชการแผ่นดิน ถ้าไม่ทำนั่นจะถือว่าผิด