ผู้ถือหุ้น ปตท.ไฟเขียว แตกพาร์หุ้นจาก10 บาท/หุ้น เป็น 1บาท/หุ้น เริ่มเทรดราคาใหม่ต้นพ.ค.นี้ “บิ๊ก ปตท.” เผยเตรียมทยอยขึ้นโลโก้ PTTOR แทนโลโก้เดิม หลังโอนทรัพย์สินเสร็จในไตรมาส 3/61 ลั่นพร้อมเทรดหุ้น PTTOR ในตลาดหุ้นปี 62 เปิดฟลอร์ “ซีอีโอปตท.คนใหม่” โชว์วิสัยทัศน์ ชูโครงการ PTT 3D
วานนี้ (12เม.ย.) นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เปิดเผยในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2561 ว่า ปตท.จะโอนกิจการของหน่วยธุรกิจน้ำมันรวมทั้งทรัพย์สินและหนี้สินของหน่วยงานดังกล่าวให้กับ บริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) (PTTOR)ได้ภายในไตรมาส 3/2561 และอยู่ระหว่างการคัดเลือกที่ปรึกษาทางการเงิน ก่อนยื่นไฟลิ่ง เพื่อเสนอขายหุ้นให้กับประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก(IPO)คาดว่าจะนำเทรดหุ้น PTTORในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในปี 62 โดยปตท. และหน่วยงานของภาครัฐจะถือหุ้นใน PTTORต่ำกว่า 50% โดยปตท. จะถือหุ้นไม่น้อยกว่า 45% ทั้งนี้จะจำกัดสิทธิการถือหุ้นของต่างชาติไม่เกิน 25% และแต่ละรายจะถือหุ้นไม่เกิน 3% ส่วนการเสนอขายหุ้น IPOของ PTTORให้กับผู้ถือหุ้นของปตท.ไม่เกิน 5% ของIPO
“ปตท.ได้สร้างเครื่องหมายการค้าใหม่แบบผสม โดยมีรูปเปลวเพลิงเป็นหนึ่งในองค์ประกอบ และมีอักษร ORอยู่ใกล้เปลวเพลิง ซี่งการเปลี่ยนแปลงโลโก้ดังกล่าวนี้ ทำให้การโอนกิจการธุรกิจน้ำมันให้กับ PTTORไม่ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมทุนในกิจการของรัฐ (PPP)” นายเทวินทร์ ระบุ
นายเทวินทร์ กล่าวถึงแผนงานของกลุ่มปตท.ในปีนี้ด้วยว่า จะมีการก่อสร้างท่อส่งก๊าซธรรมชาติเส้นที่ 5 , คลังก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG)แห่งที่ 2 , การขยายธุรกิจไปยังภูมิภาค โดยเฉพาะการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ที่จะเน้นไปยังพื้นที่ที่มีความชำนาญ ธุรกิจน้ำมันจะขยายสถานีบริการน้ำมัน และร้านคาเฟ่อเมซอนไปยังภูมิภาค นอกจากนี้ยังมองหาธุรกิจใหม่ในห่วงโซ่ธุรกิจไฟฟ้า(Electricity Value Chain)รองรับพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของ ผู้บริโภค ทั้งในเรื่องการผลิตไฟฟ้า ระบบกักเก็บพลังงาน(ESS)สถานีอัดประจุไฟฟ้า (EV)หรือ EV Chargerตลอดจนยานยนต์ไฟฟ้า เป็นต้น ซึ่งก็ได้ตั้งทีมศึกษาเพื่อเตรียมการและกำหนดลงทุนใหม่ให้ชัดเจนคาดว่าในเวลาไม่นานคงจะสามารถประกาศการลงทุนจากธุรกิจใหม่ได้ นอกจากนี้ยังมองหาโอกาสการลงทุนในธุรกิจสายไบโอชีวภาพ ในพื้นที่พัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(EEC)ด้วย ส่วนความคืบหน้าการขายสินทรัพย์ธุรกิจปาล์มน้ำมันในอินโดนีเซีย ปัจจุบันได้ขายไปแล้ว 4 โครงการ ยังเหลืออีก 1 โครงการ คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จใน1-2 ปีนี้
ด้านนายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่ปฎิบัติการกลุ่มปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า สถานีบริการน้ำมันปตท. จะเริ่มทยอยเปลี่ยนโลโก้ปตท. ซึ่งเป็นรูปเปลวเพลิง เป็นโลโก้ใหม่ PTTOR หลังจากปตท.ได้โอนทรัพย์สินให้กับPTTORแล้วในไตรมาส 3 นี้ ส่วนความคืบหน้าการหาพันธมิตรร่วมทุนโรงแรมราคาประหยัดในสถานีบริการน้ำมันนั้น จะสรุปรายชื่อพันธมิตรได้ในไตรมาส 2/61 หลังจากนั้นจะต้องหารือกับพันธมิตรในการคัดเลือกรูปแบบและปั๊มน้ำมันที่จะสร้างโรงแรม คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างโรงแรมราคาประหยัดได้ในปี 62 โดยปตท.จะเป็นผู้ลงทุนเริ่มแรกก่อน 5 แห่ง หลังจากนั้นค่อยพิจารณาขยายให้ดีลเลอร์เป็นผู้ลงทุนต่อไป
ด้านนายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ประธานกรรมการ บมจ.ปตท. กล่าวถึงการดำเนินธุรกิจถ่านหินของปตท.ว่า ปัจจุบันธุรกิจถ่านหินในอินโดนีเซีย ยังเป็นไปด้วยดีและยังมีกำไร แต่ในอนาคตที่ทั่วโลกให้ความสำคัญกับภาวะโลกร้อน ก็จะมีผลต่อการใช้ถ่านหินทั่วโลกในระยะยาว โดยส่วนตัวเห็นว่า ปตท.ไม่ควรขยายธุรกิจถ่านหินเพิ่มจากที่มีอยู่แล้ว แต่หากสามารถขายได้ราคาดี ก็ควรจะพิจารณาขายออกไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 61 ของบมจ.ปตท.ได้อนุมัติการแตกพาร์ จากเดิม 10 บาท เหลือหุ้นละ 1 บาท เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้นักลงทุนไทยเข้าถึงหุ้นปตท.ได้มากขึ้น หลังราคาหุ้นที่ลดลงโดยคาดว่าจะเริ่มเทรดพาร์ใหม่ได้ ในช่วงต้นเดือนพ.ค.นี้ ปัจจุบันปตท. มีทุนจดทะเบียน 28,562,996,250บาท มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ10บาท คิดเป็นจำนวนหุ้น 2,856,299,625 หุ้น แต่เมื่อมีการแตกพาร์แล้ว จำนวนหุ้นปตท.จะเพิ่มเป็น 28,562,996,250 หุ้น
ในระหว่างประชุม นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร ประธานเจ้าหน้าที่เทคโนโลยีและวิศวกรรม และว่าที่ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่คนใหม่ บมจ.ปตท. กล่าวถึง วิสัยทัศน์การทำงานของปตท.ในอนาคตว่า ตนจะดำเนินการต่อยอดแผนกลยุทธ์ของปตท.ตามโครงการ PTT 3D คือ Do now เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน โดยการเพิ่มผลผลิต (Productivity Improvement) Decide now เร่งตัดสินใจการลงทุนเพื่อการเติบโตโดยมุ่งเน้นความชำนาญในธุรกิจปัจจุบัน และต่อยอดธุรกิจเดิม โดยเฉพาะในส่วนของธุรกิจโรงกลั่นก็จะเน้นไปในส่วนผลิตเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีมากกว่าการกลั่นเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์น้ำมันที่อาจจะมีความต้องการใช้ลดลงเมื่อยานยนต์ไฟฟ้าเข้ามามากขึ้น ขณะที่ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี ยังมีความต้องการมากขึ้นและต่อเนื่องในอนาคต และ Design now ลงทุนใน New S-Curve เพื่อการเติบโตในระยะยาว ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของโลกตามทิศทางเทคโนโลยีใหม่.
วานนี้ (12เม.ย.) นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เปิดเผยในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2561 ว่า ปตท.จะโอนกิจการของหน่วยธุรกิจน้ำมันรวมทั้งทรัพย์สินและหนี้สินของหน่วยงานดังกล่าวให้กับ บริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) (PTTOR)ได้ภายในไตรมาส 3/2561 และอยู่ระหว่างการคัดเลือกที่ปรึกษาทางการเงิน ก่อนยื่นไฟลิ่ง เพื่อเสนอขายหุ้นให้กับประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก(IPO)คาดว่าจะนำเทรดหุ้น PTTORในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในปี 62 โดยปตท. และหน่วยงานของภาครัฐจะถือหุ้นใน PTTORต่ำกว่า 50% โดยปตท. จะถือหุ้นไม่น้อยกว่า 45% ทั้งนี้จะจำกัดสิทธิการถือหุ้นของต่างชาติไม่เกิน 25% และแต่ละรายจะถือหุ้นไม่เกิน 3% ส่วนการเสนอขายหุ้น IPOของ PTTORให้กับผู้ถือหุ้นของปตท.ไม่เกิน 5% ของIPO
“ปตท.ได้สร้างเครื่องหมายการค้าใหม่แบบผสม โดยมีรูปเปลวเพลิงเป็นหนึ่งในองค์ประกอบ และมีอักษร ORอยู่ใกล้เปลวเพลิง ซี่งการเปลี่ยนแปลงโลโก้ดังกล่าวนี้ ทำให้การโอนกิจการธุรกิจน้ำมันให้กับ PTTORไม่ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมทุนในกิจการของรัฐ (PPP)” นายเทวินทร์ ระบุ
นายเทวินทร์ กล่าวถึงแผนงานของกลุ่มปตท.ในปีนี้ด้วยว่า จะมีการก่อสร้างท่อส่งก๊าซธรรมชาติเส้นที่ 5 , คลังก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG)แห่งที่ 2 , การขยายธุรกิจไปยังภูมิภาค โดยเฉพาะการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ที่จะเน้นไปยังพื้นที่ที่มีความชำนาญ ธุรกิจน้ำมันจะขยายสถานีบริการน้ำมัน และร้านคาเฟ่อเมซอนไปยังภูมิภาค นอกจากนี้ยังมองหาธุรกิจใหม่ในห่วงโซ่ธุรกิจไฟฟ้า(Electricity Value Chain)รองรับพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของ ผู้บริโภค ทั้งในเรื่องการผลิตไฟฟ้า ระบบกักเก็บพลังงาน(ESS)สถานีอัดประจุไฟฟ้า (EV)หรือ EV Chargerตลอดจนยานยนต์ไฟฟ้า เป็นต้น ซึ่งก็ได้ตั้งทีมศึกษาเพื่อเตรียมการและกำหนดลงทุนใหม่ให้ชัดเจนคาดว่าในเวลาไม่นานคงจะสามารถประกาศการลงทุนจากธุรกิจใหม่ได้ นอกจากนี้ยังมองหาโอกาสการลงทุนในธุรกิจสายไบโอชีวภาพ ในพื้นที่พัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(EEC)ด้วย ส่วนความคืบหน้าการขายสินทรัพย์ธุรกิจปาล์มน้ำมันในอินโดนีเซีย ปัจจุบันได้ขายไปแล้ว 4 โครงการ ยังเหลืออีก 1 โครงการ คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จใน1-2 ปีนี้
ด้านนายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่ปฎิบัติการกลุ่มปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า สถานีบริการน้ำมันปตท. จะเริ่มทยอยเปลี่ยนโลโก้ปตท. ซึ่งเป็นรูปเปลวเพลิง เป็นโลโก้ใหม่ PTTOR หลังจากปตท.ได้โอนทรัพย์สินให้กับPTTORแล้วในไตรมาส 3 นี้ ส่วนความคืบหน้าการหาพันธมิตรร่วมทุนโรงแรมราคาประหยัดในสถานีบริการน้ำมันนั้น จะสรุปรายชื่อพันธมิตรได้ในไตรมาส 2/61 หลังจากนั้นจะต้องหารือกับพันธมิตรในการคัดเลือกรูปแบบและปั๊มน้ำมันที่จะสร้างโรงแรม คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างโรงแรมราคาประหยัดได้ในปี 62 โดยปตท.จะเป็นผู้ลงทุนเริ่มแรกก่อน 5 แห่ง หลังจากนั้นค่อยพิจารณาขยายให้ดีลเลอร์เป็นผู้ลงทุนต่อไป
ด้านนายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ประธานกรรมการ บมจ.ปตท. กล่าวถึงการดำเนินธุรกิจถ่านหินของปตท.ว่า ปัจจุบันธุรกิจถ่านหินในอินโดนีเซีย ยังเป็นไปด้วยดีและยังมีกำไร แต่ในอนาคตที่ทั่วโลกให้ความสำคัญกับภาวะโลกร้อน ก็จะมีผลต่อการใช้ถ่านหินทั่วโลกในระยะยาว โดยส่วนตัวเห็นว่า ปตท.ไม่ควรขยายธุรกิจถ่านหินเพิ่มจากที่มีอยู่แล้ว แต่หากสามารถขายได้ราคาดี ก็ควรจะพิจารณาขายออกไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 61 ของบมจ.ปตท.ได้อนุมัติการแตกพาร์ จากเดิม 10 บาท เหลือหุ้นละ 1 บาท เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้นักลงทุนไทยเข้าถึงหุ้นปตท.ได้มากขึ้น หลังราคาหุ้นที่ลดลงโดยคาดว่าจะเริ่มเทรดพาร์ใหม่ได้ ในช่วงต้นเดือนพ.ค.นี้ ปัจจุบันปตท. มีทุนจดทะเบียน 28,562,996,250บาท มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ10บาท คิดเป็นจำนวนหุ้น 2,856,299,625 หุ้น แต่เมื่อมีการแตกพาร์แล้ว จำนวนหุ้นปตท.จะเพิ่มเป็น 28,562,996,250 หุ้น
ในระหว่างประชุม นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร ประธานเจ้าหน้าที่เทคโนโลยีและวิศวกรรม และว่าที่ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่คนใหม่ บมจ.ปตท. กล่าวถึง วิสัยทัศน์การทำงานของปตท.ในอนาคตว่า ตนจะดำเนินการต่อยอดแผนกลยุทธ์ของปตท.ตามโครงการ PTT 3D คือ Do now เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน โดยการเพิ่มผลผลิต (Productivity Improvement) Decide now เร่งตัดสินใจการลงทุนเพื่อการเติบโตโดยมุ่งเน้นความชำนาญในธุรกิจปัจจุบัน และต่อยอดธุรกิจเดิม โดยเฉพาะในส่วนของธุรกิจโรงกลั่นก็จะเน้นไปในส่วนผลิตเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีมากกว่าการกลั่นเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์น้ำมันที่อาจจะมีความต้องการใช้ลดลงเมื่อยานยนต์ไฟฟ้าเข้ามามากขึ้น ขณะที่ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี ยังมีความต้องการมากขึ้นและต่อเนื่องในอนาคต และ Design now ลงทุนใน New S-Curve เพื่อการเติบโตในระยะยาว ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของโลกตามทิศทางเทคโนโลยีใหม่.