"สมชัย" เปิดคำทำนายที่ 7 เชื่อ กกต. ต้องเดินตามก้น คสช. ปมกำหนดวันเลือกตั้ง ทั้งที่ตาม รธน. กำหนดเป็นอำนาจของตัวเอง ขณะที่ปัญหารธน. มาตรา 268 จัดเลือกตั้งเสร็จ 150 วัน เชื่อทุกฝ่ายตีความหมายถึงแค่หย่อนบัตร หวังมีเวลาเตรียมตัวมากสุด แต่เสี่ยงถูกคนแพ้ร้องล้มเลือกตั้ง หวั่นสุดท้าย กกต.เป็นแพะรับทั้ง แพ่ง-อาญา คนเดียว "องอาจ" ชี้ ใช้ ม. 44 ปลด "สมชัย" กระทบความเชื่อมั่น กกต.-องค์กรอิสระ
นายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีต กกต. เปิดคำทำนายที่ 7 เกี่ยวกับการเลือกตั้งที่จะมีขึ้น หลังถูกคำสั่ง คสช. ให้ยุติการปฏิบัติหน้าที่ กกต. โดยนายสมชัยได้ระบุถึง 6 คำทำนายในอดีต ขณะปฏิบัติหน้าที่จัดการเลือกตั้งที่ทุกคำทำนายเกิดขึ้นจริง โดยนายสมชัย กล่าวว่า การจัดการเลือกตั้งที่จะมีขึ้น มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องคือ มาตรา 102 และ มาตรา 103 ของรธน. กำหนดให้รัฐบาลเป็นผู้ประกาศกฤษฎีกาเลือกตั้ง ส่วนกกต. เป็นคนกำหนดวันเลือกตั้ง ภายในกรอบเวลา 45 วัน หรือ 60 วัน โดยกกต.ต้องดำเนินการประกาศวันเลือกตั้ง ภายใน 5 วัน หลังจากรัฐบาลประกาศกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้ง
มาตรา 268 ของรธน. ให้ กกต.ต้องจัดการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จภายใน 150 วัน หลังจากกม.ลูกสำคัญ 4 ฉบับ คือ พ.ร.ป.ว่าด้วยส.ส. พ.ร.ป.ว่าด้วย ส.ว. พ.ร.ป.พรรคการเมือง และ พ.ร.ป.ว่าด้วย กกต. มีผลบังคับใช้ และ ข้อ 8 ของคำสั่ง คสช. ที่ 53/2560 กำหนดให้ ครม.หารือกกต.-กรธ.-ประธาน สนช. และอาจเชิญพรรคการเมือง หรือกลุ่มการเมืองเข้ารือกัน เพื่อให้มีข้อสรุปแจ้ง คสช.ให้แก้ไขคำสั่ง คสช. ทั้งหลายที่เป็นอุปสรรคต่อการเลือกตั้ง และกำหนดแผนขั้นตอนไปสู่การเลือกตั้ง ตามที่รธน.กำหนด ซึ่งจากการอ้าง รธน.และคำสั่ง คสช. ดังกล่าว ทำให้เห็นว่า มีประเด็นที่อาจเป็นปัญหาในอนาคตอย่างน้อย 2 ประการ คือ 1. ใครเป็นผู้ประกาศวันเลือกตั้ง และ 2. วันเลือกตั้งควรใช้เต็มกรอบ 150 วัน หรือจะเผื่อการประกาศผล เนื่องจากไม่ชัดเจนในคำว่า "การจัดการเลือกตั้งที่แล้วเสร็จ" คืออะไร
ในประเด็นใครเป็นผู้ประกาศวันเลือกตั้ง เชื่อว่าในทางนิตินัย ครม. และคสช. คงยอมถอยให้ กกต. เป็นผู้ประกาศ ตามกม. เพราะรธน. ย่อมใหญ่กว่าคำสั่งคสช. แต่ในทางพฤตินัย คสช. คงใช้อำนาจเพื่อให้กกต.ประกาศวันเลือกตั้ง ตามที่ตนต้องการ โดยอาศัยฉันทามติของการประชุมปรึกษาหารือ ตามข้อ 8 ของคำสั่ง คสช.ที่ 53/2560
"แต่การตัดสินใจที่จะเกิดขึ้นตามมาคือ วันเลือกตั้งวันใด แม้ในทางพฤตินัย มาจากความเห็นชอบร่วมทุกฝ่าย แต่ในทางนิตินัยหากเกิดความผิดพลาด จนทำให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ กกต.จะเป็นผู้รับผิดทั้งทางแพ่ง และทางอาญา อย่างหลีกเลี่ยงมิได้"
ส่วนปัญหาการจัดการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จใน 150 วัน หมายถึง ประกาศผลด้วยหรือไม่นั้น ในกรณีนี้พรรคการเมืองที่มีความพร้อมน้อยกว่า ต้องการเวลาในการเตรียมพรรค และการหาเสียง สนง.กกต. ที่ต้องการเวลาที่มากที่สุดในการเตรียมการทางธุรการ รวมทั้งเจตนาในการเลือกตั้งของ ครม.-คสช. และสนช. ย่อมเป็นแรงผลักดันให้ กกต.ใช้กรอบเวลา 150 วัน เพื่อการลงบัตรอย่างเดียว ไม่หมายรวมถึงการประกาศผลด้วย แต่หากกกต.ต้องการความปลอดภัยในผลการตัดสินใจ กกต.อาจกำหนดวันเลือกตั้งในเวลาประมาณ 90-100 วัน และ เหลือเวลา 50-60 วันไว้ เพื่อประกาศผลให้ได้ร้ อยละ 95 ของจำนวนส.ส.ทั้งหมด
"คนแพ้ ฟ้องศาลรธน. ส่วนคนแพ้ที่แท้ คือ กกต.หากกำหนดเลือกตั้งยืดตามกรอบ 150 วันเต็ม คนชนะเลือกตั้ง คงไม่ทำอะไร แต่หากเป็นคนแพ้เป็นผู้มีอำนาจ อิทธิพล ฟ้องไปยังศาลรธน. หากศาลฯบอกไม่ผิด ก็แล้วไป แต่หากศาลฯพิจารณาว่า การเลือกตั้งให้แล้วเสร็จ คือต้องรวมประกาศผล การเลือกตั้งที่เกิดขึ้น จะเป็นโมฆะ เงินจัดการเลือกตั้งเกือบ 5,000 ล้านบาท ต้องสูญเปล่า กกต.คงไม่อาจอ้างผลการปรึกษาหารือกับใครได้ เพราะการตัดสินประกาศวันเลือกตั้ง เป็นอำนาจของกกต. ตามรธน. ทางอาญา คือการตัดสินใจโดยประมาท ปราศจากความรอบคอบ ทำให้รัฐ ได้รับความเสียหาย
ทางแพ่ง คือ ค่าใช้จ่ายในการจัดการเลือกตั้งเกือบ 5,000 ล้านที่ กกต. 4 หรือ 7 คน ที่ร่วมกันชดใช้ คำทำนายนี้โปรดใช้วิจารณญาณในการรับฟัง ไม่ได้ขอให้ใครเชื่อครับ"นายสมชัย กล่าว
ด้านนายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการใช้อำนาจตาม มาตรา 44 ปลด นายสมชัย พ้น กกต.ว่า เป็นการใช้อำนาจกับองค์กรอิสระ ที่จะก่อให้เกิดผลสะเทือนตามมา กับการทำงานขององค์กรอิสระหลายประการ โดยในประเด็นการปลดนายสมชัย นั้นมีข้อควรพิจารณา ดังนี้
1. การใช้ มาตรา 44 ปลดโดยอ้างเหตุผลเกี่ยวกับการสัมภาษณ์ทำให้เกิดความสับสนเกี่ยวกับการเลือกตั้ง เป็นการใช้อำนาจเกินสมควร เพราะการให้สัมภาษณ์ของบุคคลคนเดียวไม่อาจสร้างความสับสนได้ แต่ความสับสนเกี่ยวกับการเลือกตั้ง เกิดจากการเลื่อนโรดแมป และแม่น้ำห้าสาย ที่มีการเล่นแร่แปรธาตุ จนก่อให้เกิดความไม่แน่นอน หากนายกฯ แสดงความจริงใจกำหนดวันเลือกตั้งที่ชัดเจน ก็จะไม่เกิดความสับสนเหมือนอย่างที่ผ่านมา
2. ส่งผลกระทบกับความเชื่อมั่น กับการทำหน้าที่ของ กกต.ในอนาคต เพราะจะเกิดความวิตกกังวลว่า กกต.จะทำหน้าที่ได้อย่างสุจริต เที่ยงธรรมหรือไม่ โดยกกต.ที่เหลืออยู่ หรือกกต.ที่จะเข้ามาใหม่ ต้องทำงานสนองคสช. เพื่อไม่ให้พ้นจากตำแหน่ง
3. ส่งผลกระทบต่อกความเชื่อมั่นในการทำงานขององค์กรอิสระว่าจะทำหน้าที่โดยไม่ถูกแทรกแซงจากผู้มีอำนาจ
นายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีต กกต. เปิดคำทำนายที่ 7 เกี่ยวกับการเลือกตั้งที่จะมีขึ้น หลังถูกคำสั่ง คสช. ให้ยุติการปฏิบัติหน้าที่ กกต. โดยนายสมชัยได้ระบุถึง 6 คำทำนายในอดีต ขณะปฏิบัติหน้าที่จัดการเลือกตั้งที่ทุกคำทำนายเกิดขึ้นจริง โดยนายสมชัย กล่าวว่า การจัดการเลือกตั้งที่จะมีขึ้น มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องคือ มาตรา 102 และ มาตรา 103 ของรธน. กำหนดให้รัฐบาลเป็นผู้ประกาศกฤษฎีกาเลือกตั้ง ส่วนกกต. เป็นคนกำหนดวันเลือกตั้ง ภายในกรอบเวลา 45 วัน หรือ 60 วัน โดยกกต.ต้องดำเนินการประกาศวันเลือกตั้ง ภายใน 5 วัน หลังจากรัฐบาลประกาศกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้ง
มาตรา 268 ของรธน. ให้ กกต.ต้องจัดการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จภายใน 150 วัน หลังจากกม.ลูกสำคัญ 4 ฉบับ คือ พ.ร.ป.ว่าด้วยส.ส. พ.ร.ป.ว่าด้วย ส.ว. พ.ร.ป.พรรคการเมือง และ พ.ร.ป.ว่าด้วย กกต. มีผลบังคับใช้ และ ข้อ 8 ของคำสั่ง คสช. ที่ 53/2560 กำหนดให้ ครม.หารือกกต.-กรธ.-ประธาน สนช. และอาจเชิญพรรคการเมือง หรือกลุ่มการเมืองเข้ารือกัน เพื่อให้มีข้อสรุปแจ้ง คสช.ให้แก้ไขคำสั่ง คสช. ทั้งหลายที่เป็นอุปสรรคต่อการเลือกตั้ง และกำหนดแผนขั้นตอนไปสู่การเลือกตั้ง ตามที่รธน.กำหนด ซึ่งจากการอ้าง รธน.และคำสั่ง คสช. ดังกล่าว ทำให้เห็นว่า มีประเด็นที่อาจเป็นปัญหาในอนาคตอย่างน้อย 2 ประการ คือ 1. ใครเป็นผู้ประกาศวันเลือกตั้ง และ 2. วันเลือกตั้งควรใช้เต็มกรอบ 150 วัน หรือจะเผื่อการประกาศผล เนื่องจากไม่ชัดเจนในคำว่า "การจัดการเลือกตั้งที่แล้วเสร็จ" คืออะไร
ในประเด็นใครเป็นผู้ประกาศวันเลือกตั้ง เชื่อว่าในทางนิตินัย ครม. และคสช. คงยอมถอยให้ กกต. เป็นผู้ประกาศ ตามกม. เพราะรธน. ย่อมใหญ่กว่าคำสั่งคสช. แต่ในทางพฤตินัย คสช. คงใช้อำนาจเพื่อให้กกต.ประกาศวันเลือกตั้ง ตามที่ตนต้องการ โดยอาศัยฉันทามติของการประชุมปรึกษาหารือ ตามข้อ 8 ของคำสั่ง คสช.ที่ 53/2560
"แต่การตัดสินใจที่จะเกิดขึ้นตามมาคือ วันเลือกตั้งวันใด แม้ในทางพฤตินัย มาจากความเห็นชอบร่วมทุกฝ่าย แต่ในทางนิตินัยหากเกิดความผิดพลาด จนทำให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ กกต.จะเป็นผู้รับผิดทั้งทางแพ่ง และทางอาญา อย่างหลีกเลี่ยงมิได้"
ส่วนปัญหาการจัดการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จใน 150 วัน หมายถึง ประกาศผลด้วยหรือไม่นั้น ในกรณีนี้พรรคการเมืองที่มีความพร้อมน้อยกว่า ต้องการเวลาในการเตรียมพรรค และการหาเสียง สนง.กกต. ที่ต้องการเวลาที่มากที่สุดในการเตรียมการทางธุรการ รวมทั้งเจตนาในการเลือกตั้งของ ครม.-คสช. และสนช. ย่อมเป็นแรงผลักดันให้ กกต.ใช้กรอบเวลา 150 วัน เพื่อการลงบัตรอย่างเดียว ไม่หมายรวมถึงการประกาศผลด้วย แต่หากกกต.ต้องการความปลอดภัยในผลการตัดสินใจ กกต.อาจกำหนดวันเลือกตั้งในเวลาประมาณ 90-100 วัน และ เหลือเวลา 50-60 วันไว้ เพื่อประกาศผลให้ได้ร้ อยละ 95 ของจำนวนส.ส.ทั้งหมด
"คนแพ้ ฟ้องศาลรธน. ส่วนคนแพ้ที่แท้ คือ กกต.หากกำหนดเลือกตั้งยืดตามกรอบ 150 วันเต็ม คนชนะเลือกตั้ง คงไม่ทำอะไร แต่หากเป็นคนแพ้เป็นผู้มีอำนาจ อิทธิพล ฟ้องไปยังศาลรธน. หากศาลฯบอกไม่ผิด ก็แล้วไป แต่หากศาลฯพิจารณาว่า การเลือกตั้งให้แล้วเสร็จ คือต้องรวมประกาศผล การเลือกตั้งที่เกิดขึ้น จะเป็นโมฆะ เงินจัดการเลือกตั้งเกือบ 5,000 ล้านบาท ต้องสูญเปล่า กกต.คงไม่อาจอ้างผลการปรึกษาหารือกับใครได้ เพราะการตัดสินประกาศวันเลือกตั้ง เป็นอำนาจของกกต. ตามรธน. ทางอาญา คือการตัดสินใจโดยประมาท ปราศจากความรอบคอบ ทำให้รัฐ ได้รับความเสียหาย
ทางแพ่ง คือ ค่าใช้จ่ายในการจัดการเลือกตั้งเกือบ 5,000 ล้านที่ กกต. 4 หรือ 7 คน ที่ร่วมกันชดใช้ คำทำนายนี้โปรดใช้วิจารณญาณในการรับฟัง ไม่ได้ขอให้ใครเชื่อครับ"นายสมชัย กล่าว
ด้านนายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการใช้อำนาจตาม มาตรา 44 ปลด นายสมชัย พ้น กกต.ว่า เป็นการใช้อำนาจกับองค์กรอิสระ ที่จะก่อให้เกิดผลสะเทือนตามมา กับการทำงานขององค์กรอิสระหลายประการ โดยในประเด็นการปลดนายสมชัย นั้นมีข้อควรพิจารณา ดังนี้
1. การใช้ มาตรา 44 ปลดโดยอ้างเหตุผลเกี่ยวกับการสัมภาษณ์ทำให้เกิดความสับสนเกี่ยวกับการเลือกตั้ง เป็นการใช้อำนาจเกินสมควร เพราะการให้สัมภาษณ์ของบุคคลคนเดียวไม่อาจสร้างความสับสนได้ แต่ความสับสนเกี่ยวกับการเลือกตั้ง เกิดจากการเลื่อนโรดแมป และแม่น้ำห้าสาย ที่มีการเล่นแร่แปรธาตุ จนก่อให้เกิดความไม่แน่นอน หากนายกฯ แสดงความจริงใจกำหนดวันเลือกตั้งที่ชัดเจน ก็จะไม่เกิดความสับสนเหมือนอย่างที่ผ่านมา
2. ส่งผลกระทบกับความเชื่อมั่น กับการทำหน้าที่ของ กกต.ในอนาคต เพราะจะเกิดความวิตกกังวลว่า กกต.จะทำหน้าที่ได้อย่างสุจริต เที่ยงธรรมหรือไม่ โดยกกต.ที่เหลืออยู่ หรือกกต.ที่จะเข้ามาใหม่ ต้องทำงานสนองคสช. เพื่อไม่ให้พ้นจากตำแหน่ง
3. ส่งผลกระทบต่อกความเชื่อมั่นในการทำงานขององค์กรอิสระว่าจะทำหน้าที่โดยไม่ถูกแทรกแซงจากผู้มีอำนาจ