ดุสิตโพลชี้ การเมืองไทยยังมีความขัดแย้ง แบ่งงพรรคแบ่งพวก เห็นแก่อำนาจและผลประโยชน์ แต่เชื่อว่านายกฯ จะควบคุมสถานการณ์ได้ ขณะที่กรุงเทพโพลชี้ การเกิดขึ้นของพรรคใหม่ ทำให้มีทางเลือกมากขึ้น ขณะที่คะแนนนิยมของพรรคเพื่อไทย ยังเหนือกว่าปชป.อยู่เล็กน้อย
สวนดุสิตโพล เผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองที่ร้อนระอุอยู่ในขณะนี้ ทั้งเรื่องการจัดตั้งพรรคการเมือง การยื่นตีความกฎหมายลูกส.ว. การเคลื่อนไหวของพรรคต่าง ๆ จากกลุ่มตัวอย่าง 1,236 คน ระหว่าง วันที่ 20-24 มี.ค.61 สรุปผลได้ ดังนี้
1. กรณี การยื่นขอจดจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่ จนถึงขณะนี้มีทั้งหมดกว่า 60 พรรค อันดับ 1อยากได้พรรคการเมืองที่ดี มีคุณภาพ เน้นทำประโยชน์เพื่อประชาชน 41.59% อันดับ 2 ประชาชนมีทางเลือกหลากหลายมากขึ้น 39.27% อันดับ 3 มีจำนวนมาก อาจก่อให้เกิดความสับสน จำไม่ได้ 37.72%
2. กรณี สนช. ยื่นศาลรธน.ตีความกม.ลูก ส.ว. อันดับ 1อยากให้พิจารณาอย่างตรงไปตรงมา ไม่ขัดกับกม.40.00% อันดับ 2เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ ทำให้คนบางกลุ่มไม่พึงพอใจ 35.36% อันดับ 3 อาจมีผลต่อการเลือกตั้ง เป็นการยื้อเวลา 28.10%
3. กรณี การโต้เถียงในประเด็นการเมืองต่างๆ ของแต่ละพรรคการเมือง อันดับ 1 อยากให้โต้เถียงในเรื่องที่มีสาระ เป็นประโยชน์ต่อบ้านเมือง 52.65% อันดับ 2เป็นเกมการเมือง ต้องการให้เกิดเป็นกระแส 29.31% อันดับ 3 ได้เห็นท่าที แนวคิดของแต่ละพรรค ได้รับรู้ข้อมูลข่าวสาร 19.17%
4. กรณี คสช. ใช้ ม.44 ให้ นายสมชัย ศรีสุทธิยากร พ้นจากตำแหน่ง กกต. อันดับ 1ควรมีการชี้แจงเหตุผล ที่มาที่ไปให้สังคมได้รับรู้ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง 39.24% อันดับ 2 เป็นการใช้อำนาจมากเกินไป ควรคำนึงถึงผลกระทบที่จะตามมา 32.72% อันดับ 3กระทบต่อภาพลักษณ์ของ คสช. มีผลต่อความเชื่อมั่น 32.46%
5. จากกรณีเหตุการณ์ทางการเมืองต่างๆ เหล่านี้ ประชาชนคิดว่าสะท้อนการเมืองไทยอย่างไรบ้าง อันดับ 1 ยังมีความขัดแย้ง แบ่งพรรคแบ่งพวก เห็นแก่อำนาจ และผลประโยชน์ 56.87% อันดับ 2การเมืองไทยขาดเสถียรภาพ ทำให้ประเทศไม่พัฒนา44.35% อันดับ 3ควรมีการเลือกตั้ง ให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมและตัดสินใจด้วยตนเอง 30.32%
6. ประชาชนคิดว่า พล.อ.ประยุทธ์ ในฐานะหัวหน้า คสช. และนายกรัฐมนตรี จะควบคุมสถานการณ์ (เอาอยู่) หรือไม่ อันดับ 1เอาอยู่ 51.21% เพราะ มีอำนาจพิเศษ มีกำลังทหาร เด็ดขาด ตั้งใจที่จะแก้ปัญหา น่าจะสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ ฯลฯ อันดับ 2ไม่แน่ใจ 29.61% เพราะ ต้องรอดูต่อไป ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหว ทุกอย่างเกิดขึ้นได้เสมอ สถานการณ์ไม่แน่นอนฯลฯ อันดับ 3 เอาไม่อยู่19.18% เพราะ บ้านเมืองมีปัญหาหลายด้าน แก้ไขได้ยาก มีทั้งกลุ่มที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ประชาชนขาดความเชื่อมั่น ฯลฯ
กรุงเทพโพล เผยสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง“อนาคตพรรคการเมืองกับความหวังคนไทยในการเลือกตั้ง”โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ 1,192 คน พบว่า ประชาชนร้อยละ 65.4 เห็นว่า สถานการณ์ที่เปิดให้ยื่นแจ้งเตรียมจัดตั้งพรรคการเมือง เมื่อวันที่ 2 มี.ค. ที่ผ่านมา ช่วยสร้างทางเลือกใหม่ๆให้ประชาชนเยอะขึ้น รองลงมาร้อยละ 39.3 เห็นว่า ช่วยทำให้การเมืองคึกคักขึ้น และร้อยละ 28.7 เห็นว่ามีพรรคการเมืองเยอะไปทำให้เสียงแตก
ส่วนคาดหวัง อยากได้พรรคการเมืองแบบไหน ส่วนใหญ่ ร้อยละ 65.0 อยากให้มีสมาชิกพรรคที่มีความรู้ความสามารถหลากหลายแขนง รองลงมา ร้อยละ 43.2 อยากให้มีนโยบายใหม่ๆที่พลิกโฉมประเทศ และ ร้อยละ 35.7 อยากให้สานต่อนโยบาย พล.อ.ประยุทธ์ เช่น ปฏิรูปประเทศ ปราบทุจริต
สำหรับสิ่งที่หวัง และรอคอยอยากจะเห็นภายหลังการเลือกตั้ง ที่จะถึงพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 78.6 อยากเห็นการปฏิรูปด้านเศรษฐกิจ รองลงมาร้อยละ 64.6 อยากเห็นการปฏิรูปด้านสังคม กระบวนการยุติธรรม การศึกษา และ ร้อยละ 40.8 อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงระบบราชการ
ด้านคะแนนนิยมต่อพรรคการเมือง พบว่า พรรคเพื่อไทย อยู่ที่ร้อยละ 14.3 (ลดลงจากผลสำรวจเมื่อเดือนพ.ค.60 ร้อยละ 3.5) รองลงมาคือ พรรคประชาธิปัตย์ ที่มีคะแนนนิยมอยู่ที่ ร้อยละ 12.2 (ลดลงร้อยละ 3.4) และ พรรคอนาคตใหม่ มีคะแนนนิยมอยู่ที่ ร้อยละ 3.9
สวนดุสิตโพล เผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองที่ร้อนระอุอยู่ในขณะนี้ ทั้งเรื่องการจัดตั้งพรรคการเมือง การยื่นตีความกฎหมายลูกส.ว. การเคลื่อนไหวของพรรคต่าง ๆ จากกลุ่มตัวอย่าง 1,236 คน ระหว่าง วันที่ 20-24 มี.ค.61 สรุปผลได้ ดังนี้
1. กรณี การยื่นขอจดจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่ จนถึงขณะนี้มีทั้งหมดกว่า 60 พรรค อันดับ 1อยากได้พรรคการเมืองที่ดี มีคุณภาพ เน้นทำประโยชน์เพื่อประชาชน 41.59% อันดับ 2 ประชาชนมีทางเลือกหลากหลายมากขึ้น 39.27% อันดับ 3 มีจำนวนมาก อาจก่อให้เกิดความสับสน จำไม่ได้ 37.72%
2. กรณี สนช. ยื่นศาลรธน.ตีความกม.ลูก ส.ว. อันดับ 1อยากให้พิจารณาอย่างตรงไปตรงมา ไม่ขัดกับกม.40.00% อันดับ 2เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ ทำให้คนบางกลุ่มไม่พึงพอใจ 35.36% อันดับ 3 อาจมีผลต่อการเลือกตั้ง เป็นการยื้อเวลา 28.10%
3. กรณี การโต้เถียงในประเด็นการเมืองต่างๆ ของแต่ละพรรคการเมือง อันดับ 1 อยากให้โต้เถียงในเรื่องที่มีสาระ เป็นประโยชน์ต่อบ้านเมือง 52.65% อันดับ 2เป็นเกมการเมือง ต้องการให้เกิดเป็นกระแส 29.31% อันดับ 3 ได้เห็นท่าที แนวคิดของแต่ละพรรค ได้รับรู้ข้อมูลข่าวสาร 19.17%
4. กรณี คสช. ใช้ ม.44 ให้ นายสมชัย ศรีสุทธิยากร พ้นจากตำแหน่ง กกต. อันดับ 1ควรมีการชี้แจงเหตุผล ที่มาที่ไปให้สังคมได้รับรู้ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง 39.24% อันดับ 2 เป็นการใช้อำนาจมากเกินไป ควรคำนึงถึงผลกระทบที่จะตามมา 32.72% อันดับ 3กระทบต่อภาพลักษณ์ของ คสช. มีผลต่อความเชื่อมั่น 32.46%
5. จากกรณีเหตุการณ์ทางการเมืองต่างๆ เหล่านี้ ประชาชนคิดว่าสะท้อนการเมืองไทยอย่างไรบ้าง อันดับ 1 ยังมีความขัดแย้ง แบ่งพรรคแบ่งพวก เห็นแก่อำนาจ และผลประโยชน์ 56.87% อันดับ 2การเมืองไทยขาดเสถียรภาพ ทำให้ประเทศไม่พัฒนา44.35% อันดับ 3ควรมีการเลือกตั้ง ให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมและตัดสินใจด้วยตนเอง 30.32%
6. ประชาชนคิดว่า พล.อ.ประยุทธ์ ในฐานะหัวหน้า คสช. และนายกรัฐมนตรี จะควบคุมสถานการณ์ (เอาอยู่) หรือไม่ อันดับ 1เอาอยู่ 51.21% เพราะ มีอำนาจพิเศษ มีกำลังทหาร เด็ดขาด ตั้งใจที่จะแก้ปัญหา น่าจะสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ ฯลฯ อันดับ 2ไม่แน่ใจ 29.61% เพราะ ต้องรอดูต่อไป ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหว ทุกอย่างเกิดขึ้นได้เสมอ สถานการณ์ไม่แน่นอนฯลฯ อันดับ 3 เอาไม่อยู่19.18% เพราะ บ้านเมืองมีปัญหาหลายด้าน แก้ไขได้ยาก มีทั้งกลุ่มที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ประชาชนขาดความเชื่อมั่น ฯลฯ
กรุงเทพโพล เผยสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง“อนาคตพรรคการเมืองกับความหวังคนไทยในการเลือกตั้ง”โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ 1,192 คน พบว่า ประชาชนร้อยละ 65.4 เห็นว่า สถานการณ์ที่เปิดให้ยื่นแจ้งเตรียมจัดตั้งพรรคการเมือง เมื่อวันที่ 2 มี.ค. ที่ผ่านมา ช่วยสร้างทางเลือกใหม่ๆให้ประชาชนเยอะขึ้น รองลงมาร้อยละ 39.3 เห็นว่า ช่วยทำให้การเมืองคึกคักขึ้น และร้อยละ 28.7 เห็นว่ามีพรรคการเมืองเยอะไปทำให้เสียงแตก
ส่วนคาดหวัง อยากได้พรรคการเมืองแบบไหน ส่วนใหญ่ ร้อยละ 65.0 อยากให้มีสมาชิกพรรคที่มีความรู้ความสามารถหลากหลายแขนง รองลงมา ร้อยละ 43.2 อยากให้มีนโยบายใหม่ๆที่พลิกโฉมประเทศ และ ร้อยละ 35.7 อยากให้สานต่อนโยบาย พล.อ.ประยุทธ์ เช่น ปฏิรูปประเทศ ปราบทุจริต
สำหรับสิ่งที่หวัง และรอคอยอยากจะเห็นภายหลังการเลือกตั้ง ที่จะถึงพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 78.6 อยากเห็นการปฏิรูปด้านเศรษฐกิจ รองลงมาร้อยละ 64.6 อยากเห็นการปฏิรูปด้านสังคม กระบวนการยุติธรรม การศึกษา และ ร้อยละ 40.8 อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงระบบราชการ
ด้านคะแนนนิยมต่อพรรคการเมือง พบว่า พรรคเพื่อไทย อยู่ที่ร้อยละ 14.3 (ลดลงจากผลสำรวจเมื่อเดือนพ.ค.60 ร้อยละ 3.5) รองลงมาคือ พรรคประชาธิปัตย์ ที่มีคะแนนนิยมอยู่ที่ ร้อยละ 12.2 (ลดลงร้อยละ 3.4) และ พรรคอนาคตใหม่ มีคะแนนนิยมอยู่ที่ ร้อยละ 3.9