กรมศิลป์เผยแบบพระนพปฏลมหาเศวตฉัตร จัดสร้างพิเศษขนาดใหญ่สูง 5.10 เมตร นำต้นแบบจากพระเมรุมาศ รัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 8 พร้อมซ้อมยกฉัตรวันที่ 12 และ 17 ต.ค.นี้ ก่อนพระราชพิธียกฉัตรจริง วันที่ 18 ต.ค. ซึ่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นองค์ประธาน
นายก่อเกียรติ ทองผุด นายช่างศิลปกรรม สำนักสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร ผู้ออกแบบพระเมรุมาศ เปิดเผยถึงความคืบหน้า การจัดสร้างพระนพปฏลมหาเศวตรฉัตร ประดับพระเมรุมาศในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ว่า ทางบริษัทผู้รับจ้างได้ทำโครงสร้างของฉัตรที่เป็นผ้าสีขาวประกอบกันทั้งหมด 9 ชั้น เสร็จแล้ว อยู่ระหว่างการนำมาประกอบเข้ากันในส่วนของแต่ละชั้น สำหรับการออกแบบพระนพปฎลมหาเศวตรฉัตร ได้นำต้นแบบจากพระเมรุมาศ รัชกาลที่ 6 และพระเมรุมาศ รัชกาลที่ 8 มาเป็นต้นแบบ โดยดำเนินการจัดสร้างตามแบบโบราณราชประเพณี ที่ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ ตามความหมาย คือ นพ แปลว่า เก้า เศวตร แปลว่า ขาว ส่วนฉัตร คือ ร่มขาวที่กางทั้งหมด 9 ชั้น โดยการจัดสร้างพระนพปฏลมหาเศวตรฉัตรครั้งนี้ มีความพิเศษคือ มีขนาดใหญ่ มีความสูงตั้งแต่ส่วนปลียอด จนถึงยอดสุด 5.10 เมตร
สำหรับลักษณะของการทำฉัตร จะจัดทำด้วยผ้าโทเรสีขาว มีขลิบทองรวมสามชั้น โดยจะนำผ้าสามผืนมาล้อมโครงในการขลิบทองเส้นขลิบของฉัตรชั้นล่าง จะมีความหนาที่สุด และแขวนประดับด้วยจำปา14 ช่อห้อยลงมาให้เกิดความสวยงาม ที่สำคัญที่บริเวณส่วนยอดของฉัตรจะดำเนินการตามแบบโบราณราชประเพณี คือ พระนพปฎลมหาเศวตรฉัตร จะต้องมีลักษณะเป็นทรงจอมเจดีย์ จากนั้นเป็นบัวกลุ่ม คั่นด้วยลูกแก้ว บัวกลุ่มต่อด้วยปลีปลาย เป็นโลหะทองแดงกลึงรับ เพื่อต่อสายล่อฟ้าด้วย อย่างไรก็ตาม การจัดสร้างครั้งนี้จะใช้แสลนขาวเป็นพลาสติก ใส่ไว้ในโครงสร้าง เพื่อเวลาที่ฉัตรเจอลมแล้วจะไม่ยุบ ช่วยทำให้การเคลื่อนไหวเป็นธรรมชาติและยังสามารถกลับมาอยู่ที่เดิม และไม่เป็นสนิม
นายก่อเกียรติ กล่าวว่า ในพระราชพิธียกพระนพปฎลมหาเศวตฉัตร ในวันที่ 18 ต.ค.นี้ ซึ่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นองค์ประธาน นั้น จะต่างจากการยกฉัตรครั้งที่ผ่านมาที่จะยกในส่วนปลายยอดขึ้นไปประกอบด้านบนเท่านั้น แต่ครั้งนี้เนื่องจากเป็น ฉัตรขนาดใหญ่ และจะเป็นการยกตัวฉัตรทั้งหมด ดังนั้นจะต้องมีการประกอบโครงเหล็กทุกส่วนมาประกอบเข้ากันทั้ง 9 ชั้น ซึ่งการวางฉัตรด้านบนยอดจึงต้องทำการสลักเข้าเดือยให้แน่นหนา มีความแข็งแรงสูงสุด โดยเฉพาะปลายฉัตรที่จะต้องทำหน้าที่เป็นสายล่อฟ้า จึงต้องใช้โลหะทองแดงกลึงที่บริเวณส่วนปลาย และจะมีสายทิ้งดิ่งยังข้างล่าง โดยได้ดำเนินการไว้เรียบร้อยแล้ว ขณะที่การยกฉัตรนั้นจะต้องใช้ความระมัดระวัง สายทิ้งดิ่งจะตกไม่ได้ ช่างจะต้องผูกลวดทองแดงเก็บไว้ เมื่อใส่ฉัตรเข้าไปแล้วจะเชื่อมกับสายทองแดงนี้พอดี และยังต้องกันไม่ให้น้ำไหลผ่านตรงส่วนร่องตกมาที่ฝ้า ซึ่งช่างได้มีการทำสังกะสีกันน้ำฝนไว้ เพื่อไม่ให้น้ำจะรั่วซึมเข้าไปสู่ฝ้าเพดาน
"ในวันที่ 12 และ 17 ต.ค. นี้ ซึ่งจะมีการซ้อมยกฉัตร จะใช้การวางสลิง แขวนฉัตรจากบริเวณพระที่นั่งทรงธรรม หมุนสลิงผ่านรอกหมุนกว้านขึ้นไปข้างบน เมื่อวัดระยะความสูงของยอดพระเมรุมาศกับองศาแนวเอียงรวมกันประมาณกว่า 100 เมตร ซึ่งด้านบน จะมีผู้เคยประคองฉัตร และทำการติดตั้งเชื่อมสลักป้องกันไม่ให้ฉัตรหมุนจนเสร็จสมบูรณ์" นายช่างศิลปกรรม กล่าว
นายก่อเกียรติ ทองผุด นายช่างศิลปกรรม สำนักสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร ผู้ออกแบบพระเมรุมาศ เปิดเผยถึงความคืบหน้า การจัดสร้างพระนพปฏลมหาเศวตรฉัตร ประดับพระเมรุมาศในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ว่า ทางบริษัทผู้รับจ้างได้ทำโครงสร้างของฉัตรที่เป็นผ้าสีขาวประกอบกันทั้งหมด 9 ชั้น เสร็จแล้ว อยู่ระหว่างการนำมาประกอบเข้ากันในส่วนของแต่ละชั้น สำหรับการออกแบบพระนพปฎลมหาเศวตรฉัตร ได้นำต้นแบบจากพระเมรุมาศ รัชกาลที่ 6 และพระเมรุมาศ รัชกาลที่ 8 มาเป็นต้นแบบ โดยดำเนินการจัดสร้างตามแบบโบราณราชประเพณี ที่ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ ตามความหมาย คือ นพ แปลว่า เก้า เศวตร แปลว่า ขาว ส่วนฉัตร คือ ร่มขาวที่กางทั้งหมด 9 ชั้น โดยการจัดสร้างพระนพปฏลมหาเศวตรฉัตรครั้งนี้ มีความพิเศษคือ มีขนาดใหญ่ มีความสูงตั้งแต่ส่วนปลียอด จนถึงยอดสุด 5.10 เมตร
สำหรับลักษณะของการทำฉัตร จะจัดทำด้วยผ้าโทเรสีขาว มีขลิบทองรวมสามชั้น โดยจะนำผ้าสามผืนมาล้อมโครงในการขลิบทองเส้นขลิบของฉัตรชั้นล่าง จะมีความหนาที่สุด และแขวนประดับด้วยจำปา14 ช่อห้อยลงมาให้เกิดความสวยงาม ที่สำคัญที่บริเวณส่วนยอดของฉัตรจะดำเนินการตามแบบโบราณราชประเพณี คือ พระนพปฎลมหาเศวตรฉัตร จะต้องมีลักษณะเป็นทรงจอมเจดีย์ จากนั้นเป็นบัวกลุ่ม คั่นด้วยลูกแก้ว บัวกลุ่มต่อด้วยปลีปลาย เป็นโลหะทองแดงกลึงรับ เพื่อต่อสายล่อฟ้าด้วย อย่างไรก็ตาม การจัดสร้างครั้งนี้จะใช้แสลนขาวเป็นพลาสติก ใส่ไว้ในโครงสร้าง เพื่อเวลาที่ฉัตรเจอลมแล้วจะไม่ยุบ ช่วยทำให้การเคลื่อนไหวเป็นธรรมชาติและยังสามารถกลับมาอยู่ที่เดิม และไม่เป็นสนิม
นายก่อเกียรติ กล่าวว่า ในพระราชพิธียกพระนพปฎลมหาเศวตฉัตร ในวันที่ 18 ต.ค.นี้ ซึ่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นองค์ประธาน นั้น จะต่างจากการยกฉัตรครั้งที่ผ่านมาที่จะยกในส่วนปลายยอดขึ้นไปประกอบด้านบนเท่านั้น แต่ครั้งนี้เนื่องจากเป็น ฉัตรขนาดใหญ่ และจะเป็นการยกตัวฉัตรทั้งหมด ดังนั้นจะต้องมีการประกอบโครงเหล็กทุกส่วนมาประกอบเข้ากันทั้ง 9 ชั้น ซึ่งการวางฉัตรด้านบนยอดจึงต้องทำการสลักเข้าเดือยให้แน่นหนา มีความแข็งแรงสูงสุด โดยเฉพาะปลายฉัตรที่จะต้องทำหน้าที่เป็นสายล่อฟ้า จึงต้องใช้โลหะทองแดงกลึงที่บริเวณส่วนปลาย และจะมีสายทิ้งดิ่งยังข้างล่าง โดยได้ดำเนินการไว้เรียบร้อยแล้ว ขณะที่การยกฉัตรนั้นจะต้องใช้ความระมัดระวัง สายทิ้งดิ่งจะตกไม่ได้ ช่างจะต้องผูกลวดทองแดงเก็บไว้ เมื่อใส่ฉัตรเข้าไปแล้วจะเชื่อมกับสายทองแดงนี้พอดี และยังต้องกันไม่ให้น้ำไหลผ่านตรงส่วนร่องตกมาที่ฝ้า ซึ่งช่างได้มีการทำสังกะสีกันน้ำฝนไว้ เพื่อไม่ให้น้ำจะรั่วซึมเข้าไปสู่ฝ้าเพดาน
"ในวันที่ 12 และ 17 ต.ค. นี้ ซึ่งจะมีการซ้อมยกฉัตร จะใช้การวางสลิง แขวนฉัตรจากบริเวณพระที่นั่งทรงธรรม หมุนสลิงผ่านรอกหมุนกว้านขึ้นไปข้างบน เมื่อวัดระยะความสูงของยอดพระเมรุมาศกับองศาแนวเอียงรวมกันประมาณกว่า 100 เมตร ซึ่งด้านบน จะมีผู้เคยประคองฉัตร และทำการติดตั้งเชื่อมสลักป้องกันไม่ให้ฉัตรหมุนจนเสร็จสมบูรณ์" นายช่างศิลปกรรม กล่าว