ป.ป.ช.ยันอุทธรณ์คดี 7 ตุลาฯแค่ “สุชาติ” เหตุเป็นฝ่ายปฏิบัติ อ้างดูคำพิพากษาเสียงข้างน้อย ชี้ทำเกินกว่าเหตุ-ไม่ยับยั้งใช้แก๊สน้ำตา อ้างปะทะไม่ยืดเยื้อทำ “ฝ่ายนโยบาย” ไม่ผิด ด้าน "วัชรพล" บอกไม่มีประเด็นที่จะอุทธรณ์ให้ศาลพิพากษากลับได้ ต้องให้ความเป็นธรรม ออกตัวไม่ได้โหวต
วานนี้ (31 ส.ค.) ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ ประธาน ป.ป.ช. พร้อมด้วยนายสุรศักดิ์ คีรีวิเชียร ป.ป.ช. แถลงข้อเท็จจริงและรายละเอียดมติคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่อุทธรณ์ผลคำพิพากษาคดีสั่งสลายการชุมนุมกลุ่มพันธมิตรฯปี 2551 ที่อุทธรณ์เฉพาะกรณี พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (ผบช.น.) ซึ่งเป็นจำเลยที่ 4 ในคดีดังกล่าว โดยไม่อุทธรณ์นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ อดีต ผบ.ตร. จำเลยที่ 1 - 3
โดยนายสุรศักดิ์ กล่าวว่า ที่ยื่นอุทธรณ์เฉพาะกรณี พล.ต.ท.สุชาติ เนื่องจากเห็นว่า ฝ่ายนโยบายมีจำเลยที่ 1 - 3 และฝ่ายปฏิบัติคือจำเลยที่ 4 และเมื่อพิจารณาจากคำวินิจฉัยส่วนตัวขององค์คณะผู้พิพากษา 9 รายในคดีนี้ พบว่า มีเสียงข้างน้อย 1 ราย ที่เห็นว่า มีการตระเตรียมการแผนการไว้ก่อน เช่น มีการมอบหมายให้ใช้แผนกรกฎา 48 และการปฏิบัติตามแผนดังกล่าวอาจทำโดยมิชอบ ดังนั้นในเมื่อจำเลยที่ 4 เป็นฝ่ายปฏิบัติ อาจทำเกินเลยกว่าเหตุ ป.ป.ช.จึงอุทธรณ์ในประเด็นนี้ไป ส่วนจำเลยที่ 1 - 3 นั้น เป็นฝ่ายนโยบาย และการสลายการชุมนุมครั้งนี้ทำต่อเนื่องกันและจบภายในวันเดียว ไม่ได้ยืดเยื้อไปหลายวัน หากมีการยืดเยื้อไปหลายวัน แล้วฝ่ายนโยบายไม่มีการทบทวนการปฏิบัติดังกล่าว ฝ่ายนโยบายจึงอาจผิดด้วยได้ ดังนั้นตรงนี้คือสาเหตุว่า ทำไม ป.ป.ช. จึงอุทธรณ์เฉพาะจำเลยที่ 4
“จำเลยที่ 4 ย่อมทราบดีถึงสถานการณ์ที่ต้องใช้แก๊สน้ำตาโดยตลอดช่วงเวลาการสลายการชุมนุม ตั้งแต่ช่วงเช้า-บ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาพลบค่ำ ขณะรักษาความปลอดภัยให้แก่กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) อันเป็นบริเวณเกิดเหตุ โดยเป็นผู้สั่งการหรือรู้เห็นยินยอมให้ผู้ใต้บังคับบัญชาระดับรองลงไปสั่งการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ปฏิบัติยิงหรือขว้างระเบิดแก๊สน้ำตาเข้าใส่กลุ่มผู้ชุมนุม ทำให้มีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต ทั้งที่จำเลยที่ 4 เป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์ สมควรประเมินสถานการณ์และระงับยับยั้งเหตุการณ์ แต่กลับไม่ได้ระงับยับยั้งหรือปรับเปลี่ยนวิธีการใช้แก๊สน้ำตา จึงเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157” นายสุรศักดิ์ กล่าว
ขณะที่ พล.ต.อ.วัชรพล กล่าวเสริมว่า ป.ป.ช. ฟ้องจำเลยทั้ง 4 ราย ใน 4 ประเด็น ดังนั้นในการอุทธรณ์ ป.ป.ช. จึงหยิบยกคำพิพากษากลาง และคำวินิจฉัยส่วนตัวขององค์คณะผู้พิพากษาทั้ง 9 ราย มาพิจารณาแล้ว เห็นว่าประเด็นที่ 1 - 3 นั้นยังห่างไกล เป็นนโยบาย ไม่มีประเด็นที่จะอุทธรณ์ต่อทำให้ศาลฎีกาฯพิพากษากลับได้ แต่ในประเด็นที่ 4 เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ในช่วงค่ำ อาจเกินเลย และไม่ชอบด้วยกระบวนการต่าง ๆ โดยคณะกรรมการมาวิเคราะห์ตรงนี้ ในฐานะฝ่ายโจทก์ ต้องให้ความเป็นธรรมตามหน้าที่ ในฐานะองค์กรที่ให้ความเป็นธรรมกับทุกราย อย่างที่เคยบอกว่า มีหลายเรื่องที่พยานหลักฐานไม่เพียงพอ ให้ข้อกล่าวหาตกไปเยอะแยะ เช่นเดียวกันกับกรณีนี้
“ทั้งหมดวิเคราะห์จากคำพิพากษากลาง และคำวินิจฉัยส่วนตัว และคณะกรรมการ ป.ป.ช. เสียงไม่ได้เอกฉันท์ แต่อยู่ด้วยระบบเสียงข้างมาก ตัวผมเองไม่ได้ออกเสียง โดยเสียงข้างมาก 7 เสียง ไม่เห็นด้วย 1 เสียง จึงไม่ควรอุทธรณ์จำเลยที่ 1-3 ส่วนจำเลยที่ 4 เสียงข้างมาก 8 เสียง ควรอุทธรณ์ ผมก็ไม่ได้ออกเสียง ซึ่งจะเป็นอำนาจศาลฎีกาฯที่จะวินิจฉัยต่อไป” พล.ต.อ.วัชรพล กล่าว
ด้าน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า กลุ่มพันธมิตรฯซึ่งเป็นผู้เสียหายโดยตรงอาจจะดำเนินการทางแพ่ง ประกอบกับดูเหตุผล พยาน หลักฐานเพียงพอหรือไม่ที่จะดำเนินการกับ ป.ป.ช. ถ้าเห็นว่ามีการใช้อำนาจในทางไม่ชอบ.
วานนี้ (31 ส.ค.) ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ ประธาน ป.ป.ช. พร้อมด้วยนายสุรศักดิ์ คีรีวิเชียร ป.ป.ช. แถลงข้อเท็จจริงและรายละเอียดมติคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่อุทธรณ์ผลคำพิพากษาคดีสั่งสลายการชุมนุมกลุ่มพันธมิตรฯปี 2551 ที่อุทธรณ์เฉพาะกรณี พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (ผบช.น.) ซึ่งเป็นจำเลยที่ 4 ในคดีดังกล่าว โดยไม่อุทธรณ์นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ อดีต ผบ.ตร. จำเลยที่ 1 - 3
โดยนายสุรศักดิ์ กล่าวว่า ที่ยื่นอุทธรณ์เฉพาะกรณี พล.ต.ท.สุชาติ เนื่องจากเห็นว่า ฝ่ายนโยบายมีจำเลยที่ 1 - 3 และฝ่ายปฏิบัติคือจำเลยที่ 4 และเมื่อพิจารณาจากคำวินิจฉัยส่วนตัวขององค์คณะผู้พิพากษา 9 รายในคดีนี้ พบว่า มีเสียงข้างน้อย 1 ราย ที่เห็นว่า มีการตระเตรียมการแผนการไว้ก่อน เช่น มีการมอบหมายให้ใช้แผนกรกฎา 48 และการปฏิบัติตามแผนดังกล่าวอาจทำโดยมิชอบ ดังนั้นในเมื่อจำเลยที่ 4 เป็นฝ่ายปฏิบัติ อาจทำเกินเลยกว่าเหตุ ป.ป.ช.จึงอุทธรณ์ในประเด็นนี้ไป ส่วนจำเลยที่ 1 - 3 นั้น เป็นฝ่ายนโยบาย และการสลายการชุมนุมครั้งนี้ทำต่อเนื่องกันและจบภายในวันเดียว ไม่ได้ยืดเยื้อไปหลายวัน หากมีการยืดเยื้อไปหลายวัน แล้วฝ่ายนโยบายไม่มีการทบทวนการปฏิบัติดังกล่าว ฝ่ายนโยบายจึงอาจผิดด้วยได้ ดังนั้นตรงนี้คือสาเหตุว่า ทำไม ป.ป.ช. จึงอุทธรณ์เฉพาะจำเลยที่ 4
“จำเลยที่ 4 ย่อมทราบดีถึงสถานการณ์ที่ต้องใช้แก๊สน้ำตาโดยตลอดช่วงเวลาการสลายการชุมนุม ตั้งแต่ช่วงเช้า-บ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาพลบค่ำ ขณะรักษาความปลอดภัยให้แก่กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) อันเป็นบริเวณเกิดเหตุ โดยเป็นผู้สั่งการหรือรู้เห็นยินยอมให้ผู้ใต้บังคับบัญชาระดับรองลงไปสั่งการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ปฏิบัติยิงหรือขว้างระเบิดแก๊สน้ำตาเข้าใส่กลุ่มผู้ชุมนุม ทำให้มีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต ทั้งที่จำเลยที่ 4 เป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์ สมควรประเมินสถานการณ์และระงับยับยั้งเหตุการณ์ แต่กลับไม่ได้ระงับยับยั้งหรือปรับเปลี่ยนวิธีการใช้แก๊สน้ำตา จึงเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157” นายสุรศักดิ์ กล่าว
ขณะที่ พล.ต.อ.วัชรพล กล่าวเสริมว่า ป.ป.ช. ฟ้องจำเลยทั้ง 4 ราย ใน 4 ประเด็น ดังนั้นในการอุทธรณ์ ป.ป.ช. จึงหยิบยกคำพิพากษากลาง และคำวินิจฉัยส่วนตัวขององค์คณะผู้พิพากษาทั้ง 9 ราย มาพิจารณาแล้ว เห็นว่าประเด็นที่ 1 - 3 นั้นยังห่างไกล เป็นนโยบาย ไม่มีประเด็นที่จะอุทธรณ์ต่อทำให้ศาลฎีกาฯพิพากษากลับได้ แต่ในประเด็นที่ 4 เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ในช่วงค่ำ อาจเกินเลย และไม่ชอบด้วยกระบวนการต่าง ๆ โดยคณะกรรมการมาวิเคราะห์ตรงนี้ ในฐานะฝ่ายโจทก์ ต้องให้ความเป็นธรรมตามหน้าที่ ในฐานะองค์กรที่ให้ความเป็นธรรมกับทุกราย อย่างที่เคยบอกว่า มีหลายเรื่องที่พยานหลักฐานไม่เพียงพอ ให้ข้อกล่าวหาตกไปเยอะแยะ เช่นเดียวกันกับกรณีนี้
“ทั้งหมดวิเคราะห์จากคำพิพากษากลาง และคำวินิจฉัยส่วนตัว และคณะกรรมการ ป.ป.ช. เสียงไม่ได้เอกฉันท์ แต่อยู่ด้วยระบบเสียงข้างมาก ตัวผมเองไม่ได้ออกเสียง โดยเสียงข้างมาก 7 เสียง ไม่เห็นด้วย 1 เสียง จึงไม่ควรอุทธรณ์จำเลยที่ 1-3 ส่วนจำเลยที่ 4 เสียงข้างมาก 8 เสียง ควรอุทธรณ์ ผมก็ไม่ได้ออกเสียง ซึ่งจะเป็นอำนาจศาลฎีกาฯที่จะวินิจฉัยต่อไป” พล.ต.อ.วัชรพล กล่าว
ด้าน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า กลุ่มพันธมิตรฯซึ่งเป็นผู้เสียหายโดยตรงอาจจะดำเนินการทางแพ่ง ประกอบกับดูเหตุผล พยาน หลักฐานเพียงพอหรือไม่ที่จะดำเนินการกับ ป.ป.ช. ถ้าเห็นว่ามีการใช้อำนาจในทางไม่ชอบ.