xs
xsm
sm
md
lg

ติดดาบคตง.คุมนักธุรกิจการเมือง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

วานนี้ (31ส.ค.) ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีมติ 164 ต่อ 1 เสียง รับหลักการในวาระที่ 1 ของร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน ตามที่กรธ.เสนอ จากนั้นได้มีการตั้ง กมธ.30 คน พิจารณาในรายละเอียดให้เสร็จภายใน 50วัน ก่อนส่งให้ที่ประชุมสนช. พิจารณาลงมติอีกครั้ง
สำหรับร่างพ.ร.ป.ฉบับนี้ มีสาระสำคัญ คือ กำหนดให้คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) มีจำนวน 7 คน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 7 ปี มาจากบุคคลที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ได้แก่ ด้านการตรวจเงินแผ่นดิน กฎหมาย การบัญชี การตรวจสอบภายใน การเงินการคลัง และด้านอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการตรวจเงินแผ่นดิน เป็นเวลาไม่น้อยกว่า10 ปี
ให้มีผู้ว่าการตรวจเงินแผนดิน หนึ่งคน ซึ่งมาจากการการสรรหาของคตง. และการลงมติเลือกของวุฒิสภา โดยผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน มีวาระดำรงตำแหน่ง 6 ปี
ขณะเดียวกันได้บัญญัติถึงอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน เป็นกรณีพิเศษไว้ใน มาตรา 87 ว่าในกรณีที่ผลการตรวจสอบปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า มีการกระทำด้วยประการใดๆ ที่มีผลให้ ส.ส. ,ส.ว. มีส่วนไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ในการใช้งบประมาณรายจ่าย หรือ ตรวจสอบพบว่า ครม. เป็นผู้กระทำการ หรืออนุมัติให้กระทำการ หรือรู้ว่ามีการกระทำดังกล่าว แต่ไม่ได้สั่งยับยั้ง ให้ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน แจ้งป.ป.ช เพื่อดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจต่อไป
บทเฉพาะกาล มาตรา 107 ว่าด้วยการดำรงอยู่ของ คตง. ที่ดำรงตำแหน่งอยู่ก่อน ที่จะมีการประกาศใช้ ร่าง พ.ร.ป.นี้ ให้คตง.ที่ดำรงตำแหน่งอยู่ก่อน ยังคงให้ดำรงตำแหน่งต่อไปตามเดิม แต่สำหรับผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ที่ดำรงตำแหน่งอยู่ก่อน ยังคงทำหน้าที่ต่อไปได้จนกว่าจะมีการแต่งตั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินคนใหม่
ทั้งนี้ มาตรา 108 ให้ คตง.ทำการสรรหา และเสนอชื่อผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินคนใหม่ ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ร่ าง พ.ร.ป.ใช้บังคับ อย่างไรก็ตาม หากไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ในระหว่างการสรรหาผู้ว่าการฯ คนใหม่ ให้หัวหน้า คสช. มีอำนาจแต่งตั้ง รองผู้ว่าการฯ ตามที่เห็นสมควร รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการฯ
นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ. กล่าวว่า ร่างกม.ฉบับนี้ ได้ยึดแนวทางของคตง. ที่ปฏิบัติกันมาก่อนส่วนใหญ่ แต่มีการปรับปรุงบางส่วน ให้สอดคล้องกับรธน. เพื่อแก้ไขปัญหาในอดีต โดยเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่าง คตง. และผู้ว่าการฯ ซึ่งที่ผ่านมามีลักษณะต่างคนต่างทำงาน และไม่มีความชัดเจน
ทั้งนี้ ที่ผ่านมาองค์กรตรวจเงินแผ่นดิน มีความแตกต่างจากองค์กรอิสระอื่น กล่าวคือ ในกรณีขององค์กรตรวจเงินแผ่นดินนั้น อำนาจทั้งปวงอยู่ที่ ผู้ว่าการฯ ต่างจากองค์กรอิสระอื่นๆ ที่บุคคลที่เข้ามาเป็นคณะกรรมการ จะเป็นผู้กำกับ ส่วนเจ้าหน้าที่จะเป็นฝ่ายสนับสนุนเท่านั้น
ดังนั้น ร่าง พ.ร.ป.ฉบับนี้ จึงแก้ไขปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่าง คตง. และผู้ว่าการฯ สำคัญบางประการ เช่น ให้ผู้ว่าการฯ ต้องเข้าร่วมชี้แจงกับคตง.โดยตลอด โดยไม่มีสิทธิลงคะแนนเสียง อีกทั้งยังแยกอำนาจบางส่วนของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินออกมา โดยถ้าเป็นเรื่องการทุจริตจากการใช้งบประมาณผิดระเบียบ จะให้สํานักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ไต่สวนเบื้องต้น ก่อนส่งให้ป.ป.ช. ดำเนินการต่อไป
กำลังโหลดความคิดเห็น