พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ความจนเป็นทุกข์ในโลกของผู้บริโภคกาม”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า”
จึงตรัสต่อไปว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! คนจนไม่มีทรัพย์ของตนเอง ไม่มั่งคั่ง ย่อมกู้หนี้ แม้การกู้หนี้ก็เป็นทุกข์ในโลกของผู้บริโภคกาม”
“คนจนกู้หนี้แล้ว ก็จะต้องจ่ายดอกเบี้ย แม้การเสียดอกเบี้ยก็เป็นทุกข์ในโลกของผู้บริโภคกาม”
“คนจนที่จะต้องเสียดอกเบี้ย ไม่ให้ดอกเบี้ยตามกำหนด ก็ถูกเขาทวง แม้การถูกทวงก็เป็นทุกข์ในโลกของผู้บริโภคกาม”
“คนจนถูกทวง ไม่ให้เขา ก็ถูกตามตัว แม้การถูกตามตัว ก็เป็นทุกข์ในโลกของบริโภคกาม”
“คนจนถูกตามตัว ไม่ให้เขา ย่อมถูกจองจำ แม้การถูกจองจำ ก็เป็นทุกข์ในโลกของบริโภคกาม”
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ความจนก็ดี การกู้หนี้ก็ดี การเสียดอกเบี้ยก็ดี การถูกทวงก็ดี การถูกตามตัวก็ดี การถูกจองจำก็ดี เป็นทุกข์ในโลกของผู้บริโภคกาม”
คำว่า คนจน ตามนัยแห่งพุทธพจน์ดังกล่าวข้างต้น หมายถึงคนที่มีรายได้ไม่เพียงพอที่จะนำมาเลี้ยงชีพตนเองและครอบครัว ทั้งในทรัพย์สินใดๆ ที่จะขายเพื่อนำเงินมาเป็นเครื่องยังชีพ จึงต้องกู้หนี้มากินมาใช้
ส่วนคำว่า โลกของผู้บริโภคกาม หมายถึงโลกแห่งโลกียชนคือคนที่ยังมีกิเลส คือความอยากมีและอยากเป็น จึงต้องแสวงหาวัตถุกามคือ สิ่งที่ปุถุชนต้องการอันได้แก่ทรัพย์สิน เงินทอง และยศถาบรรดาศักดิ์ เป็นต้น มาเป็นของตน
คนจนตามนัยนี้มีอยู่ในทุกประเทศทั่วโลก และในทุกยุคทุกสมัย แม้กระทั่งในปัจจุบัน ทั้งคนจนไม่ว่าในประเทศไหนๆ ในโลก ย่อมเป็นทุกข์ เพราะการเป็นหนี้เสมอเหมือนด้วยกันทุกคน เพียงแต่อาจมากน้อยไม่เท่ากัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจุบัน อันเป็นภาวะแวดล้อมซึ่งแตกต่างกันออกไปดังนี้
1. ความอุดมสมบูรณ์และความขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งดินและน้ำของประเทศที่คนจนอาศัยอยู่
ถ้าเป็นประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ คนจนในภาคเกษตรสามารถมีชีวิตอยู่ได้ตามอัตภาพด้วยความพอเพียง โดยการผลิตเพื่อกินเหลือขาย จึงไม่มีความจำเป็นต้องเป็นหนี้ เว้นไว้แต่ว่าไม่มีความพออยากมีโน่น อยากมีนี่เกินกว่ารายได้ที่หามาได้จะรองรับได้ ก็คงหนีไม่พ้นการเป็นหนี้ และคนจนประเภทนี้เองที่เป็นทุกข์ในโลกของผู้บริโภคกาม
ส่วนคนจนที่อยู่อาศัยในประเทศที่ขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ ถึงแม้จะยึดแนวทางพอเพียงอย่างไรก็คงหนีการเป็นหนี้สินได้ยาก เพียงแต่ถ้ามีความพอเพียง ก็อาจเป็นหนี้น้อยลงและทุกข์น้อยลงเท่านั้น
2. ความมีศักยภาพในการบริหารประเทศในด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลที่คนจนอาศัยอยู่ ถ้ารัฐบาลมีแนวนโยบายและมีกลยุทธ์ในการแก้ปัญหาคนจน โดยมุ่งเน้นให้คนจนพึ่งตนเองและมีความพอเพียง และรัฐบาลสนับสนุนปัจจัยการผลิตเช่น พันธุ์พืช เป็นต้น รวมไปถึงให้คำแนะนำทางด้านวิชาการ และเปิดโอกาสให้คนจนซึ่งเป็นผู้ผลิตกำหนดราคาขายผลผลิตของตนเอง โดยการรวมกลุ่มกันสร้างอำนาจต่อรองกับผู้ซื้อ ก็จะทำให้คนจนมีรายได้ดีขึ้น และไม่จำเป็นต้องเป็นหนี้หรือเป็นหนี้น้อยลง
แต่ถ้ารัฐบาลไม่มีศักยภาพในการแก้ปัญหาปล่อยให้วัตถุนิยมเข้าครอบงำคนจน โดยการเป็นหนี้เพื่อลงทุนการผลิตในเชิงพาณิชย์ และเปิดโอกาสให้คนกลางเข้ามาควบคุมราคาขาย สุดท้ายคนจนก็จะจนและเป็นหนี้ไม่มีวันหมด
นอกจากคนจนในภาคเกษตรแล้ว ในปัจจุบันนี้ยังมีคนจนในภาคอุตสาหกรรม และคนจนกลุ่มนี้ยิ่งจะมีความทุกข์กว่าคนจนในภาคเกษตร ทั้งนี้เนื่องจากว่าคนกลุ่มนี้อยู่ได้ด้วยค่าจ้างที่นายจ้างจ่ายให้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับฝีมือของแรงงาน ถ้าเป็นแรงงานมีฝีมือค่าจ้างก็สูง แต่ถ้าเป็นแรงงานไม่มีฝีมือค่าจ้างก็ต่ำ ตามที่กฎหมายกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ ดังนั้นเมื่อรายได้ที่ได้รับต่ำเกินไป เมื่อเทียบกับราคาสินค้าอุปโภคบริโภคแล้ว คนจนกลุ่มนี้ก็คงหนีไม่พ้นการเป็นหนี้ และส่วนใหญ่เป็นหนี้นอกระบบเพราะไม่มีหลักทรัพย์ไปค้ำประกัน จึงกู้หนี้ในระบบไม่ได้
คนจนหรือที่ภาษาทางการเรียกว่า ผู้มีรายได้น้อย ทั้งในภาคเกษตรและในภาคอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่เป็นหนี้และในจำนวนนี้ส่วนใหญ่เป็นหนี้เงินกู้นอกระบบ จึงอนุมานได้ว่าเป็นทุกข์ตามนัยแห่งพุทธพจน์ดังกล่าวแล้วข้างต้น จะมีอยู่บ้างเป็นส่วนน้อย และเป็นคนจนในภาคเกษตรกรรมที่หันมาดำเนินชีวิตด้วยเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ ๙ สามารถนำตนเองให้หลุดพ้นจากการเป็นทุกข์จากการเป็นหนี้ได้ด้วยการพึ่งตนเอง
อีกประการหนึ่ง การเป็นหนี้ของผู้คนที่อยู่ในสังคมที่ถูกครอบงำในทุกประเทศ มิเว้นแม้แต่ประเทศไทย มิได้จำกัดอยู่ในแวดวงของคนจน เฉกเช่นในสมัยพุทธกาล แต่ได้ขยายวงไปยังคนรวยและอยากจะรวยเพิ่ม จึงได้ก่อหนี้เพื่อการลงทุนในการดำเนินธุรกิจ รวมถึงการซื้อทรัพย์สินอันได้แก่บ้านและที่ดิน เป็นต้น โดยหวังว่าจะมีรายได้จากการขายเมื่อทรัพย์สินมีมูลค่าเพิ่มขึ้น แต่ถ้าการคาดการณ์ในเชิงธุรกิจผิดพลาด มิได้เป็นไปตามนั้น ทำให้ไม่มีรายได้มาใช้ดอกเบี้ยและเงินกู้ที่กู้ไป ก็เป็นทุกข์ในทำนองเดียวกับคนจน
ด้วยเหตุนี้ การเป็นหนี้ไม่ว่าจะเป็นคนจนหรือคนรวย ถ้าเป็นหนี้แล้วไม่มีเงินมาใช้หนี้ตามกำหนด ก็จะเป็นทุกข์ไม่แตกต่างกัน
ดังนั้น ทางที่ดีไม่ควรเป็นหนี้หรือจำเป็นต้องเป็นหนี้ ก็จะต้องแน่ใจว่าจะต้องมีเงินมาจ่ายคืน เงินกู้ได้ทั้งดอกเบี้ย และเงินต้น ถ้าไม่แน่ใจก็ไม่ควรกู้หนี้
แต่ทางที่ดีควรจะยึดแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตควบคู่ไปกับแนวทางเศรษฐกิจ ตามวิถีพุทธที่เรียกว่า โภควิภาค 4 ประการในการบริหารรายได้ โดยแบ่งออกเป็น 4 ส่วนเท่าๆ กัน และใช้จ่ายในสัดส่วนดังต่อไปนี้
1. เอเกน โภเค ภุญฺเชยฺย 1 ส่วนหรือ 25% ของรายได้ใช้เพื่อการเลี้ยงตน เลี้ยงคนที่ควรบำรุง และทำประโยชน์
2-3 ทวีหิ กมฺมํ ปโยชเย 2 ส่วนหรือ 50% ของรายได้ใช้เพื่อลงทุนประกอบการงาน
4. จตุตฺถญจ นิชาเปยฺย 1 ส่วนหรือ 25%
สุดท้ายเก็บออมไว้ใช้ในคราวจำเป็น
และถ้าจะให้การดำเนินชีวิตมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ก็ควรยึดแนวทางของพุทธที่ว่า ผู้ครองเรือนพึงดูตัวอย่าง ยิ่งในการหารายได้ แม้การนำน้ำหวานจากเกสรดอกไม้ แม้ทีละน้อย ก็มีน้ำผึ้งเต็มรวงผึ้งได้ และในขณะเดียวกัน จงมองดูการหมดไปของยาหยอดตา แม้ใช้เพียงครั้งละหยดสองหยดก็หมดขวดได้ เป็นการเปรียบกับรายจ่าย แม้ครั้งละน้อยก็ทำให้เงินจำนวนมากหมดได้เช่นกัน
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า”
จึงตรัสต่อไปว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! คนจนไม่มีทรัพย์ของตนเอง ไม่มั่งคั่ง ย่อมกู้หนี้ แม้การกู้หนี้ก็เป็นทุกข์ในโลกของผู้บริโภคกาม”
“คนจนกู้หนี้แล้ว ก็จะต้องจ่ายดอกเบี้ย แม้การเสียดอกเบี้ยก็เป็นทุกข์ในโลกของผู้บริโภคกาม”
“คนจนที่จะต้องเสียดอกเบี้ย ไม่ให้ดอกเบี้ยตามกำหนด ก็ถูกเขาทวง แม้การถูกทวงก็เป็นทุกข์ในโลกของผู้บริโภคกาม”
“คนจนถูกทวง ไม่ให้เขา ก็ถูกตามตัว แม้การถูกตามตัว ก็เป็นทุกข์ในโลกของบริโภคกาม”
“คนจนถูกตามตัว ไม่ให้เขา ย่อมถูกจองจำ แม้การถูกจองจำ ก็เป็นทุกข์ในโลกของบริโภคกาม”
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ความจนก็ดี การกู้หนี้ก็ดี การเสียดอกเบี้ยก็ดี การถูกทวงก็ดี การถูกตามตัวก็ดี การถูกจองจำก็ดี เป็นทุกข์ในโลกของผู้บริโภคกาม”
คำว่า คนจน ตามนัยแห่งพุทธพจน์ดังกล่าวข้างต้น หมายถึงคนที่มีรายได้ไม่เพียงพอที่จะนำมาเลี้ยงชีพตนเองและครอบครัว ทั้งในทรัพย์สินใดๆ ที่จะขายเพื่อนำเงินมาเป็นเครื่องยังชีพ จึงต้องกู้หนี้มากินมาใช้
ส่วนคำว่า โลกของผู้บริโภคกาม หมายถึงโลกแห่งโลกียชนคือคนที่ยังมีกิเลส คือความอยากมีและอยากเป็น จึงต้องแสวงหาวัตถุกามคือ สิ่งที่ปุถุชนต้องการอันได้แก่ทรัพย์สิน เงินทอง และยศถาบรรดาศักดิ์ เป็นต้น มาเป็นของตน
คนจนตามนัยนี้มีอยู่ในทุกประเทศทั่วโลก และในทุกยุคทุกสมัย แม้กระทั่งในปัจจุบัน ทั้งคนจนไม่ว่าในประเทศไหนๆ ในโลก ย่อมเป็นทุกข์ เพราะการเป็นหนี้เสมอเหมือนด้วยกันทุกคน เพียงแต่อาจมากน้อยไม่เท่ากัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจุบัน อันเป็นภาวะแวดล้อมซึ่งแตกต่างกันออกไปดังนี้
1. ความอุดมสมบูรณ์และความขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งดินและน้ำของประเทศที่คนจนอาศัยอยู่
ถ้าเป็นประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ คนจนในภาคเกษตรสามารถมีชีวิตอยู่ได้ตามอัตภาพด้วยความพอเพียง โดยการผลิตเพื่อกินเหลือขาย จึงไม่มีความจำเป็นต้องเป็นหนี้ เว้นไว้แต่ว่าไม่มีความพออยากมีโน่น อยากมีนี่เกินกว่ารายได้ที่หามาได้จะรองรับได้ ก็คงหนีไม่พ้นการเป็นหนี้ และคนจนประเภทนี้เองที่เป็นทุกข์ในโลกของผู้บริโภคกาม
ส่วนคนจนที่อยู่อาศัยในประเทศที่ขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ ถึงแม้จะยึดแนวทางพอเพียงอย่างไรก็คงหนีการเป็นหนี้สินได้ยาก เพียงแต่ถ้ามีความพอเพียง ก็อาจเป็นหนี้น้อยลงและทุกข์น้อยลงเท่านั้น
2. ความมีศักยภาพในการบริหารประเทศในด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลที่คนจนอาศัยอยู่ ถ้ารัฐบาลมีแนวนโยบายและมีกลยุทธ์ในการแก้ปัญหาคนจน โดยมุ่งเน้นให้คนจนพึ่งตนเองและมีความพอเพียง และรัฐบาลสนับสนุนปัจจัยการผลิตเช่น พันธุ์พืช เป็นต้น รวมไปถึงให้คำแนะนำทางด้านวิชาการ และเปิดโอกาสให้คนจนซึ่งเป็นผู้ผลิตกำหนดราคาขายผลผลิตของตนเอง โดยการรวมกลุ่มกันสร้างอำนาจต่อรองกับผู้ซื้อ ก็จะทำให้คนจนมีรายได้ดีขึ้น และไม่จำเป็นต้องเป็นหนี้หรือเป็นหนี้น้อยลง
แต่ถ้ารัฐบาลไม่มีศักยภาพในการแก้ปัญหาปล่อยให้วัตถุนิยมเข้าครอบงำคนจน โดยการเป็นหนี้เพื่อลงทุนการผลิตในเชิงพาณิชย์ และเปิดโอกาสให้คนกลางเข้ามาควบคุมราคาขาย สุดท้ายคนจนก็จะจนและเป็นหนี้ไม่มีวันหมด
นอกจากคนจนในภาคเกษตรแล้ว ในปัจจุบันนี้ยังมีคนจนในภาคอุตสาหกรรม และคนจนกลุ่มนี้ยิ่งจะมีความทุกข์กว่าคนจนในภาคเกษตร ทั้งนี้เนื่องจากว่าคนกลุ่มนี้อยู่ได้ด้วยค่าจ้างที่นายจ้างจ่ายให้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับฝีมือของแรงงาน ถ้าเป็นแรงงานมีฝีมือค่าจ้างก็สูง แต่ถ้าเป็นแรงงานไม่มีฝีมือค่าจ้างก็ต่ำ ตามที่กฎหมายกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ ดังนั้นเมื่อรายได้ที่ได้รับต่ำเกินไป เมื่อเทียบกับราคาสินค้าอุปโภคบริโภคแล้ว คนจนกลุ่มนี้ก็คงหนีไม่พ้นการเป็นหนี้ และส่วนใหญ่เป็นหนี้นอกระบบเพราะไม่มีหลักทรัพย์ไปค้ำประกัน จึงกู้หนี้ในระบบไม่ได้
คนจนหรือที่ภาษาทางการเรียกว่า ผู้มีรายได้น้อย ทั้งในภาคเกษตรและในภาคอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่เป็นหนี้และในจำนวนนี้ส่วนใหญ่เป็นหนี้เงินกู้นอกระบบ จึงอนุมานได้ว่าเป็นทุกข์ตามนัยแห่งพุทธพจน์ดังกล่าวแล้วข้างต้น จะมีอยู่บ้างเป็นส่วนน้อย และเป็นคนจนในภาคเกษตรกรรมที่หันมาดำเนินชีวิตด้วยเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ ๙ สามารถนำตนเองให้หลุดพ้นจากการเป็นทุกข์จากการเป็นหนี้ได้ด้วยการพึ่งตนเอง
อีกประการหนึ่ง การเป็นหนี้ของผู้คนที่อยู่ในสังคมที่ถูกครอบงำในทุกประเทศ มิเว้นแม้แต่ประเทศไทย มิได้จำกัดอยู่ในแวดวงของคนจน เฉกเช่นในสมัยพุทธกาล แต่ได้ขยายวงไปยังคนรวยและอยากจะรวยเพิ่ม จึงได้ก่อหนี้เพื่อการลงทุนในการดำเนินธุรกิจ รวมถึงการซื้อทรัพย์สินอันได้แก่บ้านและที่ดิน เป็นต้น โดยหวังว่าจะมีรายได้จากการขายเมื่อทรัพย์สินมีมูลค่าเพิ่มขึ้น แต่ถ้าการคาดการณ์ในเชิงธุรกิจผิดพลาด มิได้เป็นไปตามนั้น ทำให้ไม่มีรายได้มาใช้ดอกเบี้ยและเงินกู้ที่กู้ไป ก็เป็นทุกข์ในทำนองเดียวกับคนจน
ด้วยเหตุนี้ การเป็นหนี้ไม่ว่าจะเป็นคนจนหรือคนรวย ถ้าเป็นหนี้แล้วไม่มีเงินมาใช้หนี้ตามกำหนด ก็จะเป็นทุกข์ไม่แตกต่างกัน
ดังนั้น ทางที่ดีไม่ควรเป็นหนี้หรือจำเป็นต้องเป็นหนี้ ก็จะต้องแน่ใจว่าจะต้องมีเงินมาจ่ายคืน เงินกู้ได้ทั้งดอกเบี้ย และเงินต้น ถ้าไม่แน่ใจก็ไม่ควรกู้หนี้
แต่ทางที่ดีควรจะยึดแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตควบคู่ไปกับแนวทางเศรษฐกิจ ตามวิถีพุทธที่เรียกว่า โภควิภาค 4 ประการในการบริหารรายได้ โดยแบ่งออกเป็น 4 ส่วนเท่าๆ กัน และใช้จ่ายในสัดส่วนดังต่อไปนี้
1. เอเกน โภเค ภุญฺเชยฺย 1 ส่วนหรือ 25% ของรายได้ใช้เพื่อการเลี้ยงตน เลี้ยงคนที่ควรบำรุง และทำประโยชน์
2-3 ทวีหิ กมฺมํ ปโยชเย 2 ส่วนหรือ 50% ของรายได้ใช้เพื่อลงทุนประกอบการงาน
4. จตุตฺถญจ นิชาเปยฺย 1 ส่วนหรือ 25%
สุดท้ายเก็บออมไว้ใช้ในคราวจำเป็น
และถ้าจะให้การดำเนินชีวิตมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ก็ควรยึดแนวทางของพุทธที่ว่า ผู้ครองเรือนพึงดูตัวอย่าง ยิ่งในการหารายได้ แม้การนำน้ำหวานจากเกสรดอกไม้ แม้ทีละน้อย ก็มีน้ำผึ้งเต็มรวงผึ้งได้ และในขณะเดียวกัน จงมองดูการหมดไปของยาหยอดตา แม้ใช้เพียงครั้งละหยดสองหยดก็หมดขวดได้ เป็นการเปรียบกับรายจ่าย แม้ครั้งละน้อยก็ทำให้เงินจำนวนมากหมดได้เช่นกัน