กคช.เปิดรับร้องทุกข์กรณีประชาชนถูกหลอกขายบ้านเอื้อฯชลบุรี ยันไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง พร้อมส่งนิติกรลงพื้นที่ให้คำปรึกษา/แนะนำผู้เสียหายฟ้องร้องดำเนินคดี
นายดารนัย อินสว่าง รองผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ(กคช.) ชี้แจงกรณีสื่อมวลชนนำเสนอข่าวมีผู้หญิงแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ของการเคหะแห่งชาติทำตัวเป็นนายหน้าขายบ้านและที่ดินโครงการบ้านเอื้ออาทรชลบุรี (บ้านเซิด) โดยให้
ผู้ที่สนใจวางเงินมัดจำในราคาหลังละ 1-2 แสนบาท แต่เมื่อถึงกำหนดวันโอนจะมารับโฉนดกรรมสิทธิ์ที่สำนักงานเคหะชุมชนชลบุรี 2 (บ้านเซิด) เจ้าหน้าที่ของการเคหะแห่งชาติกลับปฏิเสธว่าผู้หญิงคนดังกล่าวได้ลาออกไปนานแล้วนั้น การเคหะแห่งชาติได้เร่งตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นปรากฎว่า ผู้หญิงที่แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ของการเคหะแห่งชาติคือ นางพรจิตร สุเทศ อายุ 47 ปี อดีตลูกจ้างบริษัท ไพโรจน์กิจจา จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทรับจ้างเหมาดูแลโครงการแบบบูรณาการภายในโครงการบ้านเอื้ออาทรชลบุรี (บ้านเซิด) และยังเป็นผู้พักอาศัยภายในโครงการบ้านเอื้ออาทรชลบุรี (บ้านเซิด) รวมทั้งเป็นผู้ปล่อยเงินกู้นอกระบบให้กับผู้อยู่อาศัยภายในโครงการ จึงเป็นที่เชื่อถือของบุคคลทั่วไป ปัจจุบันนางพรจิตรไม่ได้เป็นลูกจ้างของบริษัทไพโรจน์กิจจา จำกัด และการเคหะแห่งชาติได้เลิกจ้างบริษัทฯ ดังกล่าวแล้วตั้งแต่เดือนมีนาคม 2556
ทั้งนี้ นางพรจิตรได้แอบอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของการเคหะแห่งชาติเพื่อหลอกขายสิทธิโครงการบ้านเอื้ออาทร และให้ผู้ที่สนใจวางเงินมัดจำจำนวนหนึ่งก่อน โดยใช้สำเนาสัญญาจะซื้อจะขายของผู้ที่เป็นคู่สัญญาของการเคหะแห่งชาติแอบอ้างขายสิทธิ พร้อมทั้งสำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของสิทธิที่เป็นคู่สัญญา ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือ จึงมีผู้หลงเชื่อทำสัญญาซื้อขายสิทธิหลายราย ซึ่งการเคหะแห่งชาติมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องแต่อย่างใด
ก่อนที่จะมีการร้องเรียนเกิดขึ้น การเคหะแห่งชาติมิเคยได้รับการติดต่อจากผู้เสียหายแต่ละราย เนื่องจาก
นางพรจิตรและผู้เสียหายได้ทำสัญญาซื้อขายกันเอง จนกระทั่งผู้เสียหายรู้ตัวว่าถูกหลอกจึงได้มาสอบถามรายละเอียดกับเจ้าหน้าที่สำนักงานเคหะชุมชนชลบุรี 2 (บ้านเซิด)
อย่างไรก็ตาม การเคหะแห่งชาติได้เปิดให้สำนักงานเคหะชุมชนชลบุรี 2 (บ้านเซิด) รับเรื่องราวร้องทุกข์จากผู้เสียหาย เพื่อรวบรวมข้อเท็จจริง พร้อมได้ให้ผู้เสียหายไปแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจในเบื้องต้นแล้ว และในวันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน 2558 การเคหะแห่งชาติจะให้นิติกรลงพื้นที่ให้คำปรึกษาและคำแนะนำแก่ผู้เสียหายในการฟ้องร้องดำเนินคดีต่อไป
นายดารนัย อินสว่าง รองผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ(กคช.) ชี้แจงกรณีสื่อมวลชนนำเสนอข่าวมีผู้หญิงแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ของการเคหะแห่งชาติทำตัวเป็นนายหน้าขายบ้านและที่ดินโครงการบ้านเอื้ออาทรชลบุรี (บ้านเซิด) โดยให้
ผู้ที่สนใจวางเงินมัดจำในราคาหลังละ 1-2 แสนบาท แต่เมื่อถึงกำหนดวันโอนจะมารับโฉนดกรรมสิทธิ์ที่สำนักงานเคหะชุมชนชลบุรี 2 (บ้านเซิด) เจ้าหน้าที่ของการเคหะแห่งชาติกลับปฏิเสธว่าผู้หญิงคนดังกล่าวได้ลาออกไปนานแล้วนั้น การเคหะแห่งชาติได้เร่งตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นปรากฎว่า ผู้หญิงที่แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ของการเคหะแห่งชาติคือ นางพรจิตร สุเทศ อายุ 47 ปี อดีตลูกจ้างบริษัท ไพโรจน์กิจจา จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทรับจ้างเหมาดูแลโครงการแบบบูรณาการภายในโครงการบ้านเอื้ออาทรชลบุรี (บ้านเซิด) และยังเป็นผู้พักอาศัยภายในโครงการบ้านเอื้ออาทรชลบุรี (บ้านเซิด) รวมทั้งเป็นผู้ปล่อยเงินกู้นอกระบบให้กับผู้อยู่อาศัยภายในโครงการ จึงเป็นที่เชื่อถือของบุคคลทั่วไป ปัจจุบันนางพรจิตรไม่ได้เป็นลูกจ้างของบริษัทไพโรจน์กิจจา จำกัด และการเคหะแห่งชาติได้เลิกจ้างบริษัทฯ ดังกล่าวแล้วตั้งแต่เดือนมีนาคม 2556
ทั้งนี้ นางพรจิตรได้แอบอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของการเคหะแห่งชาติเพื่อหลอกขายสิทธิโครงการบ้านเอื้ออาทร และให้ผู้ที่สนใจวางเงินมัดจำจำนวนหนึ่งก่อน โดยใช้สำเนาสัญญาจะซื้อจะขายของผู้ที่เป็นคู่สัญญาของการเคหะแห่งชาติแอบอ้างขายสิทธิ พร้อมทั้งสำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของสิทธิที่เป็นคู่สัญญา ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือ จึงมีผู้หลงเชื่อทำสัญญาซื้อขายสิทธิหลายราย ซึ่งการเคหะแห่งชาติมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องแต่อย่างใด
ก่อนที่จะมีการร้องเรียนเกิดขึ้น การเคหะแห่งชาติมิเคยได้รับการติดต่อจากผู้เสียหายแต่ละราย เนื่องจาก
นางพรจิตรและผู้เสียหายได้ทำสัญญาซื้อขายกันเอง จนกระทั่งผู้เสียหายรู้ตัวว่าถูกหลอกจึงได้มาสอบถามรายละเอียดกับเจ้าหน้าที่สำนักงานเคหะชุมชนชลบุรี 2 (บ้านเซิด)
อย่างไรก็ตาม การเคหะแห่งชาติได้เปิดให้สำนักงานเคหะชุมชนชลบุรี 2 (บ้านเซิด) รับเรื่องราวร้องทุกข์จากผู้เสียหาย เพื่อรวบรวมข้อเท็จจริง พร้อมได้ให้ผู้เสียหายไปแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจในเบื้องต้นแล้ว และในวันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน 2558 การเคหะแห่งชาติจะให้นิติกรลงพื้นที่ให้คำปรึกษาและคำแนะนำแก่ผู้เสียหายในการฟ้องร้องดำเนินคดีต่อไป