วานนี้ (17ส.ค.) ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณา ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ... ในวาระ 2 หลังจากที่คณะกมธ.วิสามัญ ได้พิจารณาแล้วเสร็จ โดยมีสาระสำคัญคือ กำหนดคุณสมบัติและกระบวนการสรรหาให้มีความหลากหลายมากขึ้น เพื่อให้เป็นไปตาม“หลักการว่าด้วยสถานะและหน้าที่ของสถาบันแห่งชาติเพื่อการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน" หรือ“หลักการปารีส”ซึ่งเป็นหลักการสากล เกี่ยวกับการดำเนินงานของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทั่วโลก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุม สมาชิกส่วนใหญ่ อภิปรายในบทเฉพาะกาล มาตรา 60 ที่มีการแปรญัตติมากที่สุด เกี่ยวกับสถานนะของกสม. ชุดปัจจุบัน ซึ่งคณะกมธ.วิสามัญได้กำหนดให้ดำรงตำแหน่งต่อไป จนครบ 3 ปี นับแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้ง แต่กมธ.เสียงข้างน้อย คือตัวแทนจาก คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) โดยนางจุรี วิจิตรวาทการ ยืนยันต่อที่ประชุมว่า ประเทศไทยมีพันธะผูกพันระหว่างประเทศตามหลักการปารีส ซึ่งกสม. ถูกลดสถานะ จากระดับ A เป็นระดับ B อันเนื่องมาจากกระบวนการสรรหากสม. ชุดปัจจุบัน ไม่มีความหลากหลาย เป็นไปอย่างเร่งรีบ ไม่ได้เปิดกว้างให้ภาคประชาชนได้แสดงความเห็น จึงยืนยันหลักการที่กรธ.ได้บัญญัติมา คือให้กสม.ชุดปัจจุบันพ้นจากตำแหน่งทั้งหมด และให้สรรหาใหม่ เพื่อให้สอดคล้องตามหลักการปารีส ซึ่งเป็นเหตุผลที่ต่างไปจากองค์กรอิสระอื่นๆ
ขณะที่สมาชิกอีกส่วนหนึ่ง เห็นว่าควรให้กสม. ชุดปัจจุบันดำรงตำแหน่งต่อจนครบวาระ อาทิ นายกล้านรงค์ จันทิก นายนรนิติ เศรษฐบุตร และนายธานี อ่อนละเอียด ด้วยเหตุผลว่า กสม.ไม่ควรพ้นจากตำแหน่งจากการกำหนดคุณสมบัติที่สูงขึ้น และเงื่อนไขใหม่ที่เกิดขึ้นในภายหลัง ที่ให้การสรรหาเป็นไปตามหลักการสากล ซึ่งเป็นการทำให้ กสม.เสียสิทธิ์ และประโยชน์
ด้านนางภิรมย์ ศรีประเสริฐ เลขาธิการ กสม. ในฐานะกมธ.เสียงข้างน้อย ชี้แจงว่า การอ้างเหตุที่ กสม.ถูกลดเกรดนั้น เป็นการลดเกรดตั้งแต่กสม. ชุดที่แล้ว เมื่อปี 57 แล้ว อีกทั้งกสม.ชุดปัจจุบัน ก็ได้รับการสรรหาโดยชอบตามประกาศคสช. ตามหลักการในรธน.50 ซึ่งเป็นไปอย่างหลากหลาย รวมถึงได้รับความเห็นชอบจากสนช.ด้วย ส่วนการทำงานของกสม. ชุดปัจจุบัน ก็ได้รับการยอมรับเป็นอย่างดี จึงสมควรให้ดำรงตำแหน่งต่อไป จนครบวาระ
ทั้งนี้ ที่ประชุมไม่อาจหาข้อสรุปใน มาตรา 60 ได้ ทำให้นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสนช. ในฐานประธานที่ประชุม ต้องสั่งพักการประชุมเป็นเวลา 15 นาที เพื่อให้สมาชิก สนช.หารือเป็นการภายใน ก่อนมีมติแก้ไขเนื้อหาใน มาตรา 60 ให้กลับไปใช้เนื้อหาตามที่ กรธ. เสนอ คือ“ให้ประธาน กสม. และกสม. ที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญใช้บังคับ พ้นจากตำแหน่ง นับแต่วันที่พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ แต่ให้ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าประธานกสม. และกสม. ที่แต่งตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่” และมีการกำหนดระยะเวลาการสรรหากสม.ชุดใหม่ ให้เสร็จภายใน 320 วัน จากเดิมที่กมธ.วิสามัญ กำหนดให้ประธานกสม. และ กสม.ชุดปัจจุบันทำหน้าที่ต่อไป จนกว่าจะครบ 3 ปี นับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง โดยที่ประชุมมีมติเสียงข้างมาก 177 ต่อ 20 คะแนน เห็นชอบกับ มาตรา 60 ที่มีการแก้ไขดังกล่าว
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังมีมติเอกฉันท์ เห็นชอบในวาระ3 ด้วยคะแนนเสียง 199 เสียง งดออกเสียง 4 เสียง ไม่ลงคะแนน 1 เสียง โดยประธาน สนช. จะส่งร่างให้กับกรธ. และกสม. เพื่อพิจารณาทบทวนถึงความชอบด้วยเจตนารมณ์รธน. หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเห็นว่า ร่างกฎหมายไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์รธน. ก็ให้ส่งข้อโต้แย้งภายใน 10 วัน นับแต่วันที่ได้รับร่างกฎหมาย เพื่อขอให้จัดตั้ง กมธ. ร่วม 3 ฝ่าย เพื่อทบทวนอีกครั้ง ภายใน 15 วัน ก่อนส่งให้สนช. ลงมติอีกครั้ง แต่หากทั้งสองฝ่ายไม่มีข้อโต้แย้งเรื่องให้จัดตั้งกมธ.ร่วม ก็จะนำส่งให้นายกรัฐมนตรี นำร่างขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ให้ประกาศใช้ต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุม สมาชิกส่วนใหญ่ อภิปรายในบทเฉพาะกาล มาตรา 60 ที่มีการแปรญัตติมากที่สุด เกี่ยวกับสถานนะของกสม. ชุดปัจจุบัน ซึ่งคณะกมธ.วิสามัญได้กำหนดให้ดำรงตำแหน่งต่อไป จนครบ 3 ปี นับแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้ง แต่กมธ.เสียงข้างน้อย คือตัวแทนจาก คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) โดยนางจุรี วิจิตรวาทการ ยืนยันต่อที่ประชุมว่า ประเทศไทยมีพันธะผูกพันระหว่างประเทศตามหลักการปารีส ซึ่งกสม. ถูกลดสถานะ จากระดับ A เป็นระดับ B อันเนื่องมาจากกระบวนการสรรหากสม. ชุดปัจจุบัน ไม่มีความหลากหลาย เป็นไปอย่างเร่งรีบ ไม่ได้เปิดกว้างให้ภาคประชาชนได้แสดงความเห็น จึงยืนยันหลักการที่กรธ.ได้บัญญัติมา คือให้กสม.ชุดปัจจุบันพ้นจากตำแหน่งทั้งหมด และให้สรรหาใหม่ เพื่อให้สอดคล้องตามหลักการปารีส ซึ่งเป็นเหตุผลที่ต่างไปจากองค์กรอิสระอื่นๆ
ขณะที่สมาชิกอีกส่วนหนึ่ง เห็นว่าควรให้กสม. ชุดปัจจุบันดำรงตำแหน่งต่อจนครบวาระ อาทิ นายกล้านรงค์ จันทิก นายนรนิติ เศรษฐบุตร และนายธานี อ่อนละเอียด ด้วยเหตุผลว่า กสม.ไม่ควรพ้นจากตำแหน่งจากการกำหนดคุณสมบัติที่สูงขึ้น และเงื่อนไขใหม่ที่เกิดขึ้นในภายหลัง ที่ให้การสรรหาเป็นไปตามหลักการสากล ซึ่งเป็นการทำให้ กสม.เสียสิทธิ์ และประโยชน์
ด้านนางภิรมย์ ศรีประเสริฐ เลขาธิการ กสม. ในฐานะกมธ.เสียงข้างน้อย ชี้แจงว่า การอ้างเหตุที่ กสม.ถูกลดเกรดนั้น เป็นการลดเกรดตั้งแต่กสม. ชุดที่แล้ว เมื่อปี 57 แล้ว อีกทั้งกสม.ชุดปัจจุบัน ก็ได้รับการสรรหาโดยชอบตามประกาศคสช. ตามหลักการในรธน.50 ซึ่งเป็นไปอย่างหลากหลาย รวมถึงได้รับความเห็นชอบจากสนช.ด้วย ส่วนการทำงานของกสม. ชุดปัจจุบัน ก็ได้รับการยอมรับเป็นอย่างดี จึงสมควรให้ดำรงตำแหน่งต่อไป จนครบวาระ
ทั้งนี้ ที่ประชุมไม่อาจหาข้อสรุปใน มาตรา 60 ได้ ทำให้นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสนช. ในฐานประธานที่ประชุม ต้องสั่งพักการประชุมเป็นเวลา 15 นาที เพื่อให้สมาชิก สนช.หารือเป็นการภายใน ก่อนมีมติแก้ไขเนื้อหาใน มาตรา 60 ให้กลับไปใช้เนื้อหาตามที่ กรธ. เสนอ คือ“ให้ประธาน กสม. และกสม. ที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญใช้บังคับ พ้นจากตำแหน่ง นับแต่วันที่พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ แต่ให้ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าประธานกสม. และกสม. ที่แต่งตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่” และมีการกำหนดระยะเวลาการสรรหากสม.ชุดใหม่ ให้เสร็จภายใน 320 วัน จากเดิมที่กมธ.วิสามัญ กำหนดให้ประธานกสม. และ กสม.ชุดปัจจุบันทำหน้าที่ต่อไป จนกว่าจะครบ 3 ปี นับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง โดยที่ประชุมมีมติเสียงข้างมาก 177 ต่อ 20 คะแนน เห็นชอบกับ มาตรา 60 ที่มีการแก้ไขดังกล่าว
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังมีมติเอกฉันท์ เห็นชอบในวาระ3 ด้วยคะแนนเสียง 199 เสียง งดออกเสียง 4 เสียง ไม่ลงคะแนน 1 เสียง โดยประธาน สนช. จะส่งร่างให้กับกรธ. และกสม. เพื่อพิจารณาทบทวนถึงความชอบด้วยเจตนารมณ์รธน. หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเห็นว่า ร่างกฎหมายไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์รธน. ก็ให้ส่งข้อโต้แย้งภายใน 10 วัน นับแต่วันที่ได้รับร่างกฎหมาย เพื่อขอให้จัดตั้ง กมธ. ร่วม 3 ฝ่าย เพื่อทบทวนอีกครั้ง ภายใน 15 วัน ก่อนส่งให้สนช. ลงมติอีกครั้ง แต่หากทั้งสองฝ่ายไม่มีข้อโต้แย้งเรื่องให้จัดตั้งกมธ.ร่วม ก็จะนำส่งให้นายกรัฐมนตรี นำร่างขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ให้ประกาศใช้ต่อไป