วานนี้ (1 ส.ค.) ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) พ.ต.อ.ไพสิฐ วงศ์เมือง อธิบดี ดีเอสไอ พร้อมด้วย พ.ต.ท.กรวัชร์ ปานประภากร รอง อธิบดี ดีเอสไอ นายชัยยุทธ คำคุณ รองอธิบดีกรมศุลกากร และ นายกีรติ รัชโน รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ร่วมแถลงถึง การปราบปรามการนำเข้ารถยนต์ที่ลักลอบนำเข้า และหลีกเลี่ยงการชำระภาษีศุลกากร ทำรัฐเสียหายกว่า 1,800 ล้านบาท
พ.ต.อ.ไพสิฐ กล่าวว่า ดีเอสไอ ได้ทำการปราบปรามขบวนการนำรถยนต์เข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงภาษีอากร และสำแดงราคาต่ำกว่าความเป็นจริง รวมทั้งขบวนการทำรถจดประกอบผิดกม. โดยบูรณาการกับ กรมศุลกากร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการเข้าตรวจค้นตามหมายค้นศาลอาญา เมื่อวันที่18 และ 24 พ.ค.60 ได้อายัดรถยนต์สมรรถนะสูงหลายยี่ห้อ (SUPER CAR)ไว้เพื่อตรวจสอบ 160 คัน อาทิ ลัมบอร์กินี , โรลส์-รอยซ์ , แมคลาเรน , โลตัส เป็นต้น
"กรมศุลกากรได้จัดส่งข้อมูลบัญชีรายละเอียดภาษีอากรขาด กลับมายัง ดีเอสไอ ล็อตแรก 32 คัน พบว่ามีมูลค่าภาษีอากรขาด รวม 673 ล้านบาท ล่าสุดกรมศุลกากรได้จัดส่งข้อมูลบัญชีรายละเอียดภาษีอากรขาดกลับมา ดีเอสไอ เป็นล็อตสองอีก 92 คัน มีมูลค่าภาษีอากรขาด ประมาณ 1,165 ล้านบาท รวมทั้งหมด124 คัน มูลค่าภาษีอากรขาดทั้งสิ้น 1,838 ล้านบาท โดยคณะพนักงานสอบสวน ได้รับกรณีของรถยนต์สมรรถนะสูง เป็นคดีพิเศษแล้ว 43 คดี และในส่วนของผู้ครอบครองรถยนต์ ได้เชิญมารับรถยนต์กลับไปดูแลรักษา 59 คัน"
ด้านนายชัยยุทธ เปิดเผยว่า กรมศุลกากรได้รับข้อมูลจาก ดีเอสไอ เพื่อประเมินราคาจัดเก็บภาษี โดยจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบ พบว่าใบขนสินค้าของผู้นำเข้า แสดงราคาต่ำกว่าข้อเท็จจริง และดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว 2 ล็อต ส่งมอบให้ ดีเอสไอ แต่ยังเหลือรถอีกจำนวนมาก ก็จะทยอยตรวจสอบต่อไป ซึ่งเจ้าหน้าที่เปิดโอกาสให้ผู้นำเข้า มาชี้แจ้งก่อน หากไม่สามารถให้ข้อมูลได้ จะต้องเรียกเก็บภาษีที่ขาดหายไป
ขณะที่ นายกีรติ ระบุว่า กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพานิชย์ อนุญาตให้นำเข้ารถยนต์ส่วนบุคคลเก่าใช้แล้วมาในประเทศได้ โดยนักเรียน หรือผู้ทำงานเมืองนอก ที่มีใบขับขี่ต่างประเทศอยากนำเข้ารถ จะต้องมีการตรวจสอบเอกสาร แต่ไม่เห็นรถยนต์ ซึ่งเมื่อปี 59 มีรถยนต์นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น ตรวจสอบพบว่าปลอมใบขับขี่ และทะเบียน รวม 20 คัน ดำเนินการเพิกถอนแล้ว ก่อนประสาน ดีเอสไอ เพื่อให้สืบสวนกระบวนการดังกล่าว
นอกจากนี้ จากการตรวจเอกสารย้อนหลัง ยังพบข้อเท็จจริงว่าในช่วงระหว่าง พ.ศ.2550–ปัจจุบัน กรมการค้าต่างประเทศ ได้อนุญาตให้นำเข้ารถยนต์ใช้แล้ว เพื่อใช้เฉพาะตัวรวม 815 คัน
พ.ต.ท.กรวัชร์ เผยว่า สำหรับล็อตสอง ส่วนใหญ่เป็นยี่ห้อ มาเซราติ (Maserati)และ ลัมบอร์กินี ซึ่ง ดีเอสไอ จะมีการเรียกมารับทราบข้อกล่าวหา ของ 5 กลุ่มบริษัทผู้นำเข้าล็อตสอง รวมถึงผู้ซื้ออาจตกเป็นผู้เสียหาย และจะมีหนังสือเชิญกำหนดวันเวลามาให้ตรวจสภาพรถยนต์ เพราะคดีมุ่งเน้นผู้นำเข้าที่เลี่ยงภาษี ส่วนกรมการค้าต่างประเทศ พบการปลอมเอกสารจากประเทศญี่ปุ่นและอื่นๆ ต้องรอตรวจสอบข้อมูลก่อน อย่างไรก็ตาม หากมีกลุ่มบุคคลแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ ดีเอสไอไปเคาะประตูหน้าบ้าน เพื่อรับเคลียร์เอกสารรถยนต์ โปรดแจ้งมายัง ดีเอสไอ เพราะไม่มีเจ้าหน้าที่ไปเรียกร้องกรณีดังกล่าวเด็ดขาด
"ส่วนรถที่โจรกรรมจากประเทศอังกฤษ ดีเอสไอ ได้รับข้อมูลส่งมาบ้างแล้ว ซึ่งอยู่ระหว่างการประสานหารือข้อกฎหมาย เพราะมีการกระทำผิดที่อังกฤษแต่รถยนต์อยู่ในประเทศไทย ว่าจะต้องดำเนินการอย่างไรต่อไป"
พ.ต.อ.ไพสิฐ กล่าวว่า ดีเอสไอ ได้ทำการปราบปรามขบวนการนำรถยนต์เข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงภาษีอากร และสำแดงราคาต่ำกว่าความเป็นจริง รวมทั้งขบวนการทำรถจดประกอบผิดกม. โดยบูรณาการกับ กรมศุลกากร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการเข้าตรวจค้นตามหมายค้นศาลอาญา เมื่อวันที่18 และ 24 พ.ค.60 ได้อายัดรถยนต์สมรรถนะสูงหลายยี่ห้อ (SUPER CAR)ไว้เพื่อตรวจสอบ 160 คัน อาทิ ลัมบอร์กินี , โรลส์-รอยซ์ , แมคลาเรน , โลตัส เป็นต้น
"กรมศุลกากรได้จัดส่งข้อมูลบัญชีรายละเอียดภาษีอากรขาด กลับมายัง ดีเอสไอ ล็อตแรก 32 คัน พบว่ามีมูลค่าภาษีอากรขาด รวม 673 ล้านบาท ล่าสุดกรมศุลกากรได้จัดส่งข้อมูลบัญชีรายละเอียดภาษีอากรขาดกลับมา ดีเอสไอ เป็นล็อตสองอีก 92 คัน มีมูลค่าภาษีอากรขาด ประมาณ 1,165 ล้านบาท รวมทั้งหมด124 คัน มูลค่าภาษีอากรขาดทั้งสิ้น 1,838 ล้านบาท โดยคณะพนักงานสอบสวน ได้รับกรณีของรถยนต์สมรรถนะสูง เป็นคดีพิเศษแล้ว 43 คดี และในส่วนของผู้ครอบครองรถยนต์ ได้เชิญมารับรถยนต์กลับไปดูแลรักษา 59 คัน"
ด้านนายชัยยุทธ เปิดเผยว่า กรมศุลกากรได้รับข้อมูลจาก ดีเอสไอ เพื่อประเมินราคาจัดเก็บภาษี โดยจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบ พบว่าใบขนสินค้าของผู้นำเข้า แสดงราคาต่ำกว่าข้อเท็จจริง และดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว 2 ล็อต ส่งมอบให้ ดีเอสไอ แต่ยังเหลือรถอีกจำนวนมาก ก็จะทยอยตรวจสอบต่อไป ซึ่งเจ้าหน้าที่เปิดโอกาสให้ผู้นำเข้า มาชี้แจ้งก่อน หากไม่สามารถให้ข้อมูลได้ จะต้องเรียกเก็บภาษีที่ขาดหายไป
ขณะที่ นายกีรติ ระบุว่า กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพานิชย์ อนุญาตให้นำเข้ารถยนต์ส่วนบุคคลเก่าใช้แล้วมาในประเทศได้ โดยนักเรียน หรือผู้ทำงานเมืองนอก ที่มีใบขับขี่ต่างประเทศอยากนำเข้ารถ จะต้องมีการตรวจสอบเอกสาร แต่ไม่เห็นรถยนต์ ซึ่งเมื่อปี 59 มีรถยนต์นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น ตรวจสอบพบว่าปลอมใบขับขี่ และทะเบียน รวม 20 คัน ดำเนินการเพิกถอนแล้ว ก่อนประสาน ดีเอสไอ เพื่อให้สืบสวนกระบวนการดังกล่าว
นอกจากนี้ จากการตรวจเอกสารย้อนหลัง ยังพบข้อเท็จจริงว่าในช่วงระหว่าง พ.ศ.2550–ปัจจุบัน กรมการค้าต่างประเทศ ได้อนุญาตให้นำเข้ารถยนต์ใช้แล้ว เพื่อใช้เฉพาะตัวรวม 815 คัน
พ.ต.ท.กรวัชร์ เผยว่า สำหรับล็อตสอง ส่วนใหญ่เป็นยี่ห้อ มาเซราติ (Maserati)และ ลัมบอร์กินี ซึ่ง ดีเอสไอ จะมีการเรียกมารับทราบข้อกล่าวหา ของ 5 กลุ่มบริษัทผู้นำเข้าล็อตสอง รวมถึงผู้ซื้ออาจตกเป็นผู้เสียหาย และจะมีหนังสือเชิญกำหนดวันเวลามาให้ตรวจสภาพรถยนต์ เพราะคดีมุ่งเน้นผู้นำเข้าที่เลี่ยงภาษี ส่วนกรมการค้าต่างประเทศ พบการปลอมเอกสารจากประเทศญี่ปุ่นและอื่นๆ ต้องรอตรวจสอบข้อมูลก่อน อย่างไรก็ตาม หากมีกลุ่มบุคคลแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ ดีเอสไอไปเคาะประตูหน้าบ้าน เพื่อรับเคลียร์เอกสารรถยนต์ โปรดแจ้งมายัง ดีเอสไอ เพราะไม่มีเจ้าหน้าที่ไปเรียกร้องกรณีดังกล่าวเด็ดขาด
"ส่วนรถที่โจรกรรมจากประเทศอังกฤษ ดีเอสไอ ได้รับข้อมูลส่งมาบ้างแล้ว ซึ่งอยู่ระหว่างการประสานหารือข้อกฎหมาย เพราะมีการกระทำผิดที่อังกฤษแต่รถยนต์อยู่ในประเทศไทย ว่าจะต้องดำเนินการอย่างไรต่อไป"