หากพิจารณาตามรูปการณ์ที่เห็น แม้ว่าจะเชื่อว่านี่ไม่ใช่มาจากสติปัญญาของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เพียงลำพัง แต่น่าจะเป็นความเห็นของพวก"หัวหมอ" ที่อยู่รอบตัว ที่เชื่อมโยงไปถึง ทักษิณ ชินวัตร พี่ชาย และแม้ว่าน่าจะรู้ดีว่าศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จะไม่ส่งต่อไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย เนื่องจากเคยยกคำร้องไปแล้ว แต่ที่น่าจับตาก็คือ "เจตนาซ่อนเร้น" ที่ตามมา เพราะในคำร้องที่เผยแพร่ พวกเขาอ้างถึงเรื่องการ "ไม่ได้รับความเป็นธรรม" และระบุถึง "ความไม่เป็นกลางของศาลฎีกาฯ" ซึ่งอีกด้านหนึ่งเหมือนกับเป็นการสร้างกระแส สร้างอารมณ์ร่วมกับมวลชนที่กำลังเริ่มถูกปลุกเร้ามากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งก่อนหน้านั้น เธอเคยโพสต์ลงโซเชียลฯ ยืนยันว่า"ดิฉันไม่ได้ทำอะไรผิด" มาแล้ว
จะเรียกว่า"ดิ้นรน" กันทุกทางเพื่อให้"รอด"ให้ได้ สำหรับ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี นาทีนี้อาจเรียกแบบนั้นก็ได้ ล่าสุด เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม เธอมอบหมายให้ทนายความคือ นรวิชญ์ หล้าแหล่ง ยื่นคำร้องให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สั่งเพิกถอนคำสั่ง และกระบวนการพิจารณาที่ผิดระเบียบ หลังจากที่ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคมที่ผ่านมา ศาลฎีกาฯได้สั่งยกคำร้องขอของเธอ ที่ให้ส่งเรื่องข้อโต้แย้งไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ตามที่อ้างรัฐธรรมนูญมาตรา 212
โดยคำร้องล่าสุดของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้อ้างกฎหมาย และข้อเท็จจริงจำนวน 5 ประการ ประการแรก เธออ้างถึงคู่ความที่เห็นโต้แย้งพร้อมด้วยเหตุผลต้องตามมาตรา 5 ต้องให้ศาลส่งตีความ และระหว่างรอศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย และให้ศาลรอการพิพากษาคดีเอาไว้ชั่วคราว และยังอ้างว่า ศาลฎีกาฯไม่ปฏิบัติตามกฎหมายที่ไม่ส่งตีความ (ยกคำร้อง)
ประการที่ 2 อ้างว่าศาลฎีกาฯไม่มีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยคำร้องที่จำเลย (ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร)โต้แย้ง แล้วสั่งยกคำร้องเสียเอง
ประการที่ 3 อ้างตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ มาตรา 212 วรรค 2 ว่า มีแต่ศาลรัฐธรรมนูญเท่านั้นที่มีอำนาจรับหรือไม่รับวินิจฉัย ศาลอื่นไม่มีอำนาจในการสั่งไม่รับเรื่องไว้พิจารณาแต่อย่างใด
ประการที่ 4 อ้างว่าศาลรัฐธรรมนูญเคยออกข้อกำหนด ตามข้อ 17 ย้ำว่า ศาลอื่นไม่มีอำนาจพิจารณาคำร้องโต้แย้ง และ ประการที่ 5 ว่าจำเลยมีความจำเป็นต้องร้องโต้แย้งตาม มาตรา 212 เพื่อให้ศาลที่นั่งพิจารณา(ศาลฎีกาฯ) ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย และศาลที่นั่งพิจารณาจึงไม่ควรวินิจฉัยเสียเอง เพราะอาจขัดต่อหลักนิติธรรมและการดำรงไว้ซึ่งความเป็นกลาง พร้อมทั้งอ้าง "สิทธิในกระบวนการยุติธรรม ที่จะเสียไป" หากไม่ยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
ก็ต้องบอกกันอีกครั้ง นี่คือการดิ้นรนให้รอดพ้นหรือ "ยื้อคดี" ออกไปให้นานที่สุด เพราะล่าสุดศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองกำหนดวันพิพากษาในคดีที่เธอถูกฟ้องเป็นจำเลยจากโครงการรับจำนำข้าวฐานปล่อยปละละเลยทำให้โครงการรับจำนำข้าวให้เกิดความเสียหาย กว่า 5 แสนล้านบาท อีกทั้งการเคลื่อนไหวแบบนี้ ยังเป็นเกมกดดัน "บีบศาล" ให้ดำเนินการตามที่เธอ (ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) ต้องการ และยังเป็นการ "สร้างกระแส" ในทางอ้อมให้เห็นพร้อมกันไปด้วยว่ากรณีที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองยกคำร้อง เหมือนกับว่าศาลใช้ดุลพินิจโดยมิชอบโดยพลการ ทำให้ฝ่ายจำเลยคือเธอเสียสิทธิ์ตามกระบวนการยุติธรรมตามที่พวกเธออ้าง
แน่นอนว่าหากพิจารณากันแบบเผินๆ มันก็อาจมองว่า นี่เป็นการใช้สิทธิโต้แย้งตามกฎหมายของฝ่ายจำเลย ซึ่งเป็นดุลพินิจของศาล และที่ผ่านมา ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และทนายความ รวมไปถึงคนใกล้ชิดมักย้ำว่า เคารพกระบวนการยุติธรรมและคำตัดสินของศาล แต่ในคำร้องที่ยื่นมาล่าสุดคราวนี้ มันเหมือนกับว่าต้องการ "บีบ" ให้ต้องทำตาม ขณะเดียวกันหากยกคำร้อง ก็เหมือนกับต้องการให้สังคมได้เห็นว่า "เธอไม่ได้รับความเป็นธรรม" ซึ่งหากเกิดความรู้สึกแบบอย่างหลังขึ้นมา นี่แหละเป็นอันตราย
แม้ว่าในคำร้องไม่ได้ระบุกันแบบโต้งๆ ตรงๆ แต่ในความหมายมันมีความสื่อให้เกิดอารมณ์ เกิดกระแสสังคมจากมวลชนภายนอกให้เห็นว่า เธอไม่ได้รับความเป็นธรรม ซึ่งถือว่าเสี่ยงต่อการเกิดความวุ่นวาย เนื่องจากเวลานี้เริ่มมีการเคลื่อนไหวควบคู่กันไปอย่างต่อเนื่องแล้วว่า จะมีมวลชนมาให้กำลังใจในกระบวนการพิจารณาคดีในขั้นตอนสุดท้าย ตั้งแต่วันแถลงปิดคดีด้วยวาจา ในวันที่ 1 สิงหาคม และในวันพิพากษาคดีในวันที่ 25 สิงหาคม ซึ่งถือว่าเป็นวันชี้ชะตาของเธอ
ดังนั้นหากพิจารณาตามรูปการณ์ที่เห็น แม้ว่าจะเชื่อว่านี่ไม่ใช่มาจากสติปัญญาของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เพียงลำพัง แต่น่าจะเป็นความเห็นของพวก "หัวหมอ" ที่อยู่รอบตัว ที่เชื่อมโยงไปถึง ทักษิณ ชินวัตร พี่ชาย และแม้ว่าน่าจะรู้ดีว่าศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจะไม่ส่งต่อไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย เนื่องจากเคยยกคำร้องไปแล้ว แต่ที่น่าจับตาก็คือ"เจตนาซ่อนเร้น"ที่ตามมา เพราะในคำร้องที่เผยแพร่พวกเขาอ้างถึงเรื่องการ"ไม่ได้รับความเป็นธรรม"และระบุถึง"ความไม่เป็นกลางของศาลฎีกาฯ" ซึ่งอีกด้านหนึ่งเหมือนกับเป็นการสร้างกระแส สร้างอารมณ์ร่วมกับมวลชนที่กำลังเริ่มถูกปลุกเร้ามากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งก่อนหน้านั้นเธอเคยโพสต์ลงโซเชียลฯ ยืนยันว่า"ดิฉันไม่ได้ทำอะไรผิด" มาแล้ว
เจตนาซ่อนเร้นแอบแฝงแบบนี้แหละ น่ากลัว และอำมหิตยิ่งนัก !!
จะเรียกว่า"ดิ้นรน" กันทุกทางเพื่อให้"รอด"ให้ได้ สำหรับ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี นาทีนี้อาจเรียกแบบนั้นก็ได้ ล่าสุด เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม เธอมอบหมายให้ทนายความคือ นรวิชญ์ หล้าแหล่ง ยื่นคำร้องให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สั่งเพิกถอนคำสั่ง และกระบวนการพิจารณาที่ผิดระเบียบ หลังจากที่ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคมที่ผ่านมา ศาลฎีกาฯได้สั่งยกคำร้องขอของเธอ ที่ให้ส่งเรื่องข้อโต้แย้งไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ตามที่อ้างรัฐธรรมนูญมาตรา 212
โดยคำร้องล่าสุดของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้อ้างกฎหมาย และข้อเท็จจริงจำนวน 5 ประการ ประการแรก เธออ้างถึงคู่ความที่เห็นโต้แย้งพร้อมด้วยเหตุผลต้องตามมาตรา 5 ต้องให้ศาลส่งตีความ และระหว่างรอศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย และให้ศาลรอการพิพากษาคดีเอาไว้ชั่วคราว และยังอ้างว่า ศาลฎีกาฯไม่ปฏิบัติตามกฎหมายที่ไม่ส่งตีความ (ยกคำร้อง)
ประการที่ 2 อ้างว่าศาลฎีกาฯไม่มีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยคำร้องที่จำเลย (ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร)โต้แย้ง แล้วสั่งยกคำร้องเสียเอง
ประการที่ 3 อ้างตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ มาตรา 212 วรรค 2 ว่า มีแต่ศาลรัฐธรรมนูญเท่านั้นที่มีอำนาจรับหรือไม่รับวินิจฉัย ศาลอื่นไม่มีอำนาจในการสั่งไม่รับเรื่องไว้พิจารณาแต่อย่างใด
ประการที่ 4 อ้างว่าศาลรัฐธรรมนูญเคยออกข้อกำหนด ตามข้อ 17 ย้ำว่า ศาลอื่นไม่มีอำนาจพิจารณาคำร้องโต้แย้ง และ ประการที่ 5 ว่าจำเลยมีความจำเป็นต้องร้องโต้แย้งตาม มาตรา 212 เพื่อให้ศาลที่นั่งพิจารณา(ศาลฎีกาฯ) ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย และศาลที่นั่งพิจารณาจึงไม่ควรวินิจฉัยเสียเอง เพราะอาจขัดต่อหลักนิติธรรมและการดำรงไว้ซึ่งความเป็นกลาง พร้อมทั้งอ้าง "สิทธิในกระบวนการยุติธรรม ที่จะเสียไป" หากไม่ยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
ก็ต้องบอกกันอีกครั้ง นี่คือการดิ้นรนให้รอดพ้นหรือ "ยื้อคดี" ออกไปให้นานที่สุด เพราะล่าสุดศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองกำหนดวันพิพากษาในคดีที่เธอถูกฟ้องเป็นจำเลยจากโครงการรับจำนำข้าวฐานปล่อยปละละเลยทำให้โครงการรับจำนำข้าวให้เกิดความเสียหาย กว่า 5 แสนล้านบาท อีกทั้งการเคลื่อนไหวแบบนี้ ยังเป็นเกมกดดัน "บีบศาล" ให้ดำเนินการตามที่เธอ (ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) ต้องการ และยังเป็นการ "สร้างกระแส" ในทางอ้อมให้เห็นพร้อมกันไปด้วยว่ากรณีที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองยกคำร้อง เหมือนกับว่าศาลใช้ดุลพินิจโดยมิชอบโดยพลการ ทำให้ฝ่ายจำเลยคือเธอเสียสิทธิ์ตามกระบวนการยุติธรรมตามที่พวกเธออ้าง
แน่นอนว่าหากพิจารณากันแบบเผินๆ มันก็อาจมองว่า นี่เป็นการใช้สิทธิโต้แย้งตามกฎหมายของฝ่ายจำเลย ซึ่งเป็นดุลพินิจของศาล และที่ผ่านมา ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และทนายความ รวมไปถึงคนใกล้ชิดมักย้ำว่า เคารพกระบวนการยุติธรรมและคำตัดสินของศาล แต่ในคำร้องที่ยื่นมาล่าสุดคราวนี้ มันเหมือนกับว่าต้องการ "บีบ" ให้ต้องทำตาม ขณะเดียวกันหากยกคำร้อง ก็เหมือนกับต้องการให้สังคมได้เห็นว่า "เธอไม่ได้รับความเป็นธรรม" ซึ่งหากเกิดความรู้สึกแบบอย่างหลังขึ้นมา นี่แหละเป็นอันตราย
แม้ว่าในคำร้องไม่ได้ระบุกันแบบโต้งๆ ตรงๆ แต่ในความหมายมันมีความสื่อให้เกิดอารมณ์ เกิดกระแสสังคมจากมวลชนภายนอกให้เห็นว่า เธอไม่ได้รับความเป็นธรรม ซึ่งถือว่าเสี่ยงต่อการเกิดความวุ่นวาย เนื่องจากเวลานี้เริ่มมีการเคลื่อนไหวควบคู่กันไปอย่างต่อเนื่องแล้วว่า จะมีมวลชนมาให้กำลังใจในกระบวนการพิจารณาคดีในขั้นตอนสุดท้าย ตั้งแต่วันแถลงปิดคดีด้วยวาจา ในวันที่ 1 สิงหาคม และในวันพิพากษาคดีในวันที่ 25 สิงหาคม ซึ่งถือว่าเป็นวันชี้ชะตาของเธอ
ดังนั้นหากพิจารณาตามรูปการณ์ที่เห็น แม้ว่าจะเชื่อว่านี่ไม่ใช่มาจากสติปัญญาของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เพียงลำพัง แต่น่าจะเป็นความเห็นของพวก "หัวหมอ" ที่อยู่รอบตัว ที่เชื่อมโยงไปถึง ทักษิณ ชินวัตร พี่ชาย และแม้ว่าน่าจะรู้ดีว่าศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจะไม่ส่งต่อไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย เนื่องจากเคยยกคำร้องไปแล้ว แต่ที่น่าจับตาก็คือ"เจตนาซ่อนเร้น"ที่ตามมา เพราะในคำร้องที่เผยแพร่พวกเขาอ้างถึงเรื่องการ"ไม่ได้รับความเป็นธรรม"และระบุถึง"ความไม่เป็นกลางของศาลฎีกาฯ" ซึ่งอีกด้านหนึ่งเหมือนกับเป็นการสร้างกระแส สร้างอารมณ์ร่วมกับมวลชนที่กำลังเริ่มถูกปลุกเร้ามากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งก่อนหน้านั้นเธอเคยโพสต์ลงโซเชียลฯ ยืนยันว่า"ดิฉันไม่ได้ทำอะไรผิด" มาแล้ว
เจตนาซ่อนเร้นแอบแฝงแบบนี้แหละ น่ากลัว และอำมหิตยิ่งนัก !!