"อุตตม"เตรียมหารือ"สมคิด-ก.คลัง"วันนี้(24 ก.ค.) เพื่อเพิ่มวงเงินช่วยเหลือSMEsรายเล็กหรือ ไมโครSMEsที่เริ่มธุรกิจไม่เกิน 3 ปี เน้นต่อยอดไปสู่ เอสเอ็มอี 4.0 ไม่ต่ำกว่า1,000 ล้านบาท พร้อมใช้เวทีกระทรวงอุตฯ ก้าวสู่ 4.0 ในงานไทยแลนด์ อินดัสทรี เอ็กซ์โป 2017 ระหว่างวันที่ 25-30 ก.ค.นี้ ขณะที่ปลัดอุตฯ เผยครึ่งปีหลังอัดงบหนุนSMEsต่างจังหวัดเพิ่ม
นายอุตตม สาวนายน รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า วันนี้(24 ก.ค.) เตรียมหารือร่วมกับ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ด้านเศรษฐกิจ และกระทรวงการคลัง ถึงแนวทางการเพิ่มวงเงินช่วยเหลือผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม(SMEs)วงเงินไม่ต่ำกว่า1,000 ล้านบาท เนื่องจากสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) แจ้งมาว่าวงเงินเดิมที่รัฐบาลช่วยเหลือ ประมาณ 3,000 ล้านบาทไม่เพียงพอ โดยจะหารือระยะเวลาเงินกู้ หรืออัตราดอกเบี้ยที่ชัดเจน ว่าจะเป็นอย่างไร ซึ่งจะเน้นช่วยเหลือเอสเอ็มอี ขนาดเล็ก (Micro SMEs)โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายใหม่ ที่เริ่มธุรกิจไม่เกิน 3 ปี เป็นผู้ประกอบการรายเดี่ยวได้ แต่ต้องจดทะเบียนการค้า หรือกลุ่มผู้ประกอบการ ที่จะขายแฟรนไชส์ เกษตร และเน้นผู้ประกอบการที่จะต่อยอดไปสู่ SMEs4.0
"วงเงินเท่าใด อัตราดอกเบี้ยอย่างไร คงต้องหารือก่อน รวมทั้งการขยายแนวทางการขยายวงเงินค้ำประกันสินเชื่อเอสเอ็มอีของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) จาก 23% เป็น 30% เพื่อกระตุ้นให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยเชื่อมากขึ้น คาดว่า จะได้ข้อสรุปภายในสัปดาห์นี้ ก่อนที่จะนำเสนอที่ประชุมครม.ต่อไป ซึ่งนโยบายการช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ถือเป็นเรื่องที่รัฐบาลให้ความสำคัญอย่างมาก" รมว.อุตสาหกรรมกล่าว
นอกจากนี้ วันที่ 26 ก.ค. กระทรวงอุตฯ จะใช้เวทีของงานไทยแลนด์ อินดัสทรี เอ็กซ์โป 2017 ระหว่างวันที่ 25-30 ก.ค. จัดสัมมนาให้กับผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรม ถึงแนวทางการขับเคลื่อนอุตสาหกรรม 4.0 การทำผลิตผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเข้าไปช่วยเหลือเอสเอ็มอี การปรับตัว 4.0 ซึ่งจะมีบุคลากรจากประเทศเยอรมัน ต้นแบบ 4.0 และองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น หรือ เจโทร มาร่วมถ่ายทอดความรู้
นายสมชาย หาญหิรัญ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ในครึ่งปีหลังกระทรวงฯ จะยังคงทำงานเชิงรุก แต่จะเน้นขยายไปยัง SMEsภูมิภาค ผ่านคณะกรรมการพัฒนา SMEsประจำจังหวัด เพื่อได้กำหนดทิศทางและจัดทำโครงการฯ ซึ่งสอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ และกระจายให้เข้าถึงผู้ประกอบการ ขณะนี้นอกจากมีศูนย์สนับสนุน และช่วยเหลือในทุกจังหวัดแล้ว จะมีศูนย์บ่มเพาะธุรกิจที่เปิดพื้นที่ มีเครื่องมือและโรงงานต้นแบบให้ SMEsได้มาใช้ประโยชน์เกิดขึ้นอย่างน้อย 1 แห่ง ภายในเดือนก.ย.นี้
"นโยบายภาครัฐในปัจจุบัน ต้องการให้ SMEs จัดทำบัญชีเดียว ภาครัฐจะเพิ่มความรู้ในการปรับตัวสู่ยุค 4.0 และช่วยสนับสนุนการผลิตสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูง" นายสมชาย กล่าว
สำหรับผลการใช้จ่ายงบประมาณปี 60 ปีนี้กระทรวงอุตฯได้รับงบประมาณ 5,661 ล้านบาท หน่วยงานในสังกัด 7 กรม มีผลการเบิกจ่ายแล้ว 3,831 ล้านบาท คงเหลือ1,830 ล้านบาท การเบิกจ่ายคิดเป็น 68% ขณะที่ภาพรวมผลการเบิกจ่าย จัดอยู่ในอันดับที่ 18 จาก 24 หน่วยงาน ที่เป็นหน่วยงานระดับกระทรวงฯ หรือเทียบเท่า ซึ่งเร่งรัดการเบิกจ่ายและการทำงานของทุกหน่วยงานในสังกัด เพื่อช่วยผลักดันการขยายตัวของเศรษฐกิจ
"ผลงานที่โดดเด่นในช่วงครึ่งปีแรกของกระทรวงฯ คือ การเข้าไปดูแลและช่วยเหลือธุรกิจเอสเอ็มอี ทั้งโครงการให้ความรู้ และแหล่งเงินทุน ที่ล่าสุดได้ปล่อยสินเชื่อแล้วกว่าหมื่นล้านบาท" นายสมชาย กล่าว
นายอุตตม สาวนายน รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า วันนี้(24 ก.ค.) เตรียมหารือร่วมกับ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ด้านเศรษฐกิจ และกระทรวงการคลัง ถึงแนวทางการเพิ่มวงเงินช่วยเหลือผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม(SMEs)วงเงินไม่ต่ำกว่า1,000 ล้านบาท เนื่องจากสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) แจ้งมาว่าวงเงินเดิมที่รัฐบาลช่วยเหลือ ประมาณ 3,000 ล้านบาทไม่เพียงพอ โดยจะหารือระยะเวลาเงินกู้ หรืออัตราดอกเบี้ยที่ชัดเจน ว่าจะเป็นอย่างไร ซึ่งจะเน้นช่วยเหลือเอสเอ็มอี ขนาดเล็ก (Micro SMEs)โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายใหม่ ที่เริ่มธุรกิจไม่เกิน 3 ปี เป็นผู้ประกอบการรายเดี่ยวได้ แต่ต้องจดทะเบียนการค้า หรือกลุ่มผู้ประกอบการ ที่จะขายแฟรนไชส์ เกษตร และเน้นผู้ประกอบการที่จะต่อยอดไปสู่ SMEs4.0
"วงเงินเท่าใด อัตราดอกเบี้ยอย่างไร คงต้องหารือก่อน รวมทั้งการขยายแนวทางการขยายวงเงินค้ำประกันสินเชื่อเอสเอ็มอีของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) จาก 23% เป็น 30% เพื่อกระตุ้นให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยเชื่อมากขึ้น คาดว่า จะได้ข้อสรุปภายในสัปดาห์นี้ ก่อนที่จะนำเสนอที่ประชุมครม.ต่อไป ซึ่งนโยบายการช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ถือเป็นเรื่องที่รัฐบาลให้ความสำคัญอย่างมาก" รมว.อุตสาหกรรมกล่าว
นอกจากนี้ วันที่ 26 ก.ค. กระทรวงอุตฯ จะใช้เวทีของงานไทยแลนด์ อินดัสทรี เอ็กซ์โป 2017 ระหว่างวันที่ 25-30 ก.ค. จัดสัมมนาให้กับผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรม ถึงแนวทางการขับเคลื่อนอุตสาหกรรม 4.0 การทำผลิตผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเข้าไปช่วยเหลือเอสเอ็มอี การปรับตัว 4.0 ซึ่งจะมีบุคลากรจากประเทศเยอรมัน ต้นแบบ 4.0 และองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น หรือ เจโทร มาร่วมถ่ายทอดความรู้
นายสมชาย หาญหิรัญ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ในครึ่งปีหลังกระทรวงฯ จะยังคงทำงานเชิงรุก แต่จะเน้นขยายไปยัง SMEsภูมิภาค ผ่านคณะกรรมการพัฒนา SMEsประจำจังหวัด เพื่อได้กำหนดทิศทางและจัดทำโครงการฯ ซึ่งสอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ และกระจายให้เข้าถึงผู้ประกอบการ ขณะนี้นอกจากมีศูนย์สนับสนุน และช่วยเหลือในทุกจังหวัดแล้ว จะมีศูนย์บ่มเพาะธุรกิจที่เปิดพื้นที่ มีเครื่องมือและโรงงานต้นแบบให้ SMEsได้มาใช้ประโยชน์เกิดขึ้นอย่างน้อย 1 แห่ง ภายในเดือนก.ย.นี้
"นโยบายภาครัฐในปัจจุบัน ต้องการให้ SMEs จัดทำบัญชีเดียว ภาครัฐจะเพิ่มความรู้ในการปรับตัวสู่ยุค 4.0 และช่วยสนับสนุนการผลิตสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูง" นายสมชาย กล่าว
สำหรับผลการใช้จ่ายงบประมาณปี 60 ปีนี้กระทรวงอุตฯได้รับงบประมาณ 5,661 ล้านบาท หน่วยงานในสังกัด 7 กรม มีผลการเบิกจ่ายแล้ว 3,831 ล้านบาท คงเหลือ1,830 ล้านบาท การเบิกจ่ายคิดเป็น 68% ขณะที่ภาพรวมผลการเบิกจ่าย จัดอยู่ในอันดับที่ 18 จาก 24 หน่วยงาน ที่เป็นหน่วยงานระดับกระทรวงฯ หรือเทียบเท่า ซึ่งเร่งรัดการเบิกจ่ายและการทำงานของทุกหน่วยงานในสังกัด เพื่อช่วยผลักดันการขยายตัวของเศรษฐกิจ
"ผลงานที่โดดเด่นในช่วงครึ่งปีแรกของกระทรวงฯ คือ การเข้าไปดูแลและช่วยเหลือธุรกิจเอสเอ็มอี ทั้งโครงการให้ความรู้ และแหล่งเงินทุน ที่ล่าสุดได้ปล่อยสินเชื่อแล้วกว่าหมื่นล้านบาท" นายสมชาย กล่าว