บอร์ด ป.ป.ท. เดินหน้าเอาผิดคดีทุจริตจัดเก็บข้าวในโครงการรับจำนำข้าว ทยอยแจ้งข้อหาผู้กระทำผิดแล้ว 60 คดี จากที่ไต่สวนแล้วเสร็ว 211 คดี พร้อมยืนยันต้องการทำความจริงให้ปรากฎและทำให้รัฐเสียหาย ไม่ได้ตั้งเป้าเอาคนมาลงโทษ พร้อมเร่งรัด "อ.ค.ส.-อตก." เรียกค่าเสียหายคดีแพ่งจากบริษัทเซอร์เวย์เยอร์ได้ทันที ไม่ต้องรอคดีอาญา
วานนี้ (12 ก.ค.) นายประยงค์ ปรียาจิตต์ เลขาธิการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) เปิดเผยความคืบหน้าคดีทุจริตจัดเก็บข้าวในโครงการรับจำนำข้าว ว่า ขณะนี้การไต่สวนความผิดทางอาญาได้คืบหน้าไปมาก โดยอยู่ในขั้นตอนของการทยอยเรียกผู้เกี่ยวข้องในการกระทำความผิดทั้งเจ้าหน้าที่องค์การคลังสินค้า (อคส.) เจ้าหน้าที่องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อตก.) และบริษัทเซอร์เวย์เยอร์ ในฐานะคู่สัญญาผู้ตรวจสอบคุณภาพข้าว มารับทราบข้อกล่าวหา โดยล่าสุดได้ทยอยแจ้งข้อหาแล้ว 60 คดี จากจำนวนคดีที่การไต่สวนแล้วเสร็จ 211 คดี
นอกจากนี้ ยังกำชับให้ป.ป.ท.ในเขตพื้นที่ต่างๆ ให้เร่งรัดการไต่สวนคดีทุจริตจัดเก็บข้าวให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาคดีคั่งค้าง เนื่องจากคดีทุจริตจัดเก็บข้าวมีเป็นจำนวนมากและกระจายอยู่ในหลายเขตพื้นที่ หากไม่เร่งบริหารจัดการให้แล้วเสร็จจะส่งผลกระทบต่อการไต่สวนคดีอาญาอื่นๆ
ส่วนกรณีที่มีกระแสข่าวว่าพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ สั่งการให้ไต่สวนคดีทุจริตจัดเก็บข้าวในโครงการรับจำนำให้แล้วเสร็จภายในเดือนต.ค.นั้น นายประยงค์ กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวไม่เป็นความจริง. นายกฯไม่เคยเข้ามาก้าวก่าย หรือสั่งการแต่อย่างใด เนื่องจากการไต่สวนและชี้มูลความผิดเป็นอำนาจของบอร์ดป.ป.ท. ซึ่งเป็นองค์กรอิสระ ซึ่งจะลงมติว่าหลักฐานในแต่ละคดีมีน้ำหนักเพียงพอจะชี้มูลความผิดหรือไม่
ด้าน พ.ท.กรทิพย์. ดาโรจน์ รองเลขาธิการป.ป.ท. กล่าวว่า การไต่สวนของป.ป.ท.ไม่ได้ตั้งเป้าว่าต้องเอาคนมาลงโทษให้ได้ แต่ต้องการทำความจริงให้ปรากฎว่ามีการทุจริตเกิดขึ้นจนเป็นเหตุให้รัฐเสียหาย ซึ่งหลักฐานที่ปรากฎในชั้นสืบสวนสอบสวนพบการทุจริต โดยหัวหน้าคลังสินค้า คือ เจ้าที่อ.ค.ส.และ อตก.มีหน้าที่ร่วมกับเซอร์เวย์เยอร์ ในการตรวจสอบสภาพข้าว คุณภาพข้าว และนับจำนวน ก่อนนำข้าวเข้าไปเก็บรักษาในคลัง
"ข้าวที่เสียหายในโครงการรับจำนำข้าว ไม่ได้เกิดจากการจัดเก็บ แต่เสื่อมสภาพและสูญหายตั้งแต่ก่อนนำเข้าไปจัดเก็บในคลัง ซึ่งมีสาเหตุมาจากการทุจริตต่อหน้าที่ของอ.ค.ส.และอตก."
สำหรับเจ้าหน้าที่รัฐและเซอร์เวย์เยอร์ที่ถูกป.ป.ท.เรียกตัวมารับทราบข้อกล่าวหานั้น มีสิทธิในการพิสูจน์ความบริสุทธิ์ตามกฎหมายเช่นเดียวกับผู้ต้องหาในคดีอาญาอื่นๆทั่วไป หลังแจ้งข้อหาจะไม่ถูกควบคุมตัว ในชั้นนี้จึงไม่จำเป็นต้องเตรียมหลักทรัพย์มาประกันตัว ทั้งนี้ผู้ต้องหาที่เข้ารับทราบข้อหาส่วนใหญ่จะขอเวลา 15 วัน เพื่อส่งคำให้การและหลักฐานในการแก้ข้อกล่าวหาเป็นลายลักษณ์อักษร หากคณะอนุกรรมการไต่สวนวินิจฉัยแล้วเห็นว่าหลักฐานของฝ่ายผู้ถูกกล่าวหาไม่มีน้ำหนักเพียงพอ ก็จะสรุปสำนวนส่งให้บอร์ดป.ป.ท.ลงมติว่าจะชี้มูลความผิด. จากนั้นจะส่งสำนวนให้อัยการยื่นฟ้องต่อไป
รองเลขาธิการ ป.ป.ท. กล่าวอีกว่า สำหรับความเสียหายในทางแพ่งนั้น อ.ค.ส.และอตก.ต้องเรียกร้องกับบริษัทเซอร์เวย์เยอร์ ซึ่งต้องรับผิดชอบตามสัญญาดูแลสภาพข้าวในโครงการรับจำนำ โดยสามารถฟ้องเรียกคืนค่าเสียหายในทางแพ่งได้โดยไม่ต้องรอในคดีอาญา เนื่องจากข้อเท็จจริงปรากฎชัดเจนแล้วว่าข้าวที่จัดเก็บตามสัญญาเสื่อมคุณภาพ เสียหาย และสูญหาย แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่พบการบังคับคดีตามสัญญาเลย
วานนี้ (12 ก.ค.) นายประยงค์ ปรียาจิตต์ เลขาธิการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) เปิดเผยความคืบหน้าคดีทุจริตจัดเก็บข้าวในโครงการรับจำนำข้าว ว่า ขณะนี้การไต่สวนความผิดทางอาญาได้คืบหน้าไปมาก โดยอยู่ในขั้นตอนของการทยอยเรียกผู้เกี่ยวข้องในการกระทำความผิดทั้งเจ้าหน้าที่องค์การคลังสินค้า (อคส.) เจ้าหน้าที่องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อตก.) และบริษัทเซอร์เวย์เยอร์ ในฐานะคู่สัญญาผู้ตรวจสอบคุณภาพข้าว มารับทราบข้อกล่าวหา โดยล่าสุดได้ทยอยแจ้งข้อหาแล้ว 60 คดี จากจำนวนคดีที่การไต่สวนแล้วเสร็จ 211 คดี
นอกจากนี้ ยังกำชับให้ป.ป.ท.ในเขตพื้นที่ต่างๆ ให้เร่งรัดการไต่สวนคดีทุจริตจัดเก็บข้าวให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาคดีคั่งค้าง เนื่องจากคดีทุจริตจัดเก็บข้าวมีเป็นจำนวนมากและกระจายอยู่ในหลายเขตพื้นที่ หากไม่เร่งบริหารจัดการให้แล้วเสร็จจะส่งผลกระทบต่อการไต่สวนคดีอาญาอื่นๆ
ส่วนกรณีที่มีกระแสข่าวว่าพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ สั่งการให้ไต่สวนคดีทุจริตจัดเก็บข้าวในโครงการรับจำนำให้แล้วเสร็จภายในเดือนต.ค.นั้น นายประยงค์ กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวไม่เป็นความจริง. นายกฯไม่เคยเข้ามาก้าวก่าย หรือสั่งการแต่อย่างใด เนื่องจากการไต่สวนและชี้มูลความผิดเป็นอำนาจของบอร์ดป.ป.ท. ซึ่งเป็นองค์กรอิสระ ซึ่งจะลงมติว่าหลักฐานในแต่ละคดีมีน้ำหนักเพียงพอจะชี้มูลความผิดหรือไม่
ด้าน พ.ท.กรทิพย์. ดาโรจน์ รองเลขาธิการป.ป.ท. กล่าวว่า การไต่สวนของป.ป.ท.ไม่ได้ตั้งเป้าว่าต้องเอาคนมาลงโทษให้ได้ แต่ต้องการทำความจริงให้ปรากฎว่ามีการทุจริตเกิดขึ้นจนเป็นเหตุให้รัฐเสียหาย ซึ่งหลักฐานที่ปรากฎในชั้นสืบสวนสอบสวนพบการทุจริต โดยหัวหน้าคลังสินค้า คือ เจ้าที่อ.ค.ส.และ อตก.มีหน้าที่ร่วมกับเซอร์เวย์เยอร์ ในการตรวจสอบสภาพข้าว คุณภาพข้าว และนับจำนวน ก่อนนำข้าวเข้าไปเก็บรักษาในคลัง
"ข้าวที่เสียหายในโครงการรับจำนำข้าว ไม่ได้เกิดจากการจัดเก็บ แต่เสื่อมสภาพและสูญหายตั้งแต่ก่อนนำเข้าไปจัดเก็บในคลัง ซึ่งมีสาเหตุมาจากการทุจริตต่อหน้าที่ของอ.ค.ส.และอตก."
สำหรับเจ้าหน้าที่รัฐและเซอร์เวย์เยอร์ที่ถูกป.ป.ท.เรียกตัวมารับทราบข้อกล่าวหานั้น มีสิทธิในการพิสูจน์ความบริสุทธิ์ตามกฎหมายเช่นเดียวกับผู้ต้องหาในคดีอาญาอื่นๆทั่วไป หลังแจ้งข้อหาจะไม่ถูกควบคุมตัว ในชั้นนี้จึงไม่จำเป็นต้องเตรียมหลักทรัพย์มาประกันตัว ทั้งนี้ผู้ต้องหาที่เข้ารับทราบข้อหาส่วนใหญ่จะขอเวลา 15 วัน เพื่อส่งคำให้การและหลักฐานในการแก้ข้อกล่าวหาเป็นลายลักษณ์อักษร หากคณะอนุกรรมการไต่สวนวินิจฉัยแล้วเห็นว่าหลักฐานของฝ่ายผู้ถูกกล่าวหาไม่มีน้ำหนักเพียงพอ ก็จะสรุปสำนวนส่งให้บอร์ดป.ป.ท.ลงมติว่าจะชี้มูลความผิด. จากนั้นจะส่งสำนวนให้อัยการยื่นฟ้องต่อไป
รองเลขาธิการ ป.ป.ท. กล่าวอีกว่า สำหรับความเสียหายในทางแพ่งนั้น อ.ค.ส.และอตก.ต้องเรียกร้องกับบริษัทเซอร์เวย์เยอร์ ซึ่งต้องรับผิดชอบตามสัญญาดูแลสภาพข้าวในโครงการรับจำนำ โดยสามารถฟ้องเรียกคืนค่าเสียหายในทางแพ่งได้โดยไม่ต้องรอในคดีอาญา เนื่องจากข้อเท็จจริงปรากฎชัดเจนแล้วว่าข้าวที่จัดเก็บตามสัญญาเสื่อมคุณภาพ เสียหาย และสูญหาย แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่พบการบังคับคดีตามสัญญาเลย