นายอุดม รัฐอมฤต กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) เปิดเผยว่า จากกรณีที่กรธ. ได้ทำความเห็นต่อ นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. ขอให้แก้ไข และทบทวนเนื้อหาของ ร่าง พ.ร.ป. ว่าด้วยพรรคการเมือง ต่อประเด็น ไพรมารีโหวต เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยได้เชิญ พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม สนช. ฐานะประธาน กมธ.วิสามัญพิจารณา ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง สนช. เพื่อชี้แจง ต่อสาระที่ กรธ. ขอแก้ไขเนื้อหา ระบบไพรมารี่โหวตให้มีความสมบูรณ์ ครบถ้วน และไม่มีปัญหาในทางปฏิบัติ รวมถึงไม่มีช่องว่างที่ทำให้เกิดการทุจริต หรือซื้อเสียงในขั้นตอนไพรมารีโหวต
เบื้องต้นนั้น พล.อ.สมเจตน์ เห็นด้วยกับรายละเอียด และประเด็นที่บัญญัติเพิ่มเติมในกลุ่ม มาตรา ว่าด้วยการทำไพรมารีโหวต จำนวน 5 มาตรา และ ในบทเฉพาะกาล 1 มาตรา โดยยังคงหลักการของระบบไพรมารีโหวตไว้
สำหรับประเด็นที่แก้ไข และปรับปรุง อาทิ กรณีข้อพิพาท หรือมีข้อร้องเรียนของผู้สมัครรับเลือกตั้งในระบบไพรมารีโหวต ของพรรค กำหนดให้หาข้อยุติภายในพรรคการเมือง โดยกรรมการบริหารพรรค หัวหน้าพรรค และกรรมการคัดเลือกผู้สมัคร ต้องพิจารณา ส่วนกรณีที่พบการทุจริตในระบบไพรมารีโหวต เป็นความรับผิดชอบของหัวหน้าพรรค ที่ต้องพิจารณาความถูกต้อง ฐานะผู้ลงนามรับรอง แต่หากพบกรณีที่ไม่ทำตามกฎหมาย กรรมการบริหารพรรค และหัวหน้าพรรคต้องถูกลงโทษทางอาญา เบื้องต้นมีข้อเสนอให้ ปรับเป็นเงิน 10,000 บาท หรือจำคุก 6 เดือน ทั้งนี้ จะไม่ตัดสิทธิผู้เสียหายนำความไปฟ้องในคดีแพ่ง อย่างไรก็ตามประเด็นการซื้อเสียงในระบบไพรมารีโหวต กรธ.อยู่ระหว่างพิจารณาบทลงโทษ ที่อาจใช้ฐานใกล้เคียงกับการซื้อ-ขายเสียง ของการเลือกตั้ง ส.ส.
"ระบบไพรมารี่โหวตนั้น กรธ.กำหนดให้เป็นเรื่องเฉพาะภายในพรรคการเมืองเท่านั้น และสิ่งที่เกิดขั้น จะไม่ขยายไปสู่การเลือกตั้งระดับชาติ ไม่เช่นนั้นจะทำให้เกิดความวุ่นวายทั้งประเทศ และเพื่อไม่ให้ กกต.มีอำนาจแจกใบเหลือง ใบแดง กระบวนการภายในพรรคได้ แต่หน้าที่ของ กกต.ต่อเรื่องนี้ ยังมีคือ การกวดขันว่าพรรคการเมืองดำเนินการตามนี้แล้วหรือไม่" นายอุดม กล่าว
สำหรับในประเด็นที่ร่าง พ.ร.ป.พรรคการเมือง กำหนดให้หัวหน้าพรรคต้องลงสมัครส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 1 นั้น กรธ. เห็นว่า เป็นประเด็นที่ตัดสิทธิหัวหน้าพรรคเกินไป จึงขอให้ตัดออก
ด้านนายวิรัตน์ กัลยาศิริ หัวหน้าทีมกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีคณะกรรมาธิการร่วม พิจารณาร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง มีเเนวโน้มจะปรับแก้ไม่ให้กกต. มีอำนาจเเจกใบเหลือง ใบเเดง ในขั้นตอนการทำไพรมารีโหวต เลือกผู้สมัครภายในพรรคการเมืองว่า ตนเห็นด้วยหากแก้แบบนี้ เพราะถ้าให้พรรคการเมืองจัดทำไพรมารีโหวตกันเอง ก็ไม่ควรให้กกต. มายุ่งเกี่ยวในเรื่องเเจกใบเหลือง ใบเเดง นั้นถูกต้องแล้ว อีกช่องโหว่ที่อยากให้ปรับเพิ่มเติม คือ การจ่ายค่าสมาชิกพรรคการเมืองเเบบตลอดชีพ ที่บัญญัติไว้ 2,000 บาทนั้น มากเกินไปควรลดเหลือ 200 บาท เพื่อให้ประชาชนไม่ต้องรับภาระ ตอบโจทย์การมีส่วนร่วมมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม เมื่อฝ่ายผู้ร่างบอกว่า มีเเนวโน้มพูดคุย ตกลง ทำความเข้าใจตลกผลึกเเล้ว หากถึงเวลา สนช. ยังมีมติโหวตคว่ำกฎหมายลูกขึ้นมาอีก คงไม่มีสมติฐานอื่น นอกจากทุกอย่างเป็นไปตามข่าวลือว่า อยากคว่ำเพื่อเลื่อนเลือกตั้ง แต่ตนคิดว่าตอนนี้สัญญาณจากผู้มีอำนาจ เขาคงไม่อยากจะเลื่อนวัน หรือ ยื้อเวลาเเน่นอน ไม่อย่างนั้นจะเสียคนแน่ๆ
เบื้องต้นนั้น พล.อ.สมเจตน์ เห็นด้วยกับรายละเอียด และประเด็นที่บัญญัติเพิ่มเติมในกลุ่ม มาตรา ว่าด้วยการทำไพรมารีโหวต จำนวน 5 มาตรา และ ในบทเฉพาะกาล 1 มาตรา โดยยังคงหลักการของระบบไพรมารีโหวตไว้
สำหรับประเด็นที่แก้ไข และปรับปรุง อาทิ กรณีข้อพิพาท หรือมีข้อร้องเรียนของผู้สมัครรับเลือกตั้งในระบบไพรมารีโหวต ของพรรค กำหนดให้หาข้อยุติภายในพรรคการเมือง โดยกรรมการบริหารพรรค หัวหน้าพรรค และกรรมการคัดเลือกผู้สมัคร ต้องพิจารณา ส่วนกรณีที่พบการทุจริตในระบบไพรมารีโหวต เป็นความรับผิดชอบของหัวหน้าพรรค ที่ต้องพิจารณาความถูกต้อง ฐานะผู้ลงนามรับรอง แต่หากพบกรณีที่ไม่ทำตามกฎหมาย กรรมการบริหารพรรค และหัวหน้าพรรคต้องถูกลงโทษทางอาญา เบื้องต้นมีข้อเสนอให้ ปรับเป็นเงิน 10,000 บาท หรือจำคุก 6 เดือน ทั้งนี้ จะไม่ตัดสิทธิผู้เสียหายนำความไปฟ้องในคดีแพ่ง อย่างไรก็ตามประเด็นการซื้อเสียงในระบบไพรมารีโหวต กรธ.อยู่ระหว่างพิจารณาบทลงโทษ ที่อาจใช้ฐานใกล้เคียงกับการซื้อ-ขายเสียง ของการเลือกตั้ง ส.ส.
"ระบบไพรมารี่โหวตนั้น กรธ.กำหนดให้เป็นเรื่องเฉพาะภายในพรรคการเมืองเท่านั้น และสิ่งที่เกิดขั้น จะไม่ขยายไปสู่การเลือกตั้งระดับชาติ ไม่เช่นนั้นจะทำให้เกิดความวุ่นวายทั้งประเทศ และเพื่อไม่ให้ กกต.มีอำนาจแจกใบเหลือง ใบแดง กระบวนการภายในพรรคได้ แต่หน้าที่ของ กกต.ต่อเรื่องนี้ ยังมีคือ การกวดขันว่าพรรคการเมืองดำเนินการตามนี้แล้วหรือไม่" นายอุดม กล่าว
สำหรับในประเด็นที่ร่าง พ.ร.ป.พรรคการเมือง กำหนดให้หัวหน้าพรรคต้องลงสมัครส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 1 นั้น กรธ. เห็นว่า เป็นประเด็นที่ตัดสิทธิหัวหน้าพรรคเกินไป จึงขอให้ตัดออก
ด้านนายวิรัตน์ กัลยาศิริ หัวหน้าทีมกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีคณะกรรมาธิการร่วม พิจารณาร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง มีเเนวโน้มจะปรับแก้ไม่ให้กกต. มีอำนาจเเจกใบเหลือง ใบเเดง ในขั้นตอนการทำไพรมารีโหวต เลือกผู้สมัครภายในพรรคการเมืองว่า ตนเห็นด้วยหากแก้แบบนี้ เพราะถ้าให้พรรคการเมืองจัดทำไพรมารีโหวตกันเอง ก็ไม่ควรให้กกต. มายุ่งเกี่ยวในเรื่องเเจกใบเหลือง ใบเเดง นั้นถูกต้องแล้ว อีกช่องโหว่ที่อยากให้ปรับเพิ่มเติม คือ การจ่ายค่าสมาชิกพรรคการเมืองเเบบตลอดชีพ ที่บัญญัติไว้ 2,000 บาทนั้น มากเกินไปควรลดเหลือ 200 บาท เพื่อให้ประชาชนไม่ต้องรับภาระ ตอบโจทย์การมีส่วนร่วมมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม เมื่อฝ่ายผู้ร่างบอกว่า มีเเนวโน้มพูดคุย ตกลง ทำความเข้าใจตลกผลึกเเล้ว หากถึงเวลา สนช. ยังมีมติโหวตคว่ำกฎหมายลูกขึ้นมาอีก คงไม่มีสมติฐานอื่น นอกจากทุกอย่างเป็นไปตามข่าวลือว่า อยากคว่ำเพื่อเลื่อนเลือกตั้ง แต่ตนคิดว่าตอนนี้สัญญาณจากผู้มีอำนาจ เขาคงไม่อยากจะเลื่อนวัน หรือ ยื้อเวลาเเน่นอน ไม่อย่างนั้นจะเสียคนแน่ๆ