นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. กล่าวถึง การเซตซีโรองค์กรอิสระว่า กรรมการสิทธิมนุษยชน (กสม.) กำลังถูกเซตซีโร เป็นหน่วยงานที่สอง แต่ให้โอกาสกรรมการชุดปัจจุบัน กลับมาสมัครได้ ในขณะที่ กกต.ถูกเซตซีโร กรรมการชุดปัจจุบันไม่สามารถกลับมาสมัครได้อีก ด้วยเหตุผลว่า รธน.ระบุให้บุคคลที่เป็นองค์กรอิสระมาแล้ว ไม่สามารถสมัครองค์กรอิสระใดๆได้อีก เหตุผลที่กมธ.ที่มีตัวแทน กรธ.ร่วมอยู่ด้วยยกมาอ้างคือ กสม. เป็นองค์กรตามรธน. มิใช่องค์กรอิสระ ดังนั้นจึง สามารถกลับมาสมัครได้ ไม่เหมือน กกต. ที่เป็นองค์กรอิสระ จึงไม่สามารถกลับมาสมัครได้อีก
"กรธ.ซึ่งเป็นผู้ร่างรธน. อาจลืมเปิดรธน.ดูว่า ในรธน.60 หมวดที่ 12 องค์กรอิสระ ส่วนที่ 6 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน เป็นการยืนยันว่า กสม.เป็นหนึ่งในองค์กรอิสระตามรธน. ดังนั้น การอ้างว่ากสม.มิใช่องค์กรอิสระ อาจเป็นการอ้างที่ฟั่นเฟือนไปแล้ว"
นายสมชัย ยังระบุว่า การดำรงตำแหน่งของกสม.ชุดปัจจุบัน เกิดขึ้นจากรธน.50 ซึ่งในขณะนั้นมีฐานะเป็นองค์กรตามรธน.มิใช่ องค์กรอิสระ ก็ไม่อาจกล่าวอ้างได้ เพราะนับแต่วันที่ 6 เม.ย.60 ที่รธน.ฉบับปัจจุบันประกาศใช้ กสม.ชุดปัจจุบันได้สวมสถานะของการเป็นองค์กรอิสระเต็มตัวแล้ว จึงไม่มีเหตุผลมายกเว้นให้สิทธิกลับมาสมัครได้ ถือเป็นการร่างกฎหมายที่ขัดรธน. อย่างชัดเจน
"ร่างกม.ดังกล่าว จะเข้าที่ประชุม สนช.ในปลายสัปดาห์นี้ เชื่อว่าหากผ่านสนช. จะเป็นกฎหมายที่มีปัญหา จนถึงขั้นการนำสู่การวินิจฉัยของศาลรธน. อีกฉบับหนึ่งอย่างแน่นอน" นายสมชัย กล่าว และว่า ยังไม่นับ องค์กรที่เหลือ เช่น ศาลรธน. และ ป.ป.ช. จะมีอีกกี่มาตรฐาน
ด้านนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรธ. กล่าวยืนยันว่า ตามรธน.60 กรธ.ได้รับรองให้ กสม. เป็นองค์กรอิสระแล้ว จึงไม่สามารถกลับเข้ามารับการสรรหาได้ เหมือนกับกรรมการองค์กรอิสระอื่น แม้จะอยู่ก่อนรธน.ฉบับนี้บังคับใช้ก็ตาม แต่ถ้า กสม. สงสัยก็สามารถยื่นศาลรธน.ให้ตีความได้ว่า เป็นองค์กรอิสระ หรือไม่ หรือถ้า กกต.สงสัย จะยื่นด้วยก็ได้เช่นกัน ซึ่งตาม ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วย กสม.ที่จะเข้าสู่การพิจารณาของ สนช. ในวันที่ 30 มิ.ย.นี้ กรธ.จำเป็นต้องเขียนให้มีการ เซตซีโร
กสม. โดยยืนยันว่า ไม่ได้คิดพิสดาร หรือสองมาตรฐาน เพราะกรธ. เสนออย่างเดียวกันทุกองค์กร แต่กับ กสม. ถือเป็นข้อยกเว้น เพราะมีเหตุปัจจัยมาจากหลักการปารีสที่ผูกผัน และยึดโยงกับประเทศเราอยู่
นายมีชัย ยังกล่าวถึงเรื่องการทำไพรมารีโหวต ผู้สมัครรับเลือกตั้งว่า ขณะนี้ยังไม่มีการตีความในประเด็นตาม มาตรา 35 ของ พ.ร.ป.พรรคการเมือง เพราะ กรธ.-กกต. และพรรคการเมือง ยังมองต่างกันในเรื่องของการกำหนดเขตเลือกตั้ง โดย กรธ.มองว่า ในเมื่อ กกต.บอกว่า การทำไพรมารี เป็นส่วนหนึ่งของการเลือกตั้ง ดังนั้นกกต.ก็ควรจะเป็นผู้กำหนดเขตการเลือกตั้งให้เหมาะสม เพราะในเมื่อสนช. ลงผ่านกฎหมายให้มีไพรมารีโหวตแล้ว กรธ. ก็คงไม่ไปคัดค้าน แต่ต้องมาเกลาข้อความ เพื่อไม่ให้การปฏิบัติต่างๆ ขัดต่อเจตนารมณ์รธน.
ส่วนที่พรรคการเมืองร้องเรียนว่า ไพรมารีโหวต ปฏิบัติยากนั้น กรธ. ก็คงจะมาเกลาเพื่อให้ปฏิบัติง่ายขึ้น ส่วนเรื่องการที่ กกต. จะให้ใบเหลือง ใบแดงเพื่อกำกับดูแลการทำไพรมารีโหวต นั้น ตนคิดว่าอาจจะไปขัดต่อหลักการที่ให้พรรคการเมือง และสมาชิกพรรคมีส่วนร่วมในการส่งผู้สมัครลงเลือกตั้ง ซึ่งหาก กกต.จะให้ใบเหลือง ใบแดง ก็หมายความว่า กกต.ก็ต้องเป็นผู้จัดไพรมารีโหวต ไม่ใช่ให้พรรคการเมืองจัด
"ยืนยันว่ากรธ.ไม่ได้วางยา กกต.ชุดใหม่ เพราะไม่ใช่ข้าศึกกัน แต่เป็นหน่วยงานที่ต้องร่วมมือกันทำงาน เพื่อให้ประเทศเดินหน้าไปได้ จึงต้องช่วยกันคิด"นายมีชัย กล่าว
"กรธ.ซึ่งเป็นผู้ร่างรธน. อาจลืมเปิดรธน.ดูว่า ในรธน.60 หมวดที่ 12 องค์กรอิสระ ส่วนที่ 6 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน เป็นการยืนยันว่า กสม.เป็นหนึ่งในองค์กรอิสระตามรธน. ดังนั้น การอ้างว่ากสม.มิใช่องค์กรอิสระ อาจเป็นการอ้างที่ฟั่นเฟือนไปแล้ว"
นายสมชัย ยังระบุว่า การดำรงตำแหน่งของกสม.ชุดปัจจุบัน เกิดขึ้นจากรธน.50 ซึ่งในขณะนั้นมีฐานะเป็นองค์กรตามรธน.มิใช่ องค์กรอิสระ ก็ไม่อาจกล่าวอ้างได้ เพราะนับแต่วันที่ 6 เม.ย.60 ที่รธน.ฉบับปัจจุบันประกาศใช้ กสม.ชุดปัจจุบันได้สวมสถานะของการเป็นองค์กรอิสระเต็มตัวแล้ว จึงไม่มีเหตุผลมายกเว้นให้สิทธิกลับมาสมัครได้ ถือเป็นการร่างกฎหมายที่ขัดรธน. อย่างชัดเจน
"ร่างกม.ดังกล่าว จะเข้าที่ประชุม สนช.ในปลายสัปดาห์นี้ เชื่อว่าหากผ่านสนช. จะเป็นกฎหมายที่มีปัญหา จนถึงขั้นการนำสู่การวินิจฉัยของศาลรธน. อีกฉบับหนึ่งอย่างแน่นอน" นายสมชัย กล่าว และว่า ยังไม่นับ องค์กรที่เหลือ เช่น ศาลรธน. และ ป.ป.ช. จะมีอีกกี่มาตรฐาน
ด้านนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรธ. กล่าวยืนยันว่า ตามรธน.60 กรธ.ได้รับรองให้ กสม. เป็นองค์กรอิสระแล้ว จึงไม่สามารถกลับเข้ามารับการสรรหาได้ เหมือนกับกรรมการองค์กรอิสระอื่น แม้จะอยู่ก่อนรธน.ฉบับนี้บังคับใช้ก็ตาม แต่ถ้า กสม. สงสัยก็สามารถยื่นศาลรธน.ให้ตีความได้ว่า เป็นองค์กรอิสระ หรือไม่ หรือถ้า กกต.สงสัย จะยื่นด้วยก็ได้เช่นกัน ซึ่งตาม ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วย กสม.ที่จะเข้าสู่การพิจารณาของ สนช. ในวันที่ 30 มิ.ย.นี้ กรธ.จำเป็นต้องเขียนให้มีการ เซตซีโร
กสม. โดยยืนยันว่า ไม่ได้คิดพิสดาร หรือสองมาตรฐาน เพราะกรธ. เสนออย่างเดียวกันทุกองค์กร แต่กับ กสม. ถือเป็นข้อยกเว้น เพราะมีเหตุปัจจัยมาจากหลักการปารีสที่ผูกผัน และยึดโยงกับประเทศเราอยู่
นายมีชัย ยังกล่าวถึงเรื่องการทำไพรมารีโหวต ผู้สมัครรับเลือกตั้งว่า ขณะนี้ยังไม่มีการตีความในประเด็นตาม มาตรา 35 ของ พ.ร.ป.พรรคการเมือง เพราะ กรธ.-กกต. และพรรคการเมือง ยังมองต่างกันในเรื่องของการกำหนดเขตเลือกตั้ง โดย กรธ.มองว่า ในเมื่อ กกต.บอกว่า การทำไพรมารี เป็นส่วนหนึ่งของการเลือกตั้ง ดังนั้นกกต.ก็ควรจะเป็นผู้กำหนดเขตการเลือกตั้งให้เหมาะสม เพราะในเมื่อสนช. ลงผ่านกฎหมายให้มีไพรมารีโหวตแล้ว กรธ. ก็คงไม่ไปคัดค้าน แต่ต้องมาเกลาข้อความ เพื่อไม่ให้การปฏิบัติต่างๆ ขัดต่อเจตนารมณ์รธน.
ส่วนที่พรรคการเมืองร้องเรียนว่า ไพรมารีโหวต ปฏิบัติยากนั้น กรธ. ก็คงจะมาเกลาเพื่อให้ปฏิบัติง่ายขึ้น ส่วนเรื่องการที่ กกต. จะให้ใบเหลือง ใบแดงเพื่อกำกับดูแลการทำไพรมารีโหวต นั้น ตนคิดว่าอาจจะไปขัดต่อหลักการที่ให้พรรคการเมือง และสมาชิกพรรคมีส่วนร่วมในการส่งผู้สมัครลงเลือกตั้ง ซึ่งหาก กกต.จะให้ใบเหลือง ใบแดง ก็หมายความว่า กกต.ก็ต้องเป็นผู้จัดไพรมารีโหวต ไม่ใช่ให้พรรคการเมืองจัด
"ยืนยันว่ากรธ.ไม่ได้วางยา กกต.ชุดใหม่ เพราะไม่ใช่ข้าศึกกัน แต่เป็นหน่วยงานที่ต้องร่วมมือกันทำงาน เพื่อให้ประเทศเดินหน้าไปได้ จึงต้องช่วยกันคิด"นายมีชัย กล่าว