ประชาพิจารณ์ร่าง กม.บัตรทองครั้งสุดท้ายวุ่นอีก หวิดปะทะ กลุ่มคัดค้านและฝ่ายสนับสนุนผู้จัดงาน พร้อมลุกฮืออ้างตำรวจยึดของ รังแกประชาชน จนตำรวจควบคุมฝูงชนต้องเข้าเคลียร์ ยันไม่มีการทำร้ายประชาชน และขอความร่วมมือ งดใช้เครื่องขยายเสียง-ชูป้ายหมิ่นเหม่ ล้มประชาพิจารณ์
ความคืบหน้าการจัดเวทีประชาพิจารณ์แก้ไขเพิ่มเติม ร่าง พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (ฉบับที่...) พ.ศ. ... หรือร่างกฎหมายบัตรทอง ซึ่งที่ผ่านมามีการจัดเวทีประชาพิจารณ์ไปแล้ว 3 ครั้ง คือ ภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยทุกเวทีกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ ต่างแสดงการคัดค้าน และวอล์กเอาต์จากห้องประชุม โดยเวทีภาคอีสาน จ.ขอนแก่น ได้มีการยึดเวทีจนทำให้ไม่สามารถจัดดำเนินการประชุมได้
เมื่อเวลา 09.00 น.วานนี้ (18มิ.ย.) ที่โรงแรมเซ็นทราศูนย์ราชการและคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ คณะอนุกรรมการดำเนินการประชาพิจารณ์ พิจารณา (ร่าง) พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (ฉบับที่ ...) พ.ศ. ... จัดเวทีประชาพิจารณ์ร่างกฎหมายบัตรทองของภาคกลาง ซึ่งเป็นครั้งสุดท้ายในการจัดประชาพิจารณ์ ปรากฏว่า ช่วงก่อนเริ่มประชุม เครือข่ายคนรักหลักประกันสุขภาพกว่า 200 คน นำโดย นายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ น.ส.กรรณิการ์ กิจติเวชกุล กรรมการ สปสช.สัดส่วนภาคประชาชน น.ส.สารี อ๋องสมหวัง กรรมการ สปสช. สัดส่วนภาคประชาชน น.ส. บุญยืน ศิริธรรม อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดสมุทรสงคราม นายอภิวัฒน์ กวางแก้ว ประธานเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ประเทศไทย เป็นต้น ได้เดินทางมายังบริเวณหน้างาน โดยถือป้ายคัดค้านไม่เอาแก้กฎหมายบัตรทอง และมีการตะโกนว่า "แก้ไม่ดี อย่าแก้" โดยไม่ขอเข้าร่วมประชาพิจารณ์ แต่จะเปิดเวทีคู่ขนาน โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจกองร้อยควบคุมฝูงชน เข้าดูแลความเรียบร้อยบริเวณพื้นที่ภายในงาน
ทั้งนี้ ก่อนเปิดการประชุมได้มีชายไม่ทราบชื่อ เข้ายื้อแย่งป้ายคัดค้านของกลุ่มคนรักหลักประกันฯ ทำให้เครือข่ายประชาชนไม่พอใจ และเกิดการลุกฮือชุลมุนขึ้น ขณะที่นายนิมิตร์ ก็มีการโต้เถียงกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ไม่อนุญาตให้ใช้เครื่องขยายเสียง ทำให้เครือข่ายฯ เข้าใจผิดว่า ตำรวจมีการยึดของ จึงลุกฮือ และตะโกนว่า ตำรวจรังแกประชาชน สุดท้ายเจ้าหน้าที่ต้องเข้ามาระงับเหตุ และแจ้งว่าไม่มีการยืดของ และได้นำตัวชายไม่ทราบชื่อดังกล่าว ออกจากที่ประชุม เมื่อเหตุการณ์สงบ นายนิมิตร์ จึงประกาศให้เครือข่ายฯ นั่งอยู่หน้าห้องประชุมอย่างสงบ โดยยืนยันจะจัดเวทีคู่ขนานต่อไป แต่จะไม่ใช้เครื่องขยายเสียง
น.ส.สารี กล่าวว่า การมาครั้งนี้ต้องการแสดงออกว่า ไม่เห็นด้วยกับการแก้กฎหมาย เพราะขัดหลักการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง เป็นการแก้กฎหมายที่ขัดต่อเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพฯ และส่งผลกระทบต่อประชาชนอย่างแน่นอน เนื่องจากสิ่งที่ควรแก้ไขกลับไม่แก้ เช่น เรื่องร่วมจ่าย ควรตัดเรื่องนี้ออกไป หรือการแก้กฎหมายตามคำสั่ง มาตรา 44 ของ คสช. อย่างเรื่องการแก้ระเบียบให้ สปสช. ดำเนินการจัดซื้อยาจำเป็น วัคซีนได้ ซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่าย และเข้าถึงยามากขึ้น โดย 10 ปีประหยัดได้เกือบ 5 หมื่นล้านบาท แต่กลับไปแก้ไขให้ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ดำเนินการแทน คือการเอาอำนาจกลับคืน โดยไม่เกิดประโยชน์แก่ประชาชน
ส่วนสิ่งที่ไม่ควรแก้ กลับแก้ไข เช่น การแก้สัดส่วนกรรมการ สปสช. ที่ไม่มีความจำเป็นต้องแก้ไข กลับแก้เพื่อเพิ่มสัดส่วนผู้ให้บริการ และ สธ.มากขึ้น แล้วมาเบี่ยงประเด็นว่า กลุ่มที่มาร้องเสียผลประโยชน์ ต้องถามว่าเสียอย่างไร เพราะที่เราคัดค้านเพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน และที่สำคัญ ควรไปแก้สัดส่วนกรรมการควบคุมคุณภาพ โดยต้องเพิ่มผู้เสียหายฯ และควรเพิ่มศูนย์ร้องเรียนเข้าไปด้วย เพราะทราบปัญหาการร้องเรียนเรื่องคุณภาพดี ดังนั้นหากยังเดินหน้าแก้กฎหมายต่อ ก็จะคัดค้าน และจะไปหานายกรัฐมนตรี แน่นอน
ด้าน พ.ต.ท.ปริญญา กลิ่นเกษร ผบ.ร้อยควบคุมฝูงชน บช.น. 2 กล่าวว่า การจัดกองร้อยควบคุมฝูงชนมาในงานประชาพิจารณ์ในครั้งนี้ เพราะทราบมาว่า การจัดเวทีที่ผ่านมาในภาคอื่น มีการล้มเวทีการประชุม จึงเกรงว่าจะมีการเกิดขึ้นอีก จึงนำกองกำลังมาคอยดูแล เพื่อให้การจัดประชุมลุล่วง เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ยืนยันว่า ไม่มีการใช้กำลังกับประชาชนแต่อย่างใด ส่วนที่มีการควบคุมตัวชายคนหนึ่งเมื่อช่วงเช้า เพราะเกิดความวุ่นวายขึ้น เกรงว่าจะมีการใช้ความรุนแรงระหว่างกลุ่มผู้จัดประชุม และกลุ่มผู้คัดค้าน จึงมีการแยกตัวกันเท่านั้น ไม่ได้มีการใช้ความรุนแรงใดๆ
สำหรับเวทีประชาพิจารณ์ มีผู้ลงทะเบียนออนไลน์ประมาณ 669 คน ลงทะเบียนจริง 558 คน และผู้ลงทะเบียนหน้างาน 204 คน รวมทั้งหมด 762 คน แต่เข้ามาแสดงความคิดเห็นประมาณ 200 คน โดยนพ.พลเดช ปิ่นประทีป เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการดำเนินการประชาพิจารณ์พิจารณา (ร่าง) พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพฯ กล่าวว่า การเปิดเวทีประชาพิจารณ์เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนทุกภาคส่วนได้เข้ามาแสดงความคิดเห็น นำไปประกอบในการแก้ พ.ร.บ.ฯ โดยการแสดงความคิดเห็นต้องเป็นของตัวเอง ไมใช่ในฐานะตัวแทนของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และไม่อนุญาตให้มีการโห่ร้อง หรือตอบโต้ความคิดเห็นของผู้อื่น โดยกำหนดให้ 3 นาทีต่อ 1 ความคิดเห็น ซึ่งหลังจากมีการรวบรวมแล้ว จะส่งไปให้คณะกรรมการยกร่างฯ นำไปพิจารณา และเผยแพร่ต่อไป
ทั้งนี้ ในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนเวทีประชาพิจารณ์ได้มีการพูดถึงในประเด็นสำคัญๆ อาทิ เรื่องการร่วมจ่าย ซึ่งผู้แสดงความคิดเห็นหลายคนกังวลในเรื่องข้อจำกัดในเรื่องค่าใช้จ่ายที่จะทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำที่จะเกิดขึ้นในสังคม การจัดซื้อยา ความเสมอภาคของประชาชนให้ได้รับความเท่าเทียมในการรักษาพยาบาลเท่ากันทุกคน และสัดส่วนคณะกรรมการที่ควรมาจากทุกภาคส่วนในสัดส่วนที่เหมาะสม เป็นต้น
ความคืบหน้าการจัดเวทีประชาพิจารณ์แก้ไขเพิ่มเติม ร่าง พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (ฉบับที่...) พ.ศ. ... หรือร่างกฎหมายบัตรทอง ซึ่งที่ผ่านมามีการจัดเวทีประชาพิจารณ์ไปแล้ว 3 ครั้ง คือ ภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยทุกเวทีกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ ต่างแสดงการคัดค้าน และวอล์กเอาต์จากห้องประชุม โดยเวทีภาคอีสาน จ.ขอนแก่น ได้มีการยึดเวทีจนทำให้ไม่สามารถจัดดำเนินการประชุมได้
เมื่อเวลา 09.00 น.วานนี้ (18มิ.ย.) ที่โรงแรมเซ็นทราศูนย์ราชการและคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ คณะอนุกรรมการดำเนินการประชาพิจารณ์ พิจารณา (ร่าง) พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (ฉบับที่ ...) พ.ศ. ... จัดเวทีประชาพิจารณ์ร่างกฎหมายบัตรทองของภาคกลาง ซึ่งเป็นครั้งสุดท้ายในการจัดประชาพิจารณ์ ปรากฏว่า ช่วงก่อนเริ่มประชุม เครือข่ายคนรักหลักประกันสุขภาพกว่า 200 คน นำโดย นายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ น.ส.กรรณิการ์ กิจติเวชกุล กรรมการ สปสช.สัดส่วนภาคประชาชน น.ส.สารี อ๋องสมหวัง กรรมการ สปสช. สัดส่วนภาคประชาชน น.ส. บุญยืน ศิริธรรม อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดสมุทรสงคราม นายอภิวัฒน์ กวางแก้ว ประธานเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ประเทศไทย เป็นต้น ได้เดินทางมายังบริเวณหน้างาน โดยถือป้ายคัดค้านไม่เอาแก้กฎหมายบัตรทอง และมีการตะโกนว่า "แก้ไม่ดี อย่าแก้" โดยไม่ขอเข้าร่วมประชาพิจารณ์ แต่จะเปิดเวทีคู่ขนาน โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจกองร้อยควบคุมฝูงชน เข้าดูแลความเรียบร้อยบริเวณพื้นที่ภายในงาน
ทั้งนี้ ก่อนเปิดการประชุมได้มีชายไม่ทราบชื่อ เข้ายื้อแย่งป้ายคัดค้านของกลุ่มคนรักหลักประกันฯ ทำให้เครือข่ายประชาชนไม่พอใจ และเกิดการลุกฮือชุลมุนขึ้น ขณะที่นายนิมิตร์ ก็มีการโต้เถียงกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ไม่อนุญาตให้ใช้เครื่องขยายเสียง ทำให้เครือข่ายฯ เข้าใจผิดว่า ตำรวจมีการยึดของ จึงลุกฮือ และตะโกนว่า ตำรวจรังแกประชาชน สุดท้ายเจ้าหน้าที่ต้องเข้ามาระงับเหตุ และแจ้งว่าไม่มีการยืดของ และได้นำตัวชายไม่ทราบชื่อดังกล่าว ออกจากที่ประชุม เมื่อเหตุการณ์สงบ นายนิมิตร์ จึงประกาศให้เครือข่ายฯ นั่งอยู่หน้าห้องประชุมอย่างสงบ โดยยืนยันจะจัดเวทีคู่ขนานต่อไป แต่จะไม่ใช้เครื่องขยายเสียง
น.ส.สารี กล่าวว่า การมาครั้งนี้ต้องการแสดงออกว่า ไม่เห็นด้วยกับการแก้กฎหมาย เพราะขัดหลักการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง เป็นการแก้กฎหมายที่ขัดต่อเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพฯ และส่งผลกระทบต่อประชาชนอย่างแน่นอน เนื่องจากสิ่งที่ควรแก้ไขกลับไม่แก้ เช่น เรื่องร่วมจ่าย ควรตัดเรื่องนี้ออกไป หรือการแก้กฎหมายตามคำสั่ง มาตรา 44 ของ คสช. อย่างเรื่องการแก้ระเบียบให้ สปสช. ดำเนินการจัดซื้อยาจำเป็น วัคซีนได้ ซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่าย และเข้าถึงยามากขึ้น โดย 10 ปีประหยัดได้เกือบ 5 หมื่นล้านบาท แต่กลับไปแก้ไขให้ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ดำเนินการแทน คือการเอาอำนาจกลับคืน โดยไม่เกิดประโยชน์แก่ประชาชน
ส่วนสิ่งที่ไม่ควรแก้ กลับแก้ไข เช่น การแก้สัดส่วนกรรมการ สปสช. ที่ไม่มีความจำเป็นต้องแก้ไข กลับแก้เพื่อเพิ่มสัดส่วนผู้ให้บริการ และ สธ.มากขึ้น แล้วมาเบี่ยงประเด็นว่า กลุ่มที่มาร้องเสียผลประโยชน์ ต้องถามว่าเสียอย่างไร เพราะที่เราคัดค้านเพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน และที่สำคัญ ควรไปแก้สัดส่วนกรรมการควบคุมคุณภาพ โดยต้องเพิ่มผู้เสียหายฯ และควรเพิ่มศูนย์ร้องเรียนเข้าไปด้วย เพราะทราบปัญหาการร้องเรียนเรื่องคุณภาพดี ดังนั้นหากยังเดินหน้าแก้กฎหมายต่อ ก็จะคัดค้าน และจะไปหานายกรัฐมนตรี แน่นอน
ด้าน พ.ต.ท.ปริญญา กลิ่นเกษร ผบ.ร้อยควบคุมฝูงชน บช.น. 2 กล่าวว่า การจัดกองร้อยควบคุมฝูงชนมาในงานประชาพิจารณ์ในครั้งนี้ เพราะทราบมาว่า การจัดเวทีที่ผ่านมาในภาคอื่น มีการล้มเวทีการประชุม จึงเกรงว่าจะมีการเกิดขึ้นอีก จึงนำกองกำลังมาคอยดูแล เพื่อให้การจัดประชุมลุล่วง เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ยืนยันว่า ไม่มีการใช้กำลังกับประชาชนแต่อย่างใด ส่วนที่มีการควบคุมตัวชายคนหนึ่งเมื่อช่วงเช้า เพราะเกิดความวุ่นวายขึ้น เกรงว่าจะมีการใช้ความรุนแรงระหว่างกลุ่มผู้จัดประชุม และกลุ่มผู้คัดค้าน จึงมีการแยกตัวกันเท่านั้น ไม่ได้มีการใช้ความรุนแรงใดๆ
สำหรับเวทีประชาพิจารณ์ มีผู้ลงทะเบียนออนไลน์ประมาณ 669 คน ลงทะเบียนจริง 558 คน และผู้ลงทะเบียนหน้างาน 204 คน รวมทั้งหมด 762 คน แต่เข้ามาแสดงความคิดเห็นประมาณ 200 คน โดยนพ.พลเดช ปิ่นประทีป เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการดำเนินการประชาพิจารณ์พิจารณา (ร่าง) พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพฯ กล่าวว่า การเปิดเวทีประชาพิจารณ์เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนทุกภาคส่วนได้เข้ามาแสดงความคิดเห็น นำไปประกอบในการแก้ พ.ร.บ.ฯ โดยการแสดงความคิดเห็นต้องเป็นของตัวเอง ไมใช่ในฐานะตัวแทนของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และไม่อนุญาตให้มีการโห่ร้อง หรือตอบโต้ความคิดเห็นของผู้อื่น โดยกำหนดให้ 3 นาทีต่อ 1 ความคิดเห็น ซึ่งหลังจากมีการรวบรวมแล้ว จะส่งไปให้คณะกรรมการยกร่างฯ นำไปพิจารณา และเผยแพร่ต่อไป
ทั้งนี้ ในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนเวทีประชาพิจารณ์ได้มีการพูดถึงในประเด็นสำคัญๆ อาทิ เรื่องการร่วมจ่าย ซึ่งผู้แสดงความคิดเห็นหลายคนกังวลในเรื่องข้อจำกัดในเรื่องค่าใช้จ่ายที่จะทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำที่จะเกิดขึ้นในสังคม การจัดซื้อยา ความเสมอภาคของประชาชนให้ได้รับความเท่าเทียมในการรักษาพยาบาลเท่ากันทุกคน และสัดส่วนคณะกรรมการที่ควรมาจากทุกภาคส่วนในสัดส่วนที่เหมาะสม เป็นต้น