คณะกรรมการศึกษาปัญหาผักตบชวา ก.มหาดไทย เปิดเผยว่า หลังจากได้รับมอบหมายให้ศึกษาเรื่องการจัดการปัญหาผักตบชวาอย่างยั่งยืน ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการประสานข้อมูลร่วมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ และสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เพื่อนำวิธีทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ โดยได้หยิบยกผลการวิจัยเกี่ยวกับชีววิธี โดยการใช้เชื้อรา ที่ชื่อ M. roridum strain 448 ผลิตออกมาเป็นสารกำจัดวัชพืช จากเชื้อรา ที่มีความจำเพาะเจาะจงควบคุมการระบาดของผักตบชวาอย่างเป็นระบบ โดยไม่ก่อให้เกิดโรค หรือความเสียหายกับพืชน้ำชนิดอื่นๆ ที่เจริญอยู่ร่วมกับผักตบชวา หรือสิ่งมีชีวิตประเภทอื่น ซึ่งได้ผ่านการทดลองใช้ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนถิ่น ที่ จ.สุพรรณบุรี และ จ.นครปฐม ปรากฎว่า ผลที่ออกมาเป็นที่น่าพอใจ
ทางคณะกรรมการฯ จึงเตรียมที่จะนำเสนอต่อ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ที่ดูแลรับผิดชอบในเรื่องนี้ ให้นำชีววิธีที่ว่านี้ มาใช้ควบคู่กับการสนับสนุนเรือ อุปกรณ์ ให้แก่หน่วยงาน และกลไกโครงการชุมชนคนริมน้ำประชารัฐ ของกระทรวงมหาดไทย ที่เป็นการแก้ปัญหาระยะสั้น ในการร่วมกำจัดผักตบชวาให้ยั่งยืน เนื่องจากเห็นได้ชัดว่า การแก้ปัญหาในปัจจุบันที่ไม่ทันท่วงทีต่อการอัตราการแพร่ขยายของผักตบชวาที่รวดเร็วมากถึง 6-7 เท่าตัว ในเวลาเพียง 2 เดือน ส่งผลให้สภาพปัญหารุนแรงมากขึ้น ในทุกปี ทั้งนี้นอกจากประสิทธิภาพในการควบคุมการขยายพันธุ์ของผักตบชวาแล้ว ยังมีข้อดีในแง่ความคุ้มค่าทางงบประมาณ และการจัดการสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นมากกว่าวิธีการในปัจจุบัน .
ทางคณะกรรมการฯ จึงเตรียมที่จะนำเสนอต่อ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ที่ดูแลรับผิดชอบในเรื่องนี้ ให้นำชีววิธีที่ว่านี้ มาใช้ควบคู่กับการสนับสนุนเรือ อุปกรณ์ ให้แก่หน่วยงาน และกลไกโครงการชุมชนคนริมน้ำประชารัฐ ของกระทรวงมหาดไทย ที่เป็นการแก้ปัญหาระยะสั้น ในการร่วมกำจัดผักตบชวาให้ยั่งยืน เนื่องจากเห็นได้ชัดว่า การแก้ปัญหาในปัจจุบันที่ไม่ทันท่วงทีต่อการอัตราการแพร่ขยายของผักตบชวาที่รวดเร็วมากถึง 6-7 เท่าตัว ในเวลาเพียง 2 เดือน ส่งผลให้สภาพปัญหารุนแรงมากขึ้น ในทุกปี ทั้งนี้นอกจากประสิทธิภาพในการควบคุมการขยายพันธุ์ของผักตบชวาแล้ว ยังมีข้อดีในแง่ความคุ้มค่าทางงบประมาณ และการจัดการสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นมากกว่าวิธีการในปัจจุบัน .