**วงในเผย ขบวนการนำเข้ารถหรูผิดกฎหมาย ทำกันเป็นเครือข่าย ตั้งแต่บริษัทนำเข้า ยันไฟแนนซ์และประกันภัย ใช้กลยุทธ์“ไฟแนนซ์เทอร์โบ”ที่รู้กันเฉพาะวงในดูดลูกค้า โดยมีเจ้าหน้าที่ มาเฟีย นักการเมือง ร่วมเอี่ยว ชี้รถใหม่ทั้งคันซุกตู้คอนเทนเนอร์ สำแดงเท็จเป็นตู้เปล่าขนผ่านท่าเรือ มีเจ้าถิ่นขาใหญ่ช่วยเคลียร์
การลักลอบนำเข้ารถหรูเพื่อหลีกเลี่ยงภาษีกลายเป็นประเด็นร้อนที่มีหลายแก๊ง หลายก๊วน หลายหน่วยงานเข้ามาเกี่ยวข้อง และท้าทายอำนาจรัฐว่าจะสามารถจัดการกับขบวนการเหล่านี้ได้จริงหรือ ? เพราะขบวนการทุจริตดังกล่าวมีความซับซ้อนแยบยลชนิดหลายคนอาจนึกไม่ถึง
ทั้งนี้ หากจะไล่เรียงที่มาที่ไปในการลักลอบนำเข้ารถหรูอย่างเป็นขั้นเป็นตอน คงต้องตั้งต้นจาก “Grey Market”หรือผู้นำเข้ารถยนต์อิสระ ซึ่งไม่ได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าของแบรนด์อย่างเป็นทางการ แต่สามารถหาช่องทางในการนำเข้ารถได้ ลูกค้าที่อยากได้“รถหรูราคาถูก”จะสั่งรถที่ต้องการจาก Grey Market
**สำหรับขบวนการของ Grey Marketนั้น ไม่ใช่มีเพียงผู้นำเข้ารถหรูเท่านั้น แต่มักมีผู้มากบารมี ไม่ว่าจะเป็นมาเฟีย นักการเมือง หรือคนมีสี เข้ามาหนุนหลัง และใช้อิทธิพลผสมกับคอนเนกชัน ช่วยกรุยทางให้ผู้นำเข้าสามารถทำธุรกิจได้โดยสะดวก เพราะหากไม่มีเส้นสาย หรือบารมีมากพอคงไม่สามารถทำธุรกิจที่ต้องอาศัยเส้นสนกลในเช่นนี้ได้ และมีไม่น้อยที่ผู้ทรงอิทธิพลเหล่านี้ เป็นเจ้าของธุรกิจนำเข้ารถหรูเองอีกด้วย
แน่นอนว่า ผู้ที่รับไม้ต่อจาก Grey Marketก็คือ “เจ้าหน้าที่รัฐ”ที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตนำเข้านั้น ก็คือ กรมศุลกากร ซึ่งจากข้อมูลพบว่ารถหรูส่วนใหญ่ถูกนำเข้ามาทั้งคัน ไม่ได้นำเข้ามาเป็นชิ้นส่วนอย่างที่สำแดงต่อศุลกากร โดยวิธีการนำเข้านั้น มักลักลอบซุกซ่อนมาในตู้คอนเทนเนอร์ แต่สำแดงกับกรมศุลกากรว่าเป็นตู้เปล่า
ขณะเดียวกันก็ทำหนังสือแจ้งต่อกรมศุลกากร ว่ามีการนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์เพื่อเลี่ยงภาษี และเป็นหลักฐานในการขอจดทะเบียนรถจดประกอบต่อไป เนื่องจากการจะนำรถมาขอจดทะเบียน ต้องมีเอกสารอินวอยซ์ ที่เสียภาษีศุลกากร แสดงชิ้นส่วนเครื่องยนต์และตัวถัง ถึงจะนำมาจดประกอบเป็นรถที่สมบูรณ์ได้
อีกทั้ง Grey Market ต้องดีลกับโรงงานประกอบรถที่ได้รับอนุญาตจากกรมสรรพสามิต เพื่อตกแต่งข้อมูลว่า มีการนำชิ้นส่วนรถมาประกอบเป็นรถทั้งคัน เพื่อให้สามารถจดทะเบียนเป็นรถจดประกอบที่ “กรมการขนส่งทางบก”ได้ จากนั้นก็จะนำเอกสารการจดทะเบียนดังกล่าวไปเสียภาษีสรรพสามิต เหมือนรถป้ายแดงทั่วไป ซึ่งวิธีการดังกล่าว จะทำให้อัตราภาษีที่ต้องจ่ายนั้นอยู่ที่ประมาณ 30-50% ทั้งที่จริงๆ แล้วการนำเข้ารถหรูทั้งคัน จะเสียภาษีสูงถึง 328%
แหล่งข่าวบอกว่า ในความเป็นจริงทุกขั้นตอนมีช่องโหว่ให้เกิดการทุจริต เริ่มตั้งแต่การนำเข้ารถยนต์ ใบอินวอยซ์มีโอกาสที่จะเป็นของปลอม ที่บริษัทรถยนต์ตัวจริงไม่ได้เป็นผู้ออกให้ หรือแจ้งไม่ตรงความจริงก็ได้ เมื่อมาถึงเมืองไทย เป็นขั้นตอนของศุลกากร ก็มีการปล่อยปละละเลยไม่ตรวจเช็กให้ละเอียดว่าถูกต้องหรือไม่ อย่างไร ก่อนที่จะออกใบรับรองให้ไปรับสินค้าที่คลังสินค้า
ขณะที่คลังสินค้า ก็อาจจะเป็นของบริษัท Grey Market ซึ่งเป็นพวกเดียวกัน ก็รู้อยู่แล้วว่า สินค้าหรือรถหรูที่นำเข้ามา เป็นรถยนต์ประเภทใด และไม่ตรงกับเอกสารรับรองที่กรมศุลกากรออกให้ ว่ามีการชำระภาษีเรียบร้อยทั้งภาษีอากรขาเข้า ภาษีสรรพสามิต ภาษีท้องถิ่น และภาษีมูลค่าเพิ่ม
เมื่อไปรับสินค้าที่คลังสินค้าแล้ว ก็มีการออกหนังสือรับรองการนำเข้าหรือแบบ 32 เพื่อไปยื่นจดทะเบียนที่กรมการขนส่งทางบก ซึ่งตรงนี้กรมขนส่งทางบกต้องตรวจสอบให้ถูกต้องก่อนให้ป้ายทะเบียน เพราะถ้าเอกสารไม่ตรงกับรถหรูดังกล่าว ก็อาจจะเป็นช่องโหว่ให้มีการช่วยเหลือกันได้
ดังนั้นการทำธุรกิจของ Grey Market จึงต้องมีเรื่องของอิทธิพลเข้ามาเกี่ยวข้อง เพื่อเคลียร์ทุกช่องทางให้ได้รับความสะดวกที่สุด และลูกค้าที่ซื้อรถหรูจากกลุ่มนี้จึงได้รับความสะดวกตั้งแต่ขั้นตอนซื้อ การขอไฟแนนซ์ และการจดทะเบียน เพื่อให้ได้ป้ายทะเบียนออกมาวิ่งบนถนนได้อย่างรวดเร็ว
**“ใครอยากได้รถหรู ก็ติดต่อไปที่ Grey Market ซึ่งทำหน้าที่เป็นเอเยนต์ เลือกยี่ห้อ เลือกรุ่น เลือกสี ตกลงราคากัน แล้วก็จ่ายมัดจำ Grey Marketก็จะจัดการทุกอย่างแทนลูกค้า โดยเขาจะใช้ชื่อลูกค้าเป็นคนออกคำสั่งซื้อ ตลอดจนติดต่อกับด่านกรมศุลกากร สรรพสามิต และกรมขนส่งทางบก ดำเนินการทุกขั้นตอนจนออกทะเบียนรถได้เรียบร้อย โดยจะคิดค่าบริการแต่ละขั้นตอนจากลูกค้า รวมทั้งอาจมีการจัดหาไฟแนนซ์ให้ลูกค้าด้วย
ส่วนนักการเมือง ที่เข้ามาเกี่ยวข้องในขบวนการ Grey Market นั้น ส่วนใหญ่จะเป็นนักการเมืองเจ้าของพื้นที่ ที่มีการนำเข้ารถหรู โดยเฉพาะจุดที่มีท่าเรือ เช่น แหลมฉบัง คลองเตย ขบวนการใต้ดินมันมีหลายกลุ่ม หลายขบวนการ ก็จะมีกลุ่มมาเฟียพื้นที่ กลุ่มมาเฟียระดับประเทศ เข้าเขตนี้ ต้องคนนี้ เข้าเขตนั้น ต้องคนโน้น เข้าพื้นนี้เขตจังหวัดนี้ ใครดู พรรคการเมืองไหนดู พรรคไหนจับมือกับพรรคไหน ธุรกิจมูลค่ามหาศาลคนธรรมดาทำไม่ได้หรอก ไม่มีเงิน ต้องเป็นนักการเมือง คนมีสี ถึงจะทำได้” แหล่งข่าว ระบุ
ทั้งนี้ มีข้อมูลที่น่าสนใจอย่างยิ่งคือ ในกลุ่มของขบวนการ Grey Market จริงๆ แล้วจะมีบริษัทไฟแนนซ์ และบริษัทประกัน เข้ามามีส่วนร่วมในการนำเข้ารถหรูผิดกฎหมายด้วย โดยมีศัพท์ที่รับรู้กันในวงการว่า “ไฟแนนซ์เทอร์โบ”เพื่อดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาสั่งซื้อในเครือข่ายของพวกตัวเอง
ไฟแนนซ์เทอร์โบ เป็นการปล่อยกู้ของบริษัทไฟแนนซ์ หรือลีสซิ่ง ในกลุ่มของพวกเขาที่เป็นการปล่อยสินเชื่อแบบไม่ปกติ ปล่อยง่าย รวดเร็ว เงื่อนไขต่ำ แต่ให้วงเงินสูง ซึ่งผู้ขายจะจัดให้พร้อมกับมีประกันภัยรถเรียบร้อย
**“ไฟแนนซ์ หรือลีสซิ่งกลุ่มนี้จะไม่มีแบงก์ใหญ่ๆ หรือ บริษัทประกันใหญ่ๆ เข้าไปถือหุ้น เค้าจะทำสัญญากันแบบนี้ เช่น ซื้อรถหรูคันนี้ที่ราคา 20 ล้าน เขาจะดาวน์กันแค่ 2 ล้าน และทำสัญญาผ่อนที่ 48 เดือน จะเป็นเงินต้น+ดอกเบี้ย ประมาณ 8 ล้าน ส่วนอีก 10 ล้านบาท จะคิดเป็น “เทอร์โบ”พูดง่าย ๆ 10 ล้านบาทหลังนี้ไม่คิดดอกเบี้ย เป็นการให้เครดิตกันสุดๆ เมื่อผ่อนหมด ก็รับเล่มทะเบียนกันไป”
แหล่งข่าว บอกว่า เมื่อรถหรูมีราคาสูง บริษัทที่จะมาจัดไฟแนนซ์ให้ ก็ต้องไม่ธรรมดา และเป็นที่รู้กันในวงการรถหรูว่า ไฟแนนซ์ หรือลีสซิ่ง พวกนี้จะเป็นตัวกลางในการซื้อขายรถหรูด้วย ซึ่งหมายถึงว่า บางรายก็เป็น Grey Marketไปในตัว
“เรื่องนี้แบงก์ ไฟแนนซ์ หรือลีสซิ่งใหญ่ๆ รู้กันดีว่า มีการปล่อยเทอร์โบ แต่ไม่มีบริษัทไหนลงมาเล่นสินเชื่อเทอร์โบ บางรายจะใช้วิธีตั้งบริษัทไฟแนนซ์โนเนม มาเป็นนอมินีแทน คือมันเป็นธุรกิจที่มูลค่ามหาศาล ปีหนึ่งๆหลายหมื่นล้าน เพราะผลประโยชน์จากรถธุรกิจรถหรูและดอกเบี้ยไฟแนนซ์มันค่อนข้างสูงที่จะสามารถทำให้กำไรได้ง่ายๆ แถมสินเชื่อเทอร์โบ เป็นกลยุทธ์ดูดคนรวย ที่ชอบรถหรู ตัดสินใจเปลี่ยนรถได้ง่าย เมื่อใช้ไประยะเวลาหนึ่ง ทำให้ธุรกิจรถหรูหมุนเวียนได้ เป็นอย่างดี
**ดังนั้น การปราบปรามขบวนการรถหรูเลี่ยงภาษี จึงเป็นเรื่องที่ท้าทายกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ว่าจะสามารถกวาดล้างได้จริงหรือจะเป็นเพียงแค่ไฟไหม้ฟางเท่านั้น !?
การลักลอบนำเข้ารถหรูเพื่อหลีกเลี่ยงภาษีกลายเป็นประเด็นร้อนที่มีหลายแก๊ง หลายก๊วน หลายหน่วยงานเข้ามาเกี่ยวข้อง และท้าทายอำนาจรัฐว่าจะสามารถจัดการกับขบวนการเหล่านี้ได้จริงหรือ ? เพราะขบวนการทุจริตดังกล่าวมีความซับซ้อนแยบยลชนิดหลายคนอาจนึกไม่ถึง
ทั้งนี้ หากจะไล่เรียงที่มาที่ไปในการลักลอบนำเข้ารถหรูอย่างเป็นขั้นเป็นตอน คงต้องตั้งต้นจาก “Grey Market”หรือผู้นำเข้ารถยนต์อิสระ ซึ่งไม่ได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าของแบรนด์อย่างเป็นทางการ แต่สามารถหาช่องทางในการนำเข้ารถได้ ลูกค้าที่อยากได้“รถหรูราคาถูก”จะสั่งรถที่ต้องการจาก Grey Market
**สำหรับขบวนการของ Grey Marketนั้น ไม่ใช่มีเพียงผู้นำเข้ารถหรูเท่านั้น แต่มักมีผู้มากบารมี ไม่ว่าจะเป็นมาเฟีย นักการเมือง หรือคนมีสี เข้ามาหนุนหลัง และใช้อิทธิพลผสมกับคอนเนกชัน ช่วยกรุยทางให้ผู้นำเข้าสามารถทำธุรกิจได้โดยสะดวก เพราะหากไม่มีเส้นสาย หรือบารมีมากพอคงไม่สามารถทำธุรกิจที่ต้องอาศัยเส้นสนกลในเช่นนี้ได้ และมีไม่น้อยที่ผู้ทรงอิทธิพลเหล่านี้ เป็นเจ้าของธุรกิจนำเข้ารถหรูเองอีกด้วย
แน่นอนว่า ผู้ที่รับไม้ต่อจาก Grey Marketก็คือ “เจ้าหน้าที่รัฐ”ที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตนำเข้านั้น ก็คือ กรมศุลกากร ซึ่งจากข้อมูลพบว่ารถหรูส่วนใหญ่ถูกนำเข้ามาทั้งคัน ไม่ได้นำเข้ามาเป็นชิ้นส่วนอย่างที่สำแดงต่อศุลกากร โดยวิธีการนำเข้านั้น มักลักลอบซุกซ่อนมาในตู้คอนเทนเนอร์ แต่สำแดงกับกรมศุลกากรว่าเป็นตู้เปล่า
ขณะเดียวกันก็ทำหนังสือแจ้งต่อกรมศุลกากร ว่ามีการนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์เพื่อเลี่ยงภาษี และเป็นหลักฐานในการขอจดทะเบียนรถจดประกอบต่อไป เนื่องจากการจะนำรถมาขอจดทะเบียน ต้องมีเอกสารอินวอยซ์ ที่เสียภาษีศุลกากร แสดงชิ้นส่วนเครื่องยนต์และตัวถัง ถึงจะนำมาจดประกอบเป็นรถที่สมบูรณ์ได้
อีกทั้ง Grey Market ต้องดีลกับโรงงานประกอบรถที่ได้รับอนุญาตจากกรมสรรพสามิต เพื่อตกแต่งข้อมูลว่า มีการนำชิ้นส่วนรถมาประกอบเป็นรถทั้งคัน เพื่อให้สามารถจดทะเบียนเป็นรถจดประกอบที่ “กรมการขนส่งทางบก”ได้ จากนั้นก็จะนำเอกสารการจดทะเบียนดังกล่าวไปเสียภาษีสรรพสามิต เหมือนรถป้ายแดงทั่วไป ซึ่งวิธีการดังกล่าว จะทำให้อัตราภาษีที่ต้องจ่ายนั้นอยู่ที่ประมาณ 30-50% ทั้งที่จริงๆ แล้วการนำเข้ารถหรูทั้งคัน จะเสียภาษีสูงถึง 328%
แหล่งข่าวบอกว่า ในความเป็นจริงทุกขั้นตอนมีช่องโหว่ให้เกิดการทุจริต เริ่มตั้งแต่การนำเข้ารถยนต์ ใบอินวอยซ์มีโอกาสที่จะเป็นของปลอม ที่บริษัทรถยนต์ตัวจริงไม่ได้เป็นผู้ออกให้ หรือแจ้งไม่ตรงความจริงก็ได้ เมื่อมาถึงเมืองไทย เป็นขั้นตอนของศุลกากร ก็มีการปล่อยปละละเลยไม่ตรวจเช็กให้ละเอียดว่าถูกต้องหรือไม่ อย่างไร ก่อนที่จะออกใบรับรองให้ไปรับสินค้าที่คลังสินค้า
ขณะที่คลังสินค้า ก็อาจจะเป็นของบริษัท Grey Market ซึ่งเป็นพวกเดียวกัน ก็รู้อยู่แล้วว่า สินค้าหรือรถหรูที่นำเข้ามา เป็นรถยนต์ประเภทใด และไม่ตรงกับเอกสารรับรองที่กรมศุลกากรออกให้ ว่ามีการชำระภาษีเรียบร้อยทั้งภาษีอากรขาเข้า ภาษีสรรพสามิต ภาษีท้องถิ่น และภาษีมูลค่าเพิ่ม
เมื่อไปรับสินค้าที่คลังสินค้าแล้ว ก็มีการออกหนังสือรับรองการนำเข้าหรือแบบ 32 เพื่อไปยื่นจดทะเบียนที่กรมการขนส่งทางบก ซึ่งตรงนี้กรมขนส่งทางบกต้องตรวจสอบให้ถูกต้องก่อนให้ป้ายทะเบียน เพราะถ้าเอกสารไม่ตรงกับรถหรูดังกล่าว ก็อาจจะเป็นช่องโหว่ให้มีการช่วยเหลือกันได้
ดังนั้นการทำธุรกิจของ Grey Market จึงต้องมีเรื่องของอิทธิพลเข้ามาเกี่ยวข้อง เพื่อเคลียร์ทุกช่องทางให้ได้รับความสะดวกที่สุด และลูกค้าที่ซื้อรถหรูจากกลุ่มนี้จึงได้รับความสะดวกตั้งแต่ขั้นตอนซื้อ การขอไฟแนนซ์ และการจดทะเบียน เพื่อให้ได้ป้ายทะเบียนออกมาวิ่งบนถนนได้อย่างรวดเร็ว
**“ใครอยากได้รถหรู ก็ติดต่อไปที่ Grey Market ซึ่งทำหน้าที่เป็นเอเยนต์ เลือกยี่ห้อ เลือกรุ่น เลือกสี ตกลงราคากัน แล้วก็จ่ายมัดจำ Grey Marketก็จะจัดการทุกอย่างแทนลูกค้า โดยเขาจะใช้ชื่อลูกค้าเป็นคนออกคำสั่งซื้อ ตลอดจนติดต่อกับด่านกรมศุลกากร สรรพสามิต และกรมขนส่งทางบก ดำเนินการทุกขั้นตอนจนออกทะเบียนรถได้เรียบร้อย โดยจะคิดค่าบริการแต่ละขั้นตอนจากลูกค้า รวมทั้งอาจมีการจัดหาไฟแนนซ์ให้ลูกค้าด้วย
ส่วนนักการเมือง ที่เข้ามาเกี่ยวข้องในขบวนการ Grey Market นั้น ส่วนใหญ่จะเป็นนักการเมืองเจ้าของพื้นที่ ที่มีการนำเข้ารถหรู โดยเฉพาะจุดที่มีท่าเรือ เช่น แหลมฉบัง คลองเตย ขบวนการใต้ดินมันมีหลายกลุ่ม หลายขบวนการ ก็จะมีกลุ่มมาเฟียพื้นที่ กลุ่มมาเฟียระดับประเทศ เข้าเขตนี้ ต้องคนนี้ เข้าเขตนั้น ต้องคนโน้น เข้าพื้นนี้เขตจังหวัดนี้ ใครดู พรรคการเมืองไหนดู พรรคไหนจับมือกับพรรคไหน ธุรกิจมูลค่ามหาศาลคนธรรมดาทำไม่ได้หรอก ไม่มีเงิน ต้องเป็นนักการเมือง คนมีสี ถึงจะทำได้” แหล่งข่าว ระบุ
ทั้งนี้ มีข้อมูลที่น่าสนใจอย่างยิ่งคือ ในกลุ่มของขบวนการ Grey Market จริงๆ แล้วจะมีบริษัทไฟแนนซ์ และบริษัทประกัน เข้ามามีส่วนร่วมในการนำเข้ารถหรูผิดกฎหมายด้วย โดยมีศัพท์ที่รับรู้กันในวงการว่า “ไฟแนนซ์เทอร์โบ”เพื่อดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาสั่งซื้อในเครือข่ายของพวกตัวเอง
ไฟแนนซ์เทอร์โบ เป็นการปล่อยกู้ของบริษัทไฟแนนซ์ หรือลีสซิ่ง ในกลุ่มของพวกเขาที่เป็นการปล่อยสินเชื่อแบบไม่ปกติ ปล่อยง่าย รวดเร็ว เงื่อนไขต่ำ แต่ให้วงเงินสูง ซึ่งผู้ขายจะจัดให้พร้อมกับมีประกันภัยรถเรียบร้อย
**“ไฟแนนซ์ หรือลีสซิ่งกลุ่มนี้จะไม่มีแบงก์ใหญ่ๆ หรือ บริษัทประกันใหญ่ๆ เข้าไปถือหุ้น เค้าจะทำสัญญากันแบบนี้ เช่น ซื้อรถหรูคันนี้ที่ราคา 20 ล้าน เขาจะดาวน์กันแค่ 2 ล้าน และทำสัญญาผ่อนที่ 48 เดือน จะเป็นเงินต้น+ดอกเบี้ย ประมาณ 8 ล้าน ส่วนอีก 10 ล้านบาท จะคิดเป็น “เทอร์โบ”พูดง่าย ๆ 10 ล้านบาทหลังนี้ไม่คิดดอกเบี้ย เป็นการให้เครดิตกันสุดๆ เมื่อผ่อนหมด ก็รับเล่มทะเบียนกันไป”
แหล่งข่าว บอกว่า เมื่อรถหรูมีราคาสูง บริษัทที่จะมาจัดไฟแนนซ์ให้ ก็ต้องไม่ธรรมดา และเป็นที่รู้กันในวงการรถหรูว่า ไฟแนนซ์ หรือลีสซิ่ง พวกนี้จะเป็นตัวกลางในการซื้อขายรถหรูด้วย ซึ่งหมายถึงว่า บางรายก็เป็น Grey Marketไปในตัว
“เรื่องนี้แบงก์ ไฟแนนซ์ หรือลีสซิ่งใหญ่ๆ รู้กันดีว่า มีการปล่อยเทอร์โบ แต่ไม่มีบริษัทไหนลงมาเล่นสินเชื่อเทอร์โบ บางรายจะใช้วิธีตั้งบริษัทไฟแนนซ์โนเนม มาเป็นนอมินีแทน คือมันเป็นธุรกิจที่มูลค่ามหาศาล ปีหนึ่งๆหลายหมื่นล้าน เพราะผลประโยชน์จากรถธุรกิจรถหรูและดอกเบี้ยไฟแนนซ์มันค่อนข้างสูงที่จะสามารถทำให้กำไรได้ง่ายๆ แถมสินเชื่อเทอร์โบ เป็นกลยุทธ์ดูดคนรวย ที่ชอบรถหรู ตัดสินใจเปลี่ยนรถได้ง่าย เมื่อใช้ไประยะเวลาหนึ่ง ทำให้ธุรกิจรถหรูหมุนเวียนได้ เป็นอย่างดี
**ดังนั้น การปราบปรามขบวนการรถหรูเลี่ยงภาษี จึงเป็นเรื่องที่ท้าทายกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ว่าจะสามารถกวาดล้างได้จริงหรือจะเป็นเพียงแค่ไฟไหม้ฟางเท่านั้น !?