ผู้จัดการรายวัน360-"สมคิด"จีบสำเร็จ 4 บริษัทญี่ปุ่น "สไปเบอร์ อิงค์-คูราเรย์-ซูบารุ-เคียวเซรา" จ่อลงทุนในอีอีซี มูลค่ากว่า 2.5 หมื่นล้านบาท ทั้งการลงทุนผลิตภัณฑ์ที่แข็งกว่าเหล็ก ปิโตรเคมีชนิดพิเศษ รถยนต์คุณภาพสูง และอุปกรณ์ทางการแพทย์ คาดจะยื่นขอบีไอไอเร็วๆ นี้ เผยญี่ปุ่นยังสนใจลงทุนรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน อู่ตะเภา สุวรรณภูมิ และดอนเมือง โดยขยายเส้นทางถึงอยุธยา
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนที่โรงแรมอิมพีเรียล กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ถึงการเดินทางเยือนญี่ปุ่นระหว่างวันที่ 4-8 มิ.ย.นี้ว่า วานนี้ (5 มิ.ย.) ได้หารือกับตัวแทนของบริษัทเอกชนญี่ปุ่นเกี่ยวกับการลงทุนในประเทศไทย โดยมีบริษัทน่าสนใจที่สุด คือ บริษัท สไปเบอร์ อิงค์ (Spiber Inc.) ที่เป็นสตาร์ทอัพ เริ่มต้นจากงานวิจัยของนักศึกษา 3 คน สร้างผลิตภัณฑ์จากสารสกัดจากโปรตีนที่มีความแข็งแรงกว่าเหล็กหลายร้อยเท่า ปัจจุบันเป็นพาร์ทเนอร์กับโตโยต้าในการผลิตวัสดุที่ใช้ในรถ และบริษัทผลิตเสื้อกันหนาวสำหรับไต่เขา โดยบริษัทนี้มีโครงการที่จะออกไปตั้งโรงงานในต่างประเทศ และอยู่ระหว่างการตัดสินใจว่าจะเลือกสหรัฐฯ หรือไทย ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะเลือกไทย เพราะเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้น้ำมาก และใช้วัตถุดิบที่เป็นสารอินทรีย์ซึ่งไทยมีพร้อม โดยไทยได้เชิญชวนให้ตั้งโรงงานในพื้นที่โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี)
นอกจากนี้ ยังมีโครงการลงทุนที่ใหญ่มาก คือ บริษัทคูราเรย์ (Kuraray Co., Ltd.) ซึ่งร่วมทุนกับซูมิโตโม คอร์เปอเรชั่น (Sumitomo Corporation) และบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ PTTGC ทำโครงการผลิตปิโตรเคมีชนิดพิเศษ ใช้ในอุตสาหกรรมหลายประเภท บริษัทนี้ยังไม่เคยลงทุนที่อื่น แต่กำลังจะมาลงทุนในไทย มูลค่าประมาณ 2 หมื่นล้านบาท และคาดว่าจะได้ข้อสรุปในอีก 2-3 เดือนข้างหน้า ซึ่งได้พยายามเร่งให้เขารีบสรุป เพราะในอีอีซี ไทยมีอุตสาหกรรมปิโตรเคมีพื้นฐานที่จำเป็นมูลค่านับล้านล้านบาทอยู่แล้ว และพีทีทีจีซีก็เป็นพาร์ทเนอร์ที่จะป้อนวัตถุดิบให้ได้อย่างต่อเนื่อง ส่วนซูมิโตโมก็จะช่วยกระจายสินค้าไปยังตลาดทั่วโลก การตั้งโรงงานในไทยถือว่าอยู่ในที่ตั้งที่ดี
ส่วนโครงการที่สาม คือ ซูบารุ คอร์เปอเรชั่น ผู้ผลิตรถยนต์ ซึ่งยังไม่เคยตั้งโรงงานในไทย แม้จะมีรถยนต์ยี่ห้อนี้จำหน่ายในไทยมานาน แต่เนื่องจากก่อนหน้านี้ ได้ร่วมทุนกับสิงคโปร์ตั้งโรงงานในมาเลเซีย จึงยังไม่มาตั้งโรงงานในไทย แต่ตอนนี้สนใจที่จะมาตั้งโรงงานผลิตยนต์คุณภาพสูงในประเทศไทย จึงได้เชิญชวนให้เขารีบมา เพราะทุกค่ายมาอยู่ที่นี่แล้ว และที่น่าสนใจยิ่งกว่านั้น เขามีอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอากาศยานด้วย จึงชักชวนให้เข้ามาอยู่ในอีอีซี ซึ่งเขาสนใจ และให้บีโอไอประสานงาน โดยโอกาสที่จะเกิดขึ้นมีอยู่ถึง 90%
สำหรับอีกบริษัท อยู่ระหว่างการคิด แต่ยังไม่ตัดสินใจ คือ Kyocera Corporation เป็นบริษัทที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูงผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์และโซลาร์เซลล์ โดยสนใจที่จะมาไทย แต่ยังไม่ได้ยื่นเข้ามา
นายสมคิดกล่าวอีกว่า ในการเดินทางมาครั้งนี้ ยังได้หารือกับญี่ปุ่นเกี่ยวกับการลงทุนขยายเส้นทางรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด เทรน) โดยญี่ปุ่นยื่นข้อเสนอขอขยายเส้นทางมาสิ้นสุดถึงสถานีอยุธยา เชื่อมต่อ 3 สนามบิน คือ อู่ตะเภา สุวรรณภูมิ และดอนเมือง เนื่องจากเป็นพื้นที่เขตอุตสาหกรรม ที่บริษัทญี่ปุ่นลงทุน หากมีการพัฒนาเส้นทางคมนาคมจากพื้นที่อีอีซีเข้ามาจะเพิ่มโอกาสด้านการลงทุนได้อีกมาก และยังได้หารือร่วมกับบริษัท ฮิตาชิ (ด้านรถไฟ) ในประเด็นของการผลิตระบบรางไทยด้วย
"ได้มอบหมายให้นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม ไปศึกษาความคุ้มค่าของโครงการ หากจะต้องขยาย ซึ่งในส่วนของญี่ปุ่น ได้ระบุถึงความพร้อมในการลงทุน เนื่องจากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (ไจก้า) มีความพร้อมที่จะสนับสนุนเงินกู้หากไทยสนใจดำเนินการก่อสร้าง"นายสมคิดกล่าว
นายสมคิดกล่าวว่า การเดินทางมาญี่ปุ่นครั้งนี้ ยังเป็นตัวแทนนายกรัฐมนตรี เพื่อร่วมประชุมนิคเคอิ ฟอรัม (Nikkei Forum) ครั้งที่ 23 ในวันที่ 6 มิ.ย. ซึ่งเป็นการมาปีที่ 2 โดยปีนี้มีหัวข้อน่าสนใจ คือ Globalism at a Croosroads Next Step of Asia เขาจัดงานนี้เพื่อพูดถึงว่าเรื่องอะไรที่เอเชียควรทำในอนาคตข้างหน้า เนื่องจากความไม่แน่นอนจากการเปลี่ยนนโยบายของสหรัฐฯ ซึ่งตนเป็นคนพูดคนแรกในเวลาครึ่งชั่วโมง โดยจะพูดให้เกิดประโยชน์กับประเทศไทยสูงสุด
"ที่น่าสังเกต คือ เวียดนามรุกหนักมาก งานนี้นายกรัฐมนตรีเขามาเอง เป็นการมาเยือนอย่างเป็นทางการ และมีนายกฯ ฟิลิปปินส์ นายกฯ ลาวมาด้วย เวียดนามเขาพยายามเดินสายชักชวนลงทุน แต่ก็เป็นเรื่องที่ดี เพราะถ้ากลุ่ม CLMV เติบโตภูมิภาคนี้จะยิ่งแข็งแรง ขณะที่อีอีซีของเราก็กำลังเติบโตมาก ในการมาครั้งนี้ ได้กำชับบีโอไอให้ไปทุกจังหวัดของญี่ปุ่นที่มีโรงงานมาก เช่น คันไซ ฟูกูโอกะ โดยเฉพาะฟูกูโอกะนั้น นายกเทศมนตรีมาพบเราเอง และเป็นจังหวัดที่มีธุรกิจจำนวนมากสนใจอีอีซี"นายสมคิดกล่าว
ด้านนางหิรัญญา สุจินัย เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) กล่าวว่า เอกชนญี่ปุ่นทั้ง 4 บริษัทที่เข้าพบรองนายกฯ มี 3 บริษัทที่ยังไม่เคยลงทุนในประเทศไทยเลย มีเพียง Kyocera Corporation ที่เคยลงทุนชิ้นส่วนเซรามิก แต่โครงการใหม่จะเข้ามาลงในอีอีซี คาดว่าทั้ง 4 โครงการจะมีมูลค่าลงทุนรวมประมาณ 2.5 หมื่นล้านบาท และจะยื่นขอรับการสนับสนุนจากบีโอไอเร็วๆ นี้ โดยซูบารุ จะตั้งโรงงานประกอบรถยนต์ในนิคมอุตสาหกรรมเหมราช และเราได้ชักชวนให้ตั้งโรงงานผลิตชิ้นส่วนอากาศยานในอีอีซี ซึ่งจะรองรับการเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมการบินของอู่ตะเภาด้วย โดยทั้ง 4 บริษัทมีความสนใจที่จะลงทุนในไทยอยู่ก่อนแล้ว และเมื่อได้เข้าพบรองนายกรัฐมตรีก็ยิ่งมีความมั่นใจมากขึ้น
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนที่โรงแรมอิมพีเรียล กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ถึงการเดินทางเยือนญี่ปุ่นระหว่างวันที่ 4-8 มิ.ย.นี้ว่า วานนี้ (5 มิ.ย.) ได้หารือกับตัวแทนของบริษัทเอกชนญี่ปุ่นเกี่ยวกับการลงทุนในประเทศไทย โดยมีบริษัทน่าสนใจที่สุด คือ บริษัท สไปเบอร์ อิงค์ (Spiber Inc.) ที่เป็นสตาร์ทอัพ เริ่มต้นจากงานวิจัยของนักศึกษา 3 คน สร้างผลิตภัณฑ์จากสารสกัดจากโปรตีนที่มีความแข็งแรงกว่าเหล็กหลายร้อยเท่า ปัจจุบันเป็นพาร์ทเนอร์กับโตโยต้าในการผลิตวัสดุที่ใช้ในรถ และบริษัทผลิตเสื้อกันหนาวสำหรับไต่เขา โดยบริษัทนี้มีโครงการที่จะออกไปตั้งโรงงานในต่างประเทศ และอยู่ระหว่างการตัดสินใจว่าจะเลือกสหรัฐฯ หรือไทย ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะเลือกไทย เพราะเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้น้ำมาก และใช้วัตถุดิบที่เป็นสารอินทรีย์ซึ่งไทยมีพร้อม โดยไทยได้เชิญชวนให้ตั้งโรงงานในพื้นที่โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี)
นอกจากนี้ ยังมีโครงการลงทุนที่ใหญ่มาก คือ บริษัทคูราเรย์ (Kuraray Co., Ltd.) ซึ่งร่วมทุนกับซูมิโตโม คอร์เปอเรชั่น (Sumitomo Corporation) และบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ PTTGC ทำโครงการผลิตปิโตรเคมีชนิดพิเศษ ใช้ในอุตสาหกรรมหลายประเภท บริษัทนี้ยังไม่เคยลงทุนที่อื่น แต่กำลังจะมาลงทุนในไทย มูลค่าประมาณ 2 หมื่นล้านบาท และคาดว่าจะได้ข้อสรุปในอีก 2-3 เดือนข้างหน้า ซึ่งได้พยายามเร่งให้เขารีบสรุป เพราะในอีอีซี ไทยมีอุตสาหกรรมปิโตรเคมีพื้นฐานที่จำเป็นมูลค่านับล้านล้านบาทอยู่แล้ว และพีทีทีจีซีก็เป็นพาร์ทเนอร์ที่จะป้อนวัตถุดิบให้ได้อย่างต่อเนื่อง ส่วนซูมิโตโมก็จะช่วยกระจายสินค้าไปยังตลาดทั่วโลก การตั้งโรงงานในไทยถือว่าอยู่ในที่ตั้งที่ดี
ส่วนโครงการที่สาม คือ ซูบารุ คอร์เปอเรชั่น ผู้ผลิตรถยนต์ ซึ่งยังไม่เคยตั้งโรงงานในไทย แม้จะมีรถยนต์ยี่ห้อนี้จำหน่ายในไทยมานาน แต่เนื่องจากก่อนหน้านี้ ได้ร่วมทุนกับสิงคโปร์ตั้งโรงงานในมาเลเซีย จึงยังไม่มาตั้งโรงงานในไทย แต่ตอนนี้สนใจที่จะมาตั้งโรงงานผลิตยนต์คุณภาพสูงในประเทศไทย จึงได้เชิญชวนให้เขารีบมา เพราะทุกค่ายมาอยู่ที่นี่แล้ว และที่น่าสนใจยิ่งกว่านั้น เขามีอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอากาศยานด้วย จึงชักชวนให้เข้ามาอยู่ในอีอีซี ซึ่งเขาสนใจ และให้บีโอไอประสานงาน โดยโอกาสที่จะเกิดขึ้นมีอยู่ถึง 90%
สำหรับอีกบริษัท อยู่ระหว่างการคิด แต่ยังไม่ตัดสินใจ คือ Kyocera Corporation เป็นบริษัทที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูงผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์และโซลาร์เซลล์ โดยสนใจที่จะมาไทย แต่ยังไม่ได้ยื่นเข้ามา
นายสมคิดกล่าวอีกว่า ในการเดินทางมาครั้งนี้ ยังได้หารือกับญี่ปุ่นเกี่ยวกับการลงทุนขยายเส้นทางรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด เทรน) โดยญี่ปุ่นยื่นข้อเสนอขอขยายเส้นทางมาสิ้นสุดถึงสถานีอยุธยา เชื่อมต่อ 3 สนามบิน คือ อู่ตะเภา สุวรรณภูมิ และดอนเมือง เนื่องจากเป็นพื้นที่เขตอุตสาหกรรม ที่บริษัทญี่ปุ่นลงทุน หากมีการพัฒนาเส้นทางคมนาคมจากพื้นที่อีอีซีเข้ามาจะเพิ่มโอกาสด้านการลงทุนได้อีกมาก และยังได้หารือร่วมกับบริษัท ฮิตาชิ (ด้านรถไฟ) ในประเด็นของการผลิตระบบรางไทยด้วย
"ได้มอบหมายให้นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม ไปศึกษาความคุ้มค่าของโครงการ หากจะต้องขยาย ซึ่งในส่วนของญี่ปุ่น ได้ระบุถึงความพร้อมในการลงทุน เนื่องจากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (ไจก้า) มีความพร้อมที่จะสนับสนุนเงินกู้หากไทยสนใจดำเนินการก่อสร้าง"นายสมคิดกล่าว
นายสมคิดกล่าวว่า การเดินทางมาญี่ปุ่นครั้งนี้ ยังเป็นตัวแทนนายกรัฐมนตรี เพื่อร่วมประชุมนิคเคอิ ฟอรัม (Nikkei Forum) ครั้งที่ 23 ในวันที่ 6 มิ.ย. ซึ่งเป็นการมาปีที่ 2 โดยปีนี้มีหัวข้อน่าสนใจ คือ Globalism at a Croosroads Next Step of Asia เขาจัดงานนี้เพื่อพูดถึงว่าเรื่องอะไรที่เอเชียควรทำในอนาคตข้างหน้า เนื่องจากความไม่แน่นอนจากการเปลี่ยนนโยบายของสหรัฐฯ ซึ่งตนเป็นคนพูดคนแรกในเวลาครึ่งชั่วโมง โดยจะพูดให้เกิดประโยชน์กับประเทศไทยสูงสุด
"ที่น่าสังเกต คือ เวียดนามรุกหนักมาก งานนี้นายกรัฐมนตรีเขามาเอง เป็นการมาเยือนอย่างเป็นทางการ และมีนายกฯ ฟิลิปปินส์ นายกฯ ลาวมาด้วย เวียดนามเขาพยายามเดินสายชักชวนลงทุน แต่ก็เป็นเรื่องที่ดี เพราะถ้ากลุ่ม CLMV เติบโตภูมิภาคนี้จะยิ่งแข็งแรง ขณะที่อีอีซีของเราก็กำลังเติบโตมาก ในการมาครั้งนี้ ได้กำชับบีโอไอให้ไปทุกจังหวัดของญี่ปุ่นที่มีโรงงานมาก เช่น คันไซ ฟูกูโอกะ โดยเฉพาะฟูกูโอกะนั้น นายกเทศมนตรีมาพบเราเอง และเป็นจังหวัดที่มีธุรกิจจำนวนมากสนใจอีอีซี"นายสมคิดกล่าว
ด้านนางหิรัญญา สุจินัย เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) กล่าวว่า เอกชนญี่ปุ่นทั้ง 4 บริษัทที่เข้าพบรองนายกฯ มี 3 บริษัทที่ยังไม่เคยลงทุนในประเทศไทยเลย มีเพียง Kyocera Corporation ที่เคยลงทุนชิ้นส่วนเซรามิก แต่โครงการใหม่จะเข้ามาลงในอีอีซี คาดว่าทั้ง 4 โครงการจะมีมูลค่าลงทุนรวมประมาณ 2.5 หมื่นล้านบาท และจะยื่นขอรับการสนับสนุนจากบีโอไอเร็วๆ นี้ โดยซูบารุ จะตั้งโรงงานประกอบรถยนต์ในนิคมอุตสาหกรรมเหมราช และเราได้ชักชวนให้ตั้งโรงงานผลิตชิ้นส่วนอากาศยานในอีอีซี ซึ่งจะรองรับการเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมการบินของอู่ตะเภาด้วย โดยทั้ง 4 บริษัทมีความสนใจที่จะลงทุนในไทยอยู่ก่อนแล้ว และเมื่อได้เข้าพบรองนายกรัฐมตรีก็ยิ่งมีความมั่นใจมากขึ้น