นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการเดินทางมาเยือนญี่ปุ่นเพื่อหารือในประเด็นการค้าการลงทุน ระหว่างวันที่ 5 – 8 มิ.ย.60 ว่า ญี่ปุ่นได้ยื่นข้อเสนอขอขยายเส้นทางรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) ที่ไทยเตรียมพัฒนาจากโครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ-ระยอง เชื่อมต่อ 3 สนามบิน (สนามบินอู่ตะเภา-สนามบินสุวรรณภูมิ-สนามบินดอนเมือง) และเชื่อมต่อพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) ซึ่งทางญี่ปุ่นยื่นข้อเสนอขอขยายเส้นทางมาสิ้นสุดถึงสถานีอยุธยา เนื่องจากเป็นพื้นที่เขตอุตสาหกรรมในญี่ปุ่นหลายแห่ง หากมีการพัฒนาเส้นทางคมนาคมจากพื้นที่อีอีซีเข้ามาจะเพิ่มโอกาสด้านการลงทุน
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ได้มอบหมายให้ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ไปศึกษาความคุ้มค่ากับโครงการหากจะต้องขยาย ซึ่งในส่วนของทางญี่ปุ่น ยังได้ระบุถึงความพร้อมในการลงทุน เนื่องจากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น หรือ ไจก้า มีความพร้อมที่จะสนับสนุนเงินกู้หากไทยสนใจดำเนินการก่อสร้าง
นอกจากนี้ การเดินทางเยือนญี่ปุ่นครั้งนี้ ยังมีการหารือร่วมกับบริษัท ฮิตาชิ (ด้านรถไฟ) ในประเด็นของการผลิตระบบรางไทยด้วย
ด้านแหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ญี่ปุ่นได้ยื่นข้อเสนอดังกล่าวมาช่วงสัปดาห์ก่อน ซึ่งให้เหตุผลถึงโอกาสในการขยายการลงทุนเชื่อมต่อพื้นที่อุตสาหกรรมทั้งสองแห่ง โดยจากการประเมินเบื้องต้นยังเชื่อว่าหากไทย และญี่ปุ่นเจรจาข้อตกลงได้ข้อเสนอครั้งนี้ได้ จะช่วยผลักดันให้โครงการพัฒนารถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ ที่เป็นความร่วมระหว่างรัฐบาลไทย – ญี่ปุ่น สามารถดำเนินการได้เร็วขึ้น จากปัจจุบันที่ยังติดปัญหาทางเทคนิคเรื่องของการใช้พื้นที่ระบบรางช่วงสถานีดอนเมือ ตอนนี้โครงการไฮสปีดเทรนไทย – ญี่ปุ่น ยังติดปัญหาเรื่องพื้นที่รางรถไฟช่วงดอนเมือง เพราะตรงนั้นค่อนข้างแออัด เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีหลายโครงการใช้ทางร่วมกัน ทั้งในส่วนของรถไฟความเร็วสูง ซึ่งเป็นความร่วมมือไทย – จีนด้วย
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ได้มอบหมายให้ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ไปศึกษาความคุ้มค่ากับโครงการหากจะต้องขยาย ซึ่งในส่วนของทางญี่ปุ่น ยังได้ระบุถึงความพร้อมในการลงทุน เนื่องจากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น หรือ ไจก้า มีความพร้อมที่จะสนับสนุนเงินกู้หากไทยสนใจดำเนินการก่อสร้าง
นอกจากนี้ การเดินทางเยือนญี่ปุ่นครั้งนี้ ยังมีการหารือร่วมกับบริษัท ฮิตาชิ (ด้านรถไฟ) ในประเด็นของการผลิตระบบรางไทยด้วย
ด้านแหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ญี่ปุ่นได้ยื่นข้อเสนอดังกล่าวมาช่วงสัปดาห์ก่อน ซึ่งให้เหตุผลถึงโอกาสในการขยายการลงทุนเชื่อมต่อพื้นที่อุตสาหกรรมทั้งสองแห่ง โดยจากการประเมินเบื้องต้นยังเชื่อว่าหากไทย และญี่ปุ่นเจรจาข้อตกลงได้ข้อเสนอครั้งนี้ได้ จะช่วยผลักดันให้โครงการพัฒนารถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ ที่เป็นความร่วมระหว่างรัฐบาลไทย – ญี่ปุ่น สามารถดำเนินการได้เร็วขึ้น จากปัจจุบันที่ยังติดปัญหาทางเทคนิคเรื่องของการใช้พื้นที่ระบบรางช่วงสถานีดอนเมือ ตอนนี้โครงการไฮสปีดเทรนไทย – ญี่ปุ่น ยังติดปัญหาเรื่องพื้นที่รางรถไฟช่วงดอนเมือง เพราะตรงนั้นค่อนข้างแออัด เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีหลายโครงการใช้ทางร่วมกัน ทั้งในส่วนของรถไฟความเร็วสูง ซึ่งเป็นความร่วมมือไทย – จีนด้วย