ผู้จัดการรายวัน 360 - คมนาคม-สนข. เคลียร์ปัญหาเส้นทางทับซ้อนสายสีส้ม (ตะวันตก) และสายสีแดงอ่อน"ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช" ให้รฟม.สร้างสีส้มจบแค่ บางขุนนท์ ชะลอช่วงต่อไปตลิ่งชัน โดยให้ใช้สายสีแดงแทน ช่วยประหยัดค่าลงทุนสายสีส้ม ด้านตะวันตก ลงประมาณ 7 พันล.
นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้พิจารณาแนวทางในการแก้ปัญหาการทับซ้อนของแนวสายทาง รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อนส่วนต่อขยายช่วงตลิ่งชัน-ศิริราชและตลิ่งชัน-ศาลายา ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กับรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกช่วงศูนย์วัฒนธรรม-ตลิ่งชันของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ในช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช โดยได้ข้อสรุปว่า ให้รฟม.ก่อสร้าง สายสีส้ม โดยเริ่มที่สถานีบางขุนนนท์ โดยชะลอการก่อสร้างช่วงจาก บางขุนนท์ -ตลิ่งชันไปก่อน เนื่องจากมีแนวเส้นทางของสายสีแดงอยู่แล้ว และในอนาคตหากปริมาณผู้โดยสารในช่วงจากบางขุนนนท์- ตลิ่งชัน เพิ่มมากขึ้น อาจจะมีการพิจารณาให้รฟม. ดำเนินการก่อสร้างเพิ่มเติมในช่วงดังกล่าว
ทั้งนี้การชะลอในส่วนของสายส้ม ด้านตะวันตกไปก่อนช่วงบางขุนนท์ -ตลิ่งชัน ซึ่งมีระยะทางประมาณ 3- 4 กม.นั้นนอกจากลดปัญหาการทับซ้อนของเส้นทาง แล้วยังเป็นการลดการลงทุนที่ซ้ำซ้อน ซึ่งคาดว่าจะประหยัดค่าก่อสร้างได้เกือบ 7,000 ล้านบาท เนื่องจาก สายสีส้มตะวันตก โครงสร้างเป็นระบบใต้ดินค่าก่อสร้างจะสูงกว่า สายสีแดงที่ในช่วงดังกล่าว มีโครงสร้างระดับดิน นอกจากนี้ สถานีบางขุนนนท์ จะเป็นสถานีร่วม มีโครงสร้าง 3 ระดับเพื่อให้ผู้โดยสารเชื่อมต่อการเดินทาง รถไฟฟ้า 3 สาย ที่มาเจอกันพอดี โดยสายสีส้มจะเป็นรถไฟฟ้าใต้ดิน สายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย เป็นรถไฟฟ้ายกระดับ และสายสีแดง อยู่ระดับดิน
"ไม่ได้ยกเลิกสายสีส้ม ช่วงบางขุนนท์-ตลิ่งชัน ยังคงเป็นไปตามแผนแม่บท ระบบขนส่งมวลชน 10 สาย แต่ให้ชะลอ การลงทุนไปก่อน เพราะประเมินว่า ผู้โดยสารช่วงแรก ไม่หนาแน่นมากทสามารถใช้โครงข่ายของสายสีแดงได้ แต่ในอนาคตหากจำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้น สามารถพิจารณาให้รฟม.ลงทุนก่อสร้างเพิ่มเติมได้
อย่างไรก็ตามจะมีการรายงานต่อคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ที่จะมีการประชุมเดือนมกราคม 2560 ให้รับทราบข้อยุติเรื่องนี้ด้วย"นายชัยวัฒน์กล่าว
นายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล ผู้ว่าฯรฟม.กล่าวว่า ขณะนี้ได้ข้อสรุปชัดเจนแล้ว โดยรฟม.จะก่อสร้างส่ยสีส้ม ตะวันตก เริ่มต้นที่ บางขุนนท์ โดยผู้โดยสารที่ต่องการเดินทางต่อไปตลิ่งชัน สามารถเปลี่ยนถ่ายไปใช้สายสีแดงได้ ทั้งนี้ รถไฟฟ้าสายสีส้ม ตะวันตกนั้น อยู่ในแผนปฎิบัติการกระทรวงคมนาคม (Action Plan) ปี 2560 ซึ่งจะมีการนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในปี 2560
สำหรับ รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อนส่วนต่อขยายช่วงตลิ่งชัน-ศิริราชและตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทางรวม 20 กม. เงินลงทุน 19,042.14 ล้านบาท มี 7 สถานี ได้แก่ สถานีธนบุรี-ศิริราช สถานีจรัญสนิทวงศ์ สถานีตลาดน้ำตลิ่งชัน สถานีตลิ่งชัน (สถานีร่วมกับรถไฟฟ้าสายสีแดง บางซื่อ-ตลิ่งชัน) สถานีบ้านฉิมพลี สถานีกาญจนาภิเษก สถานีศาลาธรรมสพน์ และสถานีศาลายา
ส่วนสายสีส้มตะวันตกช่วงศูนย์วัฒนธรรม-ตลิ่งชัน ระยะทาง 16.4 กม. เงินลงทุน 123,354 ล้านบาท เดิม มีทั้งหมด 12 สถานี ได้แก่ สถานีประชาสงเคราะห์ สถานีดินแดง สถานีราชปรารภ สถานีประตูน้ำ สถานีราชเทวี สถานียมราช สถานีหลานหลวง สถานีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย สถานีสนามหลวง สถานีศิริราช สถานีบางขุนนนท์ และสถานีตลิ่งชัน (สถานีร่วมกับสายสีแดง) ซึ่งข้อสรุปใหม่จะเหลือ 11 สถานี โดยสิ้นสุดที่ สถานีบางขุนนนท์.
นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้พิจารณาแนวทางในการแก้ปัญหาการทับซ้อนของแนวสายทาง รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อนส่วนต่อขยายช่วงตลิ่งชัน-ศิริราชและตลิ่งชัน-ศาลายา ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กับรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกช่วงศูนย์วัฒนธรรม-ตลิ่งชันของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ในช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช โดยได้ข้อสรุปว่า ให้รฟม.ก่อสร้าง สายสีส้ม โดยเริ่มที่สถานีบางขุนนนท์ โดยชะลอการก่อสร้างช่วงจาก บางขุนนท์ -ตลิ่งชันไปก่อน เนื่องจากมีแนวเส้นทางของสายสีแดงอยู่แล้ว และในอนาคตหากปริมาณผู้โดยสารในช่วงจากบางขุนนนท์- ตลิ่งชัน เพิ่มมากขึ้น อาจจะมีการพิจารณาให้รฟม. ดำเนินการก่อสร้างเพิ่มเติมในช่วงดังกล่าว
ทั้งนี้การชะลอในส่วนของสายส้ม ด้านตะวันตกไปก่อนช่วงบางขุนนท์ -ตลิ่งชัน ซึ่งมีระยะทางประมาณ 3- 4 กม.นั้นนอกจากลดปัญหาการทับซ้อนของเส้นทาง แล้วยังเป็นการลดการลงทุนที่ซ้ำซ้อน ซึ่งคาดว่าจะประหยัดค่าก่อสร้างได้เกือบ 7,000 ล้านบาท เนื่องจาก สายสีส้มตะวันตก โครงสร้างเป็นระบบใต้ดินค่าก่อสร้างจะสูงกว่า สายสีแดงที่ในช่วงดังกล่าว มีโครงสร้างระดับดิน นอกจากนี้ สถานีบางขุนนนท์ จะเป็นสถานีร่วม มีโครงสร้าง 3 ระดับเพื่อให้ผู้โดยสารเชื่อมต่อการเดินทาง รถไฟฟ้า 3 สาย ที่มาเจอกันพอดี โดยสายสีส้มจะเป็นรถไฟฟ้าใต้ดิน สายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย เป็นรถไฟฟ้ายกระดับ และสายสีแดง อยู่ระดับดิน
"ไม่ได้ยกเลิกสายสีส้ม ช่วงบางขุนนท์-ตลิ่งชัน ยังคงเป็นไปตามแผนแม่บท ระบบขนส่งมวลชน 10 สาย แต่ให้ชะลอ การลงทุนไปก่อน เพราะประเมินว่า ผู้โดยสารช่วงแรก ไม่หนาแน่นมากทสามารถใช้โครงข่ายของสายสีแดงได้ แต่ในอนาคตหากจำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้น สามารถพิจารณาให้รฟม.ลงทุนก่อสร้างเพิ่มเติมได้
อย่างไรก็ตามจะมีการรายงานต่อคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ที่จะมีการประชุมเดือนมกราคม 2560 ให้รับทราบข้อยุติเรื่องนี้ด้วย"นายชัยวัฒน์กล่าว
นายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล ผู้ว่าฯรฟม.กล่าวว่า ขณะนี้ได้ข้อสรุปชัดเจนแล้ว โดยรฟม.จะก่อสร้างส่ยสีส้ม ตะวันตก เริ่มต้นที่ บางขุนนท์ โดยผู้โดยสารที่ต่องการเดินทางต่อไปตลิ่งชัน สามารถเปลี่ยนถ่ายไปใช้สายสีแดงได้ ทั้งนี้ รถไฟฟ้าสายสีส้ม ตะวันตกนั้น อยู่ในแผนปฎิบัติการกระทรวงคมนาคม (Action Plan) ปี 2560 ซึ่งจะมีการนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในปี 2560
สำหรับ รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อนส่วนต่อขยายช่วงตลิ่งชัน-ศิริราชและตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทางรวม 20 กม. เงินลงทุน 19,042.14 ล้านบาท มี 7 สถานี ได้แก่ สถานีธนบุรี-ศิริราช สถานีจรัญสนิทวงศ์ สถานีตลาดน้ำตลิ่งชัน สถานีตลิ่งชัน (สถานีร่วมกับรถไฟฟ้าสายสีแดง บางซื่อ-ตลิ่งชัน) สถานีบ้านฉิมพลี สถานีกาญจนาภิเษก สถานีศาลาธรรมสพน์ และสถานีศาลายา
ส่วนสายสีส้มตะวันตกช่วงศูนย์วัฒนธรรม-ตลิ่งชัน ระยะทาง 16.4 กม. เงินลงทุน 123,354 ล้านบาท เดิม มีทั้งหมด 12 สถานี ได้แก่ สถานีประชาสงเคราะห์ สถานีดินแดง สถานีราชปรารภ สถานีประตูน้ำ สถานีราชเทวี สถานียมราช สถานีหลานหลวง สถานีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย สถานีสนามหลวง สถานีศิริราช สถานีบางขุนนนท์ และสถานีตลิ่งชัน (สถานีร่วมกับสายสีแดง) ซึ่งข้อสรุปใหม่จะเหลือ 11 สถานี โดยสิ้นสุดที่ สถานีบางขุนนนท์.