ปธ.กกต. ก้มหน้ารับผู้ตรวจการเลือกตั้ง แทน กกต.จังหวัด เลิกเสนอความเห็น เดินหน้าร่างระเบียบให้สอดรับ "องอาจ"ฝากกรธ. ดูกลไกตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจกกต. ที่เพิ่มขึ้น "สุริยะใส" ชี้ภูมิทัศน์การเมืองปี 59 ความขัดแย้งซ่อนรูป กลุ่มขั้วพักรบ สะสมกำลัง ปฏิรูปเริ่มอืด แนะจับตาการกลับมาของกระแสอำนาจนิยมในทางสากล
นายศุภชัย สมเจริญ ประธานกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวกรณี คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.) ยืนยันที่จะให้มีผู้ตรวจการเลือกตั้ง แทน กกต.จังหวัด ว่า เมื่อกรธ.ยืนยันเช่นนั้น ทางกกต.ก็คงยอมรับ และคงไม่ไปทักท้วงอะไรอีกแล้ว เพราะกรธ. มีหน้าที่ร่างกฎหมาย เมื่อเห็นเป็นอย่างไร กกต.ในฐานะผู้ปฏิบัติ ก็ต้องพร้อมที่จะดำเนินการไปตามที่กฎหมายกำหนดไว้
ส่วนก่อนหน้านี้ที่ตนเคยระบุว่า สำนักงานฯ จะมีการรวบรวมข้อมูลและเปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสีย ระหว่างผู้ตรวจการเลือกตั้ง กับ กกต.จังหวัด เพื่อส่งให้กรธ.พิจารณาอีกครั้งนั้น ก็คงจะไม่ทำเสนอไปแล้ว โดยหลังจากนี้ กกต.ก็คงมาเตรียมการออกกฎ และระเบียบต่างๆ เพื่อให้สอดรับกับกฎหมายใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้งว่า เห็นด้วยที่มีการเพิ่มอำนาจให้กกต. เนื่องจากเป็นความจำเป็นเพื่อให้กกต.มีอำนาจหน้าที่ ที่จะป้องกันปราบปรามการทุจริตเลือกตั้งทุกระดับให้ได้ผลมากขึ้น ให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริต เที่ยงธรรม และเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย
ทั้งนี้ เมื่อกกต.มีอำนาจเพิ่มมากขึ้น สิ่งที่ควรระมัดระวังคือ การที่กกต.อาจใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ เอื้อประโยชน์ให้พวกพ้อง เพราะในอดีตที่ผ่านมาเคยมีตัวอย่างให้เห็นมาแล้ว จึงขอฝากกรธ. ให้พิจารณาเรื่องกลไกการตรวจสอบถ่วงดุลการทำหน้าที่ของกกต.ให้เข้มข้น เช่นเดียวกับที่ให้อำนาจกกต.เข้มข้นเพิ่มมากขึ้น
"ความพยายามที่จะป้องกันปราบปรามพวกทุจริตเลือกตั้ง จัดการกับพวกใช้เงินซื้อเสียง เป็นเรื่องที่ควรสนับสนุน เพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริต เที่ยงธรรม แต่กกต. ก็ต้องใช้อำนาจอย่างสุจริตเที่ยงธรรมเช่นเดียวกัน เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายเป็นไปอย่างชอบธรรมได้รับความยอมรับจากสังคม และประชาชนโดยทั่วไป" นายองอาจ กล่าว
** ชี้ปัญหาความขัดแย้งยังคงอยู่
นายสุริยะใส กตะศิลา รองคณบดีฯ วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต และ ผอ.สถาบันปฏิรูปประเทศไทย (สปท.) กล่าวว่า ในรอบปีที่ผ่านมาสถานการณ์การเมืองไทย ยังไม่กลับสู่สภาวะปกติ ความขัดแย้งแตกแยกที่เป็นเงื่อนไขสำคัญของการรัฐประหาร แค่ซ่อนรูป ยังไม่คลี่คลายเท่าที่ควร กลุ่มขั้วการเมืองแค่เว้นวรรคพักรบ หลบฉากจัดทัพสะสมกำลังรอโอกาสเคลื่อนไหว ในขณะที่โรดแมปปรองดองของคสช.ก็ถูกพักเก็บเข้าลิ้นชัก โยนทุกอย่างเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมเท่านั้น ทั้งที่งานปรองดองมีหลายมิติ และซับซ้อนกว่าคดีความ
ขณะที่การเมืองของภาคชาวบ้าน หรือประชาสังคม เกิดความขัดแย้งใหม่ในหลายพื้นที่จากยุทธศาสตร์เขตเศรษฐกิจพิเศษของรัฐบาล ที่ปิดกั้นการมีส่วนร่วมของประชน สวนทางกับนโยบายประชารัฐที่เป็นวาระแห่งชาติ เน้นความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคเอกชน ซึ่งเป็นหลักการที่ดีก็ตาม แต่พื้นที่ประชารัฐยังเข้าไม่ถึงอำนาจในการกำหนดนโยบายและทิศทางการพัฒนาประเทศได้จริง
ในส่วนของการปฏิรูปประเทศเริ่มอืด โดยเฉพาะส่วนของโรดแมปรัฐธรรมนูญและกฎหมายลูกนั้น แม้มีกระบวนการที่แน่นอนที่สุด แต่หลังประชามติ 7 ส.ค. แรงส่งของการปฏิรูปกลับลดน้อยถอยลง ส่งผลให้การตรากฎหมายประกอบรธน. และกระบวการที่เกี่ยวเนื่องรวมทั้งทิศทางของแม่น้ำ 5 สาย ขาดความคึกคักและอ่อนพลังจนไม่เห็นทิศทางที่ชัดเจน ต่างคนต่างทำและจำกัดอยู่ในวงแคบ
นอกจากนี้ภูมิทัศน์การเมืองในระดับโลก และภูมิภาค เข้าสู่กระแสการหวนกลับมาของอำนาจนิยม ทั้งชัยชนะของโดนัลด์ ทรัมป์ การแผ่ขยายอิทธิพลของประธานาธิบดี ปูติน และสีเจิ้นผิง รวมทั้งเพื่อนบ้านอย่างฟิลิปปินส์ ที่ดูแตร์เต ได้รับชัยชนะแบบถล่มทลาย อาจเป็นแรงหนุนเนื่องให้อำนาจรัฐไทยเข้าสู่ลู่วิ่งของความเด็ดขาด แข็งแกร่งมากกว่าลู่วิ่งของเสรีนิยม ซึ่งต้องจับตาอย่างใกล้ชิด
แนวโน้มของการเมืองไทยปีหน้า จึงมีความเป็นไปได้สูงว่า ภูมิทัศน์การเมืองในทุกปริมณฑลจะเข้าสู่ช่วงของการเปลี่ยนผ่านอย่างเต็มรูป ความขัดแย้งวุ่นวายไร้ระเบียบ ทั้งในและนอกประเทศ ยังเป็นสิ่งที่ไม่อาจมองข้ามได้
นายศุภชัย สมเจริญ ประธานกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวกรณี คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.) ยืนยันที่จะให้มีผู้ตรวจการเลือกตั้ง แทน กกต.จังหวัด ว่า เมื่อกรธ.ยืนยันเช่นนั้น ทางกกต.ก็คงยอมรับ และคงไม่ไปทักท้วงอะไรอีกแล้ว เพราะกรธ. มีหน้าที่ร่างกฎหมาย เมื่อเห็นเป็นอย่างไร กกต.ในฐานะผู้ปฏิบัติ ก็ต้องพร้อมที่จะดำเนินการไปตามที่กฎหมายกำหนดไว้
ส่วนก่อนหน้านี้ที่ตนเคยระบุว่า สำนักงานฯ จะมีการรวบรวมข้อมูลและเปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสีย ระหว่างผู้ตรวจการเลือกตั้ง กับ กกต.จังหวัด เพื่อส่งให้กรธ.พิจารณาอีกครั้งนั้น ก็คงจะไม่ทำเสนอไปแล้ว โดยหลังจากนี้ กกต.ก็คงมาเตรียมการออกกฎ และระเบียบต่างๆ เพื่อให้สอดรับกับกฎหมายใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้งว่า เห็นด้วยที่มีการเพิ่มอำนาจให้กกต. เนื่องจากเป็นความจำเป็นเพื่อให้กกต.มีอำนาจหน้าที่ ที่จะป้องกันปราบปรามการทุจริตเลือกตั้งทุกระดับให้ได้ผลมากขึ้น ให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริต เที่ยงธรรม และเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย
ทั้งนี้ เมื่อกกต.มีอำนาจเพิ่มมากขึ้น สิ่งที่ควรระมัดระวังคือ การที่กกต.อาจใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ เอื้อประโยชน์ให้พวกพ้อง เพราะในอดีตที่ผ่านมาเคยมีตัวอย่างให้เห็นมาแล้ว จึงขอฝากกรธ. ให้พิจารณาเรื่องกลไกการตรวจสอบถ่วงดุลการทำหน้าที่ของกกต.ให้เข้มข้น เช่นเดียวกับที่ให้อำนาจกกต.เข้มข้นเพิ่มมากขึ้น
"ความพยายามที่จะป้องกันปราบปรามพวกทุจริตเลือกตั้ง จัดการกับพวกใช้เงินซื้อเสียง เป็นเรื่องที่ควรสนับสนุน เพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริต เที่ยงธรรม แต่กกต. ก็ต้องใช้อำนาจอย่างสุจริตเที่ยงธรรมเช่นเดียวกัน เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายเป็นไปอย่างชอบธรรมได้รับความยอมรับจากสังคม และประชาชนโดยทั่วไป" นายองอาจ กล่าว
** ชี้ปัญหาความขัดแย้งยังคงอยู่
นายสุริยะใส กตะศิลา รองคณบดีฯ วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต และ ผอ.สถาบันปฏิรูปประเทศไทย (สปท.) กล่าวว่า ในรอบปีที่ผ่านมาสถานการณ์การเมืองไทย ยังไม่กลับสู่สภาวะปกติ ความขัดแย้งแตกแยกที่เป็นเงื่อนไขสำคัญของการรัฐประหาร แค่ซ่อนรูป ยังไม่คลี่คลายเท่าที่ควร กลุ่มขั้วการเมืองแค่เว้นวรรคพักรบ หลบฉากจัดทัพสะสมกำลังรอโอกาสเคลื่อนไหว ในขณะที่โรดแมปปรองดองของคสช.ก็ถูกพักเก็บเข้าลิ้นชัก โยนทุกอย่างเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมเท่านั้น ทั้งที่งานปรองดองมีหลายมิติ และซับซ้อนกว่าคดีความ
ขณะที่การเมืองของภาคชาวบ้าน หรือประชาสังคม เกิดความขัดแย้งใหม่ในหลายพื้นที่จากยุทธศาสตร์เขตเศรษฐกิจพิเศษของรัฐบาล ที่ปิดกั้นการมีส่วนร่วมของประชน สวนทางกับนโยบายประชารัฐที่เป็นวาระแห่งชาติ เน้นความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคเอกชน ซึ่งเป็นหลักการที่ดีก็ตาม แต่พื้นที่ประชารัฐยังเข้าไม่ถึงอำนาจในการกำหนดนโยบายและทิศทางการพัฒนาประเทศได้จริง
ในส่วนของการปฏิรูปประเทศเริ่มอืด โดยเฉพาะส่วนของโรดแมปรัฐธรรมนูญและกฎหมายลูกนั้น แม้มีกระบวนการที่แน่นอนที่สุด แต่หลังประชามติ 7 ส.ค. แรงส่งของการปฏิรูปกลับลดน้อยถอยลง ส่งผลให้การตรากฎหมายประกอบรธน. และกระบวการที่เกี่ยวเนื่องรวมทั้งทิศทางของแม่น้ำ 5 สาย ขาดความคึกคักและอ่อนพลังจนไม่เห็นทิศทางที่ชัดเจน ต่างคนต่างทำและจำกัดอยู่ในวงแคบ
นอกจากนี้ภูมิทัศน์การเมืองในระดับโลก และภูมิภาค เข้าสู่กระแสการหวนกลับมาของอำนาจนิยม ทั้งชัยชนะของโดนัลด์ ทรัมป์ การแผ่ขยายอิทธิพลของประธานาธิบดี ปูติน และสีเจิ้นผิง รวมทั้งเพื่อนบ้านอย่างฟิลิปปินส์ ที่ดูแตร์เต ได้รับชัยชนะแบบถล่มทลาย อาจเป็นแรงหนุนเนื่องให้อำนาจรัฐไทยเข้าสู่ลู่วิ่งของความเด็ดขาด แข็งแกร่งมากกว่าลู่วิ่งของเสรีนิยม ซึ่งต้องจับตาอย่างใกล้ชิด
แนวโน้มของการเมืองไทยปีหน้า จึงมีความเป็นไปได้สูงว่า ภูมิทัศน์การเมืองในทุกปริมณฑลจะเข้าสู่ช่วงของการเปลี่ยนผ่านอย่างเต็มรูป ความขัดแย้งวุ่นวายไร้ระเบียบ ทั้งในและนอกประเทศ ยังเป็นสิ่งที่ไม่อาจมองข้ามได้