ผู้จัดการรายวัน 360 - ประชาชนจากทั่วสารทิศยังทยอยเดินทางมาเข้าแถวเพื่อกราบสักการะพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เบื้องหน้าพระบรมโกศ ภายในพระบรมมหาราชวัง อย่างต่อเนื่อง ขณะที่ช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร เผยแบบช่อไม้จันทน์สำหรับรัชกาลที่ 10 และพระบรมวงศานุวงศ์ รวม 7 แบบ เพื่อใช้ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ด้านสำนักพระราชวังจัดนิทรรศการถวายพระเกียรติ รัชกาลที่ 9-ราชวงศ์จักรี ให้นักท่องเที่ยวเข้าชมฟรี
วานนี้ (21 ธ.ค.) เวลา 07.00 น. พระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งดำเนินเป็นวันที่ 69 มีนายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ปลัดกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา เป็นประธานบำเพ็ญพระกุศลสวดพระอภิธรรมพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จากนั้นถวายภัตตาหารเช้าแด่พระพิธีธรรม 8 รูป จากวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร และประยุรวงศาวาสวรวิหาร ที่สวดพระอภิธรรมมาตั้งแต่ค่ำวันที่ 20 ธันวาคม 2559
ในการนี้เป็นวันที่สิบห้า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระราชานุญาตให้ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) โดยสำนักงานปลัดกระทรวงกก. กรมการท่องเที่ยว กองบังคับการตำรวจท่องเที่ยว และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พร้อมด้วยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) โดยสำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวงพม. กรมกิจการผู้สูงอายุ กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กรมกจการเด็กและเยาวชน กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ การเคหะแห่งชาติ สำนักงานธนานุเคราะห์ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ร่วมเป็นเจ้าภาพในการบำเพ็ญพระกุศลพระบรมศพ
สำหรับบรรยากาศการเข้ากราบสักการะพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในวันนี้สำนักพระราชวัง เปิดประตูวิเศษไชยศรีให้ประชาชนกลุ่มแรกเข้าไปในเวลา 04.45 น. ซึ่งตลอดทั้งวันมีพสกนิกรทุกเพศทุกวัยจากทั่วสารทิศ ที่สำนึกในนพระมหากรุณาธิคุณต่อในหลวง รัชกาลที่ ๙ เดินแถวเข้ามารออย่างเรียบร้อย
*** เผยแบบช่อไม้จันทน์สำหรับ ร.10
นายสมชาย ศุภลักษณ์อำไพพร นายช่างศิลปกรรมอาวุโส กลุ่มงานศิลปประยุกต์และเครื่องเคลือบดินเผา สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ในฐานะผู้รับผิดชอบการออกแบบลายหีบพระบรมศพจันทน์ และพระโกศจันทน์ เพื่อใช้ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช กล่าวว่า การออกแบบจะยึดหลักคติความเชื่อว่าพระมหากษัตริย์คือเทพเจ้า หรือพระราม ที่อวตารมาจากพระนารายณ์ โดยมีพาหนะคือครุฑ ฉะนั้น ลายพระโกศจันทน์จึงออกแบบเป็นลายบัวกลีบขนุน โดยมีเทพพนมสถิตอยู่ตรงกลาง จากเดิมที่ผ่านมาจะเป็นลายใบเทศ ส่วนฐานพระโกศจันทน์ หรือหีบพระบรมศพจันทน์นั้นจะออกแบบลายครุฑยุดนาคหน้าอัด วางอยู่ตรงกลางลายทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ก้านขด โดยในส่วนของเทพพนมที่อยู่กลางบัวกลีบขนุน ซึ่งอยู่ที่พระโกศจันทน์ และครุฑยุดนาคหน้าอัด ที่อยู่กลางพุ่มข้าวบิณฑ์ที่อยู่ที่หีบพระบรมศพจันทน์นั้นจะใช้วิธีแกะสลัก ทั้งนี้ การออกแบบลายเทพพนมและครุฑดังกล่าว เพื่อเทิดพระเกียรติในหลวงรัชกาลที่ 9 ว่าพระองค์คือพระนารายณ์ทรงครุฑ
นอกจากนี้ ยังออกแบบลายท่อนฟืนไม้จันทน์และช่อไม้จันทน์ โดยท่อนฟืนไม้จันทน์จะใช้ทั้งหมด 24 ท่อน แต่ละท่อนมีหน้ากว้าง 2 นิ้ว ยาว 60 เซนติเมตร ออกแบบโดยใช้ลายทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ หน้าฟืนจะเป็นลายดอกประจำยาม วิธีการทำครั้งนี้ใช้วิธีลายรดน้ำ ต่างจากทุกครั้งที่ผ่านมาที่ใช้วิธีฉลุลายปิดทอง อีกทั้งที่ผ่านมาจะมีการฉลุลายเฉพาะส่วนบนและล่างของท่อนฟืน แต่ครั้งนี้จะมีลายที่หน้าฟืนด้วย
ส่วนช่อไม้จันทน์ที่ต้องวางในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ รัชกาลที่ 9 นั้นจะมีทั้งหมด 7 แบบ แบ่งเป็นช่อไม้จันทน์ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ ซึ่งขณะนี้ออกแบบลายเสร็จหมดแล้ว โดยใช้ลายดอกไม้เทศซ้อนไม้ทั้งหมด แต่วิธีการผูกลายเพื่อให้เกิดเป็นลายต่างๆ จะไม่เหมือนกัน อย่างลำดับชั้นพระเจ้าหลานเธอ จะลดทอนลงให้เท่ากับพระเกียรติยศ ส่วนวิธีการทำช่อไม้จันทน์นั้น จากเดิมที่เป็นดอกไม้เทศซ้อนไม้ คือเป็นแผ่นไม้แบนๆ มาฉลุซ้อนกันเฉยๆ แต่ครั้งนี้ไม่ได้ซ้อนไม้เพียงอย่างเดียว แต่จะแกะลายด้วยเพื่อให้เป็นนูนสูงเพิ่มมิติมากขึ้น
*** จัดนิทรรศการถวายพระเกียรติ ร.9
ที่อาคารศาลาว่าการพระราชวัง ในพระบรมมหาราชวัง ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักพระราชวังได้เปิดห้องแสดงนิทรรศการถวายพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 และบูรพกษัตริย์ในสมัยรัตนโกสินทร์ ให้กับผู้มาเข้าชมวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ภายในแบ่งเป็นนิทรรศการหมุนเวียนบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ตั้งแต่สมุดไทยดำหรือสมุดข่อย ซึ่งเป็นสมุดที่เขียนเรื่องราวบันทึกเหตุการณ์สำคัญตั้งแต่รัชกาลที่ 1-6, ปฏิทินหลวงที่พระราชทานให้ประชาชนที่มาลงนามถวายพระพรในวันขึ้นปีใหม่ โดยมีทั้งหมด 7 สีตามสีประจำวันในปีนั้นๆ ซึ่งเล่มที่นำมาจัดแสดงที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดปี พ.ศ.2492, ตู้จัดแสดงพระราชพิธีสำคัญสิบสองเดือน
โดยในขณะนี้ได้จัดแสดงพระราชพิธีสำคัญของในหลวงรัชกาลที่ 9 เช่น พระราชพิธีราชาภิเษกสมรส และพระราชพิธีบรมราชาภิเษก, การจัดแสดงเอกสารพระราชหัตถเลขาและพระปรมาภิไธยในรัชกาลที่ 5-7, การจัดแสดงพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช จนเป็นที่มาของการถวายพระราชสมัญญานามว่า “กษัตริย์นักพัฒนา” ทั้งยังเป็นที่มาของการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลจากองค์กรต่างๆ จากทั่วโลก ซึ่งมีจัดแสดงอยู่ในตู้ถัดมา โดยห้องจัดแสดงนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ เปิดเข้าชมฟรีเป็นประจำทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00 - 15.00 น.
วานนี้ (21 ธ.ค.) เวลา 07.00 น. พระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งดำเนินเป็นวันที่ 69 มีนายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ปลัดกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา เป็นประธานบำเพ็ญพระกุศลสวดพระอภิธรรมพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จากนั้นถวายภัตตาหารเช้าแด่พระพิธีธรรม 8 รูป จากวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร และประยุรวงศาวาสวรวิหาร ที่สวดพระอภิธรรมมาตั้งแต่ค่ำวันที่ 20 ธันวาคม 2559
ในการนี้เป็นวันที่สิบห้า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระราชานุญาตให้ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) โดยสำนักงานปลัดกระทรวงกก. กรมการท่องเที่ยว กองบังคับการตำรวจท่องเที่ยว และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พร้อมด้วยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) โดยสำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวงพม. กรมกิจการผู้สูงอายุ กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กรมกจการเด็กและเยาวชน กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ การเคหะแห่งชาติ สำนักงานธนานุเคราะห์ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ร่วมเป็นเจ้าภาพในการบำเพ็ญพระกุศลพระบรมศพ
สำหรับบรรยากาศการเข้ากราบสักการะพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในวันนี้สำนักพระราชวัง เปิดประตูวิเศษไชยศรีให้ประชาชนกลุ่มแรกเข้าไปในเวลา 04.45 น. ซึ่งตลอดทั้งวันมีพสกนิกรทุกเพศทุกวัยจากทั่วสารทิศ ที่สำนึกในนพระมหากรุณาธิคุณต่อในหลวง รัชกาลที่ ๙ เดินแถวเข้ามารออย่างเรียบร้อย
*** เผยแบบช่อไม้จันทน์สำหรับ ร.10
นายสมชาย ศุภลักษณ์อำไพพร นายช่างศิลปกรรมอาวุโส กลุ่มงานศิลปประยุกต์และเครื่องเคลือบดินเผา สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ในฐานะผู้รับผิดชอบการออกแบบลายหีบพระบรมศพจันทน์ และพระโกศจันทน์ เพื่อใช้ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช กล่าวว่า การออกแบบจะยึดหลักคติความเชื่อว่าพระมหากษัตริย์คือเทพเจ้า หรือพระราม ที่อวตารมาจากพระนารายณ์ โดยมีพาหนะคือครุฑ ฉะนั้น ลายพระโกศจันทน์จึงออกแบบเป็นลายบัวกลีบขนุน โดยมีเทพพนมสถิตอยู่ตรงกลาง จากเดิมที่ผ่านมาจะเป็นลายใบเทศ ส่วนฐานพระโกศจันทน์ หรือหีบพระบรมศพจันทน์นั้นจะออกแบบลายครุฑยุดนาคหน้าอัด วางอยู่ตรงกลางลายทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ก้านขด โดยในส่วนของเทพพนมที่อยู่กลางบัวกลีบขนุน ซึ่งอยู่ที่พระโกศจันทน์ และครุฑยุดนาคหน้าอัด ที่อยู่กลางพุ่มข้าวบิณฑ์ที่อยู่ที่หีบพระบรมศพจันทน์นั้นจะใช้วิธีแกะสลัก ทั้งนี้ การออกแบบลายเทพพนมและครุฑดังกล่าว เพื่อเทิดพระเกียรติในหลวงรัชกาลที่ 9 ว่าพระองค์คือพระนารายณ์ทรงครุฑ
นอกจากนี้ ยังออกแบบลายท่อนฟืนไม้จันทน์และช่อไม้จันทน์ โดยท่อนฟืนไม้จันทน์จะใช้ทั้งหมด 24 ท่อน แต่ละท่อนมีหน้ากว้าง 2 นิ้ว ยาว 60 เซนติเมตร ออกแบบโดยใช้ลายทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ หน้าฟืนจะเป็นลายดอกประจำยาม วิธีการทำครั้งนี้ใช้วิธีลายรดน้ำ ต่างจากทุกครั้งที่ผ่านมาที่ใช้วิธีฉลุลายปิดทอง อีกทั้งที่ผ่านมาจะมีการฉลุลายเฉพาะส่วนบนและล่างของท่อนฟืน แต่ครั้งนี้จะมีลายที่หน้าฟืนด้วย
ส่วนช่อไม้จันทน์ที่ต้องวางในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ รัชกาลที่ 9 นั้นจะมีทั้งหมด 7 แบบ แบ่งเป็นช่อไม้จันทน์ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ ซึ่งขณะนี้ออกแบบลายเสร็จหมดแล้ว โดยใช้ลายดอกไม้เทศซ้อนไม้ทั้งหมด แต่วิธีการผูกลายเพื่อให้เกิดเป็นลายต่างๆ จะไม่เหมือนกัน อย่างลำดับชั้นพระเจ้าหลานเธอ จะลดทอนลงให้เท่ากับพระเกียรติยศ ส่วนวิธีการทำช่อไม้จันทน์นั้น จากเดิมที่เป็นดอกไม้เทศซ้อนไม้ คือเป็นแผ่นไม้แบนๆ มาฉลุซ้อนกันเฉยๆ แต่ครั้งนี้ไม่ได้ซ้อนไม้เพียงอย่างเดียว แต่จะแกะลายด้วยเพื่อให้เป็นนูนสูงเพิ่มมิติมากขึ้น
*** จัดนิทรรศการถวายพระเกียรติ ร.9
ที่อาคารศาลาว่าการพระราชวัง ในพระบรมมหาราชวัง ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักพระราชวังได้เปิดห้องแสดงนิทรรศการถวายพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 และบูรพกษัตริย์ในสมัยรัตนโกสินทร์ ให้กับผู้มาเข้าชมวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ภายในแบ่งเป็นนิทรรศการหมุนเวียนบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ตั้งแต่สมุดไทยดำหรือสมุดข่อย ซึ่งเป็นสมุดที่เขียนเรื่องราวบันทึกเหตุการณ์สำคัญตั้งแต่รัชกาลที่ 1-6, ปฏิทินหลวงที่พระราชทานให้ประชาชนที่มาลงนามถวายพระพรในวันขึ้นปีใหม่ โดยมีทั้งหมด 7 สีตามสีประจำวันในปีนั้นๆ ซึ่งเล่มที่นำมาจัดแสดงที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดปี พ.ศ.2492, ตู้จัดแสดงพระราชพิธีสำคัญสิบสองเดือน
โดยในขณะนี้ได้จัดแสดงพระราชพิธีสำคัญของในหลวงรัชกาลที่ 9 เช่น พระราชพิธีราชาภิเษกสมรส และพระราชพิธีบรมราชาภิเษก, การจัดแสดงเอกสารพระราชหัตถเลขาและพระปรมาภิไธยในรัชกาลที่ 5-7, การจัดแสดงพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช จนเป็นที่มาของการถวายพระราชสมัญญานามว่า “กษัตริย์นักพัฒนา” ทั้งยังเป็นที่มาของการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลจากองค์กรต่างๆ จากทั่วโลก ซึ่งมีจัดแสดงอยู่ในตู้ถัดมา โดยห้องจัดแสดงนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ เปิดเข้าชมฟรีเป็นประจำทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00 - 15.00 น.