"มีชัย"ยันพร้อมรับทุกความเห็นที่เป็นประโยชน์เพื่อนำไปปรับแก้ ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง วอนนักการเมืองอย่าคิดว่า กรธ. ใจร้าย เพราะต้องเขียนให้เป็นไปตามกรอบของ ร่าง รธน.ที่ผ่านประชามติมาแล้ว เตรียมเปิดโฉมร่าง พ.ร.ป. กกต. ลงเว็บไซต์ ให้ทุกภาคส่วนได้ศึกษา ข้อดี-ข้อเสีย วันนี้ (15ธ.ค.) ก่อนเปิดเวทีถกนัดแรก16 ธ.ค.
วานนี้ (14 ธ.ค.) ที่ห้องประชุมรัชนี 4 อาคารสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ. )ได้จัดงานสัมมนาเพื่อรับฟังความเห็นของตัวแทนพรรคการเมือง ต่อร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยพรรคการเมือง โดยมีพรรคการเมือง ซึ่งส่งตัวแทนเข้าร่วมแสดงความเห็นและได้ลงทะเบียนจำนวนทั้งสิ้น 26 พรรคการเมือง อาทิ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคชาติพัฒนา พรรคพลังชล พรรคมาตุภูมิ พรรคประชาธิปไตยใหม่ โดยมีตัวแทนร่วมรับฟังทั้งหมดประมาณ 70 คน
นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรธ. กล่าวเปิดการสัมมนาว่า ร่าง พ.ร.ป. พรรคการเมือง ที่เวลานี้เสร็จแล้วในเบื้องต้น อยู่ภายใต้เงื่อนไขที่เมื่อได้รับฟังความคิดเห็นแล้ว ก็จะนำเอากลับไปทบทวน กรธ.ไม่ใช่เป็นผู้เชี่ยวชาญ หรือชำนาญการในด้านการเมือง จึงมีความจำเป็นที่ต้องอาศัยการรับฟังจากผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญ ที่เป็นของจำเป็น
"มีคนพยายามกล่าวหาว่าเราจัดงานพอเป็นพิธีการ ไม่จริงเลย เมื่อฟังความเห็นเราฟังจริงๆ การรับฟังความเห็น เราไม่ฟังเฉพาะเวลาที่มีการจัดงาน ที่จัดขึ้น เพราะเราฟังแบบเอาหูแนบดิน ไม่ว่าใครจะพูดอะไร ที่ไหน ถ้าพูดในเรื่องที่เป็นสาระมา เราก็เอากลับมาคิดใหม่ มาไตร่ตรอง เอาไปผนวกได้เราก็เอาไปผนวก ถ้าทำไม่ได้ อาจจะเป็นคนละเรื่อง คนละทิศทาง" นายมีชัย กล่าว พร้อมยืนยันว่า กรธ.จะนำความเห็นของทุกฝ่ายที่เป็นความเห็นที่ดี เป็นประโยชน์ ไปปรับปรุงเนื้อหาของ ร่าง พ.ร.ป. พรรคการเมือง อย่างแน่นอน อย่างไรก็ตาม กรธ.ไม่มีอิสระต่อการทำร่างกฎหมาย เพราะต้องทำเนื้อหาให้เป็นไปตามกรอบของร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่กำหนด คือ มาตรา 45 ว่าด้วยกฎหมายที่เกี่ยวกับพรรคการเมือง ต้องมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการทำกิจกรรมที่ให้สมาชิกพรรคมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง ต่อนโยบาย และการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง โดยไม่ถูกชี้นำโดยบุคคลที่ไม่เป็นสมาชิกพรรคการเมือง รวมถึงต้องมีมาตรการกำกับดูแลให้สมาชิกพรรคปฏิบัติตามกรอบของกฎหมาย และ มาตรา 258 (2) ว่าด้วย การปฏิรูปพรรคการเมืองให้เป็นสถาบันทางการเมืองของประชาชน ดังนั้น ขออย่าคิดว่ากรธ. ใจร้าย ที่ต้องกำหนดบทลงโทษ หรือแนวทางใดๆไว้ เพราะทั้งหมดล้วนเป็นไปตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่กำหนดไว้
"ขอความกรุณาว่า อย่านึกว่ากรธ.ใจร้าย ในเรื่องการกำหนดบทลงโทษ มีบทบัญญัติห้ามโน่นห้ามนี่ แต่ทั้งหมดเป็นไปตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญที่ผ่านประชามติแล้ว เดี๋ยวนี้มีบ่อยที่คนชอบวิจารณ์ โดยมักจะไม่ได้อ่านรัฐธรรมนูญ และบางทีไม่รู้ด้วยซ้ำ ว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร " นายมีชัย กล่าว
ด้านนายประพันธ์ นัยโกวิท กรธ. เปิดเผยว่า ขณะนี้ กรธ.กำลังทบทวนเนื้อหาและความถูกต้องของร่าง พ.ร.ป. ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) พ.ศ... (ร่างเบื้องต้น) ซึ่งจะเปิดเผย ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยกกต. ต่อผู้เกี่ยวข้องและประชาชน เพื่อประกอบการรับฟังความคิดเห็น ในเว็บไซต์ของกรธ. ในวันที่ 15 ธ.ค.นี้ เป็นต้นไป เพื่อให้ทุกฝ่ายได้เห็นร่าง พ.ร.ป.ฉบับเบื้องต้น ก่อน จากนั้นในวันที่ 16 ธ.ค. เวลา 12.00 น. ที่รัฐสภา ทาง กรธ.จะมีการจัดสัมมนา เรื่อง“ชี้แจงสาระสำคัญร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วย กกต. พ.ศ... โดยขอเชิญผู้สนใจทั้ง กกต. พรรคการเมืองเมือง ประชาชน และทุกภาคส่วน มาร่วมในการเสวนารอบแรก เพื่อที่จะได้ดูว่าในเนื้อหา ร่าง พ.ร.ป. ฉบับนี้มีอะไรแข็งเกินไป และควรมีอะไรปรับปรุงบ้าง จากนั้นก็จะเปิดเวทีรับฟังความเห็นจากทุกภาคส่วนในเวที 4 ภาค และถ้าใครสนใจต้องการแสดงความเห็นในร่างพ.ร.ป. กกต. ก็สามารถส่งมาที่ กรธ.ได้โดยตรง เพราะเราเปิดกว้างรับฟังจากทุกภาคส่วน
วานนี้ (14 ธ.ค.) ที่ห้องประชุมรัชนี 4 อาคารสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ. )ได้จัดงานสัมมนาเพื่อรับฟังความเห็นของตัวแทนพรรคการเมือง ต่อร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยพรรคการเมือง โดยมีพรรคการเมือง ซึ่งส่งตัวแทนเข้าร่วมแสดงความเห็นและได้ลงทะเบียนจำนวนทั้งสิ้น 26 พรรคการเมือง อาทิ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคชาติพัฒนา พรรคพลังชล พรรคมาตุภูมิ พรรคประชาธิปไตยใหม่ โดยมีตัวแทนร่วมรับฟังทั้งหมดประมาณ 70 คน
นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรธ. กล่าวเปิดการสัมมนาว่า ร่าง พ.ร.ป. พรรคการเมือง ที่เวลานี้เสร็จแล้วในเบื้องต้น อยู่ภายใต้เงื่อนไขที่เมื่อได้รับฟังความคิดเห็นแล้ว ก็จะนำเอากลับไปทบทวน กรธ.ไม่ใช่เป็นผู้เชี่ยวชาญ หรือชำนาญการในด้านการเมือง จึงมีความจำเป็นที่ต้องอาศัยการรับฟังจากผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญ ที่เป็นของจำเป็น
"มีคนพยายามกล่าวหาว่าเราจัดงานพอเป็นพิธีการ ไม่จริงเลย เมื่อฟังความเห็นเราฟังจริงๆ การรับฟังความเห็น เราไม่ฟังเฉพาะเวลาที่มีการจัดงาน ที่จัดขึ้น เพราะเราฟังแบบเอาหูแนบดิน ไม่ว่าใครจะพูดอะไร ที่ไหน ถ้าพูดในเรื่องที่เป็นสาระมา เราก็เอากลับมาคิดใหม่ มาไตร่ตรอง เอาไปผนวกได้เราก็เอาไปผนวก ถ้าทำไม่ได้ อาจจะเป็นคนละเรื่อง คนละทิศทาง" นายมีชัย กล่าว พร้อมยืนยันว่า กรธ.จะนำความเห็นของทุกฝ่ายที่เป็นความเห็นที่ดี เป็นประโยชน์ ไปปรับปรุงเนื้อหาของ ร่าง พ.ร.ป. พรรคการเมือง อย่างแน่นอน อย่างไรก็ตาม กรธ.ไม่มีอิสระต่อการทำร่างกฎหมาย เพราะต้องทำเนื้อหาให้เป็นไปตามกรอบของร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่กำหนด คือ มาตรา 45 ว่าด้วยกฎหมายที่เกี่ยวกับพรรคการเมือง ต้องมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการทำกิจกรรมที่ให้สมาชิกพรรคมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง ต่อนโยบาย และการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง โดยไม่ถูกชี้นำโดยบุคคลที่ไม่เป็นสมาชิกพรรคการเมือง รวมถึงต้องมีมาตรการกำกับดูแลให้สมาชิกพรรคปฏิบัติตามกรอบของกฎหมาย และ มาตรา 258 (2) ว่าด้วย การปฏิรูปพรรคการเมืองให้เป็นสถาบันทางการเมืองของประชาชน ดังนั้น ขออย่าคิดว่ากรธ. ใจร้าย ที่ต้องกำหนดบทลงโทษ หรือแนวทางใดๆไว้ เพราะทั้งหมดล้วนเป็นไปตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่กำหนดไว้
"ขอความกรุณาว่า อย่านึกว่ากรธ.ใจร้าย ในเรื่องการกำหนดบทลงโทษ มีบทบัญญัติห้ามโน่นห้ามนี่ แต่ทั้งหมดเป็นไปตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญที่ผ่านประชามติแล้ว เดี๋ยวนี้มีบ่อยที่คนชอบวิจารณ์ โดยมักจะไม่ได้อ่านรัฐธรรมนูญ และบางทีไม่รู้ด้วยซ้ำ ว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร " นายมีชัย กล่าว
ด้านนายประพันธ์ นัยโกวิท กรธ. เปิดเผยว่า ขณะนี้ กรธ.กำลังทบทวนเนื้อหาและความถูกต้องของร่าง พ.ร.ป. ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) พ.ศ... (ร่างเบื้องต้น) ซึ่งจะเปิดเผย ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยกกต. ต่อผู้เกี่ยวข้องและประชาชน เพื่อประกอบการรับฟังความคิดเห็น ในเว็บไซต์ของกรธ. ในวันที่ 15 ธ.ค.นี้ เป็นต้นไป เพื่อให้ทุกฝ่ายได้เห็นร่าง พ.ร.ป.ฉบับเบื้องต้น ก่อน จากนั้นในวันที่ 16 ธ.ค. เวลา 12.00 น. ที่รัฐสภา ทาง กรธ.จะมีการจัดสัมมนา เรื่อง“ชี้แจงสาระสำคัญร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วย กกต. พ.ศ... โดยขอเชิญผู้สนใจทั้ง กกต. พรรคการเมืองเมือง ประชาชน และทุกภาคส่วน มาร่วมในการเสวนารอบแรก เพื่อที่จะได้ดูว่าในเนื้อหา ร่าง พ.ร.ป. ฉบับนี้มีอะไรแข็งเกินไป และควรมีอะไรปรับปรุงบ้าง จากนั้นก็จะเปิดเวทีรับฟังความเห็นจากทุกภาคส่วนในเวที 4 ภาค และถ้าใครสนใจต้องการแสดงความเห็นในร่างพ.ร.ป. กกต. ก็สามารถส่งมาที่ กรธ.ได้โดยตรง เพราะเราเปิดกว้างรับฟังจากทุกภาคส่วน