พล.อ.วิทวัส รชตะนันทน์ ผู้ตรวจการแผ่นดิน ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน กล่าวถึงความคืบหน้าการมีส่วนร่วมจัดทำร่างมาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระฯ ว่า ผู้ตรวจการแผ่นดินเป็นหนึ่ง ในองค์กรอิสระในคณะทำงานการจัดทำมาตรฐานทางจริยธรรม ตามร่างรธน. มาตรา 219 ซึ่งคณะทำงานดังกล่าวประกอบด้วย ศาลรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช) คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) นั้น ในส่วนของผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้แต่งตั้งให้ นายกมลธรรม วาสบุญมา ผอ.สำนักส่งเสริมมาตรฐานจริยธรรม เป็นผู้แทนในคณะทำงานนี้เพื่อประชุมและนำเสนอความเห็นที่เป็นประโยชน์ ซึ่งจากผลการประมวลงานด้านจริยธรรมที่ผู้ตรวจการแผ่นดินมีประสบการณ์โดยได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ขณะนี้ได้จัดทำร่างฯ เพื่อส่งให้องค์กรอิสระพิจารณาแล้ว จำนวน 2 รูปแบบ คือ ฉบับสั้น และ ฉบับยาว ซึ่งได้นำเสนอในที่ประชุมผู้ตรวจการแผ่นดิน โดยมีมติเห็นชอบ
1. ให้ใช้ร่างฉบับยาว คือ ร่างมาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ รวมทั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน หัวหน้าหน่วยงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ เนื่องจากมีเนื้อหาสาระที่กำหนดจริยธรรมลักษณะต่างๆ อย่างละเอียด ตลอดจนมีการแบ่งส่วนขององค์กรและการบังคับใช้ไว้อย่างชัดเจน ทั้งในส่วนของสาระบัญญัติ และวิธีสบัญญัติ
2. กำชับให้ผู้เสนอร่างฯ คำนึงถึงบริบทและลักษณะเฉพาะของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่นๆ ด้วย เช่น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา และคณะรัฐมนตรี ว่าจะมีความเป็นไปได้ในการนำข้อบังคับทั้งหมดไปปฏิบัติได้จริงหรือไม่
3. ในส่วนของค่านิยมหลัก 9 ประการของมาตรฐานทางจริยธรรมนั้น ผู้ตรวจการแผ่นดินมีความเห็นว่าควรมีการปรับเปลี่ยนในข้อที่ 8 จากเดิม ว่า "การยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" ปรับเป็น "การจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" และให้นำมากำหนดเป็นข้อที่ 1
จากข้อเสนอดังกล่าว สำนักงานฯได้ทำร่างหนังสือแจ้งความเห็นของผู้ตรวจการแผ่นดินส่งให้กับศาลรัฐธรรมนูญแล้ว เมื่อวันที่ 28 พ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งจะมีการประชุมของคณะทำงานอีกครั้งเพื่อเตรียมสรุปร่างฯ และดำเนินการนำเสนอร่างฯ ให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และประธานองค์กรอิสระทั้งหมดพิจารณาอีกครั้ง หากเห็นชอบก็จะได้ร่างฯ ที่สามารถนำเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และคณะรัฐมนตรีเพื่อรับฟังความคิดเห็นในลำดับต่อไป
"การดำเนินงานส่วนของผู้ตรวจการแผ่นดินในการจัดทำร่างมาตรฐานทางจริยธรรมฯ ได้เน้นการเสนอความเห็น การให้ข้อมูลจากการประมวลผลการดำเนินงานด้านจริยธรรมที่ผู้ตรวจการแผ่นดินได้ทำมาแล้วกว่า 10 ปี ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการวางกรอบแนวคิดว่าค่านิยมหลักควรมีอะไรบ้าง จริยธรรมเรื่องใดที่พึงปฏิบัติ และไม่พึงปฏิบัติ หรือควรปรับเสริมเพิ่มเติมอย่างไร เพื่อให้การจัดทำมาตรฐานทางจริยธรรมสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ซึ่งมั่นใจว่าการจัดทำมาตรฐานจริยธรรมดังกล่าวจะแล้วเสร็จตามกรอบเวลาที่รัฐธรรมนูญฉบับใหม่กำหนดอย่างแน่นอน"
1. ให้ใช้ร่างฉบับยาว คือ ร่างมาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ รวมทั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน หัวหน้าหน่วยงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ เนื่องจากมีเนื้อหาสาระที่กำหนดจริยธรรมลักษณะต่างๆ อย่างละเอียด ตลอดจนมีการแบ่งส่วนขององค์กรและการบังคับใช้ไว้อย่างชัดเจน ทั้งในส่วนของสาระบัญญัติ และวิธีสบัญญัติ
2. กำชับให้ผู้เสนอร่างฯ คำนึงถึงบริบทและลักษณะเฉพาะของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่นๆ ด้วย เช่น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา และคณะรัฐมนตรี ว่าจะมีความเป็นไปได้ในการนำข้อบังคับทั้งหมดไปปฏิบัติได้จริงหรือไม่
3. ในส่วนของค่านิยมหลัก 9 ประการของมาตรฐานทางจริยธรรมนั้น ผู้ตรวจการแผ่นดินมีความเห็นว่าควรมีการปรับเปลี่ยนในข้อที่ 8 จากเดิม ว่า "การยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" ปรับเป็น "การจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" และให้นำมากำหนดเป็นข้อที่ 1
จากข้อเสนอดังกล่าว สำนักงานฯได้ทำร่างหนังสือแจ้งความเห็นของผู้ตรวจการแผ่นดินส่งให้กับศาลรัฐธรรมนูญแล้ว เมื่อวันที่ 28 พ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งจะมีการประชุมของคณะทำงานอีกครั้งเพื่อเตรียมสรุปร่างฯ และดำเนินการนำเสนอร่างฯ ให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และประธานองค์กรอิสระทั้งหมดพิจารณาอีกครั้ง หากเห็นชอบก็จะได้ร่างฯ ที่สามารถนำเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และคณะรัฐมนตรีเพื่อรับฟังความคิดเห็นในลำดับต่อไป
"การดำเนินงานส่วนของผู้ตรวจการแผ่นดินในการจัดทำร่างมาตรฐานทางจริยธรรมฯ ได้เน้นการเสนอความเห็น การให้ข้อมูลจากการประมวลผลการดำเนินงานด้านจริยธรรมที่ผู้ตรวจการแผ่นดินได้ทำมาแล้วกว่า 10 ปี ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการวางกรอบแนวคิดว่าค่านิยมหลักควรมีอะไรบ้าง จริยธรรมเรื่องใดที่พึงปฏิบัติ และไม่พึงปฏิบัติ หรือควรปรับเสริมเพิ่มเติมอย่างไร เพื่อให้การจัดทำมาตรฐานทางจริยธรรมสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ซึ่งมั่นใจว่าการจัดทำมาตรฐานจริยธรรมดังกล่าวจะแล้วเสร็จตามกรอบเวลาที่รัฐธรรมนูญฉบับใหม่กำหนดอย่างแน่นอน"